Skip to main content

เช้าวันสุดท้าย ในดาก้า อีกวันที่อากาศแจ่มใส

บนถนนสายหนึ่ง ใจกลางเมือง นักศึกษากลุ่มเล็กๆ จากมหาวิทยาลัยดาก้ากำลังทำงานของพวกเขา ชายหนุ่มหญิงสาวกลุ่มใหญ่กำลังมุงดูวงดนตรีพื้นบ้านริมถนนสายหลัก


วงดนตรีพื้นบ้านวงนี้ได้รับเชิญจากนักศึกษามหาวิทยาลัยดาก้ากลุ่มนี้ ผ่านความเชื่อตามแนวทางศาสนาฮินดูถึงการร้องเพลงอวยพรมวลหมู่เทพเจ้า บรรยายถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารในชนบท โดยมีผลไม้หลากชนิดแจกจ่ายแก่ทุกๆ คนที่เข้าร่วมในคอนเสิร์ต

เครื่องดนตรีพื้นเมืองถูกจัดเรียงอย่างบรรจง ชายในชุดคลุมยาวกรอมเท้า บรรเลงเครื่องสายอย่างเคลิบเคลิ้ม
"เออ ชั้น เรียกชื่อมันไม่ถูก คล้ายพิณกับกลองบ้านเรานี่แหละ" เพื่อนผมเอ่ย

...


ระหว่างนั้น ชายไร้บ้าน ผมทรงเด้ดร็อก(เพราะไม่ได้สระ) ใบหน้ากร้านแดด ผิวคล้ำ ท่าทางขวางๆ เดินเข้ามาหน้าวงดนตรี เขาส่งสัญญาณให้จังหวะนักดนตรี เป็นบทเพลงที่พวกเขาคุ้นเคย


ทุกคนรู้ดีว่า ช่วงเวลาของความประทับใจกำลังจะมาถึง

ชายไร้บ้าน เปล่งเสียงท่วงทำนองสูงต่ำ

"ก่อนหน้านี้ ชั้นไม่คิดว่า การเล่นดนตรีครั้งนี้จะจัดให้ชายไร้บ้านคนนี้" มันคาดว่างานนี้ต้องล่มแน่ๆ เมื่อชายไร้บ้านลุกขึ้นสวมกางเกง ใช้เชือกฟางรัดเอวแทนเข็มขัดแล้วก้าวอาดๆ มาจับไมค์ร้องเพลง

...


เล่ากันว่า ชายไร้บ้านแกเคยเป็นนักร้องมาก่อน หลังจากไม่ประสบความสำเร็จแกเลยเพี้ยน ออกมาร่อนเร่ข้างถนนดีกว่า วันดีคืนดี แกจะมาร่วมร้องเพลง จนเป็นที่รู้จักของนักศึกษากลุ่มนี้


เหตุผลหนึ่ง คือ การเติมเต็มความฝันของชีวิตชายคนหนึ่ง

ระหว่างร้องมีหลายช่วงที่อารมณ์แกขึ้นๆ ลงๆ โดยเฉพาะช่วงที่ไมค์ไร้เสียงหรือช่วงที่เครื่องดนตรีสะดุด บางครั้งแกจะวิ่งพล่าน หยุดร้อง หัวเราะ คึกคักตามท่วงทำนองของบทเพลง หลายครั้งที่ชายไร้บ้านลึกซึ้งไปกับเสียงเพลงอย่างได้อารมณ์


"เขาชื่นชมความงดงามของเมืองในชนบท" เพื่อนชาวบังคลาเทศบอก

"เอ่อ ชั้นฟังไม่ออกหรอกแก" เพื่อนบอกผม


บางที ระหว่างความหมายกับความรู้สึก สิ่งใดถือว่ามีคุณค่ามากกว่ากัน

หลังจากร้องเพลงจบจะมีการแจกจ่ายผลไม้ให้แก่ผู้คนที่เข้าร่วม

เพื่อนผมมันลังเลที่จะกินผลไม้เข้าไป จากคำเตือนก่อนจะมาทำงาน ให้กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่เท่านั้น

"ชั้นกลัวท้องเสีย แต่แกเชื่อไม๊ ตาลุงไร้บ้านเดินเข้ามาหาชั้น แกหยิบผลส้มไปจากมือแล้วหยิกกลีบหนึ่งยื่นมาที่ปากของชั้น"

"แล้วแกทำยังไง"

"ทำยังไง ชั้นก็กินหน่ะสิแล้วรู้อะไรไม๊ เพื่อนบังคลาเทศบอกว่าชั้นหน่ะโชคดี ถือว่า เป็นคนแรกที่ตาลุงเค้าหยิกส้มให้กิน"

"ก๊ากกกกกกกกกกกกกก"



ที่พักแรมติดดาว กลางสี่แยก กลางเมืองดาก้า

 


นักดนตรีพื้นเมือง เริ่มตั้งเสียงพิณของเขา




ชายไร้บ้านร่วมวงบรรเลงเพลงอย่างครึกครื้น

 


เครื่องดนตรีอีกชนิดที่ชายไร้บ้านใช้บรรเลง

 


ข้างหลังเป็นผืนธงบังคลาเทศ ประเทศบ้านเกิดของชายไร้บ้าน

 




ลีลานักดนตรีพื้นเมือง

 


จู่ๆ ชายไร้บ้านก็กระโดดกอดนักศึกษาคนหนึ่งอย่างลึกซึ้ง

 




วงดนตรีพื้นเมือง นักศึกษาและชายไร้บ้าน กับเสียงดนตรีที่ไร้ชนชั้น

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…