Skip to main content


ยิ่งเข้าใกล้วันเลือกตั้งดูเหมือนเมืองจะวุ่นวายชนิดที่ไม่เคยวุ่นวาย บนถนน จากดาก้าไปจิตตะกอง ตัวเมืองจิตตะกอง ไม่เว้นแม้แต่ในเมืองเล็กๆ อย่างคากราชาริที่ใช้ขบวนรถจิ๊ปออกมาชุมนุมหาเสียงสนับสนุน

ทุกๆ วัน ผู้คนจำนวนหลายร้อยซึ่งสนับสนุนพรรคการเมืองที่ตนเองชื่นชอบจะออกมาชุมนุมและเดินขบวนกันบนท้องถนน ปรบมือเปล่งเสียงเชียร์ ชื่นชมผู้แทนของตน

ตื่นตาตื่นใจเหมือนกำลังดูโทรทัศน์ช่อง BBC
"เป็นความตื่นตัวทางการเมืองหรือตื่นเต้นที่จะได้เลือกตั้งก็ไม่รู้" เพื่อนผมติดตลก

สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองในบังคลาเทศถูกแทนด้วยรูปภาพสิ่งต่างๆ เช่น ต้นข้าว เรือ ช้าง ขวดหมึก เสือ สับปะรด บันได เคียว ฯลฯ พรรคที่มาแรงตลอดกาล คือ พรรคเรือกับพรรคต้นข้าว (เดโมแครตกะรีพับรีกัล)

พรรคเรือเป็นพรรคเก่าแก่ ก่อตั้งโดยนักเคลื่อนไหวผู้ปลดปล่อยบังคลาเทศออกจากปากีสถาน
"เหมือนกับอินทิราหรือราหุล คานธี ทายาทมหาตมะ คานธี ที่ยังเป็นผู้นำพรรคการเมืองและครองใจคนในประเทศอินเดีย" การสืบสายเลือดหรือความรักในทายาททางการเมืองถือเป็นบุคลิกในสังคม(การเมือง)ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนผมสรุป 

สัญลักษณ์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ส่วนหนึ่ง คือ คนบังคลาเทศยังมีระดับของความรู้ที่ต่างกันมาก หากจะให้ผู้คนจดจำเป็นชื่อพรรคหรือตัวเลขอาจจะยาก "จำเป็นสิ่งของใกล้ตัวจะชัดเจนกว่า" เพื่อนตั้งข้อสังเกตุ

สิ่งที่น่าสนใจ คือ ระบบป้องกันการทุจริตในหน่วยเลือกตั้ง
เรียบง่ายแต่ได้ผลที่สุด คือ ...
ผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคนจะถูกทำเครื่องหมาย ด้วยการป้ายสีที่โคนเล็บ นิ้วหัวแม่มือ(เล็กๆ แต่ชัดเจน)ก่อนเดินเข้าคูหาไปลงคะแนนเสียงเพื่อป้องกันการลงคะแนนเสียงซ้ำหรือการสวมเป็นบุคคลอื่น
"สีที่โคนเล็บ ล้างไม่ออก อย่างน้อยก็ 2-3 วัน ไม่ต้องบอกเหตุผลก็คงเดาออก" เพื่อนมันยิ้มกรุ้มกริ่ม

หีบเลือกตั้งในบังคลาเทศเป็นสีขาวขุ่น ใส มองเห็นข้างใน(โปร่งใส)ล็อกด้วยสายพลาสติกที่รูดเป็นเงื่อนตายต้องใช้กรรไกรตัดออกเท่านั้นและมีบาร์โค้ดเป็นตัวเลขเดียวกัน

"หนึ่งสายต่อหนึ่งหีบเท่านั้น ห้ามหาย ห้ามขาดเด็ดขาด" เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เข้มงวดกันมาก

คูหาเลือกตั้งถูกกำหนดอยู่ในพื้นที่ปิด มีผ้าผืนใหญ่กั้นระหว่างคนเข้าไปใช้สิทธิ์กับบุคคลภายนอกคูหา ภายในจะมีตราปั๊มเอาไว้ให้ผู้มีสิทธิ์ปั๊มเครื่องหมายลงบนภาพ(พรรค)ที่ตนเองเลือก

หนึ่งเสียงต่อหนึ่งปั๊ม
...

เช้าตรู่ ฟ้ายังมืด ไก่เพิ่งเริ่มโห่
เพื่อน แซะตัวเองออกจากเตียง เริ่มงานสังเกตุการณ์
ผู้คนมืดฟ้ามัวดิน ต่อแถวเรียงหนึ่งหน้าคูหาเลือกตั้ง
แน่นอน ชัยชนะย่อมเป็นของพรรคเรือ เขาครองใจคนมาตั้งแต่ยุคประกาศอิสรภาพ



บรรยากาศการชุมนุมของผู้สนับสนุนพรรคการเมืองพรรคหนึ่งกลางตลาดในเมืองจิตตะกอง



ขบวนรถจิ๊ปในเมืองคากราชาริ สังเกตุเห็นว่ารถคันหน้ามีเครื่องหมายขวดหมึก



อีกบรรยากาศในเมืองคากราชาริ



ตำรวจรักษาความปลอดภัย ระหว่างผู้ปราศรัยของผู้สมัครอิสระในเมืองคากราชาริ



โพสเตอร์หาเสียงของพรรคเรือ เขียนว่า หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์อย่างในภาพ(กลาง)โปรดเลือพรรคเรือ ภาพกลางเป็นภาพการปราบปรามของพรรครัฐบาล(พรรคข้าว)ที่แล้ว



การปราศรัยที่เข้มข้นหนึ่งวันก่อนการเลือกตั้ง ขอไปอยู่มุมไหนก็ได้ที่มองเห็นการปราศรัยอย่างชัดเจน



หน่วยรักษาความปลอดภัยที่จะเข้าไปดูแลหน่วยเลือกตั้ง เข้มข้นในเย็นก่อนถึงวันเลือกตั้ง



หญิงชนเผ่าเข้าแถวรอการเลือกตั้งแต่เช้าก่อนทำการเปิดคูหา



ปิดหีบแล้ว ผู้คนยังคงไม่ไปไหน รอการประกาศผลอย่างใจจดจ่อ



หน่วยเลือกตั้งบนดอย ต้องนับคะแนนใต้แสงเทียนกันเลยทีเดียว

  

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…