Skip to main content
 

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่ไม่เคยเป็นตัวแสดงหลักในเกมอำนาจโลกเลยนับจากยุคอาณานิคมมาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ การร่วมตัวกันของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนามอาเซียนเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของชาติในภูมิภาคนี้ที่จะเสริมสร้างอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับโลก

ในยุคสงครามเย็น ภูมิภาคนี้ถูกแบ่งให้เป็น 2 ค่าย ตามบรรยากาศการเมืองโลก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายสังคมนิยม ในช่วงทศวรรษที่ 90 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน บทหนทางเสรีนิยมเดียวกัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถูกปฏิบัติในฐานที่เป็นชายขอบแดนของอำนาจต่อรองเช่นเดิม

แม้ว่าความพยายามของอาเซียนจะต้องการสร้างเสริมอำนาจการต่อรองให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก แต่ทว่า ก็ไม่เคยก้าวข้ามความเป็นชายขอบไปได้ เมื่อพิจารณาจากการพยายามสร้างข้อตกลงการค้ากับประเทศกึ่งชายขอบที่เริ่มขยับเข้าใกล้ความเป็นศูนย์กลางในการต่อรองอย่าง จีน อินเดีย เกาหลีใต้

การเจรจาการค้าก็ยังคงสถานะเดิมๆ นั่นคือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำหน้าที่เป็นฐานในการส่งออกวัตถุดิบ การ แสวงประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม และแรงงานราคาถูก ขณะที่นำเข้าสินค้าที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงกว่าจากประเทศคู่ค้า อย่าง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อียู ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา

ประเทศชายขอบเหล่านี้มีฐานเป็นเพียงศูนย์กลางของวัตถุดิบทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งรีดเค้นมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนักหน่วง และแน่นอนรวมถึงแรงงานราคาถูกด้วย

ดังนั้นแล้ว หากย้อนหลังไปเพียงช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราจึงสามารถมองเห็นการแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอาเซียน เป็นไปในทิศทางที่ขุดค้น ฉวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในภูมิภาคของตนออกมาอย่างเต็มที่ ดังกรณีที่ประเทศลาวประกาศตัวเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย พร้อมด้วยการเปิดรับการสนับสนุนการลงทุนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมาก ไทยประกาศตัวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ขณะที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเพื่อนบ้านอย่างหนักหน่วง มาเลเซียปฏิเสธที่จะพูดถึงประเด็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุผลว่า เรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องของประเทศพัฒนาแล้วที่สร้างมาตรฐานสูงเกินไป

กำเนิดอาเซียน

อาเซียนเกิดจากการบรรลุข้อตกลงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 ตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ที่กรุงเทพฯ มีเป้าหมายที่จะกระตุ้นความร่วมมือระหว่างชติประชาคม ซึ่งเมื่อแรกตั้งประกอบด้วย 5 ชาติคือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จากนั้น บรูไนได้ผนวกเข้ามาเมื่อปี 1984 เวียดนาม 1995 ลาวและพม่าในปี 1997 และกัมพูชาในปี 1999

วัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1.ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค 2.รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค และ 3. ใช้เป็นเวทีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาค

กลไกการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

1. การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit Meeing) หรือการประชุมระดับผู้นำของ อาเซียน เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดของอาเซียน กำหนดให้มีการประชุมปีละ 1 ครั้ง ประมาณเดือนพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือและริเริ่มกิจกรรมใหม่ๆของอาเซียน

2. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน

2.1 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) กำหนดให้มีการประชุมอย่างเป็นทางการปีละครั้ง ในช่วงเดือนตุลาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน รวมทั้ง พิจารณาการขยายกรอบ/ริเริ่มความร่วมมือใหม่ๆ

2.2 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) กำหนดให้มีการประชุมปีละครั้ง ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางและแก้ไขปัญหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นเรื่องจำเป็น เร่งด่วน หรือเป็นพิเศษ

3. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Officials Economic Meeting: SEOM) ประชุมปีละ 4 ครั้งเป็นอย่างน้อย (ประมาณ 3 เดือนครั้ง) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดการดำเนินงาน/การขยาย/การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในทุกด้าน และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศต่างๆ

4. การประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงานที่แต่งตั้งโดย SEOM เช่น

4.1 คณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT (CCCA) ประชุมปีละ 4 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการลดภาษีและยกเลิกข้อกีดกันทางการค้าให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ภายใต้อาฟต้า และความตกลงอื่นที่เกี่ยวข้อง

4.2 คณะทำงานความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (Working Group on Industrial Cooperation: WGIC) ประชุมปีละ 3 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO)

4.3 คณะกรรมการประสานงานด้านการลงทุน (Coordinating Committee on Investment: CCI) ประชุมปีละ 4 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และความร่วมมือด้านการลงทุนต่างๆ

4.4 คณะทำงานระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์อาเซียน (e-ASEAN Task Force: EATF) และคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์อาเซียน (e-ASEAN Working Group: EAWG) ประชุมปีละ 3 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลง e-ASEAN

4.5 คณะกรรมการประสานงานด้านบริการ (Coordinating Committee on Services: CCS) ประชุมปีละ 4 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน และความร่วมมือด้านบริการอื่น

5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นหน่วยประสานงานและเสริมสร้างการดำเนินการตามนโยบาย โครงการและกิจกรรมขององค์กรต่างๆของอาเซียน รวมทั้งทำหน้าที่เลขานุการในการประชุมอาเซียน

ทั้งนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี 2020 ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกในทุก ๆ ด้าน โดยมีวิสัยทัศน์ว่า "อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร" (ASEAN 2020: Partnership in Dynamic Development)"

ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน คนปัจจุบัน กล่าวเมื่อวันที่ 12 เดือนกันยายน ปี 2007 ว่า แม้ว่าอาเซียนจะมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 10 ประเทศ แต่ในความจริงแล้วอาเซียนนั้นหลอมรวมกับโลกทั้งหมด รวมไปถึงชาติมหาอำนาจ อย่างสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพยุโรป และเอเปก

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ชาติอาเซียนเอง ก็ต้องเร่งปรับแก้กฎหมาย วางแนวนโยบาย และระบบกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของประเทศเหล่านั้น

สิ่งที่ต้องตั้งเป็นข้อสงวนไว้สำหรับชาติอาเซียนก็คือ ว่า ผลิตภัณฑ์จากอาเซียน คือสินค้าเกษตร ประมง ไม้ สิ่งทอ ชิ้นส่วนอิเลกโทรนิกส์ ไอที บริการด้านสุขภาพ และการขนส่งซึ่งเป็นสินค้าหลักของชาติอาเซียนนั้น ง่ายต่อการถูกกีดกันทั้งโดยรูปแบบของภาษีและข้อกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี เช่น ปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

ความหลากหลายบนสถานะของชายขอบเศรษฐกิจโลก

ประชากรในอาเซียน ปัจจุบันมีราว 570 ล้านคน ผู้คนนับถือ อิสลาม พุทธ คริสต์ ฮินดู มีความแตกต่างด้านสถานะทางเศรษฐกิจอย่างสุดโต่ง นั่นคือ ลาวและพม่าเป็นประเทศที่ประชากรที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 209 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือประชากรมีรายได้เฉลี่ย 50,000 เหรียญสหรัฐต่อปี

นอกเหนือจากความแตกต่างด้านรายได้ของประชากรแล้ว อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ถูกจับตามองและตั้งคำถามเรื่องสิทธิมนุษยชนมาก รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ถูกต้อง รวมไปถึงความไม่เป็นประชาธิปไตยในภูมิภาคอาเซียน ปัญหาคอร์รัปชั่น และการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งแต่ละประเทศล้วนมีจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้อย่างไม่มีข้อยกเว้น

บางตัวอย่างของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ถูกต้อง ปรากฏในรายงานของ UNDP ในปีที่ผ่านมาว่า ประเทศมาเลเซียคือประเทศที่ผลิตสารคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศในเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในโลก ขณะที่ไทยเป็นประเทศที่ผลิตสารคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุดในอาเซียน ข้อสังเกตเหล่านี้ก็ไม่เคยได้รับการตอบสนองที่ดีจากรัฐบาลทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาเลเซีย ซึ่งในยุคของผู้นำชื่อมหาเธร์ โมฮัมหมัด ซึ่งกล่าวท้าทายมาตรฐานแบบ ตะวันตก' ว่า รอให้มาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เราจึงจะมาพูดเรื่องแบบนี้กัน

ปัญหาการคอร์รัปชั่น จากรายงานขององค์กร transparency international จากแผนภูมิภาพด้านล่าง สีแดงเป็นความหมายของคอร์รัปชั่นในระดับสูง เราจะเห็นสีแดงในเฉดที่ต่างกันในภูมิภาคนี้

  

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Corruption_Perceptions_Index

ปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพ ตามรายงานขององค์กร freedom House พื้นที่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดมีเสรีภาพเพียงบางส่วน ฟิลิปินส์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่อันตรายสำหรับผู้สื่อข่าวและนักกิจกรรมทางสังคม

ประเทศไทย ถูกบันทึกว่า เสรีภาพดิ่งลงอย่างหนักหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2005 เป็นต้นมา จากเดิมที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีเสรีภาพตั้งแต่ 1998 ถึงปี 2005 หลังการรัฐประหารในปี 2005 ไทยถูกจัดให้อยู่ในข่ายมีเสรีภาพบางส่วน กัมพูชา และมาเลเซียมีเสรีภาพบางส่วน และอยู่กฎหมายควบคุมการแสดงความคิดเห็นและกีดขวางการแสดงออกทางการเมืองอย่างเข้มงวด

บทบาทอย่างสูงของกองทัพ ในพม่าและไทย และฟิลิปปินส์ที่ส่งผลต่อความผันผวนของการเมืองภายใน การรัฐประหารยังเป็นสิ่งที่เกิดได้ง่ายในประเทศเหล่านี้ ขณะที่อินโดนีเซียส่งสัญญาณว่า ดูเหมือนจะหลุดพ้นวงจรอุบาทว์ดังกล่าว แต่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น

 

อาเซียนกับปัญหาของตัวเอง

ชาติอาเซียนมีฝันร่วมกันที่ไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2020 ประเทศมาเลเซียยังกล้าประกาศยืนยัน ขณะที่ประเทศไทยกำลังสะบักสะบอมจากการเมืองภายใน ทำให้ฝันนั้นดูลางเลือนลง เวียดนามกำลังบอบช้ำกับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ซึ่งออกฤทธิ์เมื่อปีที่ผ่านมา และเผชิญกับคนตกงานเป็นจำนวนหลักล้าน ขณะที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานจำนวนมาก ขณะนี้กำลังเผชิญกับคนว่างงานถึง 11 ล้านคน

กัมพูชาและลาวยังคงประกาศการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งทองคำและน้ำมัน เหมือนเป็นเสียงเชิญชวนให้ประเทศร่ำรวยเข้าไปลงทุน

ทั้งหมดนี้ ถูกทำให้แย่ลงไปอีก จากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ชาติศูนย์กลางอำนาจของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม อย่างสหรัฐอเมริกา กำลังเผชิญกับคนว่างงานจำนวนหลายสิบล้านคน สหภาพยุโรปเผชิญปัญหาเดียวกัน ญี่ปุ่นทยอยปลดพนักงาน และลดการผลิต รวมถึงหยุดการผลิตในบางบริษัท บริษัทชั้นนำของโลกอย่างโตโยต้าประกาศภาวะขาดทุน

 "ในฐานะประธานอาเซียน ผมจะทำทุกวิถีทางให้ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งเสรีภาพ รอยยิ้มและโอกาส จะดำเนินการทุกวิถีทางให้บรรลุวิสัยทัศน์และความใฝ่ฝันของผู้ก่อตั้งที่จะสร้างประชาคมอาเซียนขึ้นด้วยสังคมที่แบ่งปัน และมีความห่วงใยซึ่งกันและกัน" คำกล่าวขอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยฉายซ้ำจนจำกันได้ขึ้นใจ แต่มันจะเป็นจริงได้อย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องติดตามว่าประเทศไทยและอาเซียนจะมีมาตรการใดออกมาเพื่อทำให้ไทยและอาเซียนได้บรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าว

นอกเหนือจากภาวะชายขอบทางเศรษฐกิจ อาเซียนก็มีปัญหาในตัวของเองอยู่ในทุกประเทศ และยังมีปัญหาระหว่างกันอย่างไม่จบสิ้น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย กำลังเผชิญปัญหาคนตกงานเป็นปัญหาหลัก ขณะที่พม่าและ ลาว ยังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

ในด้านความสัมพันธ์ ด้วยภาวะ การเมืองภายในที่ร้อนระอุต่อเนื่องยาวนานของไทยกว่า 3 ปี ได้เปิดปมขัดแย้งใหม่ๆ กับกัมพูชา ว่าด้วยปัญหาเส้นเขตแดน ซึ่งขณะนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่เขาพระวิหาร ซึ่งเคยเกือบจะเป็นพื้นที่การพัฒนาร่วม แต่ต้องปิดตัวลงและถูกคุ้มกันอย่างแน่นหนาโดยเจ้าหน้าที่ทหารจากทั้ง 2 ประเทศ

มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ยังคงขัดแย้งกันเรื่องเส้นเขตแดน และการกำหนดว่าเกาะใดเป็นของใคร ทั้งนี้ ขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติที่ค้นพบเป็นสำคัญ

ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจโลกได้เพิ่มโจทย์ใหม่และยากมากขึ้น ประเทศอาเซียนก็ยังคงมีโจทย์เก่าที่ไม่คลี่คลาย ทั้งความไม่เป็นประชาธิปไตย การฉวยประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิมนุษยชน และปัญหาการคอร์รัปชั่น ปัญหาที่ถูกรายงานซ้ำโดยหน่วยงานและองค์กรระดับนานาชาติ สะท้อนภาพว่า ชาติอาเซียนยังคงดิ้นรนต่อสู้อยู่ในวงวนเดิมๆ ของตนเอง

 

อ้างอิง

http://www.moc.go.th/opscenter/cr/asean.html

http://hdr.undp.org/en/climatechange/

http://www.freedomhouse.org/template.cfm?page=439

http://en.wikipedia.org/wiki/Corruption_Perceptions_Index

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองข่าวเรื่องนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกแบน ในประเทศไทย ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเอพี และเสตรทไทม์ ขณะที่ในเมืองไทย [1] ข่าวดังกล่าวไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก และเพิ่งมาปรากฏขึ้นในลักษณะของการตอบโต้จากทางการไทย ผ่าน.นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อิโคโนมิสต์  ระบุว่า....            "รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา…
หัวไม้ story
“ผมตั้งข้อสังเกตว่าเป็นฝีมือของพวกฉวยโอกาส หากพันธมิตรฯจะทำก็ต้องเป็นตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี เพราะสามารถสร้างความเสียหายมากกว่า ได้ผลมากกว่า และสะใจมากกว่า ไม่อย่างนั้นจะเก็บไว้อย่างดีทำไม” สุริยะใส กตะศิลา, 5 ธ.ค. 2551  ทีมข่าวการเมือง   ภาพในตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาลหลังการชุมนุมยุติที่มาของภาพ: คุณ Me.....O กระดานข่าวพันทิพ ห้องราชดำเนินhttp://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7288033/P7288033.html  
หัวไม้ story
"ถ้างวดนี้ มีการใช้ความรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง พี่น้องครับ พี่น้อง พ่อแม่พี่น้องทั่วประเทศไทย ต้องลุกฮือขึ้นมาแล้วให้เลือดนองแผ่นดิน"  ... "ผมจะบอกให้พวกสัตว์นรกรู้ ว่างวดนี้ถ้าประชาชนเขามา เขามาพร้อม ‘ของ' กันหมด" - สนธิ ลิ้มทองกุล 20 พ.ย. 2551 ทีมข่าวการเมืองประชาไท สนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับการอารักขาโดย ‘นักรบศรีวิชัย’ เมื่อ 26 ส.ค. 51 ที่มาของภาพ adaptorplug (CC)  
หัวไม้ story
  วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods SystemG20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้
หัวไม้ story
โอบามากับสงครามสีผิวที่กำลังจะเปิดฉาก? ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่งจบลงไปด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของบารัก โอบามา ผู้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นคนผิวสี คนแรกที่เดินเข้าสู่ทำเนียบขาวในฐานะประธานาธิบดี โอบามา เป็นลูกผสมระหว่างแม่ซึ่งเป็นคนผิวขาว กับพ่อเชื้อสายแอฟริกัน ซึ่งไม่ได้ย่างเท้าลงบนแผ่นดินอเมริกาในฐานะทาส แต่เป็นนักศึกษา แม้จะไม่ใช่คนผิวดำ หรือลูกหลานแอฟริกันขนานแท้ ที่เติบโตขึ้นจากครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นทาส แต่บารัก โอบามา ก็ถูกจำจดในฐานะเป็นตัวแทนของคนผิวสีที่ได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี แม้จะไม่ได้ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมกับคนแอฟริกัน-อเมริกัน…
หัวไม้ story
แม้ว่าคนจนในประเทศไทย จะเลือกตาย ด้วยหวังให้การตายส่งเสียงได้มากกว่ายามที่พวกมีชีวิตอยู่ ทว่า ไม่ช้าไม่นาน ความทรงจำของสังคมก็เลือนรางลงไป แต่คนจนอย่างนวมทอง ไพรวัลย์ เลือกวิธีตาย และเลือกใช้การตายของเขาส่งเสียงดังและอยู่ยาวนาน อย่างน้อยก็ใน 2 ปีต่อมา เขายังไม่ถูกลืมเลือน
หัวไม้ story
ประชาไทขอนำเสนอคลิปวิดิโอ 'หลังทักษิณ' มุมมอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจากคนใกล้ตัวที่บ้านเกิด อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และบทวิเคราะห์การเมืองไทยหลังทักษิณ โดย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ นักวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
หัวไม้ story
  ทีมข่าวภาคใต้มายาภาพของการต่อสู้ทางการเมืองไทยในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถูกกล่าวว่าอ้างว่าเป็นสงครมมระหว่างภูมิภาค คือ ภาคใต้ กับภาคเหนือและภาคอิสาน แต่หากมองลึกลงไปในกระบวนการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคพลังประชาชน อาจพบว่าแท้จริงแล้วการพื้นที่ทางการเมืองระดับนำก็ยังคงเป็นของคนใต้อยู่เช่นเดิม
หัวไม้ story
จับตาการเดินทัพของพันธมิตรฯ จากคำปราศรัยของแกนนำชื่อ ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ หลังประกาศทบทวนแนวทางสันติวิธี ระบุแกนนำทั้งหลายไม่กลัวตาย “แต่ถ้าพวกเราบางคนจะต้องตาย พี่น้องสัญญาอย่าง ต้องให้แผ่นดินนี้ ลุกขึ้นเป็นไฟให้ได้”
หัวไม้ story
  เมื่อพูดกันถึงเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็ไม่แคล้วตามมาด้วย การแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง นับเป็นสิ่งที่สังคมไทยถนัดในการแก้ปัญหาการเมืองโดยการเขียนอะไรบางอย่างขึ้นมาบังคับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กระทั่งแม้แต่นักกฎหมายมหาชนเองก็ยังแซวผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตัวเองได้ว่า ประเทศไทยนั้นมีความเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญที่สุดในโลกนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 กล่าวในรายการตอบโจทย์  ทางสถานีไทย เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ว่าที่สุดแล้ววิกฤตของการเมืองไทยวันนี้มันก็เริ่มมาจากการแก้รัฐธรรมนูญที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอนั่นเองย้อนเหตุการณ์ให้ฟังอีกครั้งว่า…
หัวไม้ story
  พิณผกา งามสม   ในระหว่างที่การต่อสู้ทางการเมืองไทยยังคงถกเถียงกันเรื่องโมเดลการเมืองใหม่ การเมืองใหม่กว่า รวมถึงระบบโควตาและระดับความชอบธรรมของ ‘เสียง' การเมืองเพื่อนบ้านของไทยก็กำลังเข้มข้นอยู่บนหนทางเดิมๆ ตามระบอบรัฐสภาเมื่อนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียประกาศว่าจะเขย่ารัฐบาลมาเลย์ให้ล่มเพื่อเปิดโอกาสในการจัดสรรที่นั่งในสภากันใหม่ โดยยึดเอาวันที่ 16 กันยายนเป็นวันดีเดย์ แรกทีเดียว หลายฝ่ายอาจคิดว่าเป็นเพียงการสร้างสีสันให้การรณรงค์ทางการเมืองของพรรคฝ่ายค้านอย่างที่เคยทำมาอย่าแข็งขัน เพราะต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า…
หัวไม้ story
  วิทยากร  บุญเรืองขณะที่ Frank Lampard ดาวเตะแข้งทองของทีม Chelsea พึ่งบรรลุข้อตกลงสัญญา 5 ปีที่มีมูลค่าสูงถึง 39.2 ล้านปอนด์ โดย Lampard จะได้รับค่า 151,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 3,775 ปอนด์ต่อชั่วโมง! แต่จากการสำรวจของ The Fair Pay Network และ Institute of Public Policy Research (IPPR) พบว่าพนักงานทำความสะอาด พ่อครัวแม่ครัว และแรงงานตัวเล็กๆ ทั้งหลาย ของสโมสรอย่าง Chelsea, Spurs, Arsenal, West Ham และ Fulham กลับได้รับค่าเหนื่อยจากสัญญาจ้างค่าแรงขั้นต่ำแค่ 5.52 ปอนด์ต่อชั่วโมงเท่านั้น