เช้าตรู่ หมอกยังไม่ทันจาง เพื่อนผมแซะตัวเองออกจากเตียงนอนเพื่อลงสัมภาษณ์ชาวบ้าน ประเด็นที่ต้องการ คือ ,รัฐบาลเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนของตัวเองแค่ไหน
...
\\/--break--\>
มากกว่าร้อยละ 80 ของจิตตะกองเป็นพื้นที่ภูเขา เมืองท่องเที่ยวแห่งนี้ประกอบด้วยชนหลายกลุ่ม มากกว่าครึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่อาศัยกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ มีภาษาแตกต่างกัน เช่น ชาวชักม่า ทริปุระ มาร์ม่า (อ่านออกเสียงว่า มาม่า) เป็นต้น
ส่วนชาวเบงกาลีเพิ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภายหลัง (โห ตัวเลขกว้างมาก)
กลุ่มชนเผ่าจะนับถือศาสนาพุทธ
ชาวเบงกาลีจะนับถือศาสนาอิสลาม
ตามประวัติศาสตร์ จิตตะกองเป็นดินแดนใต้การปกครองของชาวชักม่า ภายใต้ระบอบกษัตริย์ ก่อนถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย ก่อนจะแยกเป็นบังคลาเทศและปากีสถาน ช่วงนั้นเองที่ชาวเบงกาลีเข้ามามีอิทธิพลทางด้านการปกครอง
ชาวชักม่าต่อสู้ยาวนานก่อนจะทำสัญญาสันติภาพในปี 1997
"ชั้นคิดว่า ลึกๆ พวกเขายังรู้สึกขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ ชาวชักม่าบางชุมชนแยกตัวเองออกไปอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไร้ซึ่งความเอื้ออาทรต่อกันนะ" มันร่ายยาว
"อืม เหมือนประวัติศาสตร์ไทย-พม่า" ผมว่า
"พรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่ลงสมัครในเขตนี้เป็นอดีตกลุ่มต่อต้านอำนาจรัฐมาก่อน"
เออ เอาเข้าไป (แล้วมันจะแบ่งแยกดินแดน เป่าหว่า)
...
เพื่อนผมไปเจอเด็กชายชาวชักม่า เขาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 เป็นเพื่อนรุ่นน้องของล่ามซึ่งอยู่ในช่วงปิดเทอม เขาอาสาเป็นไกด์พาเที่ยวหรือเป็นล่ามให้หากต้องการสัมภาษณ์ชาวชักม่า
เขารู้จักทุกอย่างตั้งแต่ท้องฟ้าถึงคนที่ยากจนที่สุดในหมู่บ้าน
ช่วงหนึ่ง ...
"..พรรคไหนกำลังเป็นที่นิยม" เพื่อนเริ่มบทสนทนา
"พรรค... ซึ่งผมไม่ชอบ" เด็กชายยิ้มเผล่
เขาตอบชัดเจน ไม่มีท่าทีกระอักกระอ่วนอ้ำอึ้งเหมือนชาวชักม่าอื่นๆ
แม่ของเขาทำงานให้กับยูเอ็นดีพี!!!
หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ขณะที่เพื่อนผมถ่ายรูปในรถตู้ ทั้งชาวชักม่าและเบงกาลีออกมายืนมุงดู
หญิงสาวชาวเบลกาลี บนรถบัส
รอยยิ้มของเด็กชายชาวชักม่าและเบงกาลี
ถั่วอุ่นๆ ในคืนหนาว จะขายอะไรก็ต้องชั่งตวงกันซะก่อน
รถมันเต็ม
ลุงกะป้า ชาวชักม่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งมีความเปราะบางระหว่างเชื้อชาติ
แต่ลุงบอกเพื่อนผมว่า ทุกอย่างปกติดี
เด็กหญิงชนเผ่าในอิริยาบถต่างๆ
ชาวทริปุระริมลำธาร