Skip to main content

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

 

วันนี้ ผมเกร่เข้าไปห้องสมุดคอร์แนล  แผนกหนังสือเอเขีย/ไทย (ที่มีอยู่ร่วม 1.5 ล้าน เล่ม)
ไม่นับรวม นสพ รายวัน รายสัปดาห์ รายอะไรๆ ก็ตาม ไม่รวมไมโครฟิลม ฯลฯ 
ครึ่งหนึ่งเก็บที่ Olin-Uris ใน ม อีกครึ่งเก็บโกดัง ข้างนอก  

คอร์แนล ถือว่าตน เป็นหนึ่งทางด้านเอเชียศึกษา Southeast Asia
(แม้จะเป็น ม บ้านนอก เลี้ยงวัว และมีคณะเกษตรฯ ชั้นนำ ก็ตาม) 
คอร์แนล เน้น ศึกษาอุษาคเนย์ เอเชีย ต ออก และ เอเชียใต้  

ห้องสมุดนี้ เคยมีคนอย่าง ประเสริฐ ณ นคร_อคิน_บุญสนอง_วารินทร์_ทักษ์_ แถมสุข_สุจิคต์_ปรานี_รุจยา_อานันท์_ฉลาดชาย _นิธิ_ธิดา_สุเนตร_ เกษียร_สุพจน์_เสกสรรค์_จิระนันท์_อภินันท์ เดินเข้า เดินออกมานักต่อนักแล้ว  

(ไม่นับรวม อจ ดังๆ อย่าง ฮอลล์/Hall วอลเตอร์/Wolters วัยอาจ/Wyatt หรือ เบน/Benedict หรือ เคฮีน/Kahin)  

ผมยืมหนังสือไทย มาสามเล่ม (สองเล่ม คือ ไกลบ้าน ฉบับพิมพ์ครั้งแรกๆ) 
หนังสือเหล่านี้ ถูกจัดเก็บ ทนุถนอม รักษาอย่างดีราวกับเลี้ยงทารก เย็บปกแข็งให้ใหม่   

เชื่อไหม บรรณารักษ์ผิวดำเข้ม หน้าประตูทางออก
รูดการ์ดให้ยืม พลางบอกว่า(อจ) ยืมกลับบ้าน ได้ 1 ปี แถมต่อ อายุได้อีก !!!  

ครับ ผมตกใจ แปลกใจ ๆๆๆ อะไรจะขนาดนั้น สอบถาม ได้ความว่ามติของ ผอ ห้องสมุด

และบรรณารักษ์ (หน้ายิ้ม ใจดี ไม่รู้ว่าฝึกได้ไง) เธอบอกว่า ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว 
นศ และ อจ ยืมหนังสือน้อยลงๆ  หันไปใช้อินเตอร์เน็ท อีบุ๊ก หรือ ไม่ก็พึ่งพระอาจารย์กู (เกิ้ล) กันนักต่อนัก  เลย เอาใจ สุดๆ ไปเสียเลยเอาไปบ้านได้ 1 ปี ครับ  

ครับ และก็ เมื่อวานนี้ ผมไปเข้า "ทัวร์" หอสมุดวิจัย Olin-Uris (research libraries)
เดินฟัง นั่งฟัง ตามบรรณารักษ์สาวๆ (และเฒ่า) ไปสามชั่วโมง 
หน้าตาเธอ ยิ้มแย้ม บริการ เยี่ยมยอดอธิบายจากตึกบนดิน ลงใต้ดิน

เธอส่งเราต่อกันเป็นทอดๆ  ตั้งแต่ปี 1992 คอร์แนลขุดดินและหินภูเขาลงไป หลายชั้น
เอาหนังสือ อุษาคเนย์ เก็บไว้ข้างล่างอย่างดี แอร์เย็นเฉียบ 
หนังสือ ของพวกเราๆ ท่านๆ ภาษาไทย (ของมูลนิธิฯ) เกือบทุกเล่ม อยู่ในนี้หมดแหละ ครับ

มีทั้งหนังสือหายาก หนังสือต้องห้าม การ์ตูน กำลังภายใน นวนิยายประโลมโลก ประเภท "บ้านทรายทอง")

ปีหนึ่งๆ คอร์แนล ซื้อหนังสือจากอุษาคเนย์/อาเซียน 10 ประเทศ+ติมอร์เพิ่ม 3 หมื่นเล่ม เป็นอย่างน้อย  

นี่คือ สวรรค์ของนักอ่าน อยู่อาศัย กิน (เกือบนอน) ได้ในห้องสมุด สบายๆ บางห้องเปิด 24 ชม.
เสียอย่างเดียว กาแฟแพง ถ้วยขนาดกลาง 70 บาท 

ทัวร์ห้องสมุด เป็นบริการตอนเปิดเทอม เหมือนๆ กับ ทัวร์ campusที่ใช้ นศ รุ่นแก่กว่า (ไม่ขอเรียกว่า รุ่นพี่ ครับ) เดินถอยหลังนำ นศ ใหม่ และ ผู้ปกครอง เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 20 คน   

เป็นภาพที่ดูดีจัง เหมือนกับจะมาเล่ามาเรียนกัน จริงๆ (ไม่ใช่ มาฝึกซ้อมสวย/สาว/หนุ่ม เป็น "ลีด" แบบไทยๆ)  

นศ แต่ง "เครื่องแบบ" ประจำชาติ (ที่พัฒนาแล้ว และเป็น ม ติดอันดับโลก) คือ เสื้อยืดธรรมดาๆ ชายกางเกง ขาสามส่วน หญิง สั้นหน่อยแต่ไม่ "sexy" (เลย) เน้นโชว์และรัดส่วนบน กับหดส่วนล่าง (แบบไทยๆ อีกนั่นแหละ)  

คอร์แนล มี นศ ชายหญิง ที่หน้าตา ตี๋ๆ ม่วยๆ ยุ่นๆ  และ อุษาคเนย์ มากเป็นพิเศษในกลุ่ม Ivy League  

ครับ walking tours นศ อจ และผู้ปกครอง ได้ความรู้เยอะ 
คอร์แนล มีห้องสมุด สัก เกือบ 20 ได้ กระจายกันตามคณะ วิทยาลัย ต่างๆ 
(ยกเว้น คณะแพทย์ ที่อยู่ในเมืองนิวยอร์ค คอยรับบริจาคเงินจากเศรษฐี) 
คอร์แนล มีหนังสือ ทั้งหมด 7-8 ล้านเล่ม (ไม่รวม นสพ ฟิล์ม ฯลฯ)
 เปิดให้สาธารณชน ทั่วๆ ไป (ยกเว้น คณะนิติฯ หรือ Law School ตระหนี่_ขี้จิ)   

ผมจบรายการ ตามทัวร์ walking tours ห้องสมุด ตาม นศ กับ ผู้ปกครอง ด้วยการแวะดู นิทรรศการ ในห้องสมุด เรื่อง "500 Years Controversy" 

ว่าด้วยข้อถกเถียง  ทำไม ทวีป America หรือ สหรัฐอเมริกา USA  จึงไม่ชื่อ ทวีป Columbia หรือ สหรัฐโคลัมเบีย USC ทั้งๆ ที่ Columbus มาพบก่อน Amerigo Vespucci ด้วยซ้ำไป 
(ยังกับเรื่อง ทำไม why ไม่ สยาม/Siam แต่เป็น ไทย/Thaialnd ยังไง ยังงั้น แหละ)  

ตบท้าย ด้วย เว็บ และแผนที่ การเดินทางของ Columbus - Amerigo Vespucci ครับ 

http://olinuris.library.cornell.edu/exhibitions/columbus-and-his-voyages

http://olinuris.library.cornell.edu/exhibitions/vespucci

(พิเศษ สำหรับนักเดินทางไทยๆ ที่มักไม่ใช้แผนที่ และ คุณธวัชชัย "เจ้าพ่อแผ่นที่แห่งสยาม" ครับ)  
ปล เหนือหอสมุด คอร์แนล มีหอระฆังสูงลิ่ว มีนาฬิกา รอบทุกทิศ
ทุกๆ 15 นาที จะตีระฆัง ช่วงกลางวัน เที่ยงๆ ตีเป็นเพลงเพราะๆ
ตบท้าย ด้วยเพลงประจำมหาวิทยาลัยหรือ Alma Mata (High Above Cayuga Water...)

สะกิดเตือนให้รักสถาบันการศึกษา ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ครั้งบ้านเมืองยังดี) ท่านปรีดี ผุ้ประศาสน์การ ก็ให้มีหอนาฬิกา ตึกโดม (ตอนนี้ บางทีก็เดิน บางที ก็ไม่เดิน)  

เสียดายว่า ที่เคยส่งกระจายเสียงยอดโดม เลิกไปแล้วน่าจะนำกลับมาใหม่ ไม่ต้องมีประกาศ เอาแต่เพลง ก็พอ อย่างเพลง "ประจำมหาวิทยาลัย"สำนักไหน หมายชูประเทศชาติ...ทำนอง "มอญดูดาว" ที่ถูกเบียดตกเวที "ปวศ การเมือง" ไปแล้วแต่ยุค 60s ก็น่านำกลับมาใหม่ "รื้อฟื้นใหม่"

 

**********************************

 

บล็อกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  Believe it or not, Cambodia and Siam: (when Sihanouk was young) เชื่อไหม ตอนที่ นโรดมสีหนุ พยายามกู้เอกราช  เสด็จมาเยือนไทย เยือน มธ ด้วย  
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
Incredible Cambodia  เชื่อไหม  พระบาทสมเด็จ นโรดมสีหนุ  อดีตกษัตริย์กัมพูชา  ทรงร้องเพลง "รักเธอเสมอ" 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ไป (แต่ไม่ได้) ดู “กุ้งเดินขบวน” กับ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” อ. น้ำยืน อุบล เมื่อช่วงครบ 6 ปีรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ผมไปเสวนาเรื่อง “ปัญหาข้อพิพาทเขตแดน ระหว่างผุ้นำกรุงเทพฯ กับ ผู้นำกรุงพนมเปญ”  คณบดีไชยันต์ รัชชกูล ม อุบล ชวนไปพูดร่วมกับ ดร ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
14 October 1973: Day of Great Joy 14 ตุลา 2516/1973 เป็นวัน "มหาปิติ" วันนั้น เมื่อ 39 ปี มาแล้ว 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 บทบันทึกการเดินทางเพื่อเข้ารับรางวัล ณ เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
(โปรดส่งต่อ ล้อมกรอบ ปชส เผยแพร่ในทุกรูปแบบด้วย ครับ) ในฐานะประธานมูลนิธิ จิตร ภูมิศักดิ์  ขอส่งบทความมาเพื่อทราบ  และขอแจ้งว่า เรากำลังสร้างอนุสาวรีย์จิตร ที่บ้านหนองกุง สกลนคร ยังขาดเงินเกือบ ๑ ล้าน ๕
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชี้ คณิต ณ นคร ประธาน คอป.มีความเข้าใจที่ผิดพลาดทางประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  บันทึกสองฉบับจากชาญวิทย์ เกษตรศิริ เล่าถึงเมืองฟูกูโอกะ และรางวัลฟูกูโอกะ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ