Skip to main content

เมื่อคิดถึงเรื่องโอกาสทางการศึกษา ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตาม กม.อาญา มาตรา 112

ผมคิดถึงนักศึกษาสองคน

คนหนึ่งเรียนอยู่ ม.เทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีสุดท้าย เขาชื่ออัครเดช ชื่อเล่นว่า เค

ส่วนอีกคนก็คือ แบงค์ นักแสดงละคร กรณี เจ้าสาวหมาป่า ซึ่งก็เป็น นศ.ปีสุดท้ายจาก คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ซึ่งคดีของแบงค์จะตัดสินวันนี้

ในระหว่างกระบวนการจับกุมจนมาถึงวันพิพากษา นักศึกษาทั้งสองคนได้ให้เหตุผลในเรื่องการศึกษาเพื่อขอให้ศาลมีเมตตาปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อให้เขาได้ออกมาศึกษาต่อจนจบ

ส่วนกระบวนการพิจารณาคดีจะเป็นอย่างไรก็คงสุดแต่ท่านผู้ทรงธรรมจะตัดสินชี้ขาดชีวิตของพวกเขา

พวกเขาคิดว่าจะเป็นคนคุกก็ช่างแต่อย่างน้อยก็ขอให้มีโอกาสได้รับปริญญาตามที่ได้ลงแรงลงเวลาศึกษาไปโดยใช้เวลาเกือบสี่ปี  แค่นั้นก็ยังดี

แต่ผู้พิพากษาไม่รับฟังเหตุผลของพวกเขา พวกเขามีทางเลือกเพียงอย่างเดียวคือการต้องยอมรับชะตากรรม รับสารภาพ การศึกษาที่อุตส่าห์ร่ำเรียนมาก็ปล่อยไปตามยถากรรม

เงียบสงัด!!! ไม่มีเสียงอุทธรณ์จากนักการศึกษา ไม่มีคนที่ชอบพูดถึงโอกาสและสิทธิทางการศึกษา พูดถึงการจำกัดโอกาสทางการศึกษาในกรณีของพวกเขาแต่อย่างไร

บทสรุปง่ายๆสำหรับบรรทัดฐานในสังคมนี้ก็คือเมื่อถูกกล่าวหาในกรณี 112 แล้ว คุณจะไม่มีสิทธิ หรือถูกตัดโอกาสทางการศึกษา



ข้อมูลเพิ่มเติม

อัครเดช: นักศึกษา ม.เทคโนโลยีมหานคร

ปติวัฒน์: ละครเวทีเจ้าสาวหมาป่า

 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
13 พฤษภาคม 2553 เวลาประมาณสี่ทุ่ม  ชาติชาย ชาเหลา คนขับแท็กซี่ อายุ 25 ปี ถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่ศีรษะ เสียชีวิตคาที่ จากกระสุนปืนไรเฟิลจากทหารยุติชีวิตของเขาลงทันทีขณะที่ในมือของเขายังถือกล้องถ่ายวิดีโออยู่
gadfly
น่าสมเพชและน่าอายแทนทหารไทยที่มีศักยภาพในการใช้ความรุนแรงกับใครก็ได้ในประเทศนี้กลับเลือกที่จะใช้ความรุนแรง และความได้เปรียบทางกฏหมายทำร้ายคนที่อ่อนแอที่สุดกับคนอย่าง 'ตูน'