Skip to main content

นายยืนยง

 

19_06_1

 


ชื่อหนังสือ : นกชีวิต

ประเภท : กวีนิพนธ์

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อมีนาคม 2550

ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์



เคยสังเกตไหมว่าบางครั้งบทกวีก็สนทนากันเอง ระหว่างบทกวีกับบทกวี ราวกับกวีสนทนากับกวีด้วยกัน ซึ่งนั่นหาได้สำคัญไม่ เพราะความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงการแบ่งแยกระหว่างผู้สร้างสรรค์ (กวี) กับผู้เสพอย่างเรา ๆ แต่หมายถึงบรรยากาศแห่งการดื่มด่ำกวีนิพนธ์ เป็นการสื่อสารจากใจสู่ใจ


กระนั้นก็ตาม ยังมีบางทัศนคติที่พยายามจะแบ่งแยกกวีนิพนธ์ออกเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นกวีฉันทลักษณ์ เป็นกวีไร้ฉันทลักษณ์ อย่างไรก็ตามจะเป็นที่น่าชื่นชมยินดียิ่ง หากการนั้นเป็นไปเพื่อศึกษาอย่างถ่องแท้ หาใช่เพื่อเป็นการกีดกัน กั้นแบ่ง

คราวที่แล้วได้กล่าวถึงกวีนิพนธ์ในดวงใจไปแล้ว แม้เป็นงานกวีนิพนธ์ที่มีอายุยาวนานแต่ปฏิเสธความสดใหม่ไม่ได้ ยังคงร่วมสมัยอยู่ และเปี่ยมด้วยอรรถรสวรรณศิลป์ คราวนี้จึงอยากกล่าวถึงกวีนิพนธ์ที่ใหม่กว่า คือหนังสือวางแผงได้ไม่นานนัก เป็นผลงานของกวีซีไรต์ เจ้าของผลงาน แม่น้ำรำลึก เขาคือ

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กับผลงานกวีไร้ฉันทลักษณ์ชื่อเล่มว่า นกชีวิต


นกชีวิต นั้น ประกอบด้วย ชีวิต ต้องกล่าวโดยบริสุทธิ์ใจว่า ไม่ใช่ถ้อยคำยียวนแต่อย่างใด เพราะถ้อยคำของเรวัตร์นั้น สืบสายมาจากน้ำเนื้อแห่งชีวิตอันที่จะอ่านอย่างทนุถนอมอารมณ์ตัวเอง หากแต่ชีวิตนั้น เป็นชีวิตในแบบอย่างดังมนุษย์ผู้ปรารถนาจะดำรงอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมดังที่ คนสวน ดำรงอยู่ อยู่ในสวนฤดูกาล อยู่กับเพื่อนชีวิตหลายประเภท ไม่ว่าจะ เจ้านกกระจิบ แมวหนุ่ม ไส้เดือน แม่ไทรสาว หรือ แสงแดดสายลม สายฝน และหยาดน้ำค้าง ซึ่งต่างร่วมดำรงอยู่อย่างกลมกลืน เป็นดุลยภาพอันแสนรื่นรมย์ในสวนแห่งนั้น


ผู้อ่านสามารถจะเลือกสรรได้จากงานกวีของเขา โดยที่ขณะเดียวกัน อารมณ์ของเราจะค่อย ๆ หลอมรวมเป็นความสงบ อ่อนโยนด้วยภาษาอันสะอาดหมดจด เรียบง่าย ตรึงประทับในใจ เป็นเนื้อเดียวกับน้ำเสียงของการเล่า เป็นภาพสะท้อนของทัศนะคติอันสุขุม สงบเย็น ไม่มุ่งจะประทุษร้ายอารมณ์ผู้คน สังคมอย่างดุดัน เป็นบรรยากาศอย่างกลิ่น - สัมผัสน้ำค้างบนปลายหญ้า ระหว่างสายลมของวันคืนที่ผัดผ่านอย่างละมุนอ่อนหวาน รวมเป็นน้ำเนื้อแห่งกวีนิพนธ์นั่นทีเดียว


เหตุใดเราจึงยกย่องกวีนิพนธ์ หรืองานวรรณกรรมบางเรื่องว่ามีความดีเลิศ

เหตุผลคือ ความประณีตละเอียดอ่อนของอารมณ์ เนื้อหา ประณีตพิถีพิถันในการเลือกใช้คำเพื่อสื่อสารแสดงออกถึงอารมณ์ที่ผู้แต่งต้องการบอกเล่าถึงผู้อ่าน เพื่อดำเนินไปสู่พลังขับเคลื่อนบางอย่าง นั่นคือความสะเทือนใจ


เหตุผลข้างต้นนั้นได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่า นกชีวิต เป็นกวีนิพนธ์ที่ประณีตยิ่ง โดยเฉพาะกับอารมณ์ด้านลึกของมนุษย์ ขอยกตัวอย่างบทแรกในหน้า 19 ดังนี้


เมื่อเราลงมือปลูกต้นไม้

เราได้ปลูกดวงใจไปพร้อมกัน

ก่อนค่อย ๆ กลบฝังความลับบางประการเอาไว้

ฝากดวงใจฤดูกาลให้ช่วยคุ้มครองดูแล

เปลวแดดคือพ่อ สายฝนคือแม่

และฤดูหนาวนั้นคือศาสนา

ความลับจะเติบโตพร้อมให้ดอกผลอันหอมหวาน

เฉกเช่นวันวัยของผู้ปลูกฝัง

ดอกผลกลายเป็นผึ้ง เป็นผีเสื้อ เป็นสกุณา

เป็นด้านสวยงามในหัวใจอัปลักษณ์ของมนุษย์

ยิ่งผ่านเดือนปีก็ยิ่งเข้าใจชีวิตและโลกมากขึ้น

เป็นร่มเงาอ่อนโยนสมถะ

แต่ทว่าหัวใจของความลับยังคงดำรงอยู่

จนกว่ามนุษย์

จะสามารถเข้าใจภาษาของสกุณานั่นกระมัง

แต่บางครั้ง, การได้โอบกอดไม้ต้นนั้น

แล้วแนบใบหูลงไปยังดวงใจของเธอ

ความลับก็อาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป

แล้วพลันตระหนักได้ว่า

ชีวิตคือการปลูกไม้เพียงต้นเดียว

เพื่อหยั่งรากลงเสาะค้น

ความลับบางประการของชีวิต


เพียงบทแรกเราจะได้เห็นถึงกลวิธีการใช้โวหารอย่างที่เคยคุ้นในชื่อที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน

คือสมมุติให้สิ่งใดมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ มีอารมณ์ ความคิด บทนี้เรวัตร์สร้างให้ต้นไม้มีชีวิตขึ้นมา เป็นชีวิตที่มีมิติ มีปริศนา เป็นสัมพันธภาพระหว่างผู้ปลูกกับต้นไม้ของเขา บทนี้มีนัยยะที่ทำให้คิดไปได้ว่า ต้นไม้นี้ของเรวัตร์ อาจจะหมายถึงบทกวีที่เขาเขียน เป็นบทกวีที่กวีเขียนถึงบทกวีของตัวเอง และเขียนถึงสายใยระหว่างบทกวีกับตัวกวีเองด้วย แม้ใช้เพียงถ้อยคำเรียบง่าย แต่บทนี้กลับให้ความรู้สึก มาก ไม่แน่ใจนักว่าใครจะรู้สึกเช่นเดียวกัน หรือเราจะเพ้อไปเองก็ไม่รู้


นกชีวิต เล่มนี้ นอกจากเขียนถึงสิ่งมีชีวิตรอบตัวที่ต่างดำรงอยู่ภายในสวนแล้ว กวีอย่างเรวัตร์ก็ได้เขียนถึงกวีเอาไว้ด้วย เห็นไหมล่ะว่า กวีเองก็อยากสนทนากับกวีเช่นเดียวกัน ต่างแต่ว่าใครจะพูดมาก พูดน้อย

ยกตัวอย่างในบทที่ 25 หน้า 67


เด็กหนุ่มพูดถึงความมั่นคงของชีวิตและการงาน

ในขณะหัวใจโหยหาวิถีทางของกวีนิพนธ์

สับสนอยู่บนทางแพร่งแห่งการเลือก

ระหว่างผิวเปลือกกับแก่นแกน

คนสวนเหมือนพูดกับตนเอง-

¡® หากบทกวีแตกผลิอยู่ข้างในตัวเรา

แล้วมีเหตุผลสามานย์อันใดกันเล่า

ที่เราจะไม่ถนอมรักและหล่อเลี้ยงมันไว้

เพื่อที่วันหนึ่ง

มันจะเติบงาม หยั่งราก หยัดต้น แตกกิ่งก้าน

แล้วให้ดอกผลหวานหอมแก่ชีวิต

ชีวิตอันเปราะบาง


เนื้อหาที่แสดงออกถึงอุดมคติของกวีในบทนี้ ใช้ถ้อยคำไม่มาก แต่ให้ภาพอย่างมีชีวิตชีวา

หากบทกวีแตกผลิอยู่ข้างในตัวเรา มันก็จะค่อย ๆ เติบงาม และแน่นอนหากเราดูแลรักษา ถนอมรักไว้

ดอกผลอันหอมหวานจะเป็นความงามแก่ชีวิต เรวัตร์สื่อถึงภาพสามัญที่หนักแน่นของกวีคนหนึ่งได้อย่างมีพลัง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ อหังการ์ แต่อย่างใด เพียงแต่เลือกใช้มุมมองที่มีคุณค่าในตัวเองมากพอ นี่ถือเป็นลักษณะพิเศษจำเพาะอย่างหนึ่งของเรวัตร์ ที่ทำให้กวีนิพนธ์ของเขามีทำนองเนิบช้าแต่คงน้ำหนักและงดงามลึกซึ้ง


นกชีวิต บอกเล่าเรื่องราวเป็นบทกวี ผ่านชีวิตประจำวันของคนสวน เป็นวิธีการเล่าเรื่องราวผ่านกระแสสำนึกของคนสวนเอง ซึ่งสำคัญว่า กลวิธีนี้เองที่ถูกนำมาใช้เพื่อพรรณนาถึงชีวิตตลอดเรื่อง โดยทุกบทตอน จะใช้อารมณ์สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงผู้อ่านเข้ากับผู้เขียน และนำพาไปสู่โลกของคนสวน


จุดนี้ คือเสน่ห์ของ นกชีวิต ที่ผูกสัมพันธ์ให้ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร เสพสัมผัสอรรถรสไปพร้อมกัน เพื่อให้มองเห็นดุลยภาพแห่งชีวิตดุจเดียวกัน โดยเริ่มจากภาพภายนอกที่คนสวนสัมผัสรู้สึก ซึ่งสะท้อนไปถึงเรื่องราวในอดีต ถึงเรื่องในวัยเยาว์ ไปถึงบุคคลต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในสวน และไปถึงโลกที่ดำเนินอยู่ภายนอกสวนแห่งนี้ สัมผัสรู้สึกที่ถูกนำมาใช้กระตุ้นจิตสำนึกเหล่านั้น ได้แก่อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ


เชื่อว่าใครที่เคยเหน็ดเหนื่อยกับการอ่านกวีนิพนธ์ ใครที่ว่าอ่านยาก หรือเข้าไม่ถึง หากได้พบกับนกชีวิตเล่มนี้ กวีนิพนธ์ในดวงใจของคุณจะงดงามขึ้น ดังที่เรวัตร์ว่า กวีนิพนธ์อาจกำลังแตกผลิอยู่ข้างในคุณก็ได้.




บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           พ.๒๗ สายลับพระปกเกล้าฯ ผู้เขียน               :           อ.ก. ร่งแสง (โพยม โรจนวิภาต)ประเภท              :           สารคดีประวัติศาสตร์          พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ.…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ฝรั่งคลั่งผี ผู้เขียน : ไมเคิล ไรท จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม 2550 อ่าน ฝรั่งคลั่งผี ของ ไมเคิล ไรท จบ ฉันลิงโลดเป็นพิเศษ รีบนำมา “เล่าสู่กันฟัง” ทันที จะว่าร้อนวิชาเกินไปหรือก็ไม่ทราบ โปรดให้อภัยฉันเถิด ในเมื่อเขาเขียนดี จะตัดใจได้ลงคอเชียวหรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เด็กบินได้ ผู้เขียน : ศรีดาวเรือง ประเภท : นวนิยายขนาดสั้น พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2532 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์กำแพง มาอีกแล้ว วรรณกรรมเพื่อชีวิต เขียนถึงบ่อยเหลือเกิน ชื่นชม ตำหนิติเตียนกันไม่เว้นวาย นี่ฉันจะจมอยู่กับปลักเพื่อชีวิตไปอีกกี่ทศวรรษ อันที่จริง เพื่อชีวิต ไม่ใช่ “ปลัก” ในความหมายที่เราชอบกล่าวถึงในแง่ของการย่ำวนอยู่ที่เดิมแบบไร้วัฒนาการไม่ใช่หรือ เพื่อชีวิตเองก็เติบโตมาพร้อมพัฒนาการทางสังคม ปลิดขั้วมาจากวรรณกรรมศักดินาชน เรื่องรักฉันท์หนุ่มสาว เรื่องบันเทิงเริงรมย์…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : คนซื้อฝัน ผู้เขียน : ศุภร บุนนาค ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2537 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย ตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะอ่านหนังสือของนักเขียนไทยให้มากกว่าเดิม ฉันดำเนินการแล้วล่ะ อ่านแล้ว อิ่มเอมกับอรรถรสแบบที่หาจากวรรณกรรมแปลไม่ได้ หาจากภาษาของนักเขียนไทยรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะได้ จนรู้สึกไปว่า คุณค่าของภาษาได้แกว่งไกวไปกับกาละด้วย
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เพลงกล่อมผี ผู้เขียน : นากิบ มาห์ฟูซ ผู้แปล : แคน สังคีต จาก Wedding Song ภาษาอังกฤษโดย โอลีฟ อี เคนนี ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2534 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์ หนาวลมเหมันต์แห่งพุทธศักราช 2552 เยียบเย็นยิ่งกว่า ผ้าผวยดูไร้ตัวตนไปเลยเมื่อเจอะเข้ากับลมหนาวขณะมกราคมสั่นเทิ้มด้วยคน ฉันขดตัวอยู่ในห้องหลบลมลอดช่องตึกอันทารุณ อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่อุดม ไรฝุ่นยั่วอาการภูมิแพ้ โรคประจำศตวรรษที่ใครก็มีประสบการณ์ร่วม อ่านเพลงกล่อมผีของนากิบ มาห์ฟูซ ที่แคน สังคีต ฝากสำนวนแปลไว้อย่างเฟื่องฟุ้งเลยทีเดียว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง สวัสดีปี 2552 ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เงาสีขาวผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย  ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซสอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : เงาสีขาว ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน ปกติฉันไม่นอนดึกหากไม่จำเป็น และหากจำเป็นก็เนื่องมาจากหนังสือบางเล่มที่อ่านค้างอยู่ มันเป็นเวรกรรมอย่างหนึ่งที่ดุนหลังฉันให้หยิบ เงาสีขาว ขึ้นมาอ่าน เวรกรรมแท้ ๆ เชียว เราไม่น่าพบกันอีกเลย คุณแดนอรัญ แสงทอง ฉันควรรู้จักเขาจาก เรื่องสั้นขนาดยาวนาม อสรพิษ และ นวนิยายสุดโรแมนติกในนามของ เจ้าการะเกด เท่านั้น แต่กับเงาสีขาว มันทำให้ซาบซึ้งว่า กระบือย่อมเป็นกระบืออยู่วันยังค่ำ (เขาชอบประโยคนี้นะ เพราะมันปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาตั้งหลายครั้ง)…
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร   ผลงานของนักเขียนไทยในแนวของเมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสัจนิยมมายา ที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ซึ่งจะนำมาเขียนถึงต่อไป เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างงานที่แท้กับงานเสแสร้ง เผื่อว่าจะถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกที่รักมักที่ชัง แม้นรู้ดีว่าข้อเขียนนี้เป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคล แต่ฉันคิดว่าบางทีรสนิยมก็น่าจะได้รับคำอธิบายด้วยหลักการได้เช่นเดียวกัน…
สวนหนังสือ
เมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือที่แปลเป็นไทยว่า สัจนิยมมายา หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ เป็นแนวการเขียนที่นักเขียนไทยนำมาใช้ในงานเรื่องสั้น นวนิยายกันมากขึ้น ไม่เว้นในกวีนิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจาก ผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึ่งมาเกซเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ฮวน รุลโฟ (ฆวน รุลโฟ) จากผลงานนวนิยายเรื่อง เปโดร ปาราโม อีกทอดหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์วรรณกรรมแนวนี้ถูกตัดตอน ขอกล่าวถึงต้นธารของงานสกุลนี้สักเล็กน้อย กล่าวถึงฮวน รุลโฟ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฆวน รุลโฟ ทำให้หวนระลึกถึงผลงานแปลฉบับของ ราอูล ที่ฉันตกระกำลำบากในการอ่านอย่างแสนสาหัส…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครนA SHORT HISTORY OF TRACTORS IN UKRAINIAN ผู้เขียน : MARINA LEWYCKA ผู้แปล : พรพิสุทธิ์ โอสถานนท์ ประเภท : นวนิยายแปล พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน และแล้วฉันก็ได้อ่านมัน ไอ้เจ้าแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เมียงมองอยู่นานสองนานแล้วได้สมใจซะที ซึ่งก็สมใจจริงแท้แน่นอนเพราะได้อ่านรวดเดียวจบ (แบบต่อเนื่องยาวนาน) จบแบบสังขารบอบช้ำเมื่อต่อมขำทำงานหนัก ลามไปถึงปอดที่ถูกเขย่าครั้งแล้วครั้งเล่า ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เป็นนวนิยายสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ดึงดูดแบบยุคทุนนิยมเสรี…