Skip to main content

นายยืนยง

 
ชื่อหนังสือ           :           นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย
ผู้แต่ง                 :           วิสุทธิ์ ขาวเนียม
ประเภท              :           กวีนิพนธ์รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10
จัดพิมพ์โดย        :           แพรวสำนักพิมพ์
\\/--break--\>

รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10 ได้ประกาศผลและมอบรางวัลกันไปแล้ว ใครที่ด้อม ๆ มอง ๆ รางวัลนี้อยู่บ้าง ย่อมได้กลิ่นวับ ๆ แวม ๆ อยู่บ้างแหละน่า ในกรณีที่ตามกติกาการประกวดนั้น ได้ระบุไว้ชัดว่า ผลงานต้องไม่เคยเผยแพร่ที่อื่นมาก่อน อันถือเป็นกฎที่ถูกนำมาใช้เป็นกฎในการประกวดวรรณกรรมชั้น

ต่าง ๆ หลายรางวัล นับเป็นกฎยอดฮิตที่ทั้งคณะกรรมการและผู้ส่งประกวดนิยมทำให้มันเป็นเรื่องวับ ๆ แวม ๆ ไปได้อย่างครื้นเครง เช่นเดียวกับรางวัลนายอินทร์ครั้งนี้

เนื่องจากมีบทกวีบางบทของพี่กวีบางคนเคยเผยแพร่มาแล้วในสื่อประเภทอินเตอร์เน็ต หรือเผยแพร่กัน

สด ๆ ในงานอ่านบทกวีตามสถานชุมนุมชน ทั้งที่หนึ่งในกรรมการก็เป็นผู้รับรู้ว่างานกวีนิพนธ์ชั้นนั้นได้ถูกเผยแพร่แล้วจนเป็นที่ประจักษ์แก่ตาของตัวเองและผู้อื่น แต่ทั่นกรรมการก็ยังดันทุรังหยิบมาให้เข้ารอบลึก ไปได้หน้าตาเฉย

อีอย่างงี้เขาจะเรียกว่าอะไรดีล่ะ กรรมการตาบอดเรอะ ... ก็เปล่า จะเรียก "ฮั้ว" ตามประสาวงข้าราชการหรือการเมืองเรอะ ก็ฟังระคายรูหูไปหน่อย เรื่องอย่างงี้คนวงในเขาทราบกันดี แต่มิอาจเผยแพร่ให้เสียภาพพจน์กวีผู้ทรงความศักดิ์สิทธิ์ไปได้ ส่วนไอ้ที่เคยมีคนป้องปากกระซิบกระซาบมาว่า มีการเล่นพรรคเล่นพวกกันฉันญาติน้ำหมึกนั้น งานนี้ก็เห็นจะมีมูลละซีทั่น ไม่รู้พากันเฮโลชิงชังรังเกียจนักการเมืองอีท่าไหน ถึงได้ขอยืมนิสัยเลวของนักการเมืองมาใช้ได้อย่างหน้าตาเฉย

ครั้นได้หยิบมาอ่านบรรดาบทกวีที่นำมาเข้าเล่มพิมพ์จำหน่าย เราก็ต้องพยักหน้าหงึก ๆ ยินยอมพร้อมใจรับคอนเซ็ปต์แบบ "หลากหลายทัศน์อย่างกลมกลืน" อย่างหน้าชื่นอกตรม มีทั้งนิยมฉันทลักษณ์และไม่นิยมฉันทลักษณ์กันเลยทีเดียว แหม..ใจกว้างเหลือเกิน (น่าสังเกตว่าเวลาที่มีการประกวดกวีนิพนธ์กันเมื่อไหร่ หากกรรมการตัดสินให้กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ได้รับรางวัล ก็จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า กรรมการใจกว้างอย่างโง้นอย่างงี้มั่งล่ะ กรรมการใจถึงมั่งล่ะ) งานนี้ถือว่าเป็นการรวบรวมกวีนิพนธ์เข้าไว้ด้วยกันเช่นเดียวกันงานสันทนาการ ติดแต่มีสีสันที่จืดชืดไปหน่อยเท่านั้นเอง

ไม่ว่ากัน เพราะเรื่องนี้ถือเป็น "รสนิยมของกรรมการ" ทั่นต่าง ๆ นั่นแหละ ดูหน้ากรรมการก็รู้แล้วล่ะว่าผลงานที่ได้รางวัลจะชวนซี๊ดดดหรือชวนเซ็งงง ปานไหน ก็น่าเห็นใจ เพราะทั่นกรรมการอาจยังปรับตัวปรับทัศนะไม่ทัน เนื่องจากหน้าที่อันหนักหนาในอันที่จะต้องตัดสินกวีนิพนธ์ทั่วฟ้าเมืองไทยนั้นก็สาหัสเอาการไม่ใช่เล่น

อย่ากระนั้นเลย เรามาดูไอ้ที่เข้าตากันสักบทเถอะ ก็กวีนิพนธ์ที่ได้รางวัลชนะเลิศนั่นยังไงล่ะ

นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย ผลงานของ วิสุทธิ์ ขาวเนียม

ฉากแรกเป็นเรื่องของเนื้อหาที่ถูกนำมาเขียนถึงจนบอบช้ำไปหมดแล้ว นั่นคือเรื่องการล่มสลายของภาคเกษตรกรรม หรือชาวนาตายแล้วนั่นเอง

ฉะนั้นนักเขียน กวี โปรดทราบ เมื่อชาวนาตายแล้ว ก็ได้โปรดอย่าตายตามชาวนาไปด้วย เพราะหากท่านลุ่มหลงงมงายกับการเขียนถึงภาคเกษตรกรรมที่ล่มสลายอย่างไม่ลืมหูลืมตาเช่นเดิมล่ะก็ มันก็เท่ากับว่าท่านได้ทำอัตวินิบาตกรรมเท่านั้นเอง

แต่วิสุทธิ์ ขาวเนียมหาได้ทำอัตวินิบาตกรรมไม่ เพราะเขาจงใจเลือกใช้ "มุมมอง" ที่ดู "ซับซ้อน" ขึ้นมา  ซึ่งว่าไปแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยพยุงเนื้อหาให้วิเศษวิโสขึ้นแต่อย่างใด หากแต่ "ตัวบท" นั้นเองต่างหากเล่าที่ได้สะท้อนนัยยะแฝงซึ่งชัดเจนมากกว่าเนื้อหาที่ว่าชาวนาตายแล้วออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำ

(ใครอยากอ่านก็เชิญร้านหนังสือได้ตามสะดวก ฉันไม่หยิบฉวยมาให้อ่านกันตรงนี้นะจ๊ะ ขออภัย )
(ใครอ่านตรงนี้แล้ว ไม่นึกอยากอ่านต่อก็ตามสะดวกเหมียนกัลล์)

มุมมองที่ดูซับซ้อนนั้นคือ
ฉันดูรายการถ่ายทอดสดพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญผ่านหน้าจอทีวี
ตากล้องรุ่นใหม่โฟกัสภาพไปที่นัยน์ตาของโคเสี่ยงทายในพิธี
นัยน์ตาของโคเสี่ยงทายสะท้อนภาคเกษตรที่ล่มสลาย
จะเห็นได้ว่า กว่าที่ "ฉัน" จะได้รับรู้ "สาร" คือ ความล่มสลายของภาคเกษตร จนถึงขั้นสะเทือนใจนั้น  
"สาร" ต้องผ่านนัยน์ตาของตากล้อง ซึ่งย่อมมองผ่านเลนส์กล้อง ผ่านคลื่นดาวเทียมในชั้นบรรยากาศ

ผ่านตัวกลางบรรดามีของเทคโนโลยี มาถึงจอรับภาพทีวี สุดท้ายมาถึง "ฉัน" แต่ทั้งนี้ "สาร" ดังกล่าวนั้น วิสุทธิ์จงใจที่จะให้ตากล้องโฟกัสภาพไปที่ นัยน์ตาขดองโคเสี่ยงทาย เพื่อให้โคเสี่ยงทายเป็นผู้ถ่ายทอด "สาร" ที่แท้จริง

ในขณะที่ "ฉัน" ตื้นตันใน "พิธีกรรม" จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่ "หลวง" จัดขึ้นเพื่อปลุกปลอบขวัญชาวนา และฉันยังตื้นตันว่าหลวงยังเห็นคุณค่าของภาคเกษตรกรรมของชาวนานั้น "ฉัน" ต้องสะเทือนใจกับ "สาร" ที่โคเสี่ยงทายเป็นผู้ถ่ายทอดในขั้นสุดท้าย

ฉะนั้น "ฉัน" ย่อมเป็นตัวแทนของคนไทยในภาคเกษตรหรือคนไทยที่มีสายสัมพันธ์กับภาคเกษตรด้วย เนื่องจากการเลือกใช้ "พิธีกรรม" นี้ ย่อมแสดงออกชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นพิธีกรรมที่หลวงบัญญัติขึ้นเพื่อภาคเกษตรโดยเฉพาะ

นอกจากนั้นวิสุทธิ์ยังให้ภาพของ "ราษฎร" ที่ "แย่งชิงกันจนลนลาน" เก็บ "ของหลวง" ที่ "คนของหลวง" โปรยลงมาจาก "หาบทอง" ภาพนี้ให้ความรู้สึกราวกับราษฎรกำลังแย่งชิงกันเก็บของวิเศษที่โปรยลงมาจากสรวงสวรรค์

มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า มีนัยยะที่แฝงมากับเนื้อหา "ภาคเกษตรกรรมล่มสลาย" เพิ่มมาอีก

1.การเดินทางของ "สาร" ที่ต้องผ่าน "ตัวกลาง" หลากหลาย
2.รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง "หลวง" กับ ชาวนา ที่นอกจากความสะเทือนใจธรรมดา ๆ ที่นัยน์ตาของโคเสี่ยงทายเป็นผู้ถ่ายทอดแล้ว เราย่อมรู้สึกได้มากขึ้นอีกเมื่อชาวนา หรือ ราษฎร เป็นได้ก็เพียงฝ่าย "รับ" ของวิเศษจากหลวง และยังแสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่าง "หลวง" กับ "ราษฎร" ได้อย่างชัดเจน ราวกับเขาได้เปรยขึ้นด้วยความอิดหนาระอาใจ ที่ระคนกันอยู่กับความเศร้าที่ไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้

เพราะราษฎรเป็นเพียงคนกลุ่มใหญ่ที่แทบจะสิ้นไร้ไม้ตอก แม้มีที่ดินทำกินก็ไม่อาจประคับประคองชีวิตให้ยั่งยืนได้ด้วยตัวเอง ต้องคอยพึ่งขวัญกำลังใจจาก "หลวง" เป็นประจำทุกปี ขณะที่หลวงก็ทำได้แค่ประกอบพิธีกรรมตามวัตรกิจอันพึงกระทำตามหลักโบราณราชประเพณีเท่านั้น มันดูเป็นแค่หน้าที่อันฉาบฉวยไม่ต่างจากสีทองที่ฉาบเคลือบตามหาบทอง และถาดทองที่ใช้บรรจุภัตตาหารให้พระโคเสี่ยง

เหล่านี้เป็นนัยยะที่แฝงมาเพื่อเพิ่มความสะเทือนใจให้กับ "สาร" ที่เรียกได้ว่าบอบช้ำซ้ำซาก
เพิ่มอย่างไร ตอบคือ เพิ่มให้ภาคเกษตรเป็นภาคที่น่าเวทนาสงสารที่สุด ถูกหลอกได้ง่ายที่สุด และงมงายที่สุด
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ตากล้องที่ถือเป็นตัวกลางแห่งการสื่อสาร ถามว่าทำไมต้องจงใจใช้
"นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย" เป็นตัวถ่ายทอด "สาร"
เพราะโคพูดไม่ได้เหมือน "หลวง" กับ "ราษฎร" ใช่หรือไม่
ถ้าใช่ นั่นเท่ากับว่า ปากที่พูดได้ย่อมไม่ใช่ "ตัวกลาง"ที่ซื่อสัตย์พอใช่ไหม
หรือเพราะโคเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับการเกษตรมาช้านาน ตีนติดดินพอ ๆ กับชาวนา แต่ทำไมไม่เลือกใช้ "ปาก" ชาวนาในการถ่ายทอด

อีกข้อหนึ่งคือ ขั้นตอนในการสื่อสาร
กว่า "สาร" จะเดินทางมาถึงผู้รับ คือ "ฉัน" นั้น ก็อย่างที่บอก ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน
นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า วิสุทธิ์ต้องการจะเยาะหยันว่าเป็นเพราะขั้นตอนอันซับซ้อนของ "หลวง" ด้วยหรือเปล่าที่ทำให้ปัญหาลุกลามจนเกินเยียวยา

สำหรับกวีนิพนธ์บทที่ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ ฉันถือว่าวิสุทธิ์ได้แสดงออกอย่างลึกซึ้งกว่ากวีนิพนธ์แนวชาวนาตายแล้วอีกหลายต่อหลายบทในตลาดกวีนิพนธ์ขณะนี้ เพราะนอกจากจะบอกภาพแล้ว เขายังวิพากษ์วิจารณ์ทั้ง "หลวง" และ "ราษฎร" ไปพร้อมกัน

สำหรับใครที่ต้องการ "ทางออก" ให้กับปัญหาชาวนาตายแล้ว หรือมีทางออกอยู่แล้วคือ เศรษฐกิจพอเพียงล่ะก็ ไม่จำเป็นต้องอ่านกวีนิพนธ์ก็ได้ ในเมื่อคุณเชื่อถือในเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ก็จงเชื่อไปเถิด เพราะในโลกของวรรณกรรมนั้น "ทางออก" ไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาแต่อย่างเดียว

ไม่เชื่อลองไปถามทั่นกรรมการตัดสินวรรณกรรมดูก็ได้ ไม่แน่คุณกับทั่นอาจเป็นญาติน้ำหมึกกันก็เป็นได้.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :      …
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528   เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้…
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น …
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา…