Skip to main content

31_7_01

เด็กเจ้าของร้านขายสินค้าที่ทำจากเครื่องเงินแห่งหนึ่งในซาปา
ดูจากบุคลิกแล้ว
'คิดว่า' เธอน่าจะเป็นคนจากเมืองอื่นที่ย้ายมาทำมาหากินในซาปา ซึ่งร้านลักษณะนี้มีมากมายเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราที่มีคนจากแหล่งอื่นเข้ามาลงทุน ในแง่นี้เป็นทั้งกลุ่มทุนรายย่อยและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ได้ยินข่าวมาเร็วๆ นี้ก่อนที่เวียดนามจะประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างในปัจจุบันว่า รัฐบาลเวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติทั้งรายย่อย-ใหญ่ เข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ครับ .. ใครทุนหนา รีบๆ เข้าเด้อ!!


31_7_02

เด็กสาวชาวม้งดำจะเป็นผู้ดูแลครอบครัว
หลังจากเสร็จงานนางานไร่ เด็กสาวโดยส่วนใหญ่จะเย็บปักร้อยลวดลายบนผืนผ้าสีดำ
(เป็นที่มาของชื่อว่า ม้งดำ) และเหมือนกับชนเผ่าพื้นเมืองในแหล่งอื่นๆ ของโลกหรือประเทศไทยในยุคที่ยังเรียกตัวเองว่า 'สยาม' เด็กสาวเหล่านี้นิยมมีครอบครัวเร็ว .. ก็ไม่รู้จะทำอะไรนี่ครับ แหะแหะ ล้อเล่นหน่ะครับ .. ความนิยมมีครอบครัวเร็วมาจากความต้องการแรงงานในการทำไร่ทำนาต่างหาก


31_7_03

ใบหน้าของ
'เรด ดาว' หรือ 'เรด เซา' อีกหนึ่งชนเผ่าที่อยู่ในซาปา นิยมใส่ฝันทองบ่งบอกถึงสถานะทางเศรษฐกิจ บางคนมีถึง 5 ซี่ ในแถวเดียวกัน โพกผ้าและแต่งกายในชุดสีแดงเป็นสีหลัก ขายกระเป๋าและผ้าผืน รวมทั้ง เทคนิคการขายที่เหมือนกับนักขายชนเผ่าอื่นๆ คือ ตื้อเท่านั้นที่จะทำยอด !!! จนต้องเดินหนีเพื่อปิดการซื้อขายนั่นแหละครับ


31_7_04

เด็กม้งดำจะออกมาขายสินค้าจำพวกกระเป๋าถัก
กำไรข้อมือ
-เท้าและเลี้ยงน้องไปด้วยอย่างนี้แหละครับ หนูน้อยคนนี้เดินซะหอบ หลังจากที่เธอถูกปฎิเสธโดยนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่ง ขณะที่ปากเธอยังพึมพัมๆ ว่า 'ทู บาย ฟอร์ มี๊... ' !!


31_7_05

เวลาอาหารเที่ยงของคุณยายม้งดำ
แกขายของที่นั่นและกินที่นั่น หน้าโบสถ์คริสต์ใจกลางเมืองซาปา เป็นโบสถ์คริสต์สมัยยุคอาณานิคมฝรั่งเศสที่ยังหลงเหลือและคนที่นี่ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ครับ
!!!


31_7_06

เรดเซา
อีกมุมมอง สวยดีครับ



31_7_07

อีกมุมมองของม้งดำ


31_7_08

31_7_09

เด็กสองคนนี้เป็นคนๆ เดียวกันครับ


31_7_10

จัตุรัสใจกลางเมืองซาปา
วันอาทิตย์จะเปิดพื้นที่เป็น เลิฟ มาร์เก็ต ครับ
!! ผมหมายความตามนั้นจริงๆ ทั้งหนุ่มสาว และไม่หนุ่มไม่สาว มารอท่าบรรยากาศนี้ตั้งแต่หกโมงเย็นแล้ว เหอเหอ


บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…