Skip to main content

‘นายยืนยง’

 

20080117 ภาพปกหนังสือ วิมานมายา

 

ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beauties
ประเภท         :    วรรณกรรมแปล
จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
พิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐
ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ
ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   

 

การนอนหลับและการฝันเป็นกิจกรรมตามปกติของมนุษย์ บางครั้งฝันร้ายทำให้เราหวาดผวาไปหลายวัน บางภาพฝันก็เวียนซ้ำหลอกหลอนอย่างยากจะสลัดให้ลืม แต่บางภาพฝันก็ผ่านวาบไร้ร่องรอยในความรู้สึก

Sigmund Freud ได้ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการนอนหลับและความฝัน เขารู้สึกว่า โดยทั่วไปแล้ว ในความฝันมีเนื้อหาที่แอบแฝงเกี่ยวพันกับความปรารถนาซึ่งไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งจะสร้างความปวดร้าวหรือทุกข์ใจ ขณะในงานวรรณกรรมหลายเรื่องได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาของความฝันเช่นกัน  ยกตัวอย่างเช่น ในนวนิยายเรื่อง สมัญญาแห่งดอกกุหลาบบทประพันธ์ของ อุมแบร์โต เอโก ที่ตัวเอกเอดโซสามารถถอดรหัสเพื่อหาทางเข้าไปยังหออาลักษณ์ได้จากความฝันอันแสนแปลกพิสดารของเขาเอง แม้กระทั่งภาพความฝันของ Kakule นักเคมีชาวเยอรมัน ซึ่งกำลังครุ่นคิดถึงโครงสร้างต่างๆ ของน้ำมันเบนซินซึ่งดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จเอาเลย แต่ในความฝันของเขามันได้เสนอแนะถึงโครงสร้างวงแหวนอันหนึ่งที่เสนอทางออก หรือการแก้ปัญหาที่ถูกต้องให้กับเขาและแม้กระทั่งในตำราทำนายฝันที่เราคุ้นเคยกันดี

ในที่นี้ขอกล่าวถึง วิมานมายาวรรณกรรมเล่มกะทัดรัดบทประพันธ์ของ ยาสึนาริ คาวาบาตะ ที่ วันเพ็ญ บงกชสถิตย์ ได้ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยอย่างเต็มอรรถรสโดยคงเค้าลีลาอย่างวรรณกรรมสัญชาติญี่ปุ่นไว้อย่างชัดเจน

วิมานมายา ประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๐ –๑๙๖๑ ซึ่งเป็นช่วงที่สังคมญี่ปุ่นกำลังประสบกับปัญหามากมาย เช่นการต่อต้านการต่อสนธิสัญญาร่วมกันป้องกันระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกา (Ampo Toso) ที่มีการต่อต้านกันทั่วประเทศ ฝ่ายขวาจัดได้ขู่สังหารฟูกาซาว่าชิชิโร่ที่ได้ประพันธ์เรื่องที่หมิ่นสถาบันจักรพรรดินายกรัฐมนตรีถูกทำร้ายร่างกาย อาซานุมะเลขาธิการพรรคสังคมนิยมถูกวัยรุ่นขวาจัดลอบสังหารตอนปราศรัยที่สวนฮิบิย่า เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นเหตุการณ์ร้ายคุกคามเสถียรภาพของสังคมญี่ปุ่น งานประพันธ์ของคาวาบาตะชิ้นนี้จึงเป็นการแสวงหาความกลมกลืนของคนกับสังคมในโลกวรรณกรรม ที่ทั้งคนและฉากนั้นผิดจากสังคมธรรมดา (คัดมาจาก คำนำ)  

วิมานมายาเป็นเรื่องราวประสบการณ์แปลกของชายชราวัย ๖๗ นาม เองุชิ ผู้หมดสมรรถภาพทางเพศแล้วเขาได้เข้าไปใช้บริการบ้านนางนิทรา ได้นอนหลับเคียงข้างสาวน้อยพรหมจาริณีที่เปลือยกายและหลับสนิท โดยเล่าเรื่องผ่านกระแสความรู้สึกนึกคิดของเฒ่าเองุชิ ที่ถูกกระตุ้นโดยบุคลิกภาพเฉพาะของนางนิทราจำนวน ๖ คนใน ๕ ค่ำคืน

เด็กสาวพรหมจาริณีแต่ละนางล้วนถูกทำให้หลับสนิทราวกับจะไม่มีวันตื่นอีกแล้ว เรือนร่างอันงดงามเหล่านั้นล้วนปลุกเร้าให้เฒ่าเองุชิได้ย้อนกลับไปเป็นคนหนุ่มอีกครั้ง ด้วยความนึกคิดถึงเรื่องราวในอดีตรูปการณ์นี้เองที่เป็นความขัดแย้งสำคัญของเรื่อง โดยสองขั้วระหว่างเพศชายหญิงและสองขั้วระหว่างวัยสาวกับวัยชรา ขณะที่ฝ่ายชายชราได้มองเห็นตัวเองจากสาววัยแรกรุ่น เรือนร่างเด็กสาวนิทราก็เป็นฝ่ายคอยตอกย้ำกระตุ้นให้ชายชราตระหนักในความรัดทด หดหู่และความตายสิ่งนี้กระมังที่ให้หญิงสาวผู้หลับใหลกลับมีชีวิตขึ้นมา

แต่ละค่ำคืนเฒ่าเองุชิได้นอนหลับเคียงข้างนางนิทรา เรื่องราวต่างๆค่อยรินออกมาจากความทรงจำในวัยหนุ่มกระทั่งเขาหลับไปความฝันจึงเข้ามามีบทบาทในเรื่อง

หลักใหญ่ใจความของเรื่องดำเนินอยู่ในรูปแบบของการพรรณนาถึงสภาวะของจิตวิญญาณอันโดดเดี่ยว โหยหาของชายชราเป็นสภาวะที่เกือบจะเรียกได้ว่าฟุ้งฝันเพ้อเจ้อแต่ในความเบาหวิวเลื่อนลอยนั้นล้วนเป็นเรื่องที่น่าครุ่นคิดยิ่ง

จากวรรณกรรมเล่มนี้ เราจะสะดุดใจกับการเปรียบเปรยที่เต็มไปด้วยนัยยะทางปรัชญาจะได้เห็นพฤติกรรมของเฒ่าเองุชิ ที่แปรไปตามบุคลิกจำเพาะของสาวนิทราแต่ละนางในที่นี้ อยากกล่าวเกี่ยวกับความฝันแม้จะไม่ได้หัวใจของเรื่องแต่เราก็ไม่อาจละเลย

ประสบการณ์ครั้งแรกของเฒ่าเองุชินั้น เขาได้กลิ่นน้ำนมจากกลิ่นกายของนางนิทรา ทำให้หวนระลึกถึงชู้รักที่เป็นเกอิชานางรู้ว่าเขาแต่งงานและมีลูกแล้ว และนางขยะแขยงกลิ่นน้ำนมที่เป็นกลิ่นประจำตัวของทารกซึ่งติดตัวเขามา เมื่อได้พบกันเมื่อหลับตาลงเขาคิดถึงวันคืนที่เขาหนีไปเกียวโตพร้อมเด็กสาวที่มีรอยเลือดตรงทรวงอก แต่เขาก็ไม่ได้แต่งงานกับเธอจากนั้นก็หลับลงอย่างง่ายดายด้วยยานอนหลับที่หญิงเจ้าของบ้านจัดไว้ให้เขาฝันไปว่า (หน้า ๔๔)

ตนอยู่ในอ้อมอกของผู้หญิงที่มีสี่ขา ขาทั้งสี่นั้นกระหวัดเกี่ยวเขาไว้ หล่อนมีแขนด้วย แม้ว่าเขาจะ   อยู่ในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่นเขาก็รู้สึกว่าการมีสี่ขาค่อนข้างเป็นเรื่องประหลาดแต่ไม่น่าขยะแขยง    ขาทั้งสี่นั้นเย้ายวนอารมณ์มากกว่าขาสองขาและความรู้สึกนั้นยังคงติดตรึงอยู่ในใจ ...


ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าเรื่องราวจากกระแสสำนึกของเฒ่าเองุชิที่ลื่นไหลออกมาจากความทรงจำ จากการถูกกระตุ้นด้วยเรือนร่างของนางนิทรานั้นล้วนเป็นเรื่องราวที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ทั้งการหนีไปพร้อมเด็กสาวทั้งพฤติกรรมชู้สาวกับเกอิชาล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เขาฝันประหลาดดังกล่าว

ตามความคิดของ Freud  สัญลักษณ์ของความฝันส่วนใหญ่แล้วมีความหมายไปทางด้านเซ็กซ์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าความฝันดังกล่าวของเฒ่าเองุชิที่ว่าหญิงที่มี ๔ ขานั้นไม่น่าขยะแขยงทั้งยังน่าเย้ายวนมากกว่า ๒ ขาได้ถูกบีบอัดรวมตัวมาจากความคิดรู้สึกผิดจากประสบการณ์ทางเพศในวัยหนุ่ม ขณะเดียวกันเขารู้สึกสุขสำราญใจกับการได้ประพฤติเชิงชู้สาวแบบนั้นความฝันจึงออกมาในรูปปฏิเสธ ดังนั้นความรู้สึกในความฝันหญิงที่มี๔ขาจึงไม่น่าเกลียดและยิ่งเย้ายวน

อีกภาพความฝันหนึ่งที่เกิดขึ้นในคืนเดียวกัน (หน้า ๔๕)

ลูกสาวคนหนึ่งของเขาให้กำเนิดบุตรพิการที่โรงพยาบาล เมื่อตื่นขึ้นมาผู้ชราก็ลืมไปแล้วถึงความ    พิการนั้นว่าเป็นความพิการชนิดใด บางทีเขาอาจจะไม่ต้องการจำมันก็ได้เพราะไม่น่าดู เด็กถูก    แยกจากแม่ทันที แกอยู่หลังม่านสีขาวในห้องผู้เป็นมารดา หล่อนจับเด็กสับเป็นชิ้น ๆ และเตรียม    ที่จะโยนแกทิ้งไป หมอในชุดขาวซึ่งเป็นเพื่อของเองุชิยืนอยู่ข้างหล่อน ตัวเองุชิเองก็ยืนอยู่ข้าง    หล่อนเช่นกัน ... ฯลฯ


จากภาพความฝันชุดนี้  การที่เขายืนอยู่ข้างลูกสาวขณะหล่อนสับทารกพิการเป็นชิ้น ๆ นั้นน่าจะเกี่ยวโยงกับกลิ่นน้ำนม ที่ได้จากกลิ่นกายของนางนิทราที่นอนอยู่เคียงข้างเขา กลิ่นน้ำนมและทารกนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ผุดผ่องไร้มลทิน และความบริสุทธิ์ดังกล่าวกระมังที่เขาไม่อาจยอมรับได้ จากหน้า ๕๙ พรหมจารีย์ของเด็กสาวเป็นเสมือนความอัปลักษณ์ของชายชรามากกว่า ดังนั้นในความฝันเขาจึงยืนอยู่ข้างลูกสาว

Freud ยืนยันว่าความฝันต่าง ๆ เป็นรูปการอันหนึ่งของการทำให้ความปรารถนาที่ถูกกดข่มได้บรรลุผล หรือมีช่องทางการแสดงออกถ้าความปรารถนานั้นไม่ได้รับความพึงใจในยามกลางวันตามปกติ จิตใจก็จะปฏิบัติการหรือแสดงปฏิกิริยาของมันด้วยการกระตุ้นภายในโดยการแปรเปลี่ยนไปสู่สภาพเพ้อฝัน (visual fantasy) ซึ่งยอมให้ผู้ฝันพึงพอใจกับความปรารถนาอันนั้น ผลลัพธ์ของความฝันเหล่านั้นก็คือทำให้การนอนหลับในยามค่ำคืนเป็นไปอย่างสงบ ดังนั้นเมื่อเองุชิได้แสดงปฏิกิริยาในความฝันแล้วเขาจึงหลับใหลไปอย่างรวดเร็ว

นอกจากเนื้อหาจากความฝันแล้ว วิมานมายายังเต็มไปด้วยลักษณะพิเศษอีกหลายประการซึ่งล้วนน่าศึกษายิ่งเป็นวรรณกรรมแปลอีกเล่มที่นักอ่านไม่ควรละเลย

นอกจากนี้วรรณกรรมอีกหลายเรื่องที่ใช้ความฝันเป็นกลไกอธิบายสภาวะบางด้านมนุษย์ เนื่องจากในโลกของการตื่นนั้นอาจชัดแจ้งเกินไปที่จะถ่ายทอดหากโลกของความตื่นมีมิติให้ค้นหาแล้วโลกของความฝันย่อมมีสิ่งท้าทายรออยู่เช่นกัน.

ข้อมูลอ้างอิง  :  บทความเรื่อง การนอนหลับและการฝัน การศึกษาทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาเรียบเรียงโดยอาจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม , มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           พ.๒๗ สายลับพระปกเกล้าฯ ผู้เขียน               :           อ.ก. ร่งแสง (โพยม โรจนวิภาต)ประเภท              :           สารคดีประวัติศาสตร์          พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ.…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ฝรั่งคลั่งผี ผู้เขียน : ไมเคิล ไรท จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม 2550 อ่าน ฝรั่งคลั่งผี ของ ไมเคิล ไรท จบ ฉันลิงโลดเป็นพิเศษ รีบนำมา “เล่าสู่กันฟัง” ทันที จะว่าร้อนวิชาเกินไปหรือก็ไม่ทราบ โปรดให้อภัยฉันเถิด ในเมื่อเขาเขียนดี จะตัดใจได้ลงคอเชียวหรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เด็กบินได้ ผู้เขียน : ศรีดาวเรือง ประเภท : นวนิยายขนาดสั้น พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2532 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์กำแพง มาอีกแล้ว วรรณกรรมเพื่อชีวิต เขียนถึงบ่อยเหลือเกิน ชื่นชม ตำหนิติเตียนกันไม่เว้นวาย นี่ฉันจะจมอยู่กับปลักเพื่อชีวิตไปอีกกี่ทศวรรษ อันที่จริง เพื่อชีวิต ไม่ใช่ “ปลัก” ในความหมายที่เราชอบกล่าวถึงในแง่ของการย่ำวนอยู่ที่เดิมแบบไร้วัฒนาการไม่ใช่หรือ เพื่อชีวิตเองก็เติบโตมาพร้อมพัฒนาการทางสังคม ปลิดขั้วมาจากวรรณกรรมศักดินาชน เรื่องรักฉันท์หนุ่มสาว เรื่องบันเทิงเริงรมย์…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : คนซื้อฝัน ผู้เขียน : ศุภร บุนนาค ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2537 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย ตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะอ่านหนังสือของนักเขียนไทยให้มากกว่าเดิม ฉันดำเนินการแล้วล่ะ อ่านแล้ว อิ่มเอมกับอรรถรสแบบที่หาจากวรรณกรรมแปลไม่ได้ หาจากภาษาของนักเขียนไทยรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะได้ จนรู้สึกไปว่า คุณค่าของภาษาได้แกว่งไกวไปกับกาละด้วย
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เพลงกล่อมผี ผู้เขียน : นากิบ มาห์ฟูซ ผู้แปล : แคน สังคีต จาก Wedding Song ภาษาอังกฤษโดย โอลีฟ อี เคนนี ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2534 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์ หนาวลมเหมันต์แห่งพุทธศักราช 2552 เยียบเย็นยิ่งกว่า ผ้าผวยดูไร้ตัวตนไปเลยเมื่อเจอะเข้ากับลมหนาวขณะมกราคมสั่นเทิ้มด้วยคน ฉันขดตัวอยู่ในห้องหลบลมลอดช่องตึกอันทารุณ อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่อุดม ไรฝุ่นยั่วอาการภูมิแพ้ โรคประจำศตวรรษที่ใครก็มีประสบการณ์ร่วม อ่านเพลงกล่อมผีของนากิบ มาห์ฟูซ ที่แคน สังคีต ฝากสำนวนแปลไว้อย่างเฟื่องฟุ้งเลยทีเดียว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง สวัสดีปี 2552 ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เงาสีขาวผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย  ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซสอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : เงาสีขาว ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน ปกติฉันไม่นอนดึกหากไม่จำเป็น และหากจำเป็นก็เนื่องมาจากหนังสือบางเล่มที่อ่านค้างอยู่ มันเป็นเวรกรรมอย่างหนึ่งที่ดุนหลังฉันให้หยิบ เงาสีขาว ขึ้นมาอ่าน เวรกรรมแท้ ๆ เชียว เราไม่น่าพบกันอีกเลย คุณแดนอรัญ แสงทอง ฉันควรรู้จักเขาจาก เรื่องสั้นขนาดยาวนาม อสรพิษ และ นวนิยายสุดโรแมนติกในนามของ เจ้าการะเกด เท่านั้น แต่กับเงาสีขาว มันทำให้ซาบซึ้งว่า กระบือย่อมเป็นกระบืออยู่วันยังค่ำ (เขาชอบประโยคนี้นะ เพราะมันปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาตั้งหลายครั้ง)…
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร   ผลงานของนักเขียนไทยในแนวของเมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสัจนิยมมายา ที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ซึ่งจะนำมาเขียนถึงต่อไป เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างงานที่แท้กับงานเสแสร้ง เผื่อว่าจะถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกที่รักมักที่ชัง แม้นรู้ดีว่าข้อเขียนนี้เป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคล แต่ฉันคิดว่าบางทีรสนิยมก็น่าจะได้รับคำอธิบายด้วยหลักการได้เช่นเดียวกัน…
สวนหนังสือ
เมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือที่แปลเป็นไทยว่า สัจนิยมมายา หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ เป็นแนวการเขียนที่นักเขียนไทยนำมาใช้ในงานเรื่องสั้น นวนิยายกันมากขึ้น ไม่เว้นในกวีนิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจาก ผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึ่งมาเกซเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ฮวน รุลโฟ (ฆวน รุลโฟ) จากผลงานนวนิยายเรื่อง เปโดร ปาราโม อีกทอดหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์วรรณกรรมแนวนี้ถูกตัดตอน ขอกล่าวถึงต้นธารของงานสกุลนี้สักเล็กน้อย กล่าวถึงฮวน รุลโฟ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฆวน รุลโฟ ทำให้หวนระลึกถึงผลงานแปลฉบับของ ราอูล ที่ฉันตกระกำลำบากในการอ่านอย่างแสนสาหัส…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครนA SHORT HISTORY OF TRACTORS IN UKRAINIAN ผู้เขียน : MARINA LEWYCKA ผู้แปล : พรพิสุทธิ์ โอสถานนท์ ประเภท : นวนิยายแปล พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน และแล้วฉันก็ได้อ่านมัน ไอ้เจ้าแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เมียงมองอยู่นานสองนานแล้วได้สมใจซะที ซึ่งก็สมใจจริงแท้แน่นอนเพราะได้อ่านรวดเดียวจบ (แบบต่อเนื่องยาวนาน) จบแบบสังขารบอบช้ำเมื่อต่อมขำทำงานหนัก ลามไปถึงปอดที่ถูกเขย่าครั้งแล้วครั้งเล่า ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เป็นนวนิยายสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ดึงดูดแบบยุคทุนนิยมเสรี…