Skip to main content

หากไม่เชื่อ ลองถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปู่ย่าตาทวด ก็ได้ว่า “ท่านเกิดมาจากน้ำมือของใคร”
ร้อยทั้งร้อย ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “หมอตำแย”

ยายคำ อายุ 77 ปี เป็นชาวไทใหญ่ แกเป็นหมอตำแยมาตั้งแต่รุ่นสาวหรือที่เรียกกันว่า ‘แม่เก็บ’ ในภาษาไทใหญ่ ปัจจุบัน ยายคำอาศัยอยู่ที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แข็งแรงและมีรอยยิ้มอยู่เสมอ

...

ยายคำเป็นหญิงชราที่ดูอารมณ์ดีที่สุดในโลก แววตาอ่อนโยน ไม่แข็งกร้าวแต่จัดเจนและเข้าใจชีวิต ผม
กดำและพูดจาฉะฉาน ไม่หลงๆลืมๆ เหมือนกับคนเฒ่าในวัยเดียวกัน

ชวนให้คิดถึงคำพูดที่ว่า หนุ่มแก่อยู่ข้างในหัวใจ

หลังการแต่งงาน ยายคำกับสามีชื่อนายหม่องคนกะเหรี่ยง ตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ที่บ้านแม่สามแลบ ด้วยหน้าที่การงาน สามีของนางจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ยายคำไม่มีทางรู้ว่า การตัดสินใจไปค้าขายยังฝั่งพม่าในครั้งนั้น(ประมาณ 30 ปี ที่แล้ว)ของสามี จะทำให้นางต้องอยู่คนเดียวตราบจนวันนี้

ปัจจุบัน ยายคำอยู่กับลูกสาวคนเล็ก(นางนงนุช)ในจำนวนลูกทั้งหมด 8 คน

...

ยายคำ เป็นแม่เก็บหรือหมอตำแยและอย่างไม่เป็นทางการ ยายคำ คือ หมอทำคลอดของคนนอกรัฐ

ตลอดเวลามากกว่า 40 ยายคำ ทำคลอดให้คนที่รัฐไม่สนใจมาแล้วมากกว่า 100 คน ที่น่าทึ่งมากไปกว่านั้น ไม่เคยมีรายใดเสียชีวิต, บางคนยายคำทำคลอดให้พ่อกับแม่แล้วยังทำคลอดให้ลูก, บางคนมีลูก 3, 4, 5 คนขึ้นไปก็มาหายายคำ, รักษาตัวก่อนคลอดก็มาหายายคำ, ต้มสมุนไพร อยู่ไฟ หลังคลอดก็มาหายายคำ, ชีวิตใหม่อยู่ภายใต้น้ำมือของยายคำ, อย่างระมัดระวังและรอบคอบ, อย่างผู้เชี่ยวชาญและเจนจัดในการให้กำเนิด, ไม่เคยร้องขอค่าตอบแทน, ไม่เคยปฏิเสธความช่วยเหลือ, หากเกินกำลัง ยายคำจะแนะนำให้ไปหาหมอ

...

ด้วยความเชี่ยวชาญ ยายคำเล่าว่า มีหญิงชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งมาจากศูนย์อพยพแม่ลามา ต้องมาคลอดที่บ้านของตนเพราะไม่สามารถไปคลอดที่โรงพยาบาลได้ ยายคำให้พักอยู่ที่บ้านเพื่อรอคลอดเพราะเห็นใจที่เดินทางมาไกล ไม่มีญาติพี่น้องและไม่มีเงิน เมื่อถึงกำหนดคลอด ยายคำทำคลอดให้ตามปกติ ปรากฏว่า แทนที่จะเป็นทารก หญิงชาวกะเหรี่ยงคลอดออกมาเป็นก้อนนิ่มๆ สามีของนางและลูกๆ ของยายคำ ต่างตกตะลึงกับสิ่งที่เห็น อุทานออกมาว่า เป็นคนหรือเปล่า ยายคำ รู้ได้จากประสบการณ์ว่า รกห่อตัวทารกเอาไว้ จึงตัดและแกะรกที่ห่อตัวทารกออก แต่ตัวทารกก็อ่อนปวกเปียกมาก ตนเองก็ยังกังวลอยู่ว่าเด็กจะพิการ ต่อมา หญิงชาวกะเหรี่ยงนำเด็กคนนั้นมาไหว้ยายคำและแข็งแรงดี กรณีนี้ ยายคำบอกว่า หากไม่รีบตัดเอารกออกจากตัวทารกจะขาดอากาศและเสียชีวิตได้

...

ยายคำเป็นผู้ให้มาตลอดชีวิต จนมีลูกหลานเหลนไม่ต่ำกว่า 30 คน จากลูกของตน 8 คน ทำคลอดไม่ต่ำกว่า 100 คน
จนวันนี้ ยายคำและคนเหล่านี้ยังไม่ได้รับสัญชาติ

??????????

ขอบคุณ หนังสือทำมือ ยายคำ “พยานบุคคลผู้รู้เห็นการเกิดของคนไร้สัญชาติมากที่สุด” จัดทำโดย ศูนย์เครือข่ายเด็กและชุมชน

 

20080306 เด็กๆ ชาวกะเหรี่ยง
เด็กๆ ชาวกะเหรี่ยง ภาพนี้ถ่ายที่บ้านแม่ดึ๊ อีกบ้านหนึ่งริมขอบแนวชายแดนไทย จ.แม่ฮ่องสอน

 

20080306 ยายคำ (1)

20080306 ยายคำ (2)

20080306 ยายคำ (3)

20080306 ยายคำ (4)

20080306 ยายคำ (5)

20080306 ยายคำ (6)
ยายคำ มารดาหรือแม่เก็บในภาษาไทยใหญ่ ของคนนอกรัฐ
20080306 คงไม่ต้องบบรยายครับ
คงไม่ต้องบบรยายครับ!

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์