Skip to main content

ผมบุญหล่นทับ ได้ไปกรุงโซล เกาหลี (ฟรี)
มีวันว่างเต็ม วันเดียว 
ว่ิงดูมิวเซียม ได้ 3 หนึ่งในนั้น คือ
War Memorial of Korea (ฟรี)
(ตั้งไม่ห่างจากค่ายทหารมะกัน 1 หมื่นคนเท่าไร 
มะกันยังมีทหารประจำอยู่จนถึงทุกวันนี้ กว่า 2 หมื่นคน สับเปลี่ยนทุก 2 ปี)
ที่มิวเซียม มันส์....... มี 4D มีฉากทหารยกพลขึ้นบก นั่งดูไป สั่นๆสะเทือนไป
บางตอนเหมือนเราอยู่บนเครื่องบิน ไปทิ้งระเบิด 
บางตอนลงเรือ แล่นไปยกพล มีน้ำกระเด็นมา (ฉีดจริงๆ) 
มะกันชนะ เกาหลีชนะ คอมฯ เกือบแพ้ (ยังยันกันอยู่ ณ บัดนี้) 
ไทยก็ส่งทหารไปร่วมรบด้วย 
ทหารไทยไป 1600 ตาย 130 ได้รับจารึกชื่อไว้
 
feeling มิวเซียมนี้ สุดๆ แบบยุค 1960s-70s
คือ เรื่องของ วีรบุรุษ (ไม่ค่อยมีสตรี)
แถมท้ายด้วยห้องสงครามเวียดนาม Vietnam War !?
สงสัย ทำไว้นานแล้ว เลยออกมาเชยๆ หลุดๆ มีอุโมงค์กู๋จี๋ ด้วย
แต่ก็ไม่ยอมพูดถึงเรื่องมะกันแพ้ ทั้งในเวียดนาม เขมร และลาว ปี 1975/2518
เหมือนๆ ไม่กล้าพูดเรื่อง
นายพล แมคอาเธอร์ ผบ ทหารมะกัน 
ที่ถูก ปธน ทรูแมน ปลดกลางอากาศ ฐานจะขัดคำสั่ง จะบุกจีน
(มะกันกลัวสงครามปรมาณู เพราะตอนนั้นโซเวีนต คิดและสร้างระเบิดได้ทันแล้ว)
 
ส่วนมิวเซียม ที่สอง คือ
National Museum แห่งชาติ สุดใหญ่ สุดจะลงทุน
วิ่งดูเร็วๆ ได้เฉพาะส่วน ก่อน ปวศ และ ปวศ สมัยโบราณ
ทั้งสองมิวเซียม มีทั้งทหารหนุ่มๆ เด็ก นร มาดูกันเป็นทิวแถว ทั้งๆที่เป็นวันศุกร์
 
เกาหลี ก็คงเหมือนเวียดนาม นั่นแหละ 
ที่ถูกกระบวนการ Sinization "จีนาภิวัตน์" 
กลายเป็น "อารยะ" ได้ มีอักขระได้ มีตัวเลขได้ มีปีนักษัตร ชวด ชลู ขาล... ก็รับจีนมา 
แปลงเป็นตัวอักขระ Hangeul 
รับทั้งพุทธศาสนามา รับรูปแบบปราสาท ราชวัง สถาปัตยกรรมมา
 
เกาหลี ส่ง "อารยะ" ต่อให้ญี่ปุ่น 
อย่างรูป "พระโพธิสัตว์" รูปนี้ ที่วังวัดเกียวโต copy ไปเต็มๆ 
แต่ไม่ค่อยจะยอมรับ 
คงเหมือนๆ ไทย/ลาว รับ/หยิบ/ยืม 
"อารยะ" จาก "ขอมเขมร" นั่นแหละ ครับ
(ทั้งตัวหนังสือ ตัวเลข ราชาศัพท์ ปราสาท ราชวัง.... แต่ แต่ แต่ ก็...)
 
cK@SeoulKoreaBelowZero
 
 
ปล.
The Korean War 1950-1953
The War Memorial of Korea
ที่กรุงโซล (แต่ก่อนเราอ่านว่า เซอูล) 
ผมมุ่งไปมิวเซียม "สงครามเกาหลี" เป็นกรณีพิเศษ 
เพราะจำได้ว่า ตอนเด็กๆ เร่ิมวัยรุ่น อยู่บ้านโป่ง 
ช่วงนั้น พ่อ (เชิญ เกษตรศิริ) มักจะฟังวิทยุ เรื่องสงคราม ละเอียดมาก
พ่อเอาแผนทีี่เกาหลี กางติดไว้ ที่บ้านถนนทรงพล
แล้วพ่อก็เอา เข็มหมุด ปักบนแผนที่ว่า รบกันไปถึงไหน ถึงเมืองอะไร
 
พ่อปักว่า เส้นขนานที่ 38 แบ่งเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ อยู่ตรงไหน
สงครามเกาหลี เป็นสงครามใหญ่มาก ผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นหมื่นเป็นแสน
ฝ่ายอเมริกา (ทรูแน) เข้าไปรบในนาม สหประชาชาติ มี 67 ประเทศ (รวมทั้งไทย) ส่งทหารไปช่วยรบ
(คณะมนตรีความมั่นคง ของสหประชาชาติ เป็นผู้รับรอง)
 
 
นี่เป็นสงคราม อุดมการณ์ และ ลัทธิ ที่เคยเรียกกันว่า ค่ายเสรีประชาธิปไตย และค่ายสังคมนิยม
ฝ่ายเกาหลีเหนือ (คิมอิลซุง) มีสหภาพโซเวียต (สตาลิน) และจีน (แดง เหมาเจ๋อตุง) สนับสนุน
รบกัน 3 ปี เกาหลีใต้ (ซิงมันรี) ถูกยึดเกือบหมดประเทศ 
ยกเว้น ปูซาน Busan ทางใต้ (ที่ปัจจุบัน เจริญรุ่งเรืองกว่า โซล)
 
รบกันรุนแรงจากปี 1950 (2493) ถึง 1953 (2496) ถึงหยุดยิง (แต่สถานะสงครามยังอยู่ทุกวันนี้)
ปีต่อมา 2497/1954 ก็ ไฟไหม้ใหญ่ ที่บ้านโป่ง 
และเป็นปีสุดท้าย ที่ผมพออายุได้ 14 ปีในปีถัดมา 2498/1954
ผมก็จากบ้าน (สารสิทธิ์) ไป "ชุบตัว" ในกรุงเทพฯ (สวนฯ มธ) 
ไปเมืองนอก/อเมริกาต่อ และไม่ได้กลับไปอยู่บ้านโป่ง อีกเลย ครับ
 
สงครามเกาหลี ทำให้อเมริกา ใช้ทั้งญี่ปุ่น และ ไต้หวัน เป็นฐานที่มั่น 
ทำให้ทั้งญี่ปุ่น และไต้หวัน รวยจากสงครามครั้งนี้ สามารถฟื้นฟูประเทศ ทาง ศ กิจได้
สงครามเกาหลี ทำให้รัฐบาลไทย ป. พิบูลสงคราม กลับไปคืนดีกับอเมริกา และ อังกฤษ ได้
ป. พิบูลฯ เป็นพันธมิตรญี่ปุ่นมาก่อน เคยประกาศสงครามกับฝรั่ง สมัย WWII)
สงครามเกาหลี ทำให้รัฐบาลทหารไทย (จากพิบูลสงคราม ถึง สฤษดิ์/ถนอม)
ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม อย่างฝ่ายของเสรีไทย ฝ่ายเสรีนิยม (ปีกปรีดี พนมยงค์) 
ตลอดจนฝ่ายซ้าย ฝ่ายคอมฯ (พคท) ได้เกือบจะหมดราบคาบ เช่นกัน

บล็อกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  Believe it or not, Cambodia and Siam: (when Sihanouk was young) เชื่อไหม ตอนที่ นโรดมสีหนุ พยายามกู้เอกราช  เสด็จมาเยือนไทย เยือน มธ ด้วย  
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
Incredible Cambodia  เชื่อไหม  พระบาทสมเด็จ นโรดมสีหนุ  อดีตกษัตริย์กัมพูชา  ทรงร้องเพลง "รักเธอเสมอ" 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ไป (แต่ไม่ได้) ดู “กุ้งเดินขบวน” กับ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” อ. น้ำยืน อุบล เมื่อช่วงครบ 6 ปีรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ผมไปเสวนาเรื่อง “ปัญหาข้อพิพาทเขตแดน ระหว่างผุ้นำกรุงเทพฯ กับ ผู้นำกรุงพนมเปญ”  คณบดีไชยันต์ รัชชกูล ม อุบล ชวนไปพูดร่วมกับ ดร ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
14 October 1973: Day of Great Joy 14 ตุลา 2516/1973 เป็นวัน "มหาปิติ" วันนั้น เมื่อ 39 ปี มาแล้ว 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 บทบันทึกการเดินทางเพื่อเข้ารับรางวัล ณ เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
(โปรดส่งต่อ ล้อมกรอบ ปชส เผยแพร่ในทุกรูปแบบด้วย ครับ) ในฐานะประธานมูลนิธิ จิตร ภูมิศักดิ์  ขอส่งบทความมาเพื่อทราบ  และขอแจ้งว่า เรากำลังสร้างอนุสาวรีย์จิตร ที่บ้านหนองกุง สกลนคร ยังขาดเงินเกือบ ๑ ล้าน ๕
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชี้ คณิต ณ นคร ประธาน คอป.มีความเข้าใจที่ผิดพลาดทางประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  บันทึกสองฉบับจากชาญวิทย์ เกษตรศิริ เล่าถึงเมืองฟูกูโอกะ และรางวัลฟูกูโอกะ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ