Skip to main content

นายยืนยง

 

เมื่อวานนี้เอง ฉันเพิ่งถามตัวเองอย่างจริงจัง แบบไม่อิงค่านิยมใด ๆ ถามออกมาจากตัวของความรู้สึกอันแท้จริง ณ เวลานี้ว่า ทำไมฉันชอบอ่านวรรณกรรมมากที่สุดในบรรดาหนังสือทั้งหลาย

คุณเคยถามตัวเองด้วยคำถามเดียวกันนี้หรือเปล่า

 

 

 


ใช่ เมื่อวานฉันเพิ่งอ่าน “บันทึกนกไขลาน” (The Wind-up Bird Chronicle) ผลงานของ ฮารูกิ มูราคามิ ที่ นพดล เวชสวัสดิ์ แปลเอาไว้ นี่เป็นครั้งแรกที่ได้เชยชมรสชาติวรรณกรรมของมูราคามิ ปรมาจารย์แห่งปัจเจกภาพ อย่างที่เสียงในสังคมวรรณกรรมกล่าวขานกันมานาน ฉันเคยอยาก ๆ เซ็ง ๆ กับความต้องการที่จะอ่านมูราคามิอยู่นาน จนกระทั่งในวันที่แดดลมของฤดูมรสุมกระหน่ำเข้าใส่ฉันอย่างไม่ยั้ง


เพราะ “บันทึกนกไขลาน” แท้ทีเดียวที่ทำให้ฉันค้นพบคำถามและคำตอบข้อนั้น


หนังสือวรรณกรรมมีมูลค่าหรือคุณค่าอย่างไรหรือ ฉันจึงติดใจมักนัก

หลายคนบอกว่า อ่านวรรณกรรมแล้วนอกจากจะไม่เมคมันนี่แล้ว ยังต้องจ่ายค่าเสียเวลาในการอ่านซะอีก ผิดกับหนังสือแนวพัฒนาตนเองหรือฮาวทู ซึ่งแนะนำวิธีเมคมันนี่ หรือแนวเศรษฐศาสตร์ที่เสี้ยมสอนให้เราเนรมิตทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นความมั่งคั่งได้


ไม่ใช่เพราะความจงรักภักดีหรอก บางทีฉันก็สนุกกับการอ่านหนังสือทำนายดวง ตื่นเต้นไปกับตำราเศรษฐศาสตร์ หรือฮาวทูนิรมิตแบบคิดบวก หรือไม่ก็กระสันเสียวไปกับหนังสืออย่างว่า แต่ท้ายที่สุดในยามที่หัวตื้อ อารมณ์เฉื่อยชา ไม่ตอบสนองกับแรงกระตุ้นทั้งหลายแหล่ ฉันจะโหยหาเจ้าวรรณกรรม เลือกไอ้ที่ถูกชะตามาสักเล่มนึง แล้วดำดิ่งไปกับมัน จมอยู่กับมันสักห้วงเวลาหนึ่ง แค่นี้ฉันก็แทบสำลักความรื่นรมย์แล้ว


วันนี้ฉันจริงจังกับคำตอบของตัวเองเอามาก มากเสียจนอยากประกาศออกมาว่า

มีแต่วรรณกรรมเท่านั้นที่พิทักษ์รักษาตัวตนของเราเอาไว้ หนังสืออย่างอื่นเป็นได้อย่างมากที่สุดก็แค่ความบันเทิงเริงรมย์ แต่ฉันก็ขลาดกลัวเกินกว่าจะประกาศโต้ง ๆ อย่างนั้น จึงทดลองเขียนคำตอบอย่างเป็นเหตุผลเป็นผลของการชอบวรรณกรรมออกมาเป็นข้อ

ใครเห็นว่าข้อไหนน่าจะใช่ก็เลือกดูตามใจนะ หรือถ้าดูแล้วไม่มีข้อถูก ก็เติมคำตอบได้เองเลย


เพราะชอบในคุณค่าของวรรณกรรมที่มีต่อจิตใจ ดังนั้นตัวเลือกต่อไปนี้จึงเป็นเพียงการแสดงให้เห็นคุณค่าของวรรณกรรมที่มีต่อ “ตัวเรา” (เชิงปัจเจกบุคคล)


ข้อแรก แน่นอนที่สุด คุณค่าของวรรณกรรมจะเกิดมรรคผลต่อจิตใจได้ก็ต่อเมื่อมันถูกอ่านโดยผู้อ่าน นั่นคือก่อให้เกิดการเดินทางของ “สาร” ถ้าหนังสือไม่ถูกอ่าน คุณค่าของมันจะมีแต่ในทางรูปธรรม คือเป็นรูปทรงสามมิติ กินพื้นที่และมีมวล อันสัมพันธ์กับแรงดึงดูดของโลก ไม่ต่างจากวัตถุทั่วไป แต่เมื่อใดก็ตามที่ “สาร” เดินทางไปสู่ “ผู้รับสาร” แล้ว พยางค์แรกที่ผู้รับสารออกเสียงได้คือ แรงกระทบใจ

ทางญาณวิทยาอธิบายไว้ว่า เรื่องราวในนวนิยาย หรือเรื่องแต่ง ก่อเป็นมโนภาพ (idea) ทั้งเชิงเดี่ยว (simple idea) และเชิงซ้อน (complex idea)


แรงกระทบใจหรือความสะเทือนใจเกิดขึ้นได้อย่างไร

ทั้งที่เราต่างก็ตระหนักได้ว่า มันคือเรื่องแต่ง ไม่ใช่เรื่องจริง หรือว่าเราเสแสร้งสะเทือนใจไปกับชะตากรรมของตัวละครเท่านั้นเอง มีหลายทฤษฎีที่ตั้งสมมุติฐานกับความรู้สึกร่วมของผู้อ่านที่มีต่อเรื่องแต่ง


มาถึงตรงนี้ ฉันเริ่มอธิบายกับตัวเองได้ยากว่า เราเสแสร้งสะเทือนใจหรือแท้แล้วเรารู้สึกไปกับมันจริง ๆ และให้บังเอิญเหลือเกิน ฉันได้ไปอ่านเจอบทความที่น่าสนใจจาก www.midnightuniv.org ที่อธิบายเกี่ยวกับความรู้สึกร่วมของผู้รับสารที่มีต่อเรื่องแต่ง ในบทความเรื่อง ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ : มุมมองผ่านทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และเรื่อง คำตอบจิตวิทยา : ทำไมเราจึงรู้สึกกลัวเมื่อชมภาพยนตร์สยองขวัญ โดยผู้วิจัยนาม วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ ซึ่งมีการยกเอาหลายทฤษฎีมาอธิบายไว้อย่างน่าสนใจ ขณะเดียวกันก็สามารถนำมาอธิบายในอารมณ์ของการอ่านวรรณกรรมได้ด้วย ขอคัดลอกมาให้อ่านกันบางส่วน


โดยปกติมนุษย์เรามักถูกทำให้มีอารมณ์คล้อยตามไปกับบุคลิกและสถานการณ์ของบุคคลอื่น ๆ เราเสียใจกับคนเคราะห์ร้าย ขุ่นเคืองกับความอยุติธรรม ปฏิกิริยาของเราที่มีต่อตัวละครก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย ... ตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่องได้โน้มน้าวความสนใจให้จดจ่ออยู่กับบุคลิกและสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและหลงลืมความเป็นจริงรอบตัวไป

Noel Carroll ต้องการชี้คือ อารมณ์ของเราที่เกิดขึ้นอย่างตอบสนองกับสิ่งที่เรารับรู้นั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการอาศัยความเชื่อถือความเป็นจริงของเนื้อหา เรื่องราวเป็นปัจจัยหลัก หากแต่อารมณ์ของผู้ชมที่เกิดขึ้นตอบโต้กับภาพยนตร์นั้น ถูกสร้างโดยกระบวนการโน้มน้าวทางอารมณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยวิธีการทางศิลปะ ซึ่งวิธีการบรรยายและโน้มน้าวสภาพอารมณ์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในความเป็นจริงของเนื้อหาเรื่องราวเหล่านั้น (คล้าย ๆ กับการพูดถึงกองอุนจิขณะที่เรากำลังกินข้าวกันอยู่ เราจะเกิดอาการสะอิดสะเอียนขึ้นมาได้ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าขณะนี้ไม่มีกองอุนจิใด ๆ ทั้งสิ้น)


สรุปว่าเรื่องแต่งอย่างวรรณกรรมก่อให้เกิดความสะเทือนใจลึกซึ้งได้ ขณะเดียวกับสิ่งที่เชื่อมระหว่างวรรณกรรมกับผู้อ่านนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้อ่าน (Impression) และผัสสะที่ถูกกระตุ้นโดยวรรณกรรม


แวบหนึ่ง ฉันนึกถึงนักเขียนที่ฉันชิงชังผลงานของเขา เกลียดชนิดไม่อยากแตะต้องหนังสือเล่มนั้นอีก แต่ในขณะเดียวกัน ผลงานเล่มนั้นกลับเป็นวรรณกรรมที่เข้าขั้นน่ายกย่องในรสนิยมของฉันด้วย นักเขียนคนนั้นคือ แดนอรัญ แสงทอง จะเป็นใครไปไม่ได้ และแน่นอนไอ้ตัวการนั่นคือ เงาสีขาว

นวนิยายของอาชญากรเล่มนั้นเอง


ภาพปะติดปะต่อจากแดนอรัญ แสงทอง ทำให้ฉันอนุมานได้ถึงทัศนคติที่เขามีต่อหนังสือดีว่า

หนังสือจะดีมีคุณค่าขึ้นมาได้ก็เพราะผู้อ่าน ไม่ว่าเราจะอ่านหนังสืออะไร ถ้าเราเกิด “ค้นพบ” จุดไคลแมกซ์ของมันก็เท่ากับว่า เราได้ค้นพบคุณค่าของหนังสือนั่นเอง


เช่นเดียวกับวรรณกรรม

สรุปว่า คำตอบที่เป็นตัวเลือกแรกที่ฉันขอเสนอคือ วรรณกรรมทำให้ค้นพบคำตอบในข้อสงสัย ขณะที่มันตอบเรา มันก็ได้ถามเราต่อด้วย อีกทั้งมันยังกระตุ้นให้เรากระหายที่จะแสวงหาคำตอบต่อไป ซึ่งแสดงให้เราตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ โดยไม่ต้องพึ่งอิงบริบทอื่นใดของสังคมมากนัก

นับว่าวรรณกรรมเป็นปุจฉา-วิสัชนาแห่งชีวิต

ใครว่าตัวเลือกนี้น่าจะใช่บ้าง...


ต่อด้วยข้อที่สอง นี่อาจเป็นเพียง “การเล่นกายกรรมทางความคิดและภาษา” (สำนวนของอ.เจตนา นาควัชระ) ก็เป็นได้ เพราะวรรณกรรมได้ตอบสนองความต้องการที่จะแสวงหาความหมาย หรือนิยามของชีวิต


คงเคยได้ยินใครเปรยว่า ชอบนิยายเรื่องนี้เพราะมันเหมือนพูดแทนใจของเรา

ความรู้สึกเช่นนี้ประกอบขึ้นได้อย่างไร อันนี้ก็เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์ที่ยกบางส่วนจากผลงานวิจัยข้างต้นมาให้อ่าน แต่จุดสำคัญของข้อนี้อยู่ตรงที่ “ภาษาของวรรณกรรม”


ภาษาตามความหมายในนิรุกติศาสตร์ คือ วิธีที่มนุษย์แสดงความในใจ เพื่อให้ผู้ที่ตนต้องการให้รู้ได้รู้

กล่าวได้ว่า วรรณกรรมคือกระบวนการไขความสัญลักษณ์ทางภาษา ที่ก่อให้เกิดมโนภาพที่ซ้อนซับอยู่ในใจผู้อ่าน ก่อเป็นความผูกพันในตัวละครและเรื่องราวเหล่านั้น คุณค่าของวรรณกรรมจึงอยู่ตรงที่การตีความผ่านสัญลักษณ์ทางภาษานี่เอง


ตัวเลือกของฉันมีแค่นี้เอง หากใครเห็นว่า “ยังไม่ใช่” ขอได้ “ชี้แนะ” ด้วย


ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ฉันสารภาพว่าได้รับแรงบันดาลใจอย่างมหาศาลจากนวนิยายเรื่อง บันทึกนกไขลาน นวนิยายขนาดหนาปึ้กเล่มนี้เอง มันเป็นดั่งมหากาพย์ของปัจเจกภาพ น่าทึ่งตรงที่ชีวิตของคนที่เลือกจะตกงานคนหนึ่ง ได้เกี่ยวโยงไปถึงภูมิภาคแห่งประวัติศาสตร์ ความเป็นชาติอันเก่าแก่


นอกจากนี้ “บันทึกนกไขลาน” ยังทำให้ฉันมองเห็นความสร้างสรรค์ได้ชัดเจนขึ้น เพราะมันได้กระตุ้นให้คิดไปได้ว่า ในร่างกายของมนุษย์เรานี้ ส่วนที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดซึ่งยังคงดำรงอยู่มาจนถึงวินาทีที่เราหายใจอยู่นี้ อาจจะเป็นส่วนเล็กย่อยที่สุดในร่างกายของเรา คือ ดีเอ็นเอ ก็เป็นได้


ส่งท้ายนิดหนึ่งกับ “บันทึกนกไขลาน” ใครอ่านแล้วบ้าง

สำหรับฉัน นอกจากเราจะได้พบกับเรื่องราวอันเปี่ยมด้วยแรงดึงดูดแล้ว มันยังเป็นงานมหกรรมแห่งทฤษฎีบทที่รวบรวมเอาบรรดาข้อกังขาในแต่ทฤษฎีมาแสดงให้เห็นถึง “ช่องว่าง” ระหว่างกัน เห็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกัน ไล่ตั้งแต่ลัทธิญาณนิยม (Mysticism) อันเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นพร้อมกับการถือกำเนิดของมนุษย์ ลัทธิดึกดำบรรพ์ที่เชื่อถือปรากฎการณ์นอกเหนือธรรมชาติ มนุษย์ติดต่อกับวิญญาณได้ มาจนถึงลัทธิปัจเจกนิยม (Individualism) รวมทั้งตรรกะนิยมและอตรรกนิยม สารพัดสารพันจะเอ่ยอ้างถึงลัทธิบรรดามี และแท้จริงแล้ว

ยังกล่าวถึงความแปลกแยกอันสะท้อนถึงจิตวิญญาณของปัจเจกภาพ ก็เป็นดั่งแอ่งเล็ก ๆ ที่วางตัวเองอยู่บนผืนดินอันไพศาลของโลกมนุษย์


ฉันถือว่า บันทึกนกไขลาน เป็นสุ้มเสียงแห่งยุคสมัยที่แท้จริงอย่างยิ่ง เนื่องจากมันได้สำรวจตรวจสอบไปถึง “ความตาย” “การเกิดและการเกิดใหม่” ปรากฎการณ์ของการคลี่ทับของโลกภายในจิตใต้สำนึกกับโลกของจิตสำนึก เสมือนหนึ่งเป็นการทำลายกำแพงของ “สติ” กับ “ไร้สติ” ทลายกำแพงซึ่งปกป้องปัจเจกชนเอาไว้ในอุดมคติออกมาสู่โลกที่อยู่นอกเหนือเหตุและผล


ใครก็ตามที่ได้ลิ้มรสวรรณกรรมเรื่องนี้ ย่อมหนีไม่พ้นความกระหายแห่งชีวิต อย่างที่อีวาน ปัญญาชนหนุ่มวัยสามสิบในเรื่องพี่น้องคารามาซอฟ เคยคิดจะขว้างจอกแห่งชีวิตทิ้งไปอย่างไม่นึกเสียดายเลย แต่ถ้า อีวานมีชีวิตอยู่และทันได้อ่านบันทึกนกไขลานแห่งศตวรรษนี้ เขาอาจไม่อยากทำเช่นนั้นก็เป็นได้.

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           พ.๒๗ สายลับพระปกเกล้าฯ ผู้เขียน               :           อ.ก. ร่งแสง (โพยม โรจนวิภาต)ประเภท              :           สารคดีประวัติศาสตร์          พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ.…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ฝรั่งคลั่งผี ผู้เขียน : ไมเคิล ไรท จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม 2550 อ่าน ฝรั่งคลั่งผี ของ ไมเคิล ไรท จบ ฉันลิงโลดเป็นพิเศษ รีบนำมา “เล่าสู่กันฟัง” ทันที จะว่าร้อนวิชาเกินไปหรือก็ไม่ทราบ โปรดให้อภัยฉันเถิด ในเมื่อเขาเขียนดี จะตัดใจได้ลงคอเชียวหรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เด็กบินได้ ผู้เขียน : ศรีดาวเรือง ประเภท : นวนิยายขนาดสั้น พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2532 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์กำแพง มาอีกแล้ว วรรณกรรมเพื่อชีวิต เขียนถึงบ่อยเหลือเกิน ชื่นชม ตำหนิติเตียนกันไม่เว้นวาย นี่ฉันจะจมอยู่กับปลักเพื่อชีวิตไปอีกกี่ทศวรรษ อันที่จริง เพื่อชีวิต ไม่ใช่ “ปลัก” ในความหมายที่เราชอบกล่าวถึงในแง่ของการย่ำวนอยู่ที่เดิมแบบไร้วัฒนาการไม่ใช่หรือ เพื่อชีวิตเองก็เติบโตมาพร้อมพัฒนาการทางสังคม ปลิดขั้วมาจากวรรณกรรมศักดินาชน เรื่องรักฉันท์หนุ่มสาว เรื่องบันเทิงเริงรมย์…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : คนซื้อฝัน ผู้เขียน : ศุภร บุนนาค ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2537 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย ตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะอ่านหนังสือของนักเขียนไทยให้มากกว่าเดิม ฉันดำเนินการแล้วล่ะ อ่านแล้ว อิ่มเอมกับอรรถรสแบบที่หาจากวรรณกรรมแปลไม่ได้ หาจากภาษาของนักเขียนไทยรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะได้ จนรู้สึกไปว่า คุณค่าของภาษาได้แกว่งไกวไปกับกาละด้วย
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เพลงกล่อมผี ผู้เขียน : นากิบ มาห์ฟูซ ผู้แปล : แคน สังคีต จาก Wedding Song ภาษาอังกฤษโดย โอลีฟ อี เคนนี ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2534 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์ หนาวลมเหมันต์แห่งพุทธศักราช 2552 เยียบเย็นยิ่งกว่า ผ้าผวยดูไร้ตัวตนไปเลยเมื่อเจอะเข้ากับลมหนาวขณะมกราคมสั่นเทิ้มด้วยคน ฉันขดตัวอยู่ในห้องหลบลมลอดช่องตึกอันทารุณ อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่อุดม ไรฝุ่นยั่วอาการภูมิแพ้ โรคประจำศตวรรษที่ใครก็มีประสบการณ์ร่วม อ่านเพลงกล่อมผีของนากิบ มาห์ฟูซ ที่แคน สังคีต ฝากสำนวนแปลไว้อย่างเฟื่องฟุ้งเลยทีเดียว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง สวัสดีปี 2552 ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เงาสีขาวผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย  ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซสอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : เงาสีขาว ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน ปกติฉันไม่นอนดึกหากไม่จำเป็น และหากจำเป็นก็เนื่องมาจากหนังสือบางเล่มที่อ่านค้างอยู่ มันเป็นเวรกรรมอย่างหนึ่งที่ดุนหลังฉันให้หยิบ เงาสีขาว ขึ้นมาอ่าน เวรกรรมแท้ ๆ เชียว เราไม่น่าพบกันอีกเลย คุณแดนอรัญ แสงทอง ฉันควรรู้จักเขาจาก เรื่องสั้นขนาดยาวนาม อสรพิษ และ นวนิยายสุดโรแมนติกในนามของ เจ้าการะเกด เท่านั้น แต่กับเงาสีขาว มันทำให้ซาบซึ้งว่า กระบือย่อมเป็นกระบืออยู่วันยังค่ำ (เขาชอบประโยคนี้นะ เพราะมันปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาตั้งหลายครั้ง)…
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร   ผลงานของนักเขียนไทยในแนวของเมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสัจนิยมมายา ที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ซึ่งจะนำมาเขียนถึงต่อไป เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างงานที่แท้กับงานเสแสร้ง เผื่อว่าจะถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกที่รักมักที่ชัง แม้นรู้ดีว่าข้อเขียนนี้เป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคล แต่ฉันคิดว่าบางทีรสนิยมก็น่าจะได้รับคำอธิบายด้วยหลักการได้เช่นเดียวกัน…
สวนหนังสือ
เมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือที่แปลเป็นไทยว่า สัจนิยมมายา หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ เป็นแนวการเขียนที่นักเขียนไทยนำมาใช้ในงานเรื่องสั้น นวนิยายกันมากขึ้น ไม่เว้นในกวีนิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจาก ผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึ่งมาเกซเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ฮวน รุลโฟ (ฆวน รุลโฟ) จากผลงานนวนิยายเรื่อง เปโดร ปาราโม อีกทอดหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์วรรณกรรมแนวนี้ถูกตัดตอน ขอกล่าวถึงต้นธารของงานสกุลนี้สักเล็กน้อย กล่าวถึงฮวน รุลโฟ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฆวน รุลโฟ ทำให้หวนระลึกถึงผลงานแปลฉบับของ ราอูล ที่ฉันตกระกำลำบากในการอ่านอย่างแสนสาหัส…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครนA SHORT HISTORY OF TRACTORS IN UKRAINIAN ผู้เขียน : MARINA LEWYCKA ผู้แปล : พรพิสุทธิ์ โอสถานนท์ ประเภท : นวนิยายแปล พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน และแล้วฉันก็ได้อ่านมัน ไอ้เจ้าแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เมียงมองอยู่นานสองนานแล้วได้สมใจซะที ซึ่งก็สมใจจริงแท้แน่นอนเพราะได้อ่านรวดเดียวจบ (แบบต่อเนื่องยาวนาน) จบแบบสังขารบอบช้ำเมื่อต่อมขำทำงานหนัก ลามไปถึงปอดที่ถูกเขย่าครั้งแล้วครั้งเล่า ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เป็นนวนิยายสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ดึงดูดแบบยุคทุนนิยมเสรี…