Skip to main content

นายยืนยง





ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess)

ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett)

ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา

ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545

จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน


ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต


ใครเคยอ่านบ้าง?

คนที่ไม่ชอบหนังสือแนวแนะนำวิธีการ หรือที่เรียกติดปากว่า ฮาวทู อาจขยับความชิงชังออกห่างไปนิด

แต่ก็ไม่มากหรอก เพราะอย่างไรมันก็คือ ฮาวทู วันยังค่ำ ต่อให้ผู้แปลเป็นดั่งดาวกระจ่างฟ้า เนื้อนัยก็ไม่อาจเทียบรัศมี


ส่วนใคร ๆ ที่อ่านวรรณกรรมจะตอบได้ทันทีว่า เดอะซีเคร็ต เป็นหนังสือสุดเชย และไม่ใช่ของเก่า ประเภทหมักบ่มมาสองชั่วอายุคน แล้วเพิ่งถูกค้นพบจนฮือฮากันไม่เลิก ก็เพราะในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง

เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ของ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ที่เนื่องน้อย ศรัทธา แปลเอาไว้ มีเรื่องราวเดียวกับ หรือคล้ายคลึงกับ เดอะซีเคร็ตเป็นแก่นเรื่อง หนำซ้ำ

เจ้าหญิงน้อยเรื่องนี้ยังอ่านได้อรรถรส น่ารื่นรมย์กว่ากันเยอะ ใครที่เคยอ่านเดอะซีเคร็ตจะรู้สึกเหมือนถูกครอบงำอยู่ตลอดทั้งแต่อักษรตัวแรก


ส่วนใครที่มีวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เจ้าชายน้อย อยู่ในลิ้นชักความทรงจำล่ะก็ ขอฝากให้วาง

เจ้าหญิงน้อย เข้าไปเคียงคู่กันอีกเล่ม เนื่องจาก หนูน้อยซาร่า ครูว์ ก็น่าเอ็นดูไม่แพ้กัน ถึงจะไม่ค่อยมีใครนิยมชื่นชมในแง่ของปรัชญา แต่อ่านแล้วอิ่มเอม ตื้นตัน และอาจทำให้หวนคิดถึงสัจธรรมแบบที่เราหลงลืมไปแล้ว


เจ้าหญิงน้อยของเรา ไม่ได้เป็นเจ้าหญิงโดยชาติกำเนิด เพียงแต่เธอเป็นลูกสาวคนเดียวของนายทหารผู้มีอันจะกิน มีบริวารรับใช้ พรั่งพร้อมบริบูรณ์เท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะมีได้ เว้นก็แต่ เธอไม่มีแม่


ซาร่าอายุสิบสอง เป็นเด็กเฉลียวฉลาดเกินวัย แต่ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ เธอมีจินตนาการบรรเจิด และจินตนาการนี้เองที่ทำให้ชีวิตของเธอห่อหุ่มไว้ด้วยความสุข เป็นจินตนาการที่นึกคิดอย่างเป็นจริงเป็นจัง ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่เท่านั้น เธอยังเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังถึงเรื่องราวเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งทุกคนที่ได้ฟังล้วนติดอกติดใจนิทานแสนสนุกของเธอทั้งนั้น


เรื่องเปิดขึ้นมาเมื่อซาร่าเดินทางจากอินเดียเพื่อเข้าโรงเรียนประจำในอังกฤษ การเดินทางครั้งนี้เท่ากับได้เปิดประตูให้เธอก้าวไปเผชิญโลกโดยปราศจากผู้เป็นพ่อ ญาติทางสายโลหิตคนเดียวในโลก ที่โรงเรียนเธอมีชีวิตประดุจเจ้าหญิง มีห้องส่วนตัว มีคนคอยดูแลรับใช้ มีเสื้อผ้าหรูหรา ตกแต่งห้องส่วนตัวอย่างสุดวิเศษ ที่โรงเรียนนี้เองที่เป็นเสมือนโรงอุปรากรที่มีซาร่ารับบทเป็นเจ้าหญิง


กล่าวถึงการเป็นเจ้าหญิงของซาร่าสักนิด เธอมีจริยวัตรเพียบพร้อมจนไม่น่าเชื่อว่า เจ้าหญิงจริง ๆ จะเป็นได้เท่านี้ด้วยซ้ำ มองในแง่ของอุดมคติ ซาร่าเป็นตัวแทนของความดีงามสูงส่ง เธอเสียสละ มีเมตตา โอบอ้อมอารี ขณะเดียวกันก็กล้าหาญแข็งแกร่ง และเฉลียวฉลาด แต่แล้วเมื่อพ่อของเธอที่อินเดียได้ทำลงทุนไปกับธุรกิจเหมืองเพชรร่วมกับเพื่อนรัก เขาก็ทำให้ทุกอย่างพลิกผัน ซาร่าต้องหมดสิ้นทุกอย่างที่ชีวิตอย่างเจ้าหญิงเคยมี เมื่อเหมืองล้มละลายและสูญเสียพ่อ


ซาร่ามีชีวิตอยู่ได้อย่างไรโดยที่เธอยังเป็นเจ้าหญิงอยู่เหมือนเดิม โดยที่ไม่มีห้องส่วนตัว ไร้เสื้อผ้าหรูหรา และไม่ได้อยู่ในฐานะนักเรียนอีกต่อไป เธอต้องทำงานหนักแลกกับอาหารน้อยนิดและห้องอับ ๆ ที่ใต้หลังคา เธอบอกกับเบ็คกี้ เด็กหญิงรับใช้ว่า

เบ็คกี้ จำได้ไหมที่ฉันเคยบอกเธอว่า เราเป็นเพียงแค่เด็กหญิงเล็ก ๆ –เหมือนกัน—เป็นแค่เด็กหญิงเล็ก ๆ สองคน—เธอเห็นแล้วใช่ไหม ตอนนี้เราไม่มีอะไรแตกต่างกันแล้ว ฉันไม่ใช่เจ้าหญิงน้อยอีกต่อไปแล้ว”


เบ็คกี้บอกว่า “ไม่จริงค่ะคุณหนู” เบ็คกี้ร้องไห้ “คุณหนูยังเป็นเจ้าหญิงน้อยเสมอ—ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น—ไม่ว่าอะไรทั้งนั้น –คุณหนูจะเป็นเจ้าหญิงตลอดไป—ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงได้”


ตลอดเวลาที่ชะตากรรมพลิกผันทำให้เจ้าหญิงน้อยซาร่ากลายเป็นเด็กหญิงรับใช้ประจำโรงเรียน บรรดาผองเพื่อนที่เคยชื่นชมก็แปรเปลี่ยน ยกเว้นเบ็คกี้ เด็กหญิงรับใช้คนเดิม เพื่อนรักของเธอ เออร์เมนการ์ด

และเด็กหญิงล็อตตี้


เมื่อเออร์เมนการ์ดพบว่าซาร่าเพื่อนรักตกอยู่ในสภาพเช่นไรในห้องใต้หลังคาอันอุดอู้ ไม่มีแม้กระทั่งถ่านหินจะจุดไฟให้สว่างอบอุ่น เธอถามซาร่าว่า (หน้า 121)


ฉันไม่เห็นว่ามันจะดีตรงไหน”

ฉันก็เหมือนกัน—ถ้าจะพูดกันตรง ๆ ” ซาร่ายอมรับ “แต่ฉันคิดว่าน่าจะมีความดีในสิ่งต่าง ๆ แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นก็ตาม ... ”

เออร์เมนการ์ดมองดูไปรอบ ๆ ห้องใต้หลังคาด้วยความสงสัยใคร่รู้และหวั่นกลัว

ซาร่า เธอคิดว่าเธอทนอยู่ที่นี่ต่อไปได้หรือ” เออร์เมนการ์ดถาม

ถ้าฉันสมมุติได้ ฉันก็อยู่ได้” แกตอบ “ฉันอาจจะสมมุติว่าที่นี่เป็นสถานที่ในนิทานสักเรื่องก็ได้”

เด็กหญิงพูดช้า ๆ จินตนาการของแกเริ่มทำงาน มันไม่ได้ทำงานอีกเลยนับตั้งแต่เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น


ตลอดเวลาแห่งความทุกข์ระทมที่ดำมืดนั้น ซาร่าจินตนาการถึงความสวยงาม ความสุขตามแบบของเธอ ไม่ว่าในยามหลับยามตื่น จินตนาการนี้เองที่ทำให้ชีวิตไม่อับจนหนทาง ทำให้มีพลังอบอุ่น ทำให้หัวใจของเด็กน้อยไม่อ้างว้างจนเกิดไป เพราะเรื่องที่สมมุติขึ้นนั้นได้เฝ้าปลอบโยนเธอ หล่อเลี้ยงด้วยความหวังที่จะได้พบเจอกับแสงสว่าง


ตรงนี้เองที่วรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้บอกกับเราอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า ต้องคิดให้ได้ว่า... เพื่อเราจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างกล้าหาญ ซึ่งไปพ้องกับหนังสือเดอะซีเคร็ตได้บอกเราชัดเจนถึงเรื่องของ การคิด และความคิดอย่างเป็นระบบ แต่หนังสือฮาวทูเล่มนี้มุ่งเน้นไปที่การตั้งความหวังเพื่อตัวเอง เพื่อความสุข ความสำเร็จส่วนตัว หาใช่เพื่อจะได้เป็นเจ้าหญิงอย่างซาร่า เจ้าหญิงที่แท้จริง ยอมทนทุกข์ทรมานเพื่อคนอื่น มองเห็น และรู้สึกรู้สาไปกับทุกข์ของคนอื่น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง


เมื่อครูใหญ่ถอดซาร่าออกจากการเป็นนักเรียนผู้ทรงเกียรติ เธอต้องรับบทหนักด้วยการงานที่เกินกำลังเด็ก ได้รับแต่คำดุด่าว่ากล่าวอย่างเจ็บแสบนั้น เธอพยายามอดทนอย่างหนัก และเสริมกำลังใจให้ตัวเองด้วยความคิดว่า

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็เปลี่ยนสิ่งหนึ่งไม่ได้” แกพูด “ถ้าฉันจะเป็นเจ้าหญิงนุ่งผ้าขี้ริ้วขาด ๆ ฉันก็ยังคงเป็นเจ้าหญิง การเป็นเจ้าหญิงเพราะมีเสื้อผ้าสวยงามสวมใส่เป็นเรื่องง่าย แต่การเป็นเจ้าหญิงอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีใครรู้เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่กว่า...” (หน้า 162) ประดุจเป็นการตั้งปณิธานต่ออุดมคติที่จะได้เป็นเจ้าหญิงที่แท้จริง


และแล้วผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ห้องติดกันซึ่งเป็นสุภาพบุรุษชาวอินเดียนั่นเอง ที่เข้ามาสร้างปาฏิหาริย์ให้บังเกิดขึ้นแก่เจ้าหญิงตกอับ ชีวิตของซาร่าจะพลิกผันอีกครั้งอย่างไร อุดมคติจะยืนหยัดอยู่ได้ตลอดรอดฝั่งแค่ไหน ต้องลองหามาอ่าน แต่ที่แน่ ๆ ความงดงามปลาบปลื้มจะช่วยชุบชูพลังชีวิตของเราไปพร้อมกับซาร่าด้วย


แม้วรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้จะมีเค้าโครงเรื่องที่แสนธรรมดา คือ มีจุดพลิกผันและจบลงตามขนบของเรื่องแต่ง แต่พลังลึกลับบางอย่างที่แฝงอยู่ภายในกลับเป็นเรื่องไม่ธรรมดา


บ่อยครั้งจะพบว่า เราเรียกร้องให้วรรณกรรมตอบสนองความต้องการอย่างไม่หยุดหย่อน เช่น ต้องรับใช้สังคม รับใช้อุดมคติ หรือดูแลอารมณ์ของสังคม อะไรทำนองที่ดูดี ดูเคร่งขรึม ขณะเดียวกันวรรณกรรมบางเรื่องที่ไม่ได้รับใช้อะไรเลย นอกจากตอบสนองความต้องการของนักเขียน โดยไม่รีรอจะบีบคั้น เร่งรัด บรรดาผู้ที่อ่านมา ราวกับเราเป็นนักโทษ อีกทั้งยังต้องแบกคำถามที่เคี่ยวเค้นเราจนตลอดเรื่อง

อย่างไรก็แล้วแต่ วรรณกรรมย่อมมีจุดคลี่คลายในตัวเอง ต่างแต่ว่าเรื่องใดจะทำหน้าที่นี้ได้มากน้อยกว่ากัน

ผู้อ่านจะเป็นฝ่ายก้าวเข้ามาพิจารณาด้วยตนเอง


ต่างแต่ว่าใครจะพิจารณาแล้วนำไปใช้ประโยชน์เพื่อตัวเองมากจนเบียดบังจนมองไม่เห็นคนรอบข้าง

ที่สาหัสกว่านั้น คือ การตีความจากสิ่งเดียวกันแล้วนำไปแสวงหาผลความดีงามสูงส่งเพื่อปรนเปรอตัวเองกระทั่งหลงงมงายอยู่ในมายาภาพนั้นจนไม่รู้ตัว.


บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :      …
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528   เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้…
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น …
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา…