ถ้าใครยังจำนิทรรศการภาพถ่าย ที่จัดแสดงให้ดูกันแถวๆ สถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครเมื่อ 2-3 ปีก่อนได้ อาจรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกันบางประการ ระหว่างชายในชุดสูทสีชมพูและกระแสพิ้งค์ๆ ที่กำลังจะเป็นที่นิยมต่อจากนี้ไปอีกเป็นปี
ใครที่คิดถึง Pink Man สามาถเข้าไปเยี่ยมเยียนเขาได้ที่บล็อก kathmandu-bkk.com แกลเลอรี่ภาพถ่ายคูหาย่อมๆ ที่อยู่แถวๆ วัดแขก อันเป็นสถานที่เก็บรักษา (และจัดแสดง) ภาพสะท้อนสังคมการเมืองไทยในรูปแบบของภาพถ่ายสุดเปรี้ยว-ไอเดียกระฉูดนามว่า Pink Man ของศิลปินชื่อดังอย่าง ‘มานิช ศรีวานิชภูมิ'
นอกจากบรรยากาศในร้านจริงๆ จะเก๋ไก๋ติดดินและเป็นกันเอง... บรรยากาศและเรื่องราวในบล็อกก็อธิบายความเป็นมาของภาพถ่ายที่นำมาจัดนิทรรศการแต่ละครั้ง ได้อย่างน่าสนใจและแทงใจไม่แพ้กัน
นิทรรศการล่าสุุดของแกลเลอรี่ ‘คัดมันดู' คือภาพถ่ายคอลเล็กชั่น ‘ยาบ้า' ของ Oliver Pin Fat ชาวต่างชาติที่บังเิอิญได้ใช้ชีวิตในเมืองไทย ช่วงที่มีการออกนโยบาย ‘ฆ่าตัดตอน' ผู้ค้ายาเสพติด เขาจึงถ่ายภาพที่ (คิดว่า) สะท้อนความเป็นไปของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นความหลอน ความหวาดหวั่น ความมึนเมา รวมไปถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับชีวิตของพลเมืองเล็กๆ ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายอยุติธรรมครั้งนั้น
ภาพถ่ายคอลเล็กชั่น ‘ยาบ้า' ที่แสดง ณ แกลเลอรี่คัดมันดูออนไลน์ สามารถคลิกเพื่อชื่นชมภาพที่สนใจได้ด้วย
(แต่ทางที่ดี ไปดูภาพจริงๆ อาจจะได้อรรถรสกว่ากันมาก)