Skip to main content

 
หมู่บ้านมอแกน อ่าวบอนใหญ่ แห่งหมู่เกาะสุรินทร์ มองเห็นบ้านเรือนเป็นทิวแถวจากผืนทะเลสีคราม ,ภาพบนถ่ายจากหน้าหมู่บ้าน บนเรือหัวโทง ,ภาพล่างถ่ายจากท้ายหมู่บ้าน บนเส้นทางเดินธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ เป็นหนึ่งในโปรแกรมมอแกนพาเที่ยว โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนใจติดต่อ 083-703-0925 ,andamanproject1@yahoo.com


จากชายหาด มองเห็นบ้านมอแกนเรียงรายเป็นแถวๆ คล้ายหมู่บ้านจัดสรร ,พื้นที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่ทางการได้จัดสรรให้หลังจากเหตุการณ์สึนามิ โดยนำมอแกนจาก 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านไทรเอนและหมู่บ้านอ่าวบอนน้อย มาอยู่ร่วมกันในพื้นที่ถาวรซึ่งแตกต่างไปจากวิถีเดิมของชาวมอแกนที่ชอบเดินทางเร่ร่อนไปในท้องทะเลมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ



กลางวัน เด็กๆ จะนั่งหลบแดดอยู่ใต้ถุนบ้านที่ยกสูง ,เด็กที่นี่คุ้นเคยกับท้องทะเลมาตั้งแต่เกิด ไม่กลัวแดด ผิวสีน้ำตาลแดงสนิทและไม่สนใจครีมกันแดดและครีมกัดผิวขาว



เสาสลักสำหรับประกอบพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษหรือที่เรียกว่า ‘ลอโบง' บริเวณหน้าหมู่บ้านมอแกน อ่าวบอนใหญ่ สีสันลวดลายง่ายๆ สะดุดตาสะดุดใจนักท่องเที่ยว


คุณลุงมอแกนนอนหลับกลางวัน อย่างเพลิดเพลินอารมณ์ ,ระหว่างผมยกกล้องถ่ายแกสลึมสลือผงกหน้าจากที่นอนขึ้นมาดู ,ก่อนจะหลับต่อไปอย่างคนอารมณ์ดี



ใต้ถุนที่ยกสูงเป็นที่หลบแดดและสนามสำหรับนอนกลางวันของเด็กๆ เป็นอย่างดี


ถนนสายหลักกลางหมู่บ้านมอแกน อ่าวบอนใหญ่ เด็กชายคนนี้นุ่งผ้าถุงแม่ลายดอกพื้นเมือง ห่มคลุมไปทั้งหัว ,ดูแกออกจะงงเหมือนกันว่า คนแปลกหน้ามาทำอะไรที่นี่ "ถ่ายรูปอยู่ได้"



เด็กชายวิ่งเล่นอยู่บนชายหาดหน้าหมู่บ้าน ,แกทำหน้าย่นเมื่อผมขอถ่ายรูปแล้วบอกให้ยืนนิ่งสักหนึ่งนาที ขณะที่ในมือของเด็กน้อยกำเปลือกหอยเอาไว้ "เสียเวลาเล่นจริงๆ"



‘ก่าบาง มอแกน' เป็นเรือของชาวเลที่ใช้ขึ้นล่องกลางผืนน้ำ มาช้านาน ,ปัจจุบันมีให้เห็นน้อยมากเพราะส่วนใหญ่หันมาเปลี่ยนเป็นเรือหัวโทง ,เฉพาะที่อ่าวบอนใหญ่ หมู่เกาะสุรินทร์แห่งนี้ มีเหลือเพียง 3 ลำ ,หนึ่งในนั้นกำลังซ่อมแซมเพราะไม่ได้ใช้งานมานาน



เรือยอร์ชลำโตทอดสมอขวางเส้นขอบฟ้า, ทะเลมีคนมากขึ้น ชาวมอแกนปัจจุบันหยุดการเป็นชนเร่ร่อนมาขึ้นบกและสร้างที่อยู่อาศัยถาวร อาจจะเป็นจริงที่ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสัจจะธรรมหนึ่งที่ยากแก่การปฏิเสธ ,เพียงแต่ว่า ชาวเล อ่าวบอนใหญ่ จะอยู่ตรงไหนบนโลกใบนี้


บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…