Skip to main content


 

 

รู้สึกผิดเล็กน้อยที่ต้องเอาเรื่องของเพื่อนมาเขียน แต่ถ้าไม่เขียนเลยมันก็อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยกับคนอีกหลายๆคน

สามวันก่อนทราบข่าว ปอน หฤษฎ์ มหาทน ถูกจับที่ขอนแก่นเลยรีบเดินทางไปตามข่าว แต่ปรากฎว่าแห้ว เจอแต่ร้านราเมง เพราะ จนท ส่งตัวปอนกับเพื่อนเข้ากรุงเทพในทันที

เพื่อไม่ให้เสียเวลาที่เดินทางเลยนัดเจอกับเพื่อนรุ่นพี่ที่พึ่งใช้สมาร์ทโฟนเป็นไม่นานมานี้ (อ้อ ลืมบอกว่าแกแมสเสจมาบอกว่ามีเหล้าเรดอยู่ขวดนึง ก็เลยเป็นเหตุให้ยิ่งต้องพบเจอ)

ก็กะว่าจะช่วยดูและระบบความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสารออนไลน์ เพราะแต่ละโพสต์ของทั่นพี่ก็รุนแรงเรียกแขก เรียกตีนได้เป็นอย่างดี การสื่อสารในกล่องข้อความก็ช่างเหลือใจ เพื่อนฝูงที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน leave ออกไป ก็ยังไปดึงกลับเข้ามาใหม่

จำได้ว่าเตือนไปสองรอบ   แกก็เบาลงบ้าง ไม่ใช่ว่าแกจะไม่ปรับตัวเลย แต่พอตอนเมาเหล้าก็ยังจัดหนักเหมือนเดิม

ทดสอบเรื่องการลบข้อความ (แกทำเป็นแล้ว) สอนวิธีการส่งลิงค์ (url) ในแมสเสจบ็อกซ์ แล้วก็เลยกะว่าจะให้แกใช้ telegram สำหรับเรื่องที่เสี่ยงจะถูกคุกคาม เลยถือวิสาสะหยิบสมาร์ทโฟนมาดู

รูดปรื๊ด ผ่านตลอด เข้าถึงได้หมด ไลน์ไม่รู้ว่ากี่กลุ่มต่อกี่กลุ่ม เฟซบุ๊ก แมสเซนเจอร์ อีเมล์ (พี่ท่านยังใช้ yahoo อยู่เลย)

ไม่มี passcode ครับพี่น้อง เป็นนักลัทธิมาร์กซ์ที่เปิดเผยมาก frown emoticon

ปรับกระบวนท่าใหม่ ลดระดับความคาดหวัง เสนอว่าลองใช้ passcode ดูไหมพี่ จำตัวเลข อักขระ แค่ไม่กี่ตัวเอง ใส่ไปอย่างน้อยเมียก็ไม่เห็นว่าพวกเราคุยอะไรกันบ้าง

แกสั่นหัวหงึกหงัก ปากก็บอกว่าไม่เอาหรอกกลัวจำไม่ได้

จบกัน ไม่มีอะไรดีกว่ายกเหล้าเรดกระดกเข้าปาก แล้วซดน้ำต้มเปื่อยขมอ่ำหล่ำที่มีชิ้นเครื่องในเปื่อยนุ่มตามเข้าคอพร้อมกับเปลี่ยนเรื่องคุย

........

กรณีที่เขียนข้างต้น ผมเชื่อว่าไม่ได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะแต่อย่างใด แต่เป็นโดยทั่วไป

ผมเชื่อว่ากรณีการจับกุมคุมขังในหลายกรณีเป็นอย่างนี้

คนเสื้อแดงบ้านๆที่เจ็บแค้นจากการกระทำของรัฐ ของทหาร หนทางในการระบายออกก็ด้วยการสื่อสารเฉพาะกลุ่มซึ่งนอกจากทัศนะความคิดเห็นแล้วโวหารและจินตนาการมันก็ได้ถูกระบายเข้าสู่ระบบการสื่อสารของกลุ่มด้วย

ซึ่งเมื่อมีการหลุดรั่วเข้าถึงหูถึงตาของทหารมันก็เท่ากับเข้าทางตีนที่สวมคอมแบตที่จะขยายผลเตะกระทืบซ้ำจนหนำตีนจึงจะหนำใจ

กรณีปาระเบิดศาล กรณีป่วนงานไบค์ฟอร์แด๊ด เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนแต่ไม่ค่อยมีใครสังวรณ์

แค่การหลุดรั่วข้อมูลเพียงไม่กี่คนพาคนติดคุกไปเป็นสิบ

หลายคนในนั้นแทบจะไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรเลยด้วยซ้ำ แค่โดนเพื่อนลากเข้ากลุ่มไป

ที่เขียนยืดยาวก็เพื่อที่จะบอกให้รู้ว่า การคุกคามจับกุมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมันไม่ได้เกิดจากความชาญฉลาดด้านเทคโนโลยีของรัฐหรอก แต่เกิดจากมันมีข้อบกพร่อง รอยรั่วของสมาชิกในกลุ่มสื่อสารเอง

และกรณีข้างต้นก็เป็นแค่เศษเสี้ยวจุดเล็กๆจุดเดียวของรูโหว่ ในการสื่อสารภายในกลุ่ม มันคือการจัดลำดับความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยระหว่างสมาชิกคนละระดับกัน

คนที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าก็จะไม่ปลอดภัย เมื่อยู่ในกลุ่มสื่อสารที่มีความต่างหลากหลาย พอบางคนถูกเจาะก็จะไม่ปลอดภัยทั้งหมด

ดังนั้น ไม่ต้องมาทักถามว่าการสื่อสารแอพไหนปลอดภัย เพราะส่วนใหญ่มันหลุดรั่วที่คน

และต่อให้มีเราการจัดระบบความปลอดภัยสำหรับตัวเองได้ดีแค่ไหนก็ตาม แต่รัฐก็ยังสามารถที่จะเลือกหยิบคนอื่นๆไปใช้เป็นตัวประกอบฝ่ายตรงข้ามกับรัฐพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองได้ตามสบาย

อาจเป็นเพราะผู้รักประชาธิปไตยมีเยอะแยะ รอยรั่วก็เลยมีเยอะแยะไปด้วย

ก็ด้วยใจมันรัก ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงกันไป

 

ที่มา:  เฟซบุ๊ก Sarayut Tangprasert

 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
13 พฤษภาคม 2553 เวลาประมาณสี่ทุ่ม  ชาติชาย ชาเหลา คนขับแท็กซี่ อายุ 25 ปี ถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่ศีรษะ เสียชีวิตคาที่ จากกระสุนปืนไรเฟิลจากทหารยุติชีวิตของเขาลงทันทีขณะที่ในมือของเขายังถือกล้องถ่ายวิดีโออยู่
gadfly
น่าสมเพชและน่าอายแทนทหารไทยที่มีศักยภาพในการใช้ความรุนแรงกับใครก็ได้ในประเทศนี้กลับเลือกที่จะใช้ความรุนแรง และความได้เปรียบทางกฏหมายทำร้ายคนที่อ่อนแอที่สุดกับคนอย่าง 'ตูน'