Skip to main content

 

ในฐานะนักประวัติศาสตร์ 
ผมได้พบข้อมูลระหว่าง พ.ศ. 2475 
จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 81 ปีว่า 
เรามีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้ว 22 ฉบับ 
โดยแบ่งเป็นพ.ร.ก. 4 ฉบับ พ.ร.บ. 17 ฉบับ และรธน. 1 ฉบับ 
 
สาระสำคัญของกฎหมายนิรโทษกรรมทั้ง 22 ฉบับ 
คือ การนิรโทษกรรมให้ความผิดโดยแบ่งออกเป็น
- ความผิดฐานเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1 ฉบับ
- ความผิดฐานก่อกบฎ 6 ฉบับ
- ความผิดจากการก่อรัฐประหาร 10 ฉบับ
- ความผิดจากการต่อต้านสงครามของญี่ปุ่น 1 ฉบับ
- ความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3 ฉบับ
- ความผิดจากการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 1 ฉบับ
 
ถ้านับกันจากระยะเวลา 81 ปี เฉลี่ยแล้ว 3 ปีครึ่ง 
เราจะมีกฎหมายนิรโทษกรรม 1 ฉบับ 
เหตุที่มีมากเช่นนั้น เพราะเป็นการรวมการรัฐประหาร 10 ฉบับ 
และความผิดฐานกบฏ 6 ฉบับ 
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งของชนชั้นนำ 
คิดเป็นร้อยละ 72.7 
ขณะที่การนิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3 ฉบับในเหตุการณ์สำคัญ คือ 
 
*เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 : พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2516
 
*เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 : พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 
 
*เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 : พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535
 
กลายเป็นตลกร้ายทางการเมือง 
เพราะ กฎหมายที่มุ่งนิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุมทางการเมืองทั้ง 3 ฉบับ 
กลายเป็นว่าเป็นการนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ไปพร้อมกันด้วย
 
กฎหมายนิรโทษกรรมกลายเป็น "ใบอนุญาตฆ่าประชาชน" 
ผู้ซึ่งใช้สิทธิในทางการเมืองอย่างสุจริตไปโดยปริยาย
 
หลังจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 
ตามมาด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาเกือบ 7 ปี 
มีการล้มตายของประชาชนกลางเมืองหลวง และหัวเมืองต่างๆ 
ในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 
จนกลายมาเป็นประวัติศาสตร์บาดแผล ที่ยากจะสมานได้ในเร็ววัน 
แต่ผลพวงจากเหตุการณ์ดังกล่าว 
ยังปรากฏนักโทษการเมือง ที่ถูกจองจำมาเป็นเวลานานนับปีอยู่หลายร้อยคน
 
นี่เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่เราควรจะบอกให้โลกรู้่ว่า 
นักโทษการเมือง จะต้องหมดไปจากประเทศไทย 
ด้วยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม
 
แต่ แต่ ขณะเดียวกัน การนิรโทษกรรมในปี 2556 
ต้องไม่ใช่การนิรโทษกรรมเช่นในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 
และเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 
ที่เป็นการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" 
ให้ผู้ก่อความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองได้รับการนิรโทษกรรมไปด้วย 
เพราะประวัติศาสตร์บอกเราชัดเจนว่า 
ตราบใดที่ผู้กระทำผิดไม่ถูกลงโทษ ก็จะมีความุรนแรงตามมา 
 
อย่าให้ประวัติศาสตร์สอนเราว่า 
เราไม่เคยเรียนรู้อะไรจากประวัติศาตร์ต่อไปอีกเลย
 
cK@NoBlanketAmnestyนิรโทษกรรมเหมาเข่ง

บล็อกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  Believe it or not, Cambodia and Siam: (when Sihanouk was young) เชื่อไหม ตอนที่ นโรดมสีหนุ พยายามกู้เอกราช  เสด็จมาเยือนไทย เยือน มธ ด้วย  
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
Incredible Cambodia  เชื่อไหม  พระบาทสมเด็จ นโรดมสีหนุ  อดีตกษัตริย์กัมพูชา  ทรงร้องเพลง "รักเธอเสมอ" 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ไป (แต่ไม่ได้) ดู “กุ้งเดินขบวน” กับ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” อ. น้ำยืน อุบล เมื่อช่วงครบ 6 ปีรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ผมไปเสวนาเรื่อง “ปัญหาข้อพิพาทเขตแดน ระหว่างผุ้นำกรุงเทพฯ กับ ผู้นำกรุงพนมเปญ”  คณบดีไชยันต์ รัชชกูล ม อุบล ชวนไปพูดร่วมกับ ดร ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
14 October 1973: Day of Great Joy 14 ตุลา 2516/1973 เป็นวัน "มหาปิติ" วันนั้น เมื่อ 39 ปี มาแล้ว 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 บทบันทึกการเดินทางเพื่อเข้ารับรางวัล ณ เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
(โปรดส่งต่อ ล้อมกรอบ ปชส เผยแพร่ในทุกรูปแบบด้วย ครับ) ในฐานะประธานมูลนิธิ จิตร ภูมิศักดิ์  ขอส่งบทความมาเพื่อทราบ  และขอแจ้งว่า เรากำลังสร้างอนุสาวรีย์จิตร ที่บ้านหนองกุง สกลนคร ยังขาดเงินเกือบ ๑ ล้าน ๕
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชี้ คณิต ณ นคร ประธาน คอป.มีความเข้าใจที่ผิดพลาดทางประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  บันทึกสองฉบับจากชาญวิทย์ เกษตรศิริ เล่าถึงเมืองฟูกูโอกะ และรางวัลฟูกูโอกะ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ