Skip to main content

เช้าวันสุดท้าย ในดาก้า อีกวันที่อากาศแจ่มใส

บนถนนสายหนึ่ง ใจกลางเมือง นักศึกษากลุ่มเล็กๆ จากมหาวิทยาลัยดาก้ากำลังทำงานของพวกเขา ชายหนุ่มหญิงสาวกลุ่มใหญ่กำลังมุงดูวงดนตรีพื้นบ้านริมถนนสายหลัก


วงดนตรีพื้นบ้านวงนี้ได้รับเชิญจากนักศึกษามหาวิทยาลัยดาก้ากลุ่มนี้ ผ่านความเชื่อตามแนวทางศาสนาฮินดูถึงการร้องเพลงอวยพรมวลหมู่เทพเจ้า บรรยายถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารในชนบท โดยมีผลไม้หลากชนิดแจกจ่ายแก่ทุกๆ คนที่เข้าร่วมในคอนเสิร์ต

เครื่องดนตรีพื้นเมืองถูกจัดเรียงอย่างบรรจง ชายในชุดคลุมยาวกรอมเท้า บรรเลงเครื่องสายอย่างเคลิบเคลิ้ม
"เออ ชั้น เรียกชื่อมันไม่ถูก คล้ายพิณกับกลองบ้านเรานี่แหละ" เพื่อนผมเอ่ย

...


ระหว่างนั้น ชายไร้บ้าน ผมทรงเด้ดร็อก(เพราะไม่ได้สระ) ใบหน้ากร้านแดด ผิวคล้ำ ท่าทางขวางๆ เดินเข้ามาหน้าวงดนตรี เขาส่งสัญญาณให้จังหวะนักดนตรี เป็นบทเพลงที่พวกเขาคุ้นเคย


ทุกคนรู้ดีว่า ช่วงเวลาของความประทับใจกำลังจะมาถึง

ชายไร้บ้าน เปล่งเสียงท่วงทำนองสูงต่ำ

"ก่อนหน้านี้ ชั้นไม่คิดว่า การเล่นดนตรีครั้งนี้จะจัดให้ชายไร้บ้านคนนี้" มันคาดว่างานนี้ต้องล่มแน่ๆ เมื่อชายไร้บ้านลุกขึ้นสวมกางเกง ใช้เชือกฟางรัดเอวแทนเข็มขัดแล้วก้าวอาดๆ มาจับไมค์ร้องเพลง

...


เล่ากันว่า ชายไร้บ้านแกเคยเป็นนักร้องมาก่อน หลังจากไม่ประสบความสำเร็จแกเลยเพี้ยน ออกมาร่อนเร่ข้างถนนดีกว่า วันดีคืนดี แกจะมาร่วมร้องเพลง จนเป็นที่รู้จักของนักศึกษากลุ่มนี้


เหตุผลหนึ่ง คือ การเติมเต็มความฝันของชีวิตชายคนหนึ่ง

ระหว่างร้องมีหลายช่วงที่อารมณ์แกขึ้นๆ ลงๆ โดยเฉพาะช่วงที่ไมค์ไร้เสียงหรือช่วงที่เครื่องดนตรีสะดุด บางครั้งแกจะวิ่งพล่าน หยุดร้อง หัวเราะ คึกคักตามท่วงทำนองของบทเพลง หลายครั้งที่ชายไร้บ้านลึกซึ้งไปกับเสียงเพลงอย่างได้อารมณ์


"เขาชื่นชมความงดงามของเมืองในชนบท" เพื่อนชาวบังคลาเทศบอก

"เอ่อ ชั้นฟังไม่ออกหรอกแก" เพื่อนบอกผม


บางที ระหว่างความหมายกับความรู้สึก สิ่งใดถือว่ามีคุณค่ามากกว่ากัน

หลังจากร้องเพลงจบจะมีการแจกจ่ายผลไม้ให้แก่ผู้คนที่เข้าร่วม

เพื่อนผมมันลังเลที่จะกินผลไม้เข้าไป จากคำเตือนก่อนจะมาทำงาน ให้กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่เท่านั้น

"ชั้นกลัวท้องเสีย แต่แกเชื่อไม๊ ตาลุงไร้บ้านเดินเข้ามาหาชั้น แกหยิบผลส้มไปจากมือแล้วหยิกกลีบหนึ่งยื่นมาที่ปากของชั้น"

"แล้วแกทำยังไง"

"ทำยังไง ชั้นก็กินหน่ะสิแล้วรู้อะไรไม๊ เพื่อนบังคลาเทศบอกว่าชั้นหน่ะโชคดี ถือว่า เป็นคนแรกที่ตาลุงเค้าหยิกส้มให้กิน"

"ก๊ากกกกกกกกกกกกกก"



ที่พักแรมติดดาว กลางสี่แยก กลางเมืองดาก้า

 


นักดนตรีพื้นเมือง เริ่มตั้งเสียงพิณของเขา




ชายไร้บ้านร่วมวงบรรเลงเพลงอย่างครึกครื้น

 


เครื่องดนตรีอีกชนิดที่ชายไร้บ้านใช้บรรเลง

 


ข้างหลังเป็นผืนธงบังคลาเทศ ประเทศบ้านเกิดของชายไร้บ้าน

 




ลีลานักดนตรีพื้นเมือง

 


จู่ๆ ชายไร้บ้านก็กระโดดกอดนักศึกษาคนหนึ่งอย่างลึกซึ้ง

 




วงดนตรีพื้นเมือง นักศึกษาและชายไร้บ้าน กับเสียงดนตรีที่ไร้ชนชั้น

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์