Skip to main content

ตอนที่ 2 ท่าอุเทน

นครพนม ดินแดนแห่งสายน้ำโขง จังหวัดชายแดนไทยลาวอีกหนึ่งจังหวัดที่สงบเงียบ (สงบเงียบอย่างจริงๆจังๆ) เรียบเรื่อยไปตามริมฝั่งโขงติดกับแขวงคำม่วนที่เพิ่งประกาศนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกับประเทศไทยเพียงไม่นาน

ลาว ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล พยายามปรับตัวเองให้เป็นประเทศเมืองท่าค้าขายและขนส่งสินค้าในระดับภูมิภาค พร้อมตั้งเป้าขยายการเติบโตทางพลังงาน, นครพนม-แขวงคำม่วน จึงกลายเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์การค้า และแผนพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีรูปธรรมนำ คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สายที่ 3 นครพนม-ท่าแขก (สายที่ 1 หนองคาย-เวียงจันทน์, สายที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)

...

ดูเหมือนว่าเราจะต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อไปตลาดเช้าริมน้ำโขง ตลาดท่าอุเทน
จากการประเมินตัวเองกันแล้ว เราต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ออกจากบ้านสัก 6 โมงเช้า ก็คงจะทัน, เพราะระยะเวลาจากบ้านข่าถึงท่าอุเทน ใช้เวลาขับรถเพียง 30 นาที, เราโชคดีเกินคาด ตลาดท่าอุเทนปรับเวลาใหม่ โดยอนุญาตให้เริ่มวางหาบขายของได้ตั้งแต่เวลา 08.00 น., ผ่านเหตุผลที่ได้ยินมาจากเทศบาลว่า ดูแลควบคุมง่าย ไม่งั้น ยาบ้าระบาดหนัก

...

ตลาดท่าอุเทนเป็นจุดผ่อนปรนริมน้ำโขงซึ่งชาว(บ้าน)ลาวจากแขวงคำม่วน จะเดินทางนำสินค้ามาวางขายกันทุกวันจันทร์และวันพฤหัส ตั้งแต่เวลา 08.00 น.-16.00 น. กินเนื้อที่ 4 มุม บนถนนสายเทศบาลเมืองท่าอุเทน สินค้าส่วนใหญ่ได้แก่ รากไม้สำหรับดองเหล้า ใบจากสำหรับมวนยาสูบ กล้วยไม้ป่า อาหารป่า จำพวก เนื้อเก้ง กวาง เต่า ตะพาบ ยังพอมีให้เห็น

“เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปมากนะพี่ เมื่อก่อน(สัก 10 ปีมาแล้ว)เป็นตลาดชาวบ้าน” รุ่นน้องเอ่ย
ผมพอจะเข้าใจความหมาย เมื่อมองไปรอบๆ เห็นร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขนมนมเนยหนีภาษีจากอำเภอหาดใหญ่ โมเดลดรากอนบอลแซด กระติกน้ำมือถือหรือเครื่องไม้เครื่องมือการเกษตร ทันสมัย จากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย

...

ก่อนถึงเวลา 08.00 น. ศุลกากร เจ้าหน้าที่เทศบาลและทหาร จะมาคอยอยูที่ท่า รอตรวจบัตรและสินค้าของชาวลาว, แดดสายเริ่มแรง คุ้งน้ำข้างหน้าเริ่มเคลื่อนไหว ตลอดแนวเกาะกลางน้ำโขงต้นไม้ทึบสูงท่วมหัว กลางสายหมอกที่กำลังละลาย ชาวลาวหลายสิบคนมาพร้อมเรือโดยสารมากกว่า 5 ลำเรือ

เมื่อจอดเทียบท่า(โป๊ะ) ความชุลมุนวุ่นวาย เสียงตะโกนโหวกเหวก ขนสินค้ากันจ้าละหวั่นทั้งจากฝั่งไทยและฝั่งลาว การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อรองราคาเริ่มต้นขึ้น

ใบจากม้วนใหญ่ ราคา อยู่ที่ 45 บาท ต่อม้วน เหมากันเป็นคันรถกะบะ
รากไม้หลากชนิด(ไม่รู้ว่าชนิดไหนบ้าง)อยู่ที่ราคากระสอบละ 100-200 บาท ตามความยากง่ายของการเสาะหา
สินค้าประเภทเครื่องเทศ เครื่องจักสาน มีราคาสูงสักนิด
ลูกพลับจากประเทศจีน ทะลักเข้ามาทางด้านพรมแดนลาวเหนือ อนุโลมให้ขายได้ เล็กๆ น้อยๆ พอประทังโดยไม่ต้องเสียภาษี

วันนี้ จะได้ซื้อเสื้อสวยๆ ไปฝากคนที่รออยู่ที่บ้าน.

1
คนฝั่งโน้น (แขวงคำม่วน) มากับเรือโดยสาร “วันนี้จะขายได้เท่าไรน๊า”

2
ได้เวลาขึ้นฝั่ง ทหาร ศุลกากรและเทศบาล จะดักอยู่ที่ท่าเทียบเรือ

3
ตลาดที่ยังมีบรรยากาศชาวบ้าน

4
2 ชิ้นนี้ เรียกว่า นารีผล แม่ค้าคนนั้นบอกว่า “เป็นอย่างนี้อยู่แล้วจ้ะ ไม่ได้เสริมแต่ง”

5
แม่ค้าชาวลาวท่านนี้แบกกระสอบลูกพลับจากจีนมาขาย

6
มัดใบจาก ไม่หนักและไม่เบาจนเกินไปนัก

7
ค้น ขน ต่างทำหน้าที่!

8
คุมเข้มและเข้มงวด ป้องกันยาเสพติด

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…