Skip to main content
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน

สีสันงานบุญ

ซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่


ความบันเทิง 2 ยุค กำลังประชันกันอย่างสมศักดิ์ศรี

เสียงดนตรีกระหึ่มไปทั่วบริเวณ

ยามกลางคืนแสงไฟจากหลอดกลมวับแวมอยู่ตามซุ้มต่างๆ ส่างลองกับพ่อส้านบางคู่ยังคงขี่คอเต้นและรำกันไม่ยอมเลิกรา บางคนเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดลำลอง ท่อนบนเป็นเสื้อกล้าม ส่วนท่อนล่างยังคงฉูดฉาด

 

พ่อส้านแม่ส้าน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน เป็นดั่งพี่เลี้ยงที่ต้องคอยดูแลส่างลองจนจบกระบวนการ ตั้งแต่พิธีอบรม รับศีลและบวชลูกแก้ว แห่ลูกแก้ว (5 วัน) ข่ามแขก (เลี้ยงแขกระหว่างพิธี) อุปสมบทเป็นสามเณร จนกระทั่งลาสิกขาบท

ตั้งแต่วันแรก จนวันสุดท้าย

ตั้งแต่เช้าจรดเย็น


แม่ส้านและทีมงาน มีหน้าที่แต่งหน้าแต่งตาส่างลอง ทาปาก ทาแก้มและประดับตกแต่งเจ้าชายน้อยให้เรียบร้อยและงดงามอยู่เสมอ รวมถึงสีสันของชุดและชฏาครอบ ผ้าแถบโพกศีรษะและผ้าแถบคล้องคอ ส่วนทีมงานจะคอยทำหน้าที่เสริมและข่ามแขก ดูแลเรื่องข้าวปลาอาหารแก่แขกที่มาเยี่ยม


พ่อส้านและทีมงานจะทำหน้าที่หนักกว่าสักหน่อย นอกจากต้องคอยดูและส่างลองอย่างใกล้ชิดแล้วยังต้องให้ส่างลองขี่คอไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ร้านเกมส์ปาเป้า ร้านของเล่น จำพวกหุ่นยนต์ ปืนหรือร้านไส้กรอก ฯลฯ สารพัดร้านที่มาตั้งบูธขายในงาน

ล่อใจส่างลอง

เจ้าชายน้อยที่น้อยที่ยังวิ่งเล่นและซนตามวัยของพวกเขา


ร้านรวงมีทั้งที่เป็นรูปแบบเกมส์ชนิดต่างๆ เช่น โยนห่วงเข้าหลัก โยนกาละมังครอบโค้กลิตร น้ำเต้าปูปลา(ยังเล่นกันอยู่) ปืนจุกก็อก ปาเป้า ยิงธนู ทำแต้มแล้วได้รับรางวัลหลากชนิด ตั้งแต่ขนมขบเคี้ยวจนถึงเหล้ายี่ห้อคุ้นตา


หลังจากเหน็ดเหนื่อย จากการแห่ส่างลองทั้งวัน แต่ละคนแต่ละคู่จะเล่นสนุกสนานเรื่อยไปจนดึกดื่นหรือจนพอใจแล้วจึงกลับมาพักภายในซุ้มของตน

 

การแห่ส่างลอง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

นอกจากกำหนดการแห่ที่เริ่มจากการไหว้องค์ดำหรือศาลพระนเรศวร วัดเวียงแหง วัดกำแพงใหม่ วัดปางป๋อ จนวันสุดท้าย จะทำการแห่รอบๆ หมู่บ้านเปียงหลวงแล้ว ส่างลองแต่ละบ้านจะไปไหว้ปู่ย่าตายายญาติที่นับถือ การแห่ส่างลองไปยังสถานที่ต่างๆ พ่อส้านจะทำหน้าที่พระเอกในเรื่องนี้

.....


หนุ่ม หรือ โชหลิง พ่อส้านวัย 21 ปี ผู้เคยเป็นส่างลองมาก่อน

ในวัยนี้ เขาต้องแบกหลานของตัวเองที่มีน้ำหนักมากกว่า 40 กิโลกรัม

โชหลิง ทำงานที่โรงไม้แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เขาลางาน 1 อาทิตย์ เพื่อมาทำหน้าที่พ่อส้าน


"เหนื่อยไหม" ผมถาม เมื่อมองเห็นโชหลิง ปาดเหงื่อที่ใบหน้า

"..." เขาพยักหน้าแทนคำตอบ

"ต้องแบกอย่างงี้ ตลอดเวลาเชียวเหรอ"

"ใช่ ได้บุญ"

"เข้าห้องน้ำก็ต้องแบก" ผมรุกด้วยคำถามต่อมา

"อืม ให้ยืนบนขอบโถ"

"หลังๆ นี่ต้องจ้างคนมาเป็นพ่อส้านบ้างหรือเปล่า" ผมตั้งข้อสังเกตุกับงานอันเหนื่อยและหนัก

"คนอื่นผมไม่รู้ แต่ใครสมัครใจเป็นพ่อส้านจะได้ขึ้นสวรรค์"

โชหลิง ปาดเหงื่ออีกครั้ง

แทนการตอบคำถาม

 

ลูกแก้วหรือส่างลองเป็นตัวแทนของเจ้าชายสิทธัตถะ การแห่รอบๆ หมู่บ้าน หมายถึง การแผ่บุญแก่ผู้คนในหมู่บ้าน

ทำบุญต้องเผื่อแผ่

การให้มีค่ามากกว่าการรับ

 

"ดูเหมือนจะมีการกินเหล้ากันน้อยมากนะ" ผมตั้งข้อสังเกตุเพราะหากเป็นงานที่บ้านป่านนี้คงเมากันแป๊ด

"ใช่ น้อยมาก" โชหลิง บิดฝาขวดคาราบาวแดงยกขึ้นดื่ม อั๊กๆๆๆ

"แต่บางทีก็ดื่มบ้างแก้เหนื่อย คลายหนาว"

ผมคิดถึงลมหนาวตอนย่ำรุ่ง

 

งานนี้ สสส.คงไม่ต้องรณรงค์

 

 

  

มือน้อยของเจ้าชายประนมรับศีล ระหว่างพิธีกรรมบวชเป็นส่างลอง



แม่ส้านกำลังแต่งหน้าทาปากให้ส่างลอง ,สวยงาม









ลีลาและสีสันของขบวนแห่ส่างลองไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ใครได้มาเห็นแล้วต้องอึ้ง



เหนื่อยและร้อนครับ???





ระหว่างทางจะมีชาวบ้านโปรยข้าวตอกดอกไม้เป็นระยะๆ



ไทใหญ่ คือ คนไทย


บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…