Skip to main content

อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ)

ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม
จิตตะกอง’
โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
\\/--break--\>

จิตตะกอง เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ติดอ่าวเบงกอล ทิศตะวันออกติดกับพม่าแถบถิ่นอาระ-กัน ดินแดนของชาวโรฮิงญาที่หนีตายเข้ามาทางจังหวัดระนอง นั่นแหละครับ

เมืองที่เพื่อนผมต้องรับผิดชอบ คือ คา-กรา-ชาริ

มันออกจากดาก้าตั้งแต่ 7 โมงเช้า พร้อมคู่บัดดี้ชาวพม่า ล่ามชาวบังคลาเทศและคนขับรถตู้หนึ่งคน รวมทั้งหมด 4 ชีวิต “แทบไม่น่าเชื่อนะแก เวลาเร่งด่วนของที่นี่รถติดเหมือนกรุงเทพฯ แถมการจราจรเหลือเชื่อ” มันว่า

ท้องทุ่งนาสุดลูกหูลูกตา สิ่งที่น่าสังเกตุ เห็นจะเป็นโรงทำอิฐ กลางทุ่ง ชาวเบงกาลีหลายคนง่วนอยู่กับการเอาดินเหนียวลงบล็อก นำมาตากแห้งก่อนจะเอาเข้าเตาเผา สภาพโดยทั่วไปไม่แตกต่างไปจากอิสานบ้านเฮา

กว่าจะถึงคา-กรา-ชาริ อีก 5 นาที สามทุ่ม

ตลอดสามชั่วโมงหลังของการเดินทาง เป็นถนนตัดภูเขา มืดตื๋อ แทบจะไม่มีรถสวน หากใครเคยขับรถเส้นท่าสองยาง-แม่สะเรียง คงจะคิดภาพกันออก

มันบอกว่า “หากรถเสียนะแก คิดภาพไม่ออก”

ก่อนจะเข้าเขตเมือง ด่านทหารเรียกให้รถหยุด คล้ายกับถนนเส้นชายแดนไทยที่หลายคนคงเคยเจอ
มาทำอะไร”
เพื่อนผมชูป้ายนักสังเกตุการณ์ การเลือกตั้งที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก กกต. บังคลาเทศ

รอยยิ้มโปรยบนใบหน้าแทนคำตอบ ก่อนจะให้มันลงชื่อ ที่พักพร้อมกับหมายเลขพาสปอร์ต อยู่กี่วัน หากจะออกจากเมืองต้องแจ้งทุกครั้ง

เพื่อนมันยังมีหน้าไปถามเค้าอีกว่า ทำไมต้องให้เขียนอะไรเยอะแยะคะ
เพื่อความปลอดภัยครับ เราต้องดูคุณเป็นพิเศษ”

พร้อมกับข่าวการลักพาตัวชาวต่างประเทศเพิ่งมาเข้าหูเพื่อนผมหลังจากนั้น
...

หลังจากรถออกจากด่านถึงที่พัก
แกเชื่อมะ เมืองนั่น อากาศดีโคตร”
มันทำตาลอย
....

 


มื้อแรกใน คา
-กรา-ชาริ อาหารอร่อยและสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้ (แต่ต้องใช้มือเปิปอ่ะ)

 




เหมือนจะเป็นตลาดสด แต่ไม่แน่ใจเหมือนกัน ออกแนววางขายแบกะดิน มีสินค้าทุกอย่าง ตั้งแต่พริกจนถึงหม้อ

 


บรรยากาศการจราจรในเมือง คา
-กรา-ชาริ จะปั่นสามล้อกันเป็นส่วนใหญ่ มองเห็นป้ายเลือกตั้งทั่วเมือง

 


เด็กสาวรุ่นขนฟืนไปเป็นเชื้อเพลิงภายในบ้าน
(บ้างก็ขนไปขาย)

 


นี่ก็ขนฟืนแต่เช้า มีหมอกลอยระเรี่ยไปทั้งเมือง เงียบสงบ แทบไม่มีรถ

 


โปสเตอร์โฆษณาหาเสียงที่บังคลาเทศ มีขนาดเอสามและสีขาวดำเท่านั้น ห้ามทำแบบอื่น เป็นทฤษฏีรัดเข็มขัดภายในประเทศเพื่อป้องกันการถอนทุนคืนในภายหลัง
(อันนี้เพื่อนผมมันคิดเอาเองครับ)

 


ตามภาพนั่นแหละครับ

 


เช้าก็ขน เย็นก็ขน
..! ! !

 


วัดพุทธบนยอดเขา

 

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์