เมื่อ "เคนชิโร่" เล่าเรื่อง "เจ้าตายแล้ว" และการกำเนิดของอะไรต่อมิอะไรในกาลต่อมา (มัง?)

นอกเหนือจากการได้คบพบปะกับเพื่อนที่เป็นมนุษย์จริงๆ ที่เล่นเฟซบุ๊คเป็นแล้วเกิดปฏิสัมพันธ์กันในกาลต่อมา (จีบกัน คบกัน จนถึงขั้นทำให้ท้อง) "เพจอวตาร" ก็ยังถือว่าเป็นเพื่อนยามยากตัวใหม่ที่คอยให้คำปรึกษา หารูปเจ๋งๆ หาวลีเด็ดๆ ให้เราไว้คลายเหงายามอยู่หน้าจอคอม

วันนี้ลองมาดูปากคำของ "เคนชิโร่" หนึ่งในตำนานเพจอวตารที่น่าจดจำตัวหนึ่ง ที่นานๆ จะพูดยาวและเป็นข่าวเสียที จากอวตารแมนที่ไม่ค่อยพูดอะไรไปมากกว่าคำว่า "เจ้าตายแล้ว" ... โดย Mkult สำนักคัลท์ไทย

0 0 0

"นักคัลท์พลเมืองแจ้ง ครบรอบหนึ่งปี 'ท่านผู้นั้น' แถลงรำลึก ย้ำ 'เจ้าตายแล้ว'"



สำนักคัลท์ไทย - เมื่อเวลาราว 22.00 น. หลังจาก MKULT สำนักคัลท์ไทยประกาศรับนักคัลท์พลเมืองไม่นานนัก ทาง MKULT สำนักคัลท์ไทย ได้รับการติดต่อจากนักคัลท์พลเมืองท่านหนึ่งซึ่งถือเป็นนักคัลท์พลเมืองคนแรกที่ได้ติดต่อเข้ามา โดยข้อมูลที่นักคัลท์พลเมืองไม่เปิดเผยชื่อรายนี้ได้ส่งมาได้แจ้งเพียงว่านี่เป็นแถลงการณ์ของ "ท่านผู้นั้น" ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างที่เกิดขึ้นในโลกเฟสบุ้คในวาระครบรอบ 1 ปี ในการถือกำเนิดขึ้นมาในโลกออนไลน์ ทาง MKULT สำนักคัลท์ไทย จึงได้นำแถลงการณ์ดังกล่าวมาเผยแพร่ดังข้อความต่อไปนี้

"ข้าถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวๆ ยามเกือบเช้าวันที่ 1 มีนาคม 2011

ข้าเกิดขึ้นได้เพราะ เฟชบุคเริ่มให้ผู้คุมเพจอวตารเป็นเพจไปโพสต์ลงบ้นหน้าเพจอื่นๆ ได้

ข้าเป็นเพจแรกๆ ที่ใช้ฟังก์ชั่นนั้น

ข้าถูกเลือกเพราะ ข้ามีประโยคที่ทรงพลังที่สุดประโยคหนึ่งในประวัติศาสตร์การ์ตูน

มันคือ "เจ้าตายแล้ว" ที่ข้าจะกล่าวหลังภายหลังที่ข้าใช้หมัดอุดรเทวะสังหารศัตรูข้า

ในวันแรกข้าไปโพสต์ "เจ้าตายแล้ว" บนเพจสารพัด และดึงดูดคนเข้ามาที่เพจข้ามากมาย

ข้ามีจุดประสงค์เพียงแค่ไปโพสต์ "เจ้าตายแล้ว" ให้ครบทุกเพจ และตอบทุกๆ คนที่มาพูดคุยกับข้าว่า "เจ้าตายแล้ว" เท่านั้น

ไม่แปลกอะไรเลยที่ผู้คนจะคิดว่าข้าเป็นบอต เพราะข้าคือเครื่องจักรที่มนุษย์เป็นผู้ดำเนินการ

ภายในวันเดียว มีผู้คนมาท้าทายข้ามากมาย คนต้องการให้ข้าตอบอย่างรวดเร็ว เคราะห์ดีที่ข้ามีผู้ดูแลหลากหลายอยู่ทั่วโลก เข้ายามกันเป็นกะ ข้าจึงตอบได้ทันท่วงทีตลอดการทำเนินการของข้า

พอเริ่มวันที่สอง ข้าก็เริ่มพบว่า Wall ของข้ามีผู้เยี่ยมเยือนหน้าใหม่ ข้าพบว่า มีเพจมากมาย มาทักทายข้า และไม่นานข้าก็พบว่าหน้า Wall ของข้าได้กลายเป็นพื้นที่เปิดตัวของเพจใหม่ๆ ไปแล้ว

ภายในสัปดาห์แรก "เพจอวตาร" เกิดขึ้นมากมาย

ในช่วงแรกสุด เพจทุกเพจจะพูดเพียงประโยคเดียวเช่นเดียวกับข้า

ถ้าเจ้าอยู่ในช่วงนั้น เจ้าจะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เจ้าสามารถจินตนาการถึง "ประโยคเด็ด" จะถูกนำมาทำเป็นเพจได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวการ์ตูนอะไรก็ตามที่เจ้านึกออก บุคคลสำคัญ นักการเมือง เผด็จการ อดีตนายกรัฐมนตรี ราษฎรอาวุโส ดารา ตัวละครในภาพยนตร์และวรรณกรรม จนถึงตัวละครไร้ชื่อในโฆษณาที่เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จัก สัตว์ หรือกระทั่งอวัยวะและวัตถุสิ่งของ

เพจนับร้อยเพจปรากฏในชั่วข้ามคืน เจ้าอะเอาอะไรล่ะ กั๊ตจัง โยฮันเนส เคราเซอร์ ที่ 2 โปเกมอน ซาเอบะ เรียว ราโอ คามิยามะ (และตัวละครแทบทุกตัวในคุโรมาตี้) ยางามิ ไลท์ ฮิบิโน่ ฮาเรลูย่า กล้วยหอมจอมซน เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ ชวน หลีกภัย สมัคร สุนทรเวช จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม จอมพลสลิ่ม ธนะรัชต์ หมอ ประเวศ แม่ชีทศพร กิตติวุธโฑ ภิกขุ สมศักดิ์ เจียม ป้าเช็ง น้องหม่อง เป้ เสลอร์ ฟิลม์ รัฐภูมิ เคน ธีรเดช จา พนม ยีรัมย์ เชฟหมี ดารธ เวเดอร์ จะเด็ด มังตรา สาวเครือฟ้า จ่าเฉย กะหรี่สนามหลวง กะหรี่สวนลุม คนเชียร์แขก ขอนลอย พ่อท้องผูกนั่งนานไปหน่อย โต้ง ไดเกียว เป็ดตัวที่หนึ่ง เป็ดตัวที่สอง สิงโต กระดูกสันหลัง องคชาติ กัญชา ฯลฯ

และแน่นอนว่าในจำนวนนั้นมีเพจข้าของ "ปลอม" สองสามเพจ เพจต่อต้านข้า กระทั่งเพจ เจ้าตายแล้ว

เพจเพจแรกที่ข้าเห็นว่ามีการพูดอะไรมากไปกว่าประโยคเดียวคือ ยางามิ ไลท์ ที่ไล่เขียนชื่อทุกคนบน Wall ข้าลงบนเดธโน้ต

แต่เพจแรกที่พูดคุยกับผู้คนจริงจังและได้รับความนิยมคือ แม่ชีทศพร ดังนั้นเพจนี้จึงเป็นเพจที่บุกเบิกเพจอวตารในยุคต่อมาที่เน้นการเลียนแบบและล้อเลียน (parody) บุคลิกของบุคคลที่มีอยู่จริงและตัวละครต่างๆ

หลังจากนั้นเพจที่ทำอะไรมากไปกว่าการพูดแค่ประโยคเดียว (รวมทั้งเพจเก่าที่เริ่มพูดมากกว่าประโยคเดียว) ก็ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก สตีฟ จ๊อบส์ ช่างซ่อมแอร์ในตำนาน ตถาคต มานี พงพัด เซลล์แมน รถขายกับข้าว นอกจากนี้เพจพวกบุคคลสำคัญและ นักคิดนักเขียนต่างๆ ที่ปรากฏมาสนทนากัน เช่น โจเซฟ สตาลิน ฟรีดริช นิตเช่ คาร์ล มาร์กซ์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ออสการ์ ไวลด์ รวมไปถึงพวกเพจผสมอย่าง คาร์ล มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก

นี่คือช่วงตั้งแต่ราวๆ ที่ข้าถือกำเนิดมาได้สี่ห้าวันหรือในช่วงสุดสัปดาห์แรก ไปจนถึงช่วงเวลาที่เวลาสัปดาห์ที่สอง

เมื่อมีเพจที่สร้างสรรค์เกิดมามากมาย และเพจอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมพอก็สามารถทำหน้าที่เป็นที่เปิดตัวของเพจอื่นๆ ได้ ข้าเห็นว่าถึงเวลาที่ข้าควรจะวางมือให้เพจอื่นๆ ทำหน้าที่แทนข้าได้แล้ว เมื่อสึนามิเข้าญี่ปุ่นพอดี ข้าจึงถือโอกาสจากไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011

มีเพจกระทั่งจัด Event งานศพให้ข้า และก็มีเพจและผู้คนไปเข้าร่วมไม่น้อย

หลังจากนั้นข้ากลับมาเป็นครั้งคราวเช่นในวันที่ 20 มีนาคม เมื่อมี Super Moon หรือเมื่อ 1 เมษายนในวัน April's Fool หรือกระทั่งในตอนเทศกาลสงกรานต์

จริงๆ ข้าอยากกลับมามาก แต่ระบบไม่อนุญาติให้ข้ากลับมาทำเช่นเดิมได้

เมื่อข้า "เจ้าตายแล้ว" เช่นเดิมแม้บน Wall ของข้าเอง ทางระบบก็กล่าวหาว่าข้า Spam และการตอบของข้าก็ไม่ปรากฏ ดังนั้นถึงแม้ข้าจะเปิด Wall ให้พวกเจ้าพูดคุยกับข้า ข้าก็ไม่สามารถตอบพวกเจ้าได

นี่คือเหตุผลที่ข้ากลับมาไม่ได้

อย่างไรก็ดีข้าก็ได้เฝ้าดูพวกเจ้าอยู่ตลอด

ข้าเห็นปรากฏการณ์สารพัด ข้าเห็นปรากฏการพิสดารของการจัดงานแต่งานและงานรื่นเริงของเหล่าเพจต่างๆ ไปจนถึงวันล่มสลายของปรากฏการณ์นี้เนื่องจาก Facebook ไม่อนุญาตให้เพจเข้าไปแสงความคิดเห็นใดๆ ใน Event อีกต่อไป

ข้าเห็นเพจพิศดารสารพัดที่เกิดขึ้นหลังจากข้าวางมือไป ไม่ว่าจะเป็น เพจที่ใช้การเขียนเป็นปฏิสัมพันธ์หลัก เช่น คลำ ผกา ที่เคยขับเคี่ยวกับ แม่ชี นะลูกนะ อยู่ช่วงหนึ่ง เพจ ธเนศ เขตยานนาวา ที่ได้กลายมาเป็นเพจ ศาสดา อันโด่งดัง เพจในโซเวียตรัสเซียที่ใช้รูปแบบมุขการเขียนง่ายๆ แต่ทรงพลัง

หรือเพจที่เน้นการสื่อสารด้วยรูปเป็นหลัก เช่นเพจกูkult (รวมถึงเพจเกี่ยวข้องอย่าง Mkult และ กูKoute) ที่บุกเบิกการล้อเลียนด้วยการสร้างภาพล้อเลียนขึ้นมาใหม่ มาจนถึงเพจโหดสัสที่น่าจะเป็นเพจที่โพสต์รูปได้ล่อแหลมและท้าทายที่สุดในบรรดาเพจภาษาไทยที่มีสมาชิกมากขนาดนี้ (ปัจจุบันเกิน 40,000 คนแล้ว) มาจนถึงล่าสุดเพจ มีมการเมืองไทย ที่มีใช้แนวทางการเล่นมีมจากโลกตะวันตกมาใช้และเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วม

ซึ่งนี่ยังไม่รวมเพจประหลาดๆ ที่เกิดจากประโยคในรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่มีสมาชิกกว่าครึ่งแสนเข้าไปแล้วอย่าง อาจจะมีพลังงานหรือวิญญาณอยู่ก็เป็นได้ หรือ แถวนี้แม่งเถื่อน บอกตรงๆนะถ้าไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้

ซึ่งเพจพิสดารพวกนี้ถ้ากระทั่งเพจที่มีใช้ความคิดพื้นๆ ชวนให้คนมา Tag ชื่อเพจอย่าง ดูเพิ่มเติม ที่ไม่ต้องทำอะไรมากมายก็มีสมาชิกกว่า 20,000 เข้าไปแล้ว

ข้าคงไม่อาจครอบคลุมทุกๆ พัฒนาการได้ แต่อย่างน้อยๆ การละเล่นเพจอวตารก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเล่น Facebook ชาวไทยไปเรียบร้อยแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อมีละครอย่างดอกส้มสีทองออกอาการ ก็เกิดเพจอวตารตัวละครมาพูดคุยกัน ไม่ได้ต่างจากที่เพจพวกตัวการ์ตูนทำมาก่อน แต่เพจใหม่ๆ เหล่านี้ก็ไม่ได้ตระหนักถึงจุดเริ่มต้นของการพูดคุยระหว่างเพจนี้เลยว่ามันเริ่มมาได้อย่างไร

ความหลงลืมเหล่านี้เองที่ทำให้ข้าบันทึกเรื่องราวทั้งหมดนี้ลงไปในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเพจข้า ข้าไม่ต้องการให้เรื่องราวของคืนวันอันรุ่งโรจน์ของเพจอวตารสาปสูญไปในประวัติศาสตร์

อย่างน้อยก็ตั้งแต่ข้าถือกำเนิดมาได้ไม่เกินสัปดาห์ ข้าก็ตระหนักดีว่า Facebook จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป

ไม่ว่าเจ้าจะชอบหรือไม่ก็ตา

เจ้าตายแล้ว

เคนชิโร่ 

ที่มา:

Mkult สำนักคัลท์ไทย

 

เมื่อ "เคนชิโร่" เล่าเรื่อง "เจ้าตายแล้ว" และการกำเนิดของอะไรต่อมิอะไรในกาลต่อมา (มัง?)

นอกเหนือจากการได้คบพบปะกับเพื่อนที่เป็นมนุษย์จริงๆ ที่เล่นเฟซบุ๊คเป็นแล้วเกิดปฏิสัมพันธ์กันในกาลต่อมา (จีบกัน คบกัน จนถึงขั้นทำให้ท้อง) "เพจอวตาร" ก็ยังถือว่าเป็นเพื่อนยามยากตัวใหม่ที่คอยให้คำปรึกษา หารูปเจ๋งๆ หาวลีเด็ดๆ ให้เราไว้คลายเหงายามอยู่หน้าจอคอม

ยิ้มมุมปาก กับ 'หรอยกู'

เด็กแว้นกับสาวสก๊อย แบบ 'หรอยกู'

ในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มจะร้อนผ่าวๆ ขึ้นมาอีกรอบ ลองไปอ่านการ์ตูนลายเส้นดิบๆ ที่เข้ากันดีกับอารมณ์ขันแบบแสบๆ คันๆ ที่ไม่ได้หาง่ายๆ ตามท้องถนนทั่วไป

บล็อก หรอยกู (http://www.roigoo.com/) เป็นผลงานสร้างสรรค์ Gag Cartoon ของนักคิดนักเขียนการ์ตูนผู้มีความคันอยู่ในหัวใจ ที่สังเกตเรื่องราวความเป็นไปต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วนำมาวิพากษ์ในรูปแบบของการ์ตูนได้อย่างน่ารักน่าชัง จากนั้นก็นำมาอัพโหลดลงในพื้นที่ออนไลน์และแจกจ่ายให้ใครๆ ได้อ่านกันฟรีๆ

แต่สิ่งที่น่าสนใจของหรอยกูไม่ได้อยู่ที่มีการ์ตูนฟรีให้อ่าน เราสามารถตามไปดูจรรยาบรรณของ 'เด็กแว้น-เด็กสก๊อย' ผ่านมุมมองที่เต็มไปด้วยความเข้าใจ หมั่นไส้ และเอ็นดู บรรดาสิงห์นักบิดรุ่นกระเตาะ ซึ่งมีการหยอกล้อแต่พองาม ทำให้คนอ่านได้ยิ้มและอิ่มใจไปด้วย

นอกจากนี้ยังมีการ์ตูน 'ลูกพร้าวกับพุดดิ้ง' ปรากฏการณ์ 'โปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็ก สตรี และคนชรา' ซึ่งกำลังหายสาบสูญ รวมถึงการต่อสู้ของเด็กยุคใหม่ที่ถูกปลูกฝังให้คิดถึงการ 'เอาชนะ' ไว้ก่อน อย่าง 'เดนนิส' ซึ่งหักมุมจบด้วยรอยยิ้มรวมอยู่ด้วยกัน

ชะตากรรมของตัวการ์ตูน (หรือตัวละคร?) ในหรอยกูยังไม่จบและไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่อ่านดูแล้วจะรู้ว่า 'หรอยจริงๆ'

 

พลังเงียบของผู้ดื่มด่ำกับดนตรี

 เท่าที่สังเกตโดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัวและคนรอบข้าง ดูเหมือนว่า นักจัดรายการวิทยุ' หรือ DJ ในยุคมิลเลนเนียม จะต้องมีคุณสมบัติคล้ายๆ กัน คือ พูดเก่ง ยิงมุขฮากระจาย ชวนคนฟังเล่นเกม และท่องจำรายชื่อสปอนเซอร์ได้อย่างชัดเจนไม่มีตกหล่น

หรือกรณีที่คนฟังวิทยุไม่นิยมดีเจพูดมาก ก็จะมีรายการอีกประเภทไว้คอยท่า คือรายการวิทยุที่ ไม่มีดีเจ' แต่จะมีเพลงเปิดให้ฟังสลับกับโฆษณา และรายการทั้ง 2 ประเภทที่ว่ามาก็ได้รับความนิยมสูงเสียด้วย ส่วนเรื่องที่ว่า-ดีเจแต่ละคนมีภูมิรู้เรื่องดนตรีแน่นแค่ไหน หรือมีวิธีพูดคุยถึงเรื่องในสังคมและชีวิตประจำวันให้คนฟังได้คิดตามหรือรู้สึกเพลินๆ ได้หรือเปล่า กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่

ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัยเหมือนกันว่ามาตรฐานนักจัดรายการวิทยุแบบหลังเริ่มหายหน้าหายตาไปตอนไหน?

แล้ววันหนึ่งรายการวิทยุ The Radio คลื่น 99.5 FM ซึ่งเป็นแหล่งรวมของดีเจรุ่นใหญ่ (อาทิ มาโนช พุุฒตาล, วาสนา วีระชาติพลี หรือ วิโรจน์ ควันธรรม ฯลฯ) ไม่ค่อยเปิดเพลงตาม รีเควสท์' ของคนฟัง แถมยังไม่มีค่ายเพลงค่ายไหนสนับสนุนเป็นพิเศษ (แต่ รู้ลึกรู้จริง' เรื่องดนตรีกันทุกคน)-ก็หลุดจากผังไปเมื่อปลายปี 2550 ด้วยเหตุผลว่า เรตติ้งไม่ดีพอ' ที่สปอนเซอร์จะให้การสนับสนุน

ฟังดูเป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะวัฏจักรของธุรกิจดนตรีในโลกทุนนิยมก็เป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร เพียงแต่ครั้งนี้คนฟังที่เคยเป็น พลังเงียบ' มาตลอด กลับลุกขึ้นมาทักท้วงและเรียกร้องให้รายการ The Radio ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง เพราะนี่คือรายการวิทยุที่พวกเขาเห็นว่า มีคุณค่า' และมีสาระหลากหลายมากกว่าการเปิดเพลงตามคำขอ' ที่มีอยู่เกลื่อนแผงหน้าปัดวิทยุ

บล็อกจำนวนหนึ่งจึงเกิดขึ้นเพื่อรายการวิทยุแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น Save the Radio หรือ The Radio Live และ Radio Star ที่เคยเป็นบล็อกดั้งเดิมของเดอะเรดิโอ บล็อกเหล่านี้เป็นศูนย์กลางสำหรับคนฟังที่ต้องการให้เดอะเรดิโอกลับมาออกอากาศ ลงชื่อเรียกร้องกับทางสปอนเซอร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ นานๆ ที' จะเกิดขึ้นสักครั้ง

ใครสนใจลองเข้าไปเข้าไปดูได้ตามอัธยาศัย เผื่อบางทีปรากฎการณ์ที่ คนชั้นกลาง' ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวเพื่อรายการวิทยุเล็กๆ รายการหนึ่ง อาจต่อยอดไปสู่การเคลื่อนไหวในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประเด็นโครงสร้างมากขึ้นก็ได้...ใครจะรู้...เพราะอย่างน้อยครั้งนี้ ทุนนิยมก็ไม่ได้ชนะขาดลอยเหมือนที่แล้วๆ มา

 

 

 

เล่น 'คำ' ได้ 'ข้าว' (แถม 'บุญ' อีกต่างหาก)

 ช่วงนี้กำลังเห่อเกมฝึกภาษาอังกฤษอย่าง Freerice เป็นพิเศษ ให้อารมณ์เหมือนตอนอ่านหนังสือเตรียมสอบเอนทรานซ์ แต่สนุกสนานกว่ากันมาก

เกม เล่นคำ' แล้วได้ ข้าว' เป็นโครงการ Word Food Program ของ UN ที่เปิดให้คนทั่วโลกฝึกภาษาอังกฤษด้วยการทายความหมายของคำแต่ละคำ ด้วยการจับคู่คำที่เป็น โจทย์' กับคำที่เป็น คำตอบ' ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน หรือถ้าจะพูดง่ายๆ กว่านั้น นี่คือแบบฝึกหัดเพื่อหา Synonym ฉบับออนไลน์นั่นเอง

สิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นคือ คะแนนที่ได้จากการเล่นเกมจะคิดเป็นข้าวสารจำนวนหนึ่ง ซึ่งทาง UN จะนำไปบริจาคให้กับประเทศที่ขาดแคลนอาหาร และเกมนี้ก็เล่นได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเหนื่อยกันไปข้าง ไม่มีเกมโอเวอร์ จะมีก็แต่การเก็บระดับเพื่อให้มีคะแนนไปแลกข้าวเยอะๆ

ส่วนเงินที่จะใช้ในการจัดหาข้าวเพื่อนำไปบริจาคให้กับประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร มาจากบริษัทที่ลงโฆษณากับ Freerice และยิ่งมีคนเข้าไปเล่นเกมนี้มากเท่าไหร่ ทาง World Food ก็จะนำัตัวเลขผู้เล่นเกมไปต่อรองเงินบริจาคกับบริษัทเหล่านั้นำได้มากขึ้นด้วย

สื่อสร้างสรรค์ (ความสุข)

 

ทุกครั้งที่กวาดตาไปยังข่าวหน้าหนึ่งบนหนังสือพิมพ์...เรามักสะดุดตากับ ข่าวร้าย' มากกว่า ข่าวดี' และคนที่ภูมิต้านทานความเศร้าต่ำ อาจรู้สึกหดหู่เมื่อได้เห็น จนบางทีก็เกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า เราบริโภคข่าวร้ายมากเกินไปหรือเปล่า?

ไม่ใช่ว่าจะมาชวนให้ใครหลบหนีจากโลกแห่งความจริง (อันโหดร้าย) แต่หลายคนที่คิดว่า เราควรมีพื้นที่ข่าวที่สร้างสรรค์จรรโลงใจในชีวิตประจำวันบ้าง โปรดฟังทางนี้...

บล็อก ‘Happy Media' เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเปิดไว้รอท่า เพราะบล็อกเกอร์ประจำของที่นี่เรียกตัวเองว่าเป็น สื่อสร้างสรรค์ (ความสุข)' หรือ "กลุ่มคนที่มีความสนใจใฝ่หาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสุขภายใน สร้างสรรค์ความสุขภายนอกให้ผู้อื่นและสังคม" โดยการ "ร่วมกันคิด พูดคุย เรียนรู้ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ สนุกๆ และผ่อนคลาย"

ด้วยความหวังว่า "มิตรภาพ ความงามในชีวิต และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะนำไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืนในชีวิตของทุกคนและแผ่ขยายไปในเครือข่ายของสังคมต่อไป"