Skip to main content

 

ผมชอบวรเจตน์ ! โดยอาจมีสองประเด็นหลัก ที่เป็นปัจจัยและทั้งสองประเด็นเกี่ยวเนื่องกัน


ประเด็นแรก คือท่วงทำนอง เท่าที่เห็นมาสิบกว่าปี วรเจตน์นำเสนอประเด็นยากๆ โดยทำให้เข้าใจง่ายและมีท่วงทำนองรับฟัง ไม่อวดตัว ไม่มีท่าทีหมิ่นแคลน หรือใช้แท็คติคโวหารทำลายความชอบธรรมของคู่สนทนา

ดูเหมือนว่าวรเจตน์มีความจงใจที่จะสื่อสารถึงบุคคลทั่วไป มากกว่าที่จะต้องการสื่อสารถึงคนในแวดวงปัญญาชนด้วยกัน

ทักษะการสื่อสารในลักษณะนี้เป็นประโยชน์ สามารถสื่อสารกับคนในวงกว้าง ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและแม้แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย


ภาพจาก แฟนเพจ Banrasdr Photo

 

ผมไม่รู้ว่าการถูกอันธพาลบุกเข้าไปทำร้ายถึงในมหาวิทยาลัย ได้ทำให้วรเจตน์เจ็บปวดหรือหวาดกลัวหรือไม่ แต่มันทำให้ผมสูญเสียความเชื่อมั่นที่จะสื่อสารต่อมนุษย์ุ์ที่มีความเห็นต่างทางการเมืองไประยะหนึ่ง

แต่วรเจตน์นิ่งเฉย ไม่ปริปากฟูมฟาย และทำหน้าที่ในฐานะนักวิชาการด้านกฎหมายต่อไป จนผมต้องฉุกคิดและละอายตัวเอง

 

ประเด็นที่สอง ทุกคนยอมรับวรเจตน์เป็นปัญญาชนที่ยึดมั่นในหลักการ ในสถานการณ์การบังคับให้ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญของ คสชหากถกหลักเหตุผลโดยไม่มองบริบทสถานการณ์ การบอยคอตหรือการโนโหวตเป็นฝ่ายที่ยึดครองเหตุผลที่เหนือกว่าอย่างชัดแจ้ง

ปัญญาชนจำนวนหนึ่งเลือกประกาศแนวทางบอยคอต โนโหวต เพื่อรักษาสถานะ คุณค่าของตัวเองไว้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ก็ในเมื่อการต่อสู้ไม่ได้แพ้ชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด


ภาพจาก แฟนเพจ Banrasdr Photo

แต่ที่น่าสนใจก็คือ วรเจตน์ กลับเลือกโหวตโน 'ถนัดขวา กาช่องขวา' ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากกว่าในการอธิบายในทางหลักการ และมีโอกาสมากกว่าที่จะถูกคุกคามโดยรัฐ เหตุผลของแกเป็นอย่างไรก็ลองอ่าน-ฟังกันดู

แต่ภาพการชูมือขวาของวรเจตน์ต่อหน้าผู้ฟังแน่นหอประชุมธรรมศาสตร์มันช่างดูมีพลัง

ผมคาดเดาเรื่องการกำหนดสถานะบทบาทของวรเจตน์ต่อสถานการณ์นี้ว่า วรเจตน์ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสถานะของตัวเองมากเท่ากับสถานะของของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ไม่กลัวเปลืองตัว เพื่อให้ขบวนการประชาชนมีโอกาสพลิกกลับมาตีโต้

การอ่อนน้อมยอมรับเหตุผลของฝ่ายบอยคอต-โนโหวต ความพยายามในการให้เหตุผลและการยอมรับในข้ออ่อนของข้อเสนอในฝ่ายโหวตโนจึงน่าเก็บรับเป็นบทเรียนของปัญญาชน แอ็คติวิสต์ รุ่นใหม่

แน่นอนว่าท่วงทำนองและรูปแบบการผูกตัวตนเข้ากับบริบททางการเมืองในทางที่เป็นคุณต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศแบบวรเจตน์ ไม่ควรที่จะยึดเป็นรูปแบบเดียวในกระบวนการต่อสู้ทางสังคมการเมือง หากแต่ว่าจากอดีตอันใกล้ ในแวดวงปัญญาชน เรามีคนแบบ 'วรเจตน์' น้อยเกินไป

0000

 

อ่านข่าวได้ที่: วรเจตน์ปาฐกถาประชามติ 7 ส.ค.: "รัฐธรรมนูญเป็นอย่างไรจะกำหนดชะตากรรมของรัฐๆ นั้น"

เผยแพร่ครั้งแรกใน:  Facebook Sarayut Tangprasert

 

 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
13 พฤษภาคม 2553 เวลาประมาณสี่ทุ่ม  ชาติชาย ชาเหลา คนขับแท็กซี่ อายุ 25 ปี ถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่ศีรษะ เสียชีวิตคาที่ จากกระสุนปืนไรเฟิลจากทหารยุติชีวิตของเขาลงทันทีขณะที่ในมือของเขายังถือกล้องถ่ายวิดีโออยู่
gadfly
น่าสมเพชและน่าอายแทนทหารไทยที่มีศักยภาพในการใช้ความรุนแรงกับใครก็ได้ในประเทศนี้กลับเลือกที่จะใช้ความรุนแรง และความได้เปรียบทางกฏหมายทำร้ายคนที่อ่อนแอที่สุดกับคนอย่าง 'ตูน'