Skip to main content
...บ้านข่าร้อนมากกกก...ถึงมากที่สุด!!


สายลมฤดูร้อนทำกิ่งไทรกลางลานสั่นไหว แดดจ้าเหนือหัวแต่หนุ่มสาวบ้านข่าไม่หวั่นเกรง พวกเขามารวมตัวกันที่ลานหน้าตลาดใจกลางหมู่บ้าน


วันนี้ มีงานบุญ ...

บุญเดือน4 ,บุญเผวส ,หรืองานบุญพระเวส บุญใหญ่หนึ่งใน ฮีตสิบสอง-คองสิบสี่ ของชาวอิสานและอิทธิพลจากวัฒนธรรมล้านช้าง ศรัทธาและเคารพบรรพบุรุษผีปู่ตา ผีแถน ผีฟ้า ผีตาแฮก(ผีนาผีไร่) ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านมีโอกาสร่วมบุญ


ฮีตสิบสองหรือจารีตประเพณีประจำสิบสองเดือน การผสมคำของ "ฮีต" หรือ "จารีต" คือ กฏระเบียบของสังคม ใครฝ่าฝืนมีความผิด เรียกว่า ผิดฮีต ต้องชดใช้


คองสิบสี่หรือครองธรรม 14 อย่าง บนเส้นทางของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองและระหว่างพระสงฆ์กับบุคคลทั่วไป ,เพื่อความสงบสุข


คนบ้านข่านับร้อยร่วมชุมนุม ตามแบบจริยาวัตรของบรรพบุรุษ ลูกหลานที่ออกไปทำงานนอกหมู่บ้านจะกลับมาร่วมงานบุญ


,บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เป็นชุมชนของคนย้อ ไทย้อหรือญ้อ


พวกเขาถูกบันทึกถึงต้นกำเนิดว่าอยู่ที่เมืองหงสาทางตอนเหนือของประเทศลาวติดต่อพรมแดนจีน ก่อนจะหนีสงครามมาบริเวณแขวงไชยบุรี (ฝั่งตรงข้ามจุดผ่อนปรนท่าอุเทน จ.นครพนมในปัจจุบัน) ชาวย้อ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสกลนครและนครพนม พูดด้วยน้ำเสียงสูง อ่อนหวาน (ชวนหวั่นไหว) ,ไม่ห้วนสั้นเหมือนไทยลาว ผิวเนียนขาวเช่นเดียวกับชาวผู้ไทย


นางรำอายุระหว่าง 10-15 ปี จากโรงเรียนบ้านข่าวิทยาคม เริ่มตั้งขบวนตามเสียงประกาศของโฆษกเพื่อเดินแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน แถวหน้า หนุ่มๆ มีดีกรีเริ่มตั้งขบวนของพวกเขาเหมือนกันถัดไปเป็นขบวนช้างม้า ชูชกชูไม้เท้า กระตุกเชือก(ในที่นี้เป็นเชือกฟาง)ที่มัดข้อมือของพี่น้องกัณหา-ชาลีให้เดินตามก่อนจะส่งเสียงดังเอะอะตามตำนานพระเวสสันดรชาดก


,เสียงหมอลำจากลำโพงทำเอาหนุ่มดีกรีหนาหัวใจระทึก

...


"เมื่อก่อน ลูกหลานมาร่วมบุญเยอะกว่านี้ ได้บุญแรง" แม่สถิตย์วัย 65 แกร่วมบุญเดือน4 ตั้งแต่ยังสาวๆ เล่ายิ้มๆ


ทุกวันนี้ คนน้อย ลูกหลานลางานกลับบ้านไม่ได้ ,เค้ารอช่วงสงกรานต์ นั่นคือ เหตุผล

"โฮ๊ย เดี๋ยวนี่ สิเปี่ยนไปหลาย บ่อม่วน" แม่สถิตย์ ส่งน้ำเสียงสูงและยิ้มอย่างเคย

ไกลออกไป เพลงหมอลำดังมาจากวัด ชวนให้หนุ่มๆ สาวๆ ใจระทึก

 

 

ขบวนบุญตั้งต้นที่ตลาดบ้าข่า แห่รอบๆ หมู่บ้าน ไปยังวัด โดยมีนางรำน้อยๆ นำหน้าขบวน



ลีลาอ่อนช้อยงดงามของนางรำทำเอาหนุ่มบ้านข่าใจแป้ว



รอยยิ้มอ่อนหวานทำให้ความร้อนบรรเทาเบาบาง



ผมก็มาครับ..เพ่



ดูลีลาผมซะก่อน อิอิ



ชายคนนี้แกแต่งเป็นชูชกทุกๆ ปี มือข้างหนึ่งถือไม้เท้า อีกข้างกระตุกเชือกที่มัดข้อมือกัณหา-ชาลี พี่น้องตามท้องเรื่องพระเวสสันดรชาดก



นางรำน้อย รีบหลบด้วยความเขินอายเมื่อผมยกกล้องขึ้นจ่อ



งามสิครับ



หญิงสาวขึ้นไปกราบพระบนศาลาเพื่อขอพรก่อนจะลากลับไปทำงานในเมือง



ผู้เฒ่านอบน้อมศรัทธาในบุญเดือน 4 ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ ที่สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์