Skip to main content

                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com

        กุสตาฟ มาห์เลอร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปี 1860 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปี  1911 เขาเป็นคีตกวีและวาทยกรชาวออสเตรียเชื้อสายยิว ซึ่งลือชื่อกับซิมโฟนีทั้ง 10 บทและเพลงประกอบกับออร์เคสตราอันหลากหลาย ซึ่งได้ผสมผสานดนตรีโรแมนติกรูปแบบต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน  ถึงแม้ว่าดนตรีของเขาจะถูกทอดทิ้งไปเป็นเวลา 50 ปีภายหลังที่เสียชีวิตไปแล้ว มาห์เลอร์ก็ได้รับการถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดคนสำคัญของเทคนิคการประพันธ์เพลงในศตวรรษที่ 20 และยังมีอิทธิพลต่อคีตกวีคนอื่นๆ อย่างเช่นอาร์โนลด์ เชินแบร์ก  ดมิทรี โชสตาโควิช และเบนจามิน บริทเตน

 

                                  

    

        ชีวิตช่วงแรก

      มาห์เลอร์เป็นบุตรชายของผู้ผลิตสุราและเจ้าของโรงเตี๊ยมชาวออสเตรียเชื้อสายยิวซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านคาลิสชต์ของชาวโบฮีเมียน หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของดินแดนซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐเช็ค เมื่อเกิดได้ไม่กี่เดือน ครอบครัวก็ย้ายไปยังเมืองที่อยู่ใกล้เคียงคือจิห์ลาวา (ภาษาเยอรมันคืออิกเลา)  ที่ซึ่งมาห์เลอร์ใช้ชีวิตในวัยเด็กและวัยรุ่น ความจริงเพียงแค่นี้ได้ให้ร่องรอยแก่เราถึงบุคลิกภาพอันเปี่ยมด้วยความหดหู่ของเขา นั่นคือเขาทนทุกข์จากความขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติตั้งแต่เกิดมา ในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายออสเตรียที่พูดภาษาเยอรมัน เขากลายเป็นคนนอกท่ามกลางชนพื้นเมืองซึ่งเป็นชาวเช็ค และในฐานะเป็นชาวยิวก็กลายเป็นคนนอกท่ามกลางชนกลุ่มน้อยออสเตรีย  ต่อมาในเยอรมัน เขาก็เป็นคนนอกในฐานะชาวออสเตรียที่มาจากแคว้นโบฮีเมียและมีเชื้อสายยิว

      ชีวิตของมาห์เลอร์ยังยุ่งเหยิงด้วยความขัดแย้งระหว่างบิดามารดาของตนอีกด้วย  บิดาของเขาเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ด้วยตัวเองที่มีพลังชีวิตสูงได้แต่งงานกับผู้หญิงที่ละเอียดอ่อนจากครอบครัวซึ่งเป็นผู้ลากมากดี และเขาก็รังเกียจความสูงส่งทางสังคมของเธอจึงปฏิบัติกับเธออย่างเลวร้าย ดังนั้นมาห์เลอร์จึงรู้สึกแปลกแยกกับบิดาและหมกมุ่นในตัวมารดาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีท่าทางชัดเจนคือการเดินกระโผลกกระเผลกเล็กน้อยของเขานั้นได้รับอิทธิพลโดยไม่ได้ตั้งใจจากการเดินเป๋ๆ ของมารดา ยิ่งไปกว่านั้นเขายังได้รับพันธุกรรมคือโรคหัวใจของมารดา ซึ่งนำไปสู่ความตายของเขาเมื่ออายุ 50 ปี ในที่สุดก็มีปูมหลังเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและความตายโดยฉับพลันในบรรดาพี่ๆ น้องๆ จำนวน 13 คนของมาห์เลอร์

         ปูมหลังในวัยเยาว์อันไม่น่าพิสมัยเช่นนี้อาจอธิบายความตึงเครียดทางจิตใจ ความย้อนแย้ง ความสงสัยเป็นนิจ  ความหมกมุ่นกับความตายและการดิ้นรนอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อค้นหาความหมายในชีวิตซึ่งแผ่ไปทั่วชีวิตและดนตรีของมาห์เลอร์ แต่มันไม่อาจอธิบายพลังอันมหาศาล อำนาจทางปัญญาและความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้าในการเข้าสู่การเป็นวาทยกรและนักประพันธ์เพลงชั้นหัวแถว แน่นอนว่าองค์ประกอบด้านบวกต่อลักษณะดังกล่าวย่อมมาจากด้านครอบครัวของบิดา ดังเช่นพลังทางกายอันยิ่งใหญ่ของเขา ถึงแม้จะเป็นโรคหัวใจ แต่มาห์เลอร์ก็เป็นคนกระตือรือร้นอย่างสุดโต่ง นั่นคือเป็นผู้อำนวยการดนตรีที่ไม่ปรานีปราศรัย นักว่ายน้ำที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และนักท่องภูเขาที่แข็งแรงมาก

     พรสวรรค์ทางดนตรีของเขาได้ปรากฏตัวอย่างรวดเร็วและยิ่งใหญ่มาก ในช่วงราวๆ อายุ 4  ขวบ จากการตราตรึงต่อดนตรีแบบทหารซึ่งบรรเลงในค่ายใกล้ๆ และดนตรีพื้นบ้านโดยพวกกรรมกรชาวเช็ค เขาก็ผลิตซ้ำดนตรีเหล่านั้นในรูปแบบแอคคอร์เดียนและเปียโน รวมไปถึงเริ่มต้นประพันธ์เพลงของตัวเอง รูปแบบดนตรีแบบทหารและเพลงป็อบรวมไปถึงเสียงของธรรมชาติได้กลายเป็นแหล่งสำคัญของแรงบันดาลใจยามบรรลุวุฒิภาวะ  เมื่ออายุได้ 10 ขวบ เขาก็ออกแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในฐานะเป็นนักเปียโนในเมืองจิห์ลาวา และเมื่ออายุได้ 15 ก็มีความเชี่ยวชาญในด้านดนตรีจนได้รับเข้าศึกษาที่โรงเรียนสอนดนตรีเวียนนา ภายหลังจากได้รับรางวัลการแต่งเพลงกับบรรเลงเปียโน และ จบการศึกษาจนได้ประกาศนียบัตร เขาก็หาเลี้ยงตัวเองโดยการสอนดนตรีชั่วครั้งชั่วคราว ขณะพยายามมีชื่อเสียงในฐานนักประพันธ์เพลง เมื่อเขาไม่สามารถคว้ารางวัลเบโธเฟนจากการประกวดการประพันธ์เพลงของโรงเรียนสอนดนตรีด้วยงานสำคัญชิ้นแรกของเขาคือคันตาตาที่ชื่อ Das klagende Lied (ประพันธ์เสร็จปี 1880 อันมีชื่อว่า บทเพลงแห่งเสียงบ่น)  เขาก็หันมาควบคุมวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มั่นคงกว่าเดิมโดยเก็บการประพันธ์เพลงไว้สำหรับวันหยุดในช่วงฤดูร้อนอันยาวนาน

      อาชีพในฐานะวาทยกร

       ในอีก 17 ปีต่อมา เขาก็ได้ก้าวขึ้นถึงจุดสุดยอดของอาชีพตัวเอง จากการกำกับละครเพลงตลกที่ออสเตรีย เขาเข้ารับงานในโรงละครอุปรากรประจำท้องถิ่นหลายโรงรวมไปถึงในกรุงบูดาเปสต์และเมืองฮัมบรูก จนได้เป็นผู้กำกับการแสดงที่เวียนนาคอร์ตโอเปราในปี 1897 ด้วยอายุ 37 ปี ในฐานะเป็นวาทยกร เขาได้รับการยกย่องอย่างมาก แต่ในฐานะนักประพันธ์เพลง ในช่วงการสร้างสรรค์ช่วงแรก เขาก็พบกับความไม่เข้าใจของสาธารณชนซึ่งเป็นเช่นนี้ไปเกือบตลอดอาชีพการงานของเขา

      เพราะชีวิตการควบคุมวงของเขามุ่งเน้นไปที่รูปแบบดั้งเดิมที่โรงละครอุปรากร จึงน่าอัศจรรย์ใจในครั้งแรกว่าผลงานที่บรรลุวุฒิภาวะของเขาทั้งหมดนั้นมีลักษณะเป็นซิมโฟนี  (เพลงทั้ง 40 บทของเขาไม่ได้เป็นเชิงลีเดอร์ (Lieder หรือ เพลงที่มีเนื้อร้องเป็นบทกวี –ผู้แปล) แต่เป็นกระบวนแบบซิมโฟนีแอบแฝง ซึ่งบางเพลงนั้นที่จริงแล้วได้ให้พื้นฐานบางส่วนสำหรับซิมโฟนีหลายบท) แต่เป้าหมายอันโดดเด่นของมาห์เลอร์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสำนักริชาร์ด แว็คเนอร์และพรานซ์ ลิซต์ นั้นมีลักษณะสำคัญคืออัตชีวประวัตินั่นคือการแสดงออกทางดนตรีของมุมมองส่วนตัวที่มีต่อโลก และสำหรับวัตถุประสงค์เช่นนี้ เพลงและซิมโฟนีนั้นดูเหมาะสมมากว่าสื่อทางอารมณ์ของอุปรากร ที่เป็นเพลงก็เพราะลักษณะการบรรยายอารมณ์ส่วนตัวที่ฝังอยู่ลึกซึ้ง และที่เป็นซิมโฟนี (จากมุมมองของแว็กเนอร์และลิซต์) ก็เพราะอำนาจในการอธิบายเชิงอัตวิสัย

       งานทางดนตรี : ช่วงต้นๆ

     แต่ละช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรค์ทั้ง 3 ช่วงของมาห์เลอร์ได้นำไปสู่ซิมโฟนี 3 บท ซิมโฟนี 3 บทในช่วงเวลาแรกของเขานั้นถูกมองว่ามีพื้นฐานเป็นแบบโปรแกรม (เช่นอยู่บนเรื่องราวหรือความคิดที่ไม่เกี่ยวกับดนตรี)  ความคิดที่แท้จริง (ต่อมาถูกยกเลิกไป) เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานขั้นสูงสุดของการดำรงอยู่ของโลกที่ถูกควบคุมโดยความเจ็บปวด ความตาย ความสงสัยและความสิ้นหวัง เมื่อมาถึงตอนจบเขาได้เจริญรอยตามซิมโฟนีหมายเลข 6 ของเบโธเฟนในเอฟเมเจอร์ (ปาสทอรัล) และซิมโฟนีฟานตัสติกของเอ็กตอ เบริโอซ์ในการสร้างซิมโฟนีมากกว่าจะใช้เพียง 4 กระบวนตามจารีต เขายังได้รับอิทธิพลจากดนตรีของแว็คเนอร์ในการขยายช่วงเวลารวมไปถึงการขยายจำนวนของเครื่องดนตรี และยังหมกมุ่นในการแสดงเชิงอารมณ์อย่างไม่ยับยั้งช่างใจ เช่นเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 9 ในดีเมเจอร์ (คอรัล) ของเบโธเฟนในการสอดแทรกบทร้องโดยนักร้องเดี่ยวและวงประสานเสียง รวมไปถึงงานแนวแชมเบอร์บางชิ้นของฟรานซ์ ชูเบิร์ตในการนำดนตรีจากบทเพลงของตัวเอง (ชุดของบทกวีจากหนังสือคติชนของเยอรมันที่ชื่อ Des Knaben Wunderhorn [ฮอร์นวิเศษของเยาวชน] หรือบทกวีที่เขียนด้วยตัวเองในรูปแบบชาวบ้าน)

       กระบวนการเหล่านั้น พร้อมด้วยรูปแบบที่จริงจังและเป็นวาทศิลป์ ดนตรีออร์เคสตราที่ทรงพลังและการใช้ดนตรีแนวป็อบอันเป็นเชิงเสียดสี นำไปสู่ซิมโฟนี 3 บทแห่งความขัดแย้งอย่างสูงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ถูกรวมให้เป็นหนึ่งโดยบุคลิกภาพเชิงสร้างสรรค์อันไม่ผิดเพี้ยนของเขาและการคุมโครงสร้างของซิมโฟนีอย่างมั่นคง  แนวคิดของซิมโฟนีหมายเลข 1 ในดีเมเจอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นออร์เคสตราแบบบริสุทธิ์ (เขียนเสร็จในปี 1888 โดย 1 ใน 5 กระบวนของมันต่อมาถูกลบออกไป) มีลักษณะเป็นอัตชีวประวัติในวัยรุ่นของเขานั่นคือความปีติแห่งชีวิตได้ถูกปกคลุมโดยความหมกมุ่นต่อความตายใน “ขบวนแห่ศพในท่วงทีแบบคาลล็อต” (โดยพื้นฐานเป็นการล้อเลียนดนตรีชาวบ้าน) อันน่าสะพรึงกลัว ซึ่งในที่สุดก็ถอยร่นมาเป็นตอนจบที่ยากเย็นและชาญฉลาด  ซิมโฟนีหมายเลข 2 ซึ่งมี 5 กระบวน (เขียนเสร็จในปี 1894 อันมีชื่อที่รู้จักกันมาคือ “การฟื้นคืนชีพ”)  เริ่มต้นโดยการหมกมุ่นต่อความตาย (กระบวนแรกคือ “พิธีศพ”)  และยังไปถึงจุดสูงสุดในการประกาศต่อความเชื่อแบบชาวคริสต์ต่อชีวิตอันเป็นนิรันดร (ตอนจบขนาดใหญ่แสดงถึง วันพิพากษาโลกและสิ้นสุดด้วยชุดของบทกวี “การฟื้นคืนชีพ”ของนักเขียนเยอรมันในศตวรรษที่ 18 นามว่าฟรีดริก คลอปสต็อก ซึ่งต้องมีทั้งนักร้องและกลุ่มร้องประสานเสียง)  ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในดีเมเจอร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า (เขียนเสร็จในปี 1896) ยังรวมถึงนักร้องและกลุ่มร้องประสานเสียง ซึ่งถูกบรรเลงเป็น 6 กระบวน ถึงภาพแบบ ไดโอนีเซียนของห่วงโซ่แห่งสรรพสิ่ง โดยเคลื่อนย้ายจากธรรมชาติไปยังสติสัมปชัญญะของมนุษย์และความรักที่มาไถ่บาปมนุษย์ของพระเจ้า

 

                               

                      

                             ภาพจาก www.everyhistory.org

 

            อิทธิพลทางศาสนาในงานเหล่านั้นก็สำคัญอย่างยิ่ง ปูมหลังช่วงต้นๆ อันน่ารำคาญใจของมาห์เลอร์ ผสมกับการขาดความศรัทธาในศาสนายิวที่สืบต่อกันมา (บิดาของเขาเป็นนักคิดอิสระ) อันนำไปสู่ความทุกข์ใจเกี่ยวกับอภิปรัชญาซึ่งเขาสามารถแก้ไขได้ชั่วคราวโดยการระบุตัวตนว่าเป็นชาวคริสต์  ที่ว่านี่เป็นแรงบันดาลใจอย่างแท้จริง ย่อมไมใช่เรื่องน่าสงสัย ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องของประโยชน์ในการเปลี่ยนศาสนา ช่วงต้นๆ ปี 1897 เพราะมันจะเป็นการง่ายกว่าสำหรับเขาที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของโรงละครเวียนนาโอเปรา อันเป็นเวลา 10 ปีซึ่งเป็นช่วงกลางๆ ที่สมดุลกว่าเดิมของเขา  ศาสนาใหม่ของเขาและตำแหน่งระดับสูงของเขาได้นำมาสู่การบรรลุวุฒิภาวะอย่างเต็มที่และเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งยังได้รับการเสริมโดยการแต่งงานของเขาในปี 1902 กับอัลมา มาเรีย ชินด์เลอร์ ผู้ซึ่งคลอดลูกสาวให้แก่เขา 2 คนในปี 1902 และ ปี 1904

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
My Moment with the Romanov It is based on some historical facts and persons , but it is still fictitious anyways.   Chapter 1 St.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This is the second play I have written in my entire life. Now I hope some of my styles of language , cheekily imitating the Elizabethan writer I didn't mention the name here before : William Shakespeare, won't disturb you much.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายเรื่องนี้ถูกเขียนประมาณ ปี 2005 หรือ 2006  ผู้เขียนเองก็จำไม่ค่อยได้ ตัวเอกหรือผู้บรรยายเป็นคนไทยแต่ไปสอนวรรณคดีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเบอร์ลินในเยอรมันช่วงที่นาซีกำลังเรืองอำนาจ อนึ่งไม่ได้มีการตรวจสอบภาษาไทยเท่าไรนัก จึงต้อขออภัยหากมีความผิดพลาดทางภาษาเกิดขึ้น&nbs
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(newly compiled and edited)  This is the first play I have ever written in my entire life.It is a sublime story about ghost, inspired by The Shock , the popular radio program of horror story telling from fan clubs via telephone.  I am also truly impressed wi
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคม เกาหลีเหนือได้จัดพิธีเดินสวนสนามของกองทัพเพื่อฉลองครบรอบการก่อตั้งพรรคแรงงานหรือ Worker's Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดของเกาหลีเหนือ (ความจริงยัง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ทรัมป์ได้สร้างความฮือฮาให้กับคนไทยเพราะเผลอไปเรียก Thailand เป็น Thighland หรือดินแดนแห่ง "ต้นขา" โดยคนไทยทั่วไปไม่ซีเรียส เห็นว่าเป็นเรื่องสนุกสนานไป เพราะรู้มานาน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ช่วงนี้หลายประเทศได้ทำการเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือเมื่อ 75 ปีที่แล้ว (ปี พ.ศ.1945 หรือ พ.ศ.2488) ประเทศที่ได้รับชัยชนะอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาและพันธมิต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
I remember reading the interview by the last promoter of คณะราษฏร (People's Party or PP) from the Sarakandee magazine ,probably a decade ago.At that time he was ageing , frail ,but still p