Skip to main content

นายยืนยง

 

15_07_1



ชื่อหนังสือ
: ม่านดอกไม้

ผู้เขียน : . จันทพิมพะ

ประเภท : รวมเรื่องสั้น

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ..2541


ไม่นานมานี้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวังเก่าที่เมืองโคราช เจ้าของบ้านเป็นครูสาวเกษียณราชการแล้ว คนวัยนี้แล้วยังจะเรียก “สาว” ได้อีกหรือ.. ได้แน่นอนเพราะเธอยังเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ทั้งน้ำเสียงกังวานและแววตาที่มีความฝันเปี่ยมอยู่ในนั้น


วังเก่าหลังนั้นอยู่ใกล้หลักเมือง วางตัวสงบเย็นอยู่ใจกลางแถวของอาคารร้านค้า ลมลอดช่องตึกทำให้อากาศโล่ง เย็นชื่น พวกไม้ดอกประดับแย้มใบเขียวสดรับละอองฝน ทำให้เรือนไม้ยกใต้ถุนสูงที่ปลูกเรียงอยู่ในรั้วบ้านรู้สึกเหมือนเป็นบ้านในป่าได้เลยทีเดียว บรรดาต้นไม้ไทยหายาก ชื่อเรียกยากอย่างพิลังกังสา ลำดวน ประดู่เหลือง พวงคราม ต้นสาทรไม้ประจำเมืองโคราช สารพัดสารพันพืชแท้จริงเลย ไหนจะต้นชะมวงนั่นอีก ยามเช้าที่นี่จึงเป็นความหอมชื่นชวนเบิกบานใจ


เจ้าของบ้านวัยหกสิบสองพาชมบ้านในส่วนที่เป็นวังเก่า มีเรือนใหญ่ถูกรื้อมาสร้างเป็นเรือนเล็กหลายหลัง บ้านทรงขนมปังขิงทาสีเขียวอ่อนน่ารักหลังนั้นเธอให้คนเช่า เป็นหญิงสาววิศวกรอยู่ลำพัง อืม..เด็กสาวสมัยนี้ช่างมีความเป็นส่วนตัวมากมายเหลือเกิน เธอจะเป็นคนอย่างไรนะ คิด ๆ แล้วก็อยากกลับไปเป็นคนวัยนั้นอีกครั้ง


จมอยู่กับความฝันซึมซึ้งอยู่พักเดียว อดีตครูก็พาไปชมเรือนเก็บของเก่า ซึ่งน่าชื่นชมตามประสาคนรักของเก่าอยู่นั่นเอง แต่ที่ดึงดูดใจจนต้องนำมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านคือหนังสือเก่า ทั้งพวกแม็กกาซีน ทั้งพ็อกเก็ตบุ๊ค แน่นเต็มไปทุกตู้ นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือโดยแท้ หรือใครจะปฏิเสธ


มาโคราชพบเจอผู้หญิงมีเสน่ห์ ก็อยากจะเล่าถึงนักเขียนหญิงคนหนึ่งที่ตัวอักษรของเธอยังมีเสน่ห์ไม่แพ้ใคร เธอเคยเป็นครูสอนโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดคือโรงเรียนสุรนารีวิทยาอยู่ประมาณ 6 ปีก็ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ เมื่อเอ่ยชื่อ แน่ใจว่าหลายท่านคงไม่คุ้นเคย ชื่อของเธอคือ .จันทพิมพะ


ผลงานของ .จันทพิมพะ มีทั้งเรื่องสั้นและนิยาย บางท่านอาจเคยได้ยินเรื่องยาวที่ชื่อว่า

เราลิขิต-บนหลุมศพวาสิฏฐี แต่กับเล่มรวมเรื่องสั้น ม่านดอกไม้ นี้ เป็นการรวบรวมผลงานเก่า ๆ ที่กระจัดกระจายตามนิตยสารต่าง ๆ ของ .จันทพิมพะ ที่เรียกได้ว่าเป็นการ “ต่ออายุหนังสือดี ๆ” และเหตุผลที่เลือกเล่มนี้ก็เพราะได้เหลือบไปเห็น ม่านดอกไม้ ในตู้หนังสือของครูเจ้าของวังเก่า แวบแรกคิดว่าเรามีหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน ช่างบังเอิญดีแท้ แต่ที่ไหนได้ เราทั้งคู่ต่างจัดวางหนังสือเล่มนี้แบบโชว์ปกไว้ด้านหน้าราวกับเป็นกรอบรูป ใจตรงกันอย่างไม่น่าเชื่อ กลายเป็นบังเอิญยกกำลังสองล่ะทีนี้ นี่คือเหตุผล


คราวนี้มาดูประวัติย่อของเธอกันบ้าง

.จันทพิมพะ ชื่อจริงของเธอ คือ น..รวงทอง จันทพิมพะ หรือชื่อเดิมว่า เริ่ม เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ..2452 และถึงแก่กรรมไปเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ..2497 ขณะมีอายุได้ 45 ปี เป็นบุตรีของอำมาตย์โท พระประจำคดี (บัวรส จันทพิมพะ) กับนางประจำคดี (ตุ้ม)


เธอเริ่มการประพันธ์มาแต่ตอนที่เป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยได้เขียนเรื่องยาวชื่อว่า

อวสานสวนกุหลาบ ปรากฎว่าเป็นที่โปรดปรานของนักอ่านที่เป็นเพื่อนครูและบรรดาศิษย์มาแต่ครั้งนั้น

เมื่อลาออกจากครูและกลับไปอยู่บ้าน จึงได้ขอสมัครทำงานหนังสือพิมพ์โดยเริ่มที่วิกบางขุนพรหม และไปสมัครต่อ ศรีบูรพา โดยอยู่ในความดูแลของ แม่อนงค์ หรือ คุณมาลัย ชูพินิจ ฯลฯ


วิทยากร เชียงกูล เขียนบทความไว้ในเล่มไว้ว่า .จันทพิมพะ (2452-2597) เป็นนักเขียนหญิงที่มีผลงานเด่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกือบจะถูกลืมไป อาจจะเป็นเพราะเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2497 โดยไม่มีทายาทหรือเพื่อนฝูงที่สนใจจะนำงานของเธอมาตีพิมพ์ซ้ำ ...


ถ้าจะกล่าวโดยรวม ๆ แล้ว ผมเห็นว่า .จันทพิมพะเขียนเรื่องสั้นแบบสมัยใหม่ โดยใช้ท่วงทำนองการเขียนแบบตะวันตกมากกว่าการเล่านิทานที่เล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ แบบไทย เรื่องของเธอมักจะกระชับ มีฉากมีตัวละคร บรรยากาศ บทสนทนาที่ชัดเจน ขณะเดียวกับก็สะท้อนสภาพสังคมชีวิตและสังคมท้องถิ่น ความคิด บทสนทนาของผู้คนในยุคนั้น (..2492-2495) ได้อย่างดีคือ เป็นนักเขียนที่มีความคิดอ่าน ช่างสังเกต ไม่ใช่แค่นักเล่านิทาน .ธรรมยศ ก็เป็นผู้หนึ่งที่เขียนเรื่องสั้นทำนองคล้าย ๆ กันนี้ ...

ตัวละครผู้หญิงของ .จันทพิมพะ ออกจะมีลักษณะเสรีนิยมหรืออยากลองของใหม่ อยากเผชิญโลกใหม่ ชีวิตแบบใหม่ มากกว่าตัวละครของดอกไม้สด ซึ่งเป็นคนรุ่นใกล้ ๆ กัน แต่เอาจริงก็เป็นผู้หญิงที่อยากคิดอย่างเสรี มากกว่าที่จะอยากใช้ชีวิตเสรีจริง ๆ หลายเรื่องจึงกลายเป็นเรื่องที่ฝ่ายชายเข้าใจฝ่ายหญิงผิด (ม่านดอกไม้, ทางสุดท้าย) โดยเธอมักจะอยู่ข้างฝ่ายหญิงหรือให้ความยุติธรรมกับผู้หญิงอยู่เสมอ ซึ่งต่างจากนักเขียนผู้หญิงหัวเก่าบางคนที่ถูกครอบงำจากกระแสคิดหลักที่ยกย่องผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ...


วิทยากร เชียงกูล เขียนถึง .จันทพิมพะไว้เช่นนั้น ขณะที่เมื่อใครก็ตามได้อ่านเรื่องสั้นของเธอต้องชื่นชมในเรื่องภาษา


ภาษาที่ใช้ในเรื่องสั้นย่อมต้องสั้น กระชับ แต่ได้ความมาก ภาษาของ .จันทพิมพะ ก็เป็นเช่นนั้น นอกจากความกระชับรัดกุมของภาษาแล้ว เค้าโครงเรื่องยังแน่นอีกด้วย ขอแทรกนิดหนึ่งตรงเรื่องของการใช้ภาษาที่กระชับแต่กินความมาก นักเขียนที่สามารถย่อมเป็นนายของภาษา มีความพิถีพิถันลึกซึ้งในการเลือกสรรคำแทนความรู้สึก นึก คิด ยกตัวอย่างชัดเจนเช่น คำว่า มะงุมมะงาหรา ที่ อิศรา อมันตกุล คิดขึ้นมาและใช้แพร่หลายจนทุกวันนี้ เป็นสำนวนที่แสดงกิริยาอาการงก ๆ เงิ่น ๆ เปิ่น งุ่มง่าม ดูเกะกะลูกตา รวบรวมอาการทั้งหลายเป็นคำว่า มะงุมมะงาหรา มี 5 พยางค์แต่สามารถแสดงออกถึงภาพพจน์ชัดเจน

เป็นที่น่าสังเกตว่านักเขียนสมัยนี้ ไม่นิยมคิดหาคำหรือสำนวนใหม่ ๆ กันเท่าไร หรือจะคิดค้นแล้วแต่ไม่ “ผ่าน” บรรณาธิการก็ไม่ทราบ


ขณะที่การเลือกใช้คำและสำนวนของ .จันทพิมพะ มีลักษณะพิเศษที่ชวนอ่านและมีเสน่ห์ อย่าพิรี้พิไรอยู่เลย ยกมาให้อ่านกันตรงนี้ดีกว่า


จากเรื่อง เพื่อเธอเท่านั้น หน้า 101 เป็นเรื่องของสัญชาติญาณระหว่างสองเพศ ซึ่งฝ่ายหญิงเป็นผู้ขับรถโดยมีชายหนุ่มแปลกหน้าขอโดยสารติดรถไปลงระหว่างทาง


เขาพูดด้วยเสียงประเล้าประโลมเรื่อยไป เป็นเสียงเอื่อย ๆ ที่มีอำนาจอย่างหนึ่งในตัว มันเป็นถ้อยคำสั้น ๆ และไม่แสดงรสนิยมอย่างใด แต่มันแสดงให้หล่อนรู้ว่าร่างกำยำอยู่ใกล้ ไม่เคยมีชายใดเข้าใกล้ชิดเช่นนี้ ทั้งที่หล่อนเคยอยู่ในวงแขนคู่เต้นรำหลายครั้ง เขาสูบความเข้มแข็งของหล่อนไป ประหนึ่งแสงอาทิตย์สูบน้ำในคูให้ระเหยเป็นไออีกได้

เป็นการเขียนแสดงอารมณ์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังถูกคุกคามด้วยความรู้สึกที่เข้มแข็งกว่าของผู้ชายแปลกหน้า แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยอุปมาโวหารที่ให้ความรู้สึกละเอียดอ่อน (ที่ขีดเส้นใต้)


หรือจากเรื่อง จิตจำลอง หน้า 139 ฉากการสนทนาระหว่างนายจิตแพทย์กับคนไข้ที่เป็นอาจารย์จิตวิทยา

ชีวิตจิตใจคนเราก็เหมือนต้นไม้ เมื่อแรกก็งอกจากดินโดยบริสุทธิ์ ต่อมาจึงมีเถาวัลย์และกาฝากขึ้นเลื้อยพันจนยากที่จะมองเห็นดอกไม้อันงดงามได้ บางทีถึงยืนต้นตายไปเพราะไม่มีโอกาสสูดกลิ่นไอโลกภายนอก ถ้าเราฟันกาฝากออกเสียแล้ว ต้นไม้นั้น ๆ ก็ย่อมเขียวสดงดงามเหมือนต้นอื่น ๆ นั่นเอง

เป็นกระชับคำที่บวกเอาอุปมาโวหารคมคายและแสดงทัศนคติต่อชีวิตได้ชัดเจนดี


จากเรื่อง ฉากเช้าตรู่ หน้า 236 237

เสียงแตรปลุกเป็นสัญญาณให้พวกเราต้องตื่นแต่เช้าตรู่ตามเคย เสียงอื่นไม่เคยทำให้ทหารแก่ระเบียบวินัย และการฝึกกระดิกกระเดี้ยได้เลย --- ตั้งแต่เช้าเช่นนั้น

เป็นฉากเปิดเรื่องที่กระชับด้วยถ้อยคำ และมีนัยยะแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของตัวละครทหารที่ผูกพันกับหมาตัวหนึ่ง


เมื่อเรากระโจนจากแคร่ สีหมอกก็กระโจนจากแคร่ เราสวมเครื่องแบบออกไป แท้ว! แท้ว!” และ

ฮั้น! ฮั้น !” ด้วยกระเพาะว่างเปล่าไปพลาง! สีหมอกก็วิ่งประชันกลับไปกลับมาเหมือนพวกเรา และไอ้หมาแสนรู้ยังอุตส่าห์หอบกระเพาะว่างเปล่าไปด้วย!

การซ้ำคำ ซ้ำประโยค ดังกล่าวนั้น นอกจากให้ความรู้สึกเหมือนเดิมทุกกระเบียดนิ้วแล้ว ยังทำให้เห็นภาพที่หมาพยายามทำตามที่คนทำด้วยทุกประการ แม้กระทั่งความหิวโดยกระเพาะอาหารว่างเปล่า


หรือจากเรื่อง ปาริชาติชีวิต หน้า 261

กระผมสะดุ้ง การปฏิสันถารของเราแหวกทางออกไปไกลเกินความคาดคิด ที่ตื่นไปด้วยความใคร่ของกระผมมาก

ดูการเลือกใช้คำของเธอสิ แหวกทางออกไปไกลเกินความคาดคิด


นั่นเป็นเรื่องของสำนวนภาษาอันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นักเขียนจะแสดงออกถึงความคิด หากแม้นจะตัดเอาเนื้อหาที่ค่อนข้างจะพ้นสมัยไปบ้าง ในแง่ของความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศชาย – หญิง เราก็จะได้อิ่มเอมกับอรรถรสของเรื่องสั้นชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวาแทบทุกองค์ประกอบ ทั้งฉาก บรรยากาศ และตัวละครที่สมจริงเหลือเกิน ไม่ใช่เป็นการยกยอเกินจริงเลย หากจะหามาอ่านดูเพื่อให้รู้ซึ้งด้วยตัวเอง ขอรับรองว่าจะไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์สักนิดเดียว


.จันทพิมพะ เป็นผู้หญิงแบบไหนกันนะ ลองจินตนาการดูจากผลงานของเธอ รู้สึกว่าเธอเป็นผู้หญิงมีเสน่ห์ ลึกลับ ชวนให้ค้นหา และวางตัวได้เหมาะสมกับทุกโอกาส อันนี้เป็นการคาดเดาเท่านั้น

ถึงตรงนี้ ทำให้หวนนึกถึงนิยายเรื่องหนึ่งที่เป็นเขียนได้ลึกซึ้งมากทีเดียว เรื่องดำเนินไปคล้ายกับการสืบค้นหาความจริงในอดีต ความกระหายใคร่รู้ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างน่าติดตามอย่างยิ่ง โดยอาศัยการตีความหานัยยะที่ซ่อนเร้นอยู่ในบทกวี จดหมาย ของคู่รักกวีในยุคก่อน นิยายเรื่องนั้นคือ

เรื่องรักข้ามศตวรรษ เล่มหนาทีเดียวแต่รับรองว่าอ่านสนุก


เอ่ยถึง .ธรรมยศ ไปนิดหนึ่ง เกิดความรู้สึกคล้ายกับจะนึกถึงเจมส์ จอยซ์ แทรกขึ้นมาพร้อมด้วย

แปลกอยู่เหมือนกัน เออ..มนุษย์นี่ช่างมีความเกี่ยวโยงกันไม่แง่ใดก็แง่หนึ่ง เหมือนกระแสคิดของเราเป็นประจุไฟฟ้าที่โลดแล่นอยู่ในบรรยากาศ พอขั้วต่างสัมผัสกันเข้า ก็ส่งสัญญาณเกิดกระแสไฟวูบวาบขึ้นมาได้ ช่างเป็นความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ที่น่าทึ่งทีเดียว ทำไม .ธรรมยศ นักเขียนไทยจึงคล้ายจะมีอะไรบางอย่างที่สื่อถึง นักเขียนโพสต์โมเดินอย่างเจมส์ จอยซ์ไปด้วยนะ อธิบายยากจัง... ดูอย่างครูเจ้าของวังเก่านี่เป็นไร เธอลงความเห็นลอย ๆ กับผลงานของ ร.จันทพิมพะว่า “สำนวนโบราณไปหน่อย” (แน่สิก็เรื่องเขาเขียนนานมาแล้ว) และดูเธอไม่ยี่หระความเห็นของคนอื่นเอาเสียเลย ทั้งที่อยากวิวาทะกับเธอสักสี่ห้าประโยคด้วยซ้ำ แต่เธอกลับฮัมเพลง Those were the days ที่ Marry Hopkin ร้องไว้ขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย


Those were the days my friend,

We thought they’d never end,

We’d sing and dance forever and a day,

We’d live the life we choose,

We’d fight and never lose,

For we were young and sure to have our way,


นั่นล่ะ ชีวิตชีวาของผู้หญิง.

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :      …
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528   เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้…
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น …
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา…