Skip to main content

หากไม่เชื่อ ลองถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปู่ย่าตาทวด ก็ได้ว่า “ท่านเกิดมาจากน้ำมือของใคร”
ร้อยทั้งร้อย ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “หมอตำแย”

ยายคำ อายุ 77 ปี เป็นชาวไทใหญ่ แกเป็นหมอตำแยมาตั้งแต่รุ่นสาวหรือที่เรียกกันว่า ‘แม่เก็บ’ ในภาษาไทใหญ่ ปัจจุบัน ยายคำอาศัยอยู่ที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แข็งแรงและมีรอยยิ้มอยู่เสมอ

...

ยายคำเป็นหญิงชราที่ดูอารมณ์ดีที่สุดในโลก แววตาอ่อนโยน ไม่แข็งกร้าวแต่จัดเจนและเข้าใจชีวิต ผม
กดำและพูดจาฉะฉาน ไม่หลงๆลืมๆ เหมือนกับคนเฒ่าในวัยเดียวกัน

ชวนให้คิดถึงคำพูดที่ว่า หนุ่มแก่อยู่ข้างในหัวใจ

หลังการแต่งงาน ยายคำกับสามีชื่อนายหม่องคนกะเหรี่ยง ตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ที่บ้านแม่สามแลบ ด้วยหน้าที่การงาน สามีของนางจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ยายคำไม่มีทางรู้ว่า การตัดสินใจไปค้าขายยังฝั่งพม่าในครั้งนั้น(ประมาณ 30 ปี ที่แล้ว)ของสามี จะทำให้นางต้องอยู่คนเดียวตราบจนวันนี้

ปัจจุบัน ยายคำอยู่กับลูกสาวคนเล็ก(นางนงนุช)ในจำนวนลูกทั้งหมด 8 คน

...

ยายคำ เป็นแม่เก็บหรือหมอตำแยและอย่างไม่เป็นทางการ ยายคำ คือ หมอทำคลอดของคนนอกรัฐ

ตลอดเวลามากกว่า 40 ยายคำ ทำคลอดให้คนที่รัฐไม่สนใจมาแล้วมากกว่า 100 คน ที่น่าทึ่งมากไปกว่านั้น ไม่เคยมีรายใดเสียชีวิต, บางคนยายคำทำคลอดให้พ่อกับแม่แล้วยังทำคลอดให้ลูก, บางคนมีลูก 3, 4, 5 คนขึ้นไปก็มาหายายคำ, รักษาตัวก่อนคลอดก็มาหายายคำ, ต้มสมุนไพร อยู่ไฟ หลังคลอดก็มาหายายคำ, ชีวิตใหม่อยู่ภายใต้น้ำมือของยายคำ, อย่างระมัดระวังและรอบคอบ, อย่างผู้เชี่ยวชาญและเจนจัดในการให้กำเนิด, ไม่เคยร้องขอค่าตอบแทน, ไม่เคยปฏิเสธความช่วยเหลือ, หากเกินกำลัง ยายคำจะแนะนำให้ไปหาหมอ

...

ด้วยความเชี่ยวชาญ ยายคำเล่าว่า มีหญิงชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งมาจากศูนย์อพยพแม่ลามา ต้องมาคลอดที่บ้านของตนเพราะไม่สามารถไปคลอดที่โรงพยาบาลได้ ยายคำให้พักอยู่ที่บ้านเพื่อรอคลอดเพราะเห็นใจที่เดินทางมาไกล ไม่มีญาติพี่น้องและไม่มีเงิน เมื่อถึงกำหนดคลอด ยายคำทำคลอดให้ตามปกติ ปรากฏว่า แทนที่จะเป็นทารก หญิงชาวกะเหรี่ยงคลอดออกมาเป็นก้อนนิ่มๆ สามีของนางและลูกๆ ของยายคำ ต่างตกตะลึงกับสิ่งที่เห็น อุทานออกมาว่า เป็นคนหรือเปล่า ยายคำ รู้ได้จากประสบการณ์ว่า รกห่อตัวทารกเอาไว้ จึงตัดและแกะรกที่ห่อตัวทารกออก แต่ตัวทารกก็อ่อนปวกเปียกมาก ตนเองก็ยังกังวลอยู่ว่าเด็กจะพิการ ต่อมา หญิงชาวกะเหรี่ยงนำเด็กคนนั้นมาไหว้ยายคำและแข็งแรงดี กรณีนี้ ยายคำบอกว่า หากไม่รีบตัดเอารกออกจากตัวทารกจะขาดอากาศและเสียชีวิตได้

...

ยายคำเป็นผู้ให้มาตลอดชีวิต จนมีลูกหลานเหลนไม่ต่ำกว่า 30 คน จากลูกของตน 8 คน ทำคลอดไม่ต่ำกว่า 100 คน
จนวันนี้ ยายคำและคนเหล่านี้ยังไม่ได้รับสัญชาติ

??????????

ขอบคุณ หนังสือทำมือ ยายคำ “พยานบุคคลผู้รู้เห็นการเกิดของคนไร้สัญชาติมากที่สุด” จัดทำโดย ศูนย์เครือข่ายเด็กและชุมชน

 

20080306 เด็กๆ ชาวกะเหรี่ยง
เด็กๆ ชาวกะเหรี่ยง ภาพนี้ถ่ายที่บ้านแม่ดึ๊ อีกบ้านหนึ่งริมขอบแนวชายแดนไทย จ.แม่ฮ่องสอน

 

20080306 ยายคำ (1)

20080306 ยายคำ (2)

20080306 ยายคำ (3)

20080306 ยายคำ (4)

20080306 ยายคำ (5)

20080306 ยายคำ (6)
ยายคำ มารดาหรือแม่เก็บในภาษาไทยใหญ่ ของคนนอกรัฐ
20080306 คงไม่ต้องบบรยายครับ
คงไม่ต้องบบรยายครับ!

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…