Skip to main content
The Crown season 4 ถือว่าเติมเต็มความรู้สึกผมมากในฐานะเด็กที่โตมาในทศวรรษที่ 80 ถึงจะอยู่คนละประเทศก็ตามเพราะละครของ Netflix อันแสนโด่งดังของอังกฤษเรื่องนี้ได้เดินทางมาถึงทศวรรษนี้ และผู้สร้างคือปีเตอร์ มอร์แกนซึ่งมีผลงานคือภาพยนตร์เกี่ยวกับราชวงศ์อังกฤษโดยเฉพาะสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่ได้รับคำชมมากคือ The Queen ได้ถ่ายทอดอังกฤษในทศวรรษที่ 80 อย่างเปี่ยมด้วยอารมณ์มาก ด้วยเพลง เพราะปีเตอร์มีวัยหนุ่มในยุคนั้นพอดี อังกฤษในทศวรรษดังกล่าวเป็นยุคที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายสับสนมาก น่าจะมากที่สุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ตัวละครที่มีสีสันไม่แพ้กับสมาชิกของราชวงศ์อังกฤษคือนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคือมาร์การ์เร็ต แท็ชเชอร์ ซึ่งได้สมญาว่าเป็น หญิงเหล็กหรือ Iron Lady(แต่สื่อไทยในยุคนั้นเรียกเธอว่านางสิงห์เหล็ก) และสามัญชนผู้แต่งงานกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลคือเลดี้ไดอานาซึ่งเคยสร้างในสิ่งที่สื่อเรียกว่าเป็นเทพนิยายยุคใหม่ ผู้หญิง 3 คนคือพระราชินีอาลิซาเบธ แท็ชเชอร์ และไดอานา (น่าเสียดายเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตดูเหมือนบทบาทจะน้อยลงมากในซีซั่นนี้) ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษในทศวรรษนั้นอย่างแท้จริง และพระราชินีนัั้นทรงถือว่าทั้งแท็ชเชอร์และไดอานาในฐานะลูกสะไภ้ได้กลายเป็นคู่แข่งหรืออาจจะถึงระดับภัยคุกคามในเรื่องอำนาจ (แท็ชเชอร์) และเรื่องความโด่งดังและบารมี (แท็ชเชอร์และไดอาน่า)
ทั้งไดอาน่าและแท็ชเชอร์ไต่ชนชั้นมาจากครอบครัวสามัญชน แม้บิดาของไดอานา สเปนเซอร์จะมาจากตระกูลขุนนางแต่ทั้งเขาและมารดาของไดอานาได้หย่าร้างกัน ไดอาน่ามีการศึกษาไม่สูงและฐานะไม่ดีนัก เธอต้องทำงานรายได้ต่ำและอาศัยอยู่กับเพื่อนสาวหลายคนในแฟล็ตที่กรุงลอนดอน จำได้ว่าตอนผมเป็นเด็กคือปี 1981 ได้ดูข่าวเกี่ยวกับงานอภิเษกสมรสระหว่างชาร์ลส์กับไดอาน่าอันเป็นหตุการณ์ดังที่สุดของโลก ชาวเซเลบทั้งหลายไม่ว่าเป็นราชวงศ์ทั่วโลกหรือประมุขของรัฐได้เข้าร่วม มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก และภาพของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์กับไดอานาซึ่งปรากฎอยู่บนระเบียงของพระราชวังปักกิ่งแฮมเพื่อโชว์ตัวให้กับฝูงชนพร้อมกับเสียงผู้บรรยายในโทรทัศน์เป็นภาษาอังกฤษคือ wedding of the century! หรือ'งานแต่งแห่งศตวรรษ' ก็อย่ในห้วคำนึงผมเสมอ แต่ตัดภาพมาในปี 1997 ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาโทพอดี และทางหอพักก็มีช่องโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นได้ถ่ายทอดตอนที่เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ที่อุโมงค์ในฝรั่งเศสเพราะรถคว่ำจากการหนีนักข่าวปาปารัสซี แต่ตอนนั้นเธอเป็นสามัญชนเพราะหย่าขาดกับชาร์ลส์ไปแล้วเป็นปี และคนที่เสียชีวีตพร้อมกับเธอนอกจากคนขับรถคือนายโดดี อาฟาเย็ตคู่หมั้นที่เป็นลูกชายเจ้าของห้างแฮร์ร็อต
ไม่น่าเชื่อว่าเพียง 16 ปี ชีวิตของไดอาน่าก็ได้ผกผันไปอย่างมากทั้งด้านร้ายและด้านดี จากปัญหาชีวิตคู่กับชาร์ลจนต้องหย่าร้างกัน แต่เธอก็สามารถใช้ทั้งความสวยและเสน่ห์เอาชนะใจชาวโลกจนกลายเป็นคนดังระดับโลก แต่ที่สำคัญคือกิจกรรมทางสังคมที่ทำให้ไดอานาเป็นแม่พระเหมือนแม่ชีเทเราซ่าไปเช่นการรณรงค์เรื่องโรคเอดส์ ที่เธอสวมกอดผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งตอนนั้นถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยง เพราะชาวโลกยังขาดความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับโรคเอดส์ (และคนที่ทำให้โรคเอดส์ดังขึ้นอีกคือนักร้องอังกฤษวงควีนนัันคือเฟรดดี เมอร์คิวรี) หรือการเดินไปท่ามกลางกับระเบิดเพื่อรณรงค์การกู้กับระเบิดในแอฟริการวมถึงการกุศลเกี่ยวกับเด็ก และความดังของเธอทั้งช่วงแต่งและหลังจากหย่าร้างก็ได้ทำให้ทางราชวังถูกชาวโลกโดยเฉพาะคนอังกฤษมองในด้านลบคือมองว่าเป็นครอบครัวตัวร้ายที่รังแกไดอานาโดยเฉพาะอดีตแม่สามีอย่างพระราชินี แม้ไดอาน่าจะมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับผู้ชายคนอื่นทั้งตอนแต่งงาน และหลังหย่าก็ตาม (อันสะท้อนว่าในช่วงตอนแต่ง ทั้งคู่ต่างก็นอกใจกันและกัน สำหรับชาร์ลส์นั้นก็มีความสัมพันธ์อันอื้อฉาวกับนางคาเมลลา พาร์คเกอร์โบวส์ซึ่งก็เป็นภรรยาของคนอื่นอีก แต่ต่อมาทั้งชาร์ลและคาเมลลาก็ได้แต่งงานกัน) อย่างไรก็ตามภายหลังการตายของไดอาน่า พระราชินีก็ทรงพยายามกอบกู้ชื่อเสียงกลับมาจนได้รับความนิยมจากชาวอังกฤษอีกครั้ง
สำหรับแท็ชเชอร์ลูกสาวของพ่อค้าร้านของชำได้เรียนจบเคมีและกฎหมายก่อนจะหันมาเป็นสส.และรัฐมนตรี ต่อมาเธอก็ได้เล่นงานนายกรัฐมนตรีคนเก่าและเจ้านายของเธอคือนายเอ็ดเวิร์ด ฮีธจนได้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมแทนในปี 1975 และเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1979 อังกฤษในทศวรรษที่ 80 มีภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อัตราคนว่างงานสูงมาก และรัฐมีความอุ้ยอ้าย ต้องอุ้มกิจการต่างๆ อย่างเช่นอุตสาหกรรมถ่านหิน อันเป็นนโยบายมาจากพรรคแรงงาน ทำให้เป็นหนี้เป็นสิน แท็ชเชอร์นั้นมีความศรัทธาในแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือ Neo-liberalism คือการแปรองค์กรรัฐให้เป็นเอกชน (privatization) นโยบายรัดเข็มขัดที่ต้องตัดสวัสดิการ อันส่งผลกระทบถึงระบบสุขภาพแห่งชาติ และที่โด่งดังคือยุติโครงการนมฟรีแก่เด็กที่โรงเรียนซึ่งทำให้เธอถูกโจมตีอย่างมาก และการปิดเหมืองถ่านหินซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในอังกฤษ ทำให้คนงานและสหภาพโรงงานซึ่งถูกแท็ชเชอร์พยายามจัดการให้อยู่หมัดก่อการประท้วงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นสัญลักษณ์ของความวุ่นวายของอังกฤษในทศวรรษนี้
และที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยคือสงครามฟล็อคแลนด์หรือสงครามระหว่างอังกฤษกับอาเจนตินาเพื่อแย่งชิงเกาะเล็กๆ ที่อยู่ใกล้อาเจนตินา ในปี 1982 ซึ่งโด่งดังมาก เพราะในช่วงนั้นสงครามใหญ่ๆ ไม่ค่อยมีในช่วงที่สงครามเย็นกำลังแผ่ว ทางไทยก็ตื่นเต้นไปกับเค้าด้วยเพราะรับสื่อของอังกฤษมาก ทั้งวัฒนธรรมเช่นภาพยนตร์ ดนตรี รวมไปถึงการ์ตูน เป็นเด็ก ผมชอบอ่านการ์ตูนอังกฤษเกี่ยวกับฟุตบอล (ชื่อนิตยสารคือกีฬากับการ์ตูน) และยังมีการ์ตูนเกี่ยวกับสงคราม (ชื่อสงครามกับการ์ตูน) และการ์ตูนของอังกฤษก็ตีพิมพ์เชียร์ตัวเองเสียใหญ่โตในการสู้รบ ดังจะเรียกว่าเป็น nostalgia หรือการหวนหาอดีตอันแสนเกรียงไกรของจักรวรรดิอังกฤษก็ว่าได้ และสงครามนี้เป็นการเดิมพันของตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของแท็ชเชอร์โดยเฉพาะตอนก่อนตัดสินใจจมเรือรบของกองทัพอาเจนตินา การปะทะกันทางทหารได้ดำเนินไปไม่กี่เดือน ก่อนที่อังกฤษจะชนะ และนำไปสู่ความหายนะของเผด็จการทหารอาเจนตินาซึ่งพยายามก่อสงครามเพื่อหันเหความสนใจของชาวอาเจนไตน์จากปัญหาเศรษฐกิจ แต่แท็ชเชอร์ได้รับความนิยมอย่างสูง ถึงแม้จำนวนคนตกงานจะมากกว่าเดิม และปัญหาเศรษฐกิจก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง ดังใน episode ที่กล่าวถึงไมเคิล ฟาแกน ชายชาวรากหญ้าผู้ตกงานและหย่าร้างกับภรรยาที่แอบเข้ามานั่งปลายเตียงของพระราชินีในพระราชวังบักกิ่งแฮมและด่าแท็ชเชอร์ให้พระราชินีซึ่งทรงตกพระทัยฟังว่าแท็ชเชอร์แทนที่จะช่วยคนในประเทศแต่กลับเอาภาษีประชาชนไปรบแย่งเกาะเล็กๆ ที่ห่างออกไป
นอกจากนี้ยังเหตุการณ์อันโด่งดังคือวีรกรรมของกลุ่มการก่อการร้ายไออาร์เอซึ่งต้องการแบ่งแยกไอร์แลนด์เหนือให้เป็นเอกราช ดังใน episode หนึ่งก่อนชาร์ลกับไดอานาจะเข้าพิธีอภิเษกสมรส ไออาร์เอได้สังหารหลุยส์ เมาแบตเตน พระญาติคนสนิทของพระราชินี และเป็นเหมือนกับพ่อหรือ father figure ของทั้งเจ้าชายฟิลิปส์และเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์จากการวางระเบิดในเรือตกกุ้งที่หลุยส์นั่งอยู่พร้อมกับลูกและหลานในปี 1979 ทำให้แท็ชเชอร์สั่งการโต้ตอบอย่างแข็งกร้าว แต่แล้วไออาร์เอยังพยายามลอบสังหารแท็ชเชอร์จากการวางระเบิดโรงแรมที่เธอกับสามีอาศัยอยู่ในอีก 5 ปีต่อมา
สาเหตุที่แท็ชเชอร์ได้รับสมญาว่าเป็นสตรีเหล็กหรือนางสิงห์เหล็กเพราะบุคลิกอันเด็ดขาดของเธอและรูปแบบการบริหารประเทศอย่างเฉียบขาด ไม่ค่อยยอมประนีประนอม และมักเป็นภาพของเธอในฐานะผู้หญิงเพียงหนึ่งเดียวซึ่งกำลังบัญชาการคณะรัฐมนตรีซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ชาย และด้วยเกิดปีเดียวกับพระราชินีพอดี จึงทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ค่อนข้างซับซ้อนคือเป็นเหมือนเพื่อนและคู่แข่ง ตรงนี้สามารถสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกษัตริย์ (หรือพระราชินี) ตามรูปแบบกษัตริย์ใต้รัฐสภาของอังกฤษได้อย่างดี จากการที่ทั้งคู่ต้องพบกันทุกอาทิตย์เพื่อพูดคุยกันเรื่องบ้านเมือง นายฟาแกนที่แอบมาเข้าในห้องบรรทมพระราชินียังเตือนพระองค์ว่าแท็ชเชอร์นอกจากจะแย่งงานของคนอังกฤษแล้วอาจจะแย่งงานจากพระองค์ด้วย นั้นคืออาจเปลี่ยนอังกฤษเป็นระบอบประธานาธิบดี (ในชีวิตจริงนายฟาแกนไม่ได้กล่าวเช่นนั้น แต่น่าจะเป็นไอเดียของคนเขียนบทซึ่งใส่ความเป็นนิยายปนมากับเรื่องจริงมาตั้งแต่ season 1 แล้ว)
แต่ในช่วงหลังของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แท็ชเชอร์ได้รับคะแนนความนิยมต่ำมาก จนในที่สุดก็ถูกลูกพรรคท้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและสุดท้ายก็ต้องพ้นจากตำแหน่งในปี 1990 ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รองลงมาก็คงเป็นนายโทนี แบลร์แห่งพรรคแรงงาน ส่วนนายกรัฐมนตรี ผู้หญิงก็มีอีกคนคือนางเทเรซา เมย์ซึ่งสุดท้ายก็ถูกแทนที่โดยนายบอริส จอห์นสันเพื่อนร่วมโรงเรียนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งทั้งคู่ก็มาจากพรรคอนุรักษ์นิยม และแน่นอนว่ามรดกทางการเมืองและสังคมของแท็ชเชอร์ยังคงมีมาอยู่ถึงทุกวันนี้ ตอนแท็ชเชอร์ถึงแก่อสัญกรรมในปี 2013 คนอังกฤษจำนวนมากโดยเฉพาะพวกสังคมนิยมซึ่งจงเกลียดจงชังแท็ชเชอร์มากถึงกลับจัดงานฉลองพร้อมกับร้องเพลง Ding Dong! The Witch Is Dead (แม่มดตายแล้ว) ซึ่งเอามาจากภาพยนตร์เพลง Wizard of Oz
 
ติติดตาม facebook ผมได้ที่ https://www.facebook.com/atthasit.muangin มีบทความอีกมากมายที่ไม่ได้ลงในประชาไท

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตัวละครบางตัวได้แรงบันดาลใจมาจากอิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา The Abbot and The Noble           (1) In our village , Abbot Akisada was enormously respected by most of our
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องความแค้นของผีตายทั้งกลม This (real) horror short story is partly inspired by the ghost tale told by the popular YouTuber like Ajarn Yod. Or it is in fact from the amateurish storytellers participating in Ghost Radio or The Shock more or less.