Skip to main content

ปลูกป่า สร้างร่มเงา

โคลนสีแดงเหนียวหนึบค่อยๆ ซึมผ่านถุงมือไหมพรมสีขาว ท่อนไม้แหลมเหลาปลาย ถูกกระทุ้งลงดินแข็ง แล้วคว้านเป็นหลุมกว้างขนาดพอจะใส่กล้าไม้

ฉีกถุงเพาะกล้าเบาๆ สองมือค่อยๆ โอบประคองดินดำห่อหุ้มต้นอ่อนลงในหลุมที่ถูกคว้านและตีกลบเบาๆ ให้ดินแน่น

นำถุงเพาะกล้าครอบบนแนวไม้ที่ปักเอาไว้ ใบเล็กๆ สีเขียวบนลำต้นบอบบางตั้งฉากเป็นแนวดิ่งเป็นอันเสร็จขั้นตอนสำหรับการปลูกกล้า พร้อมกับหัวใจของแต่ละคนที่หวังว่า

กล้าเล็กๆ จะเติบโตเป็นป่า ให้ร่มเงาแก่ผืนดินและโลก

...

กิจกรรมร่มไม้ข้างทางของกลุ่มอาสาสมัครรักษ์ธรรมชาติหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า
V4N ร่วมกับ มูลนิธิเขมไชยรสานนท์ที่เน้นการช่วยเหลือให้ทุนการศึกษาเด็กยากจนในชนบท เป็นต้นเรื่องที่นำอาสาสมัครหัวใจสีเขียวจำนวน 50 คน เดินทางไปปลูกป่า 10-12 ตุลาคม 2551 ที่ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่

กล้าไม้
3,000 ต้น ถูกวางตามจุดต่างๆ เป็นระยะทาง 2.5 กิโลเมตร อาสาสมัครหัวใจสีเขียวกระจายกำลังเป็นจุดๆ โดยมีคู่หูช่วยกันขุด ช่วยกันกลบ คนหนึ่งจะถือไม้แหลมสำหรับคว้านดินให้เป็นหลุม ส่วนอีกคนจะค่อยๆ ประคองต้นไม้ลงหลุม บางทีหลุมไม่ลึกและกว้างพอ ต้องช่วยกันกระทุ้ง คว้านและช่วยกันประคองต้นไม้ลงหลุมที่ขุดเอาไว้

สองมือของอาสาสมัครจับกอแฝกลงหลุมข้างทาง การปลูกหญ้าแฝกเป็นงานหนัก เพราะจะต้องคว้านหลุมบนดินสีแดงแข็งข้างถนน แฝกเป็นพืชในตระกูลหญ้าที่มีความอดทน พบได้ในทุกสภาพพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่มชุ่มน้ำหรือที่ดอนกระด้าง เมื่อโตเต็มที่จะขยายเป็นกอหนาแน่นก่อนจะแตกรากออกไปในพื้นที่แวดล้อมอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมดินและกรองตะกอนเอาไว้ไม่ให้ถูกชะล้างเป็นปราการในธรรมชาติที่ช่วยคืนความชุ่มชื้น

อีกพวกอยู่ในกลุ่มกล้าไม้ชายเลน จำพวก สารภีทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ แสมขาว แสมดำ โปรงแดง โปรงขาว
"ต้นไม้พวกนี้จัดอยู่ในประเภทไม้เบิกนำของระบบนิเวศป่าชายเลน" พี่หน่อง' หนึ่งในเจ้าหน้าที่สถานีเพาะชำกล้าไม้ จ.กระบี่ คนใจดีที่อาสามาช่วยกิจกรรมร่มไม้ข้างทางเริ่มอธิบาย "หรือป่าโกงกางที่เราได้ยินกันบ่อยๆ "

โกงกางเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แต่มีรากเสริมออกมาเหนือโคน รากค้ำยันพวกนี้จะระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวเรียงตรงเป็นคู่ขึ้นสู่ยอด ตั้งฉาก สลับกันไปมา ดอกและผลจะตูมเหมือนไข่ไก่ เติบโตในสภาพภูมิประเทศแถบชายฝั่งทะเล อ่าว ปากน้ำและเกาะ

พืชจำพวกนี้เป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ทะเลทุกชนิดและที่สำคัญเป็นปราการธรรมชาติที่ป้องกันคลื่นยักษ์ซัดชายหาดหรือสึนามิ "หลังจากนั้น เมื่อป่าชายเลนสมบูรณ์ขึ้น จะเกิดไม้จำพวก ตะเคียนทอง หลุมพอ กระถิน เทพา จนกลายเป็นป่าสมบูรณ์ในที่สุด" พี่หน่องยิ้ม ก่อนจะก้มลงหยิบไม้เหลาปลาย เดินนำอาสาสมัครไปปลูกกล้าไม้

 "มีปูด้วย" ใครคนหนึ่งร้องออกมาอย่างตื่นเต้น
 "ตัวเล็กนิดเดียว" ใครบางคนเสียดาย เมื่อเห็นปูตัวใสๆ หลบลงรู หลังจากเห็นคนแปลกหน้ามายืนมุง ก่อนจะพ่นฟองออกมาปุดๆ

ดวงทิพย์ อนันต์มนตรี หรือ มะปราง นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัดสินใจกระโดดขึ้นรถมาทำงานอาสาสมัครด้วยหัวใจที่มุ่งมั่นว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความร้อนให้โลก เธอบอกว่า เป็นคนที่ชอบท่องเที่ยวไปในโลกธรรมชาติ

"แม้ว่าจะต้องเหนื่อย ร้อน เลอะเทอะ แต่การได้ออกมาทำกิจกรรมแบบนี้ทำให้เราผ่อนคลายไปด้วย สนุกสนานและเจอเพื่อนใหม่ๆ ที่เราไม่รู้จักกันมาก่อน"
จากมือที่คุ้นเคยกับอุปกรณ์ตรวจโรค ต้องมาจับท่อนไม้และหญ้าแฝกลงหลุม
เธอยืนยันด้วยรอยยิ้ม ระหว่างที่นำโกงกางใบเล็กลงหลุม
"เหนื่อยแต่สนุกสุดๆ ค่ะ"

เหมือนกับ กิ๊ฟ นาถสุดา ชื่นชม ที่ยืนยันว่า แม้จะเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในออฟฟิศมาทั้งอาทิตย์ แต่การออกมาทำกิจกรรมแบบนี้ สำหรับเธอนั้น ดีกว่าไปเดินห้างหรือดูดีวีดี(เกาหลี)อยู่กับบ้านเป็นไหนๆ

"สิ่งเราได้รับ คือ ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป หาไม่ได้ในออฟฟิศค่ะ"


กล้าเล็กๆ จะเติบใหญ่เป็นร่มไม้ข้างทาง ให้ร่มเงาแก่โลก


ปลูก ปลูก ปลูก


มุ่งมั่น มุ่งมั่น มุ่งมั่น


ขุดและปลูก ... คู่หูสีเขียว


กลบดินพร้อม หัวใจสีเขียว




ร่มไม้ข้าง จากถุงสู่ดิน


แดดร้อนเปรี้ยง แต่จิตใจสีเขียวล้นหลาม


มะปราง นักเทคนิคการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ถอดถุงมือมาแล้วเลอะอย่างนี้แหละ
!!

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…