Skip to main content


ยิ่งเข้าใกล้วันเลือกตั้งดูเหมือนเมืองจะวุ่นวายชนิดที่ไม่เคยวุ่นวาย บนถนน จากดาก้าไปจิตตะกอง ตัวเมืองจิตตะกอง ไม่เว้นแม้แต่ในเมืองเล็กๆ อย่างคากราชาริที่ใช้ขบวนรถจิ๊ปออกมาชุมนุมหาเสียงสนับสนุน

ทุกๆ วัน ผู้คนจำนวนหลายร้อยซึ่งสนับสนุนพรรคการเมืองที่ตนเองชื่นชอบจะออกมาชุมนุมและเดินขบวนกันบนท้องถนน ปรบมือเปล่งเสียงเชียร์ ชื่นชมผู้แทนของตน

ตื่นตาตื่นใจเหมือนกำลังดูโทรทัศน์ช่อง BBC
"เป็นความตื่นตัวทางการเมืองหรือตื่นเต้นที่จะได้เลือกตั้งก็ไม่รู้" เพื่อนผมติดตลก

สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองในบังคลาเทศถูกแทนด้วยรูปภาพสิ่งต่างๆ เช่น ต้นข้าว เรือ ช้าง ขวดหมึก เสือ สับปะรด บันได เคียว ฯลฯ พรรคที่มาแรงตลอดกาล คือ พรรคเรือกับพรรคต้นข้าว (เดโมแครตกะรีพับรีกัล)

พรรคเรือเป็นพรรคเก่าแก่ ก่อตั้งโดยนักเคลื่อนไหวผู้ปลดปล่อยบังคลาเทศออกจากปากีสถาน
"เหมือนกับอินทิราหรือราหุล คานธี ทายาทมหาตมะ คานธี ที่ยังเป็นผู้นำพรรคการเมืองและครองใจคนในประเทศอินเดีย" การสืบสายเลือดหรือความรักในทายาททางการเมืองถือเป็นบุคลิกในสังคม(การเมือง)ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนผมสรุป 

สัญลักษณ์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ส่วนหนึ่ง คือ คนบังคลาเทศยังมีระดับของความรู้ที่ต่างกันมาก หากจะให้ผู้คนจดจำเป็นชื่อพรรคหรือตัวเลขอาจจะยาก "จำเป็นสิ่งของใกล้ตัวจะชัดเจนกว่า" เพื่อนตั้งข้อสังเกตุ

สิ่งที่น่าสนใจ คือ ระบบป้องกันการทุจริตในหน่วยเลือกตั้ง
เรียบง่ายแต่ได้ผลที่สุด คือ ...
ผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคนจะถูกทำเครื่องหมาย ด้วยการป้ายสีที่โคนเล็บ นิ้วหัวแม่มือ(เล็กๆ แต่ชัดเจน)ก่อนเดินเข้าคูหาไปลงคะแนนเสียงเพื่อป้องกันการลงคะแนนเสียงซ้ำหรือการสวมเป็นบุคคลอื่น
"สีที่โคนเล็บ ล้างไม่ออก อย่างน้อยก็ 2-3 วัน ไม่ต้องบอกเหตุผลก็คงเดาออก" เพื่อนมันยิ้มกรุ้มกริ่ม

หีบเลือกตั้งในบังคลาเทศเป็นสีขาวขุ่น ใส มองเห็นข้างใน(โปร่งใส)ล็อกด้วยสายพลาสติกที่รูดเป็นเงื่อนตายต้องใช้กรรไกรตัดออกเท่านั้นและมีบาร์โค้ดเป็นตัวเลขเดียวกัน

"หนึ่งสายต่อหนึ่งหีบเท่านั้น ห้ามหาย ห้ามขาดเด็ดขาด" เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เข้มงวดกันมาก

คูหาเลือกตั้งถูกกำหนดอยู่ในพื้นที่ปิด มีผ้าผืนใหญ่กั้นระหว่างคนเข้าไปใช้สิทธิ์กับบุคคลภายนอกคูหา ภายในจะมีตราปั๊มเอาไว้ให้ผู้มีสิทธิ์ปั๊มเครื่องหมายลงบนภาพ(พรรค)ที่ตนเองเลือก

หนึ่งเสียงต่อหนึ่งปั๊ม
...

เช้าตรู่ ฟ้ายังมืด ไก่เพิ่งเริ่มโห่
เพื่อน แซะตัวเองออกจากเตียง เริ่มงานสังเกตุการณ์
ผู้คนมืดฟ้ามัวดิน ต่อแถวเรียงหนึ่งหน้าคูหาเลือกตั้ง
แน่นอน ชัยชนะย่อมเป็นของพรรคเรือ เขาครองใจคนมาตั้งแต่ยุคประกาศอิสรภาพ



บรรยากาศการชุมนุมของผู้สนับสนุนพรรคการเมืองพรรคหนึ่งกลางตลาดในเมืองจิตตะกอง



ขบวนรถจิ๊ปในเมืองคากราชาริ สังเกตุเห็นว่ารถคันหน้ามีเครื่องหมายขวดหมึก



อีกบรรยากาศในเมืองคากราชาริ



ตำรวจรักษาความปลอดภัย ระหว่างผู้ปราศรัยของผู้สมัครอิสระในเมืองคากราชาริ



โพสเตอร์หาเสียงของพรรคเรือ เขียนว่า หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์อย่างในภาพ(กลาง)โปรดเลือพรรคเรือ ภาพกลางเป็นภาพการปราบปรามของพรรครัฐบาล(พรรคข้าว)ที่แล้ว



การปราศรัยที่เข้มข้นหนึ่งวันก่อนการเลือกตั้ง ขอไปอยู่มุมไหนก็ได้ที่มองเห็นการปราศรัยอย่างชัดเจน



หน่วยรักษาความปลอดภัยที่จะเข้าไปดูแลหน่วยเลือกตั้ง เข้มข้นในเย็นก่อนถึงวันเลือกตั้ง



หญิงชนเผ่าเข้าแถวรอการเลือกตั้งแต่เช้าก่อนทำการเปิดคูหา



ปิดหีบแล้ว ผู้คนยังคงไม่ไปไหน รอการประกาศผลอย่างใจจดจ่อ



หน่วยเลือกตั้งบนดอย ต้องนับคะแนนใต้แสงเทียนกันเลยทีเดียว

  

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์