Skip to main content

ตอนที่ 2 ท่าอุเทน

นครพนม ดินแดนแห่งสายน้ำโขง จังหวัดชายแดนไทยลาวอีกหนึ่งจังหวัดที่สงบเงียบ (สงบเงียบอย่างจริงๆจังๆ) เรียบเรื่อยไปตามริมฝั่งโขงติดกับแขวงคำม่วนที่เพิ่งประกาศนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกับประเทศไทยเพียงไม่นาน

ลาว ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล พยายามปรับตัวเองให้เป็นประเทศเมืองท่าค้าขายและขนส่งสินค้าในระดับภูมิภาค พร้อมตั้งเป้าขยายการเติบโตทางพลังงาน, นครพนม-แขวงคำม่วน จึงกลายเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์การค้า และแผนพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีรูปธรรมนำ คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สายที่ 3 นครพนม-ท่าแขก (สายที่ 1 หนองคาย-เวียงจันทน์, สายที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)

...

ดูเหมือนว่าเราจะต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อไปตลาดเช้าริมน้ำโขง ตลาดท่าอุเทน
จากการประเมินตัวเองกันแล้ว เราต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ออกจากบ้านสัก 6 โมงเช้า ก็คงจะทัน, เพราะระยะเวลาจากบ้านข่าถึงท่าอุเทน ใช้เวลาขับรถเพียง 30 นาที, เราโชคดีเกินคาด ตลาดท่าอุเทนปรับเวลาใหม่ โดยอนุญาตให้เริ่มวางหาบขายของได้ตั้งแต่เวลา 08.00 น., ผ่านเหตุผลที่ได้ยินมาจากเทศบาลว่า ดูแลควบคุมง่าย ไม่งั้น ยาบ้าระบาดหนัก

...

ตลาดท่าอุเทนเป็นจุดผ่อนปรนริมน้ำโขงซึ่งชาว(บ้าน)ลาวจากแขวงคำม่วน จะเดินทางนำสินค้ามาวางขายกันทุกวันจันทร์และวันพฤหัส ตั้งแต่เวลา 08.00 น.-16.00 น. กินเนื้อที่ 4 มุม บนถนนสายเทศบาลเมืองท่าอุเทน สินค้าส่วนใหญ่ได้แก่ รากไม้สำหรับดองเหล้า ใบจากสำหรับมวนยาสูบ กล้วยไม้ป่า อาหารป่า จำพวก เนื้อเก้ง กวาง เต่า ตะพาบ ยังพอมีให้เห็น

“เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปมากนะพี่ เมื่อก่อน(สัก 10 ปีมาแล้ว)เป็นตลาดชาวบ้าน” รุ่นน้องเอ่ย
ผมพอจะเข้าใจความหมาย เมื่อมองไปรอบๆ เห็นร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขนมนมเนยหนีภาษีจากอำเภอหาดใหญ่ โมเดลดรากอนบอลแซด กระติกน้ำมือถือหรือเครื่องไม้เครื่องมือการเกษตร ทันสมัย จากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย

...

ก่อนถึงเวลา 08.00 น. ศุลกากร เจ้าหน้าที่เทศบาลและทหาร จะมาคอยอยูที่ท่า รอตรวจบัตรและสินค้าของชาวลาว, แดดสายเริ่มแรง คุ้งน้ำข้างหน้าเริ่มเคลื่อนไหว ตลอดแนวเกาะกลางน้ำโขงต้นไม้ทึบสูงท่วมหัว กลางสายหมอกที่กำลังละลาย ชาวลาวหลายสิบคนมาพร้อมเรือโดยสารมากกว่า 5 ลำเรือ

เมื่อจอดเทียบท่า(โป๊ะ) ความชุลมุนวุ่นวาย เสียงตะโกนโหวกเหวก ขนสินค้ากันจ้าละหวั่นทั้งจากฝั่งไทยและฝั่งลาว การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อรองราคาเริ่มต้นขึ้น

ใบจากม้วนใหญ่ ราคา อยู่ที่ 45 บาท ต่อม้วน เหมากันเป็นคันรถกะบะ
รากไม้หลากชนิด(ไม่รู้ว่าชนิดไหนบ้าง)อยู่ที่ราคากระสอบละ 100-200 บาท ตามความยากง่ายของการเสาะหา
สินค้าประเภทเครื่องเทศ เครื่องจักสาน มีราคาสูงสักนิด
ลูกพลับจากประเทศจีน ทะลักเข้ามาทางด้านพรมแดนลาวเหนือ อนุโลมให้ขายได้ เล็กๆ น้อยๆ พอประทังโดยไม่ต้องเสียภาษี

วันนี้ จะได้ซื้อเสื้อสวยๆ ไปฝากคนที่รออยู่ที่บ้าน.

1
คนฝั่งโน้น (แขวงคำม่วน) มากับเรือโดยสาร “วันนี้จะขายได้เท่าไรน๊า”

2
ได้เวลาขึ้นฝั่ง ทหาร ศุลกากรและเทศบาล จะดักอยู่ที่ท่าเทียบเรือ

3
ตลาดที่ยังมีบรรยากาศชาวบ้าน

4
2 ชิ้นนี้ เรียกว่า นารีผล แม่ค้าคนนั้นบอกว่า “เป็นอย่างนี้อยู่แล้วจ้ะ ไม่ได้เสริมแต่ง”

5
แม่ค้าชาวลาวท่านนี้แบกกระสอบลูกพลับจากจีนมาขาย

6
มัดใบจาก ไม่หนักและไม่เบาจนเกินไปนัก

7
ค้น ขน ต่างทำหน้าที่!

8
คุมเข้มและเข้มงวด ป้องกันยาเสพติด

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์