Skip to main content

ยาดาถูกส่งไปอำเภอบันดักชาน จังหวัดฟายซาบัด ,เมืองทางตอนเหนือติดกับทาจิกิสถาน ปากีสถานและมณฑลซินเจียง ประเทศจีน ที่ตั้งของชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอูยกูที่เพิ่งเป็นข่าวดังไปทั่วโลกถึงปมขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติกับชาวฮั่น


ชาวบันดักชานส่วนใหญ่สืบเชื้อสายทาจิก ผมสีน้ำตาล ดวงตาสีฟ้าอ่อน ผิวขาวเหมือนชาวยุโรปตะวันออก จมูกโด่ง ผู้ชายนิยมไว้หนวดเครา ส่วนล่ามของยาดามีผมสีบลอนด์


หากเป็นเด็กๆ มองเห็นเส้นเลือดเต็มหน้า’ ยาดาทำตาโต

ทีมงานต่างบอกว่า เธอโชคดีที่ได้ไปเมืองที่สวยงาม


มองออกนอกหน้าต่างเครื่องบิน ทิวเขาแบบภูมิประเทศแถบเหนือเหยียดยาว ปกคลุมด้วยหิมะและสลับซับซ้อนในสายหมอก เมฆก้อนสีขาวลอยเด่นเหนือยอดแหลมของเนินลูกใหญ่ ลึกลงไปเป็นหุบเขาและร่องน้ำสีเงินกลางแสงแดดอุ่นๆ


คุณลุงชาวเนปาล ทีมเมทบอกเธอว่าแม้แต่เขาเองยังรู้สึกทึ่ง

.....


ก่อนการเดินทาง มิชชั่นบันดักชานต้องเลื่อนไฟลท์บินด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย อันเนื่องมาจาก Suicide Bomb กลางเมืองคาบูล เครื่องบินเล็กของ USSAID องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (ที่กำลังจะให้เงินรัฐบาลไทยฟื้นฟูประชาธิไตยในรัฐบาลประชาธิปัตย์) ทั้งร้อนและสั่นตามสภาพ


กว่าจะได้ออกจากคาบูล เครื่องไปบันดักชานติดอยู่ในรันเวย์ราวๆ 1 ชั่วโมงเพราะต้องรอเครื่องจากหน่วยงานสหประชาชาติ เครื่องบินทหารขึ้นลงคึกคัก


จากคาบูลถึงบันดักชานใช้เวลาบิน 1 ชั่วโมงเศษ

.....


ฟายซาบัดมีประชากรราวๆ 1.2 ล้านคน

สมัยสงครามกับสหภาพโซเวียต เมืองแห่งนี้เป็นฐานที่มั่นและจุดยุทธศาสตร์หลักของกองกำลังปลดแอกประเทศในนามมูจาฮีดีน


ที่น่าสนใจมากกว่านั้น ฟายซาบัดเป็นเมืองที่ไม่ถูกตาลีบันยึดครองจากความเข้มแข็งของพันธมิตรฝ่ายเหนือในนามนักรบพื้นเมืองที่ศรัทธาแนวทางของนายพลมาห์ซูด


กับความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติทาจิก ขณะที่กลุ่มตาลิบันส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนพาชทูน

กับสภาพภูมิประเทศที่เป็นต่อทางด้านการศึกที่มูจาฮีดีนเคยเอาชนะกองทัพอันเกรียงไกรของสหภาพโซเวียต


คนที่นั่น ภาคภูมิที่ทำให้กองทัพโซเวียตพ่ายแพ้ทั้งที่มียุทโธปกรณ์เหนือกว่า ด้วยความเจนจัดทางด้านภูมิประเทศ

ทุกครั้งที่พวกเขามองดูซากรถถัง เค้ามองเห็นถึงอิสรภาพ” ยาดาบอกว่าความรู้สึกนี้มันสะท้อนออกมาจากดวงตาของพวกเขา


ขณะเดียวกัน คนภายนอกอย่างเช่น ยาดา (ผู้ไม่เคยผ่านสงคราม) กลับรู้สึกถึงหายนะอันเกิดจากสงคราม เป็นกฏเกณฑ์พื้นฐานทางด้านความแตกต่างของประสบการณ์ที่ทำให้คนเราต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป


คงไม่มีใครผิดหรือถูก’ อย่างน้อยเธอก็คิดเช่นนั้น

ซากเหล่านี้ อยู่ที่นี่ มามากกว่า 20 ปีแล้ว” ล่ามผมบลอนด์บอกเธอ

โอ้โห ยังมองเห็นรูปร่าง โครงสร้างชัดเจน” ยาดาทึ่ง

ใช่ รถถังโซเวียตแข็งแกร่งกว่ารถถังอเมริกันเยอะ” ล่ามแอบกระซิบ

!!!

....


ฟายซาบัดสวย สงบและปลอดภัย สมกับเป็นเมืองตากอากาศทางเหนือ ท่ามกลางแสงแดดอุ่นกลางลมหนาว ไม่มีไฟฟ้า แม้แต่ในโรงแรมที่ทันสมัยที่สุดของเมืองยังต้องปั่นไฟได้เพียง 4 ชั่วโมง


ซิเคียวริตี้ ทีม บอกว่า ไม่มีอะไรน่าห่วง พวกเขาเตรียมพร้อมและเซอร์เวย์เรียบร้อยแล้ว


นอกจากนี้ เรายังมีทีมการ์ดพร้อมอาวุธครบมือถึง 9 คน เสื้อเกราะ หมวกและรถกันกระสุน 1 คัน ขณะที่เมืองอื่นๆ ต้องมีทีมการ์ด 13 คน พร้อมรถติดตามอีก 3 คัน

แค่นี้ก็สะท้อนแล้วว่าปลอดภัย” ยาดายิ้มเห็นลิ้น

....

 

 


วิวจากเครื่องบินระหว่างทางจากคาบูลไปบันดักชาน



สนามบินคาบูลระหว่างเครื่องทะยานขึ้น มองเห็นคอปเตอร์แบล็ค ฮอว์ค จอดเรียงรายด้านล่าง

 


มุมหนึ่งของจังหวัดฟายซาบัด มองเห็นท้องทุ่งไร่นาเขียวขจี (คลิ๊กที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่)

 


ตลาดในเมืองบันดักชาน (คลิ๊กที่รูป
เพื่อดูรูปใหญ่)

 


พ่อค้าขายผลไม้ในตลาดบันดักชานส่งยิ้มหวาน

 


ยานพาหนะที่แตกต่าง

 


ผ้าเป็นสินค้าสำคัญของบันดักชาน หญิงสาวนำไปตัดชุดสวมใส่ สีสันงดงามใต้เบอร์ก้าสีฟ้า

 


ชายพเนจรขี่ม้าตามเส้นทาง

 


สุสานรถถังรัสเซีย อายุมากกว่า
20 ปี ว่ากันว่า ทนทานกว่ารถถังอเมริกัน

 


ว่าวเคยเป็นสิ่งต้องห้ามในยุคของตาลีบัน

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…