Skip to main content
 

วิทยากร  บุญเรือง

ขณะที่ Frank Lampard ดาวเตะแข้งทองของทีม Chelsea พึ่งบรรลุข้อตกลงสัญญา 5 ปีที่มีมูลค่าสูงถึง 39.2 ล้านปอนด์ โดย Lampard จะได้รับค่า 151,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 3,775 ปอนด์ต่อชั่วโมง! แต่จากการสำรวจของ The Fair Pay Network และ Institute of Public Policy Research (IPPR) พบว่าพนักงานทำความสะอาด พ่อครัวแม่ครัว และแรงงานตัวเล็กๆ ทั้งหลาย ของสโมสรอย่าง Chelsea, Spurs, Arsenal, West Ham และ Fulham กลับได้รับค่าเหนื่อยจากสัญญาจ้างค่าแรงขั้นต่ำแค่ 5.52 ปอนด์ต่อชั่วโมงเท่านั้น

การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก (Premier League) ของอังกฤษ ถือว่าเป็นรายการแข่งขันกีฬาที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของแฟนกีฬาโดยเฉพาะแฟนฟุตบอลทั่วโลก

ฟุตบอลอาชีพในประเทศอังกฤษมีอายุ 100 ปีกว่าแล้ว แต่ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ที่มีผู้คนสนใจติดตามมากมายนี้ ก็เพิ่งจะก่อตั้งในปี 1992 นี่เอง สืบเนื่องจากการ Rupert Murdoch นายทุนสื่อมวลชนคนสำคัญของโลกชาวออสเตรเลีย เจ้าของธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียม BSkyB (British Sky Broadcasting Corp.) ผลักดันให้บรรดาสโมสรฟุตบอลต่างๆ ในระดับดิวิชั่น 1 ถอนตัวออกจาก Football League เพื่อมาจัดตั้ง The Football Association (FA) Premier League Champions โดย BSkyB หรือ Sky TV ยื่นข้อเสนอขอซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันด้วยผลตอบแทนราคามหาศาล

เมื่อดิวิชั่น 1 เดิม แยกตัวออกจากฟุตบอลลีก เพื่อมาจัดตั้งพรีเมียร์ลีกให้เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับสูงสุดของประเทศแทน ทำให้ภายในฟุตบอลลีกเองก็จำต้องมีการปรับแถวขบวนกันขนานใหญ่ เช่น ดิวิชั่น 2 เปลี่ยนเป็นดิวิชั่น 1 (ต่อมาเรียกว่า ลีกวัน) ดิวิชั่นอื่นๆ ก็ปรับตัวเลขตาม ปัจจุบันใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Barclays English Premier League (ระหว่างปี 2004-2010) โดยที่ชื่อจะถูกเปลี่ยนไปตามผู้สนับสนุนในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งบาร์เคลส์ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการเงินของอังกฤษ

การยอมรับให้พรีเมียร์ลีกสามารถจะดำเนินการทางธุรกิจต่างๆ ได้ โดยการก่อตั้งโดยจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด (Corporation) ซึ่งดึงเอาสโมสรฟุตบอลสมาชิกทั้ง 20 แห่ง มาเป็นหุ้นส่วนด้วยนั้น ก็ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าฟุตบอลอังกฤษเป็นอันมาก รายได้จากการขายสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดโทรทัศน์แก่ BSkyB ในครานั้น ช่วยเพิ่มพูนเกื้อกูลให้สโมสรฟุตบอลดิวิชั่นที่ 1 มีทรัพยากรทางการเงินเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก

ถึงกระนั้น การจัดตั้งพรีเมียร์ลีกก็มีผลกระทบต่อแฟนฟุตบอลชาวอังกฤษโดยตรง เพราะแต่เดิมชาวอังกฤษ สามารถชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดทางโทรทัศน์ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แม้อาจจะต้องอดทนต่อการถูกคั่นรายการด้วยการโฆษณา ทั้งทางช่อง BBC (The British Broadcasting Corporation) หรือทางช่อง ITV (Independent Television) ในฐานะที่เป็นเจ้าของสิทธิการถ่ายทอดเดิม แต่ทว่า การรุกล้ำเข้ามาของ BSkyB ย่อมทำให้โอกาสในการชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลลีกสูงสุดของชาวอังกฤษทางฟรีทีวีถูกลิดรอนลงโดยสิ้นเชิง เพราะหากผู้ใดยังประสงค์จะชมก็จะต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนของการติดตั้งจานดาวเทียม และการเป็นสมาชิกของ BSkyB (19)

ณ เวลานี้ ในสหราชอาณาจักร สิทธิการถ่ายทอดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกก็ยังคงเป็นของ BSkyB ส่วนนอกสหราชอาณาจักรนั้น ตกเป็นสิทธิของ Transworld International ร่วมกับ Canal Plus (บริษัทลูกของ Vivendi Universal แห่งฝรั่งเศส ให้บริการ Pay-TV) ในปี 1998 และจำนวนประเทศที่รับสัญญาณการถ่ายทอดการแข่งขันเพิ่มขึ้นจาก 27 ประเทศ ในปี 1991 เป็น 127 ประเทศในปี 2001 ซึ่งต่อมาในการเจรจาทำสัญญาฉบับใหม่ก็ยังมี Fox Television ของอเมริกา (ที่มีนาย Rupert Murdoch เป็นเจ้าของ) กระโดดเข้ามาร่วมวงไพบูลย์อีกด้วย ว่ากันว่าในปัจจุบันนี้ น่าจะมีมากกว่า 1,000 ล้านคนใน 195 ประเทศที่มีโอกาสสัมผัสกับลีกแห่งนี้ในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาติในเอเชียที่มีความคลั่งไคล้ในฟุตบอลพรีเมียร์ลีกกันอย่างมโหฬาร

ผลกระทบจากการกระบวนการข้างต้น ส่งผลให้จารีตประการสำคัญของฟุตบอลอังกฤษต้องแปรเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด จากหลักการเดิมที่การแข่งขัน (ส่วนใหญ่) ทุกคู่ในลีกสูงสุด (แทบจะ) ทั้งหมด 10 คู่ จะลงเตะพร้อมกันในเวลา 15:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของอังกฤษ (ซึ่งในบางสัปดาห์ อาจจะมีอยู่บ้างบางนัดที่กำหนดให้ลงเตะในเย็นวันอาทิตย์ และในค่ำวันจันทร์) แต่ด้วยเหตุผลด้านความต้องการของผู้ชมการถ่ายทอด ทั้งของอังกฤษ และในทวีปอื่นๆ ถึงตอนนี้ กำหนดการของการแข่งขันเลยถูกทำให้กระจายทั้งเวลาและวันออกไปอีก จนครอบคลุมตั้งแต่วันเสาร์ถึงวันจันทร์ ทั้งในช่วงสาย บ่าย และค่ำ เท่ากับเป็นการสร้างช่องทางในการถ่ายทอดสดๆ ออกไปสู่สายตาชาวโลกให้ได้จำนวนมากคู่ที่สุด เมื่อเป็นดังนี้ เราจึงสามารถที่จะชมการถ่ายทอดสดได้มากขึ้น มากจนเกือบจะครบทุกคู่การแข่งขันในแต่ละสัปดาห์เลยทีเดียว

สำหรับเม็ดเงินที่หมุนเวียนในอุตสาหกรรมนี้มีมากถึง 1.9 พันล้านปอนด์ เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี อันเนื่องมาจากการขายตั๋วที่เพิ่มขึ้น, รายได้จากสปอนเซอร์ รวมถึงการขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดไปทั่วโลก

ทั้งนี้เมื่อฤดูการที่แล้ว 20 ทีมในพรีเมียร์ลีก เสียค่าใช้จ่ายให้กับนักเตะในแต่ละทีมรวมกันถึงกว่า 600 ล้านปอนด์ ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยที่ได้กล่าวไปขั้นต้น

 

10 อันดับนักเตะที่มีค่าจ้างสูงสุด

(จากข้อมูลของ Daily Mail)

 

David Beckham

สโมสร: LA Galaxy

ค่าจ้าง: 492,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

Frank Lampard

สโมสร: Chelsea

ค่าจ้าง: 151,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

John Terry

สโมสร: Chelsea

ค่าจ้าง: 131,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

Michael Ballack

สโมสร: Chelsea

ค่าจ้าง: 121,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

Andriy Shevchenko

สโมสร: Chelsea

ค่าจ้าง: 121,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

Steven Gerrard

สโมสร: Liverpool

ค่าจ้าง: 120,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

Rio Ferdinand

สโมสร: Manchester United

ค่าจ้าง: 120,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

Cristiano Ronaldo

สโมสร: Manchester United

ค่าจ้าง: 119,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

Wyane Rooney

สโมสร: Manchester United

ค่าจ้าง: 119,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

Michael Owen

สโมสร: Newcastle United

ค่าจ้าง: 110,000 ปอนด์ / สัปดาห์

 

แต่ชีวิตของแรงงานตัวเล็กๆ ที่อยู่นอกเหนือสปอร์ตไลท์เจิดจรัสและจอโทรทัศน์ สำหรับอุตสาหกรรมนี้มันช่างน่าเศร้าใจยิ่งนัก

จากข้อมูลของมูลนิธิการกุศลอย่าง Joseph Rowntree Foundation พบว่าประชาชนในอังกฤษที่ยังอยู่ด้วยตัวคนเดียวไม่มีภาระครอบครัว จะต้องได้รับรายได้จากการทำงานขั้นต่ำก่อนหักภาษีประมาณ 13,400 ปอนด์ต่อปี ถึงจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำในการดำรงชีพ -- และหากมีคู่และมีลูกสองคนนั้น จะต้องมีค่าใช้จ่ายถึง 370 ปอนด์ต่อสัปดาห์เลยทีเดียว

กระนั้นในอังกฤษ ชีวิตของพนักงานในสโมสรและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันพรีเมียร์ลีกที่มีมูลค่าทางการตลาดมหาศาล ช่างต่างลิบลับกับบรรดาดาวเตะแข้งทองทั้งหลาย..

- ใน London สโมสรทั้ง 5 แห่งในพรีเมียร์ลีก (ประกอบไปด้วย Arsenal, Chelsea, Fulham, Tottenham Hotspur และ West Ham United) โดยปกติมักจะจ่ายค่าเหนื่อยให้แก่พนักงานน้อยกว่าค่าครองชีพขั้นต่ำของคนใน London บางสโมสรจ่ายเงิน 25 ปอนด์ให้แก่พนักงานบริการในสนามที่ทำงาน 5 ชั่วโมงในวันที่มีแมตซ์การแข่งขัน (ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำของอังกฤษ)

- บริษัทซัพพลายเออร์ที่ส่งสินค้าให้กับ 3 สโมสรในพรีเมียร์ลีก จ่ายค่าแรงให้กับแรงงานเพียง 3 ปอนด์ต่อชั่วโมง และพนักงานต้อนรับในโรงแรมที่นักฟุตบอลในสโมสรของลอนดอนแห่งหนึ่งใช้เป็นที่พักผ่อน ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

- บางสโมสรจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานขายสูจิบัตร (programme) ที่ทำงาน 4 - 5 ชั่วโมง เพียง 15 ปอนด์ และไม่มีค่าจ้างให้กับคนขายสลากชิงตั๋ว (lottery tickets)

- และทุกสโมสรในพรีเมียร์ลีกจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ให้กับ พนักงานทำความสะอาด, เจ้าหน้าที่ห้องครัว, พนักงานเก็บเงินในร้านหนังสือ, บริกรในบาร์, ฝ่ายประชุมสัมมนา และเจ้าหน้าที่จัดเลี้ยงของทีม

- ฯลฯ

 

......

ที่มา:

เศรษฐศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรม และโลกาธนาธิปไตย รูเพิร์ท เมอด็อช: ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และโลกาภิวัตน์ (ณัฐกร วิทิตานนท์, บทความลำดับที่ 1349 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, เข้าดูเมื่อ 23 สิงหาคม 2551)

Premier football and the minimum wage (Socialist Worke,issue 2115, 23 August 2008)

Premiership clubs should become ethical employers and pay fair wages to everyone working off the pitch (Institute of Public Policy Research,14 August 2008)

FOOTBALL WAGES ARE WELL OFFSIDE (Penman & Sommerlad, Mirror.co.uk, 14 August 2008)

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
กรณี “แดงจับแดง” ที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไม่ควรถูกมองว่าเป็นแค่เรื่องเข้าใจผิด หรือเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวและจบกัน แต่นี่คือเป็นปัญหาท่าที และหลักการของแกนนำซึ่งไปช้ากว่ามวลชนอย่างสม่ำเสมอ
หัวไม้ story
ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้
หัวไม้ story
วิธีกลบข่าวแบบบ้านๆ ไทยๆ ไม่ต้องลงทุนมากก็กลบมันด้วยน้อง M79 ลูกกระสุนสนนราคาละไม่กี่ร้อย แต่ก็ได้พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งกลบข่าวคนเป็นหมื่นเป็นแสนที่ออกมาไล่รัฐบาลในขณะนี้
หัวไม้ story
สื่อต่างประเทศให้ความสนใจกับข่าวการเมืองในไทยกันหนาแน่นตลอดสัปดาห์นี้ ยิ่งใกล้วันศุกร์ วันที่สื่อทั้งหลายเรียกมันว่า judgement day มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งลงข่าวและบทวิเคราะห์กันคึกคักมากขึ้นเท่านั้น ประเด็นของการรายงานของสื่อนอกเน้นหนักไปที่สองเรื่องใหญ่คือ แนวทางของคำพิพากษาที่จะออกมา กับผลสะเทือนทางการเมืองจากการตัดสินหนนี้ ทั้งต่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสองขั้วคือเหลืองกับแดง และผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย (ที่มาของภาพ: มังกรดำ) ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว…
หัวไม้ story
เรื่อง : สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ ภาพจาก : http://urbansea09.multiply.com/photos/album/1/Por_Border_Towns  
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง พันธมิตรฯ เดินสองแนวทางทั้งการขยายพรรคการเมืองใหม่ และพื้นที่การเมืองภาคประชาชน โดยในภาพนายสมศักดิ์ โกศัยสุข รองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) หนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และแกนนำ พธม.เชียงราย ร่วมพิธีตัดริบบิ้นเปิดสำนักงานพรรคเชียงราย ย่านบ้านดู่ ใกล้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อ 20 ธ.ค. 52 (ที่มา: “ก.ม.ม.” ปักธงเปิดสาขาเชียงรายสำเร็จ - หางแดงรวมตัวได้แค่ 3 ป่วนไม่ขึ้น, ASTVผู้จัดการออนไลน์, 21 ธ.ค. 2552)
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 10 ธ.ค. 52 (ที่มา: CBNpress) การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 10 ธ.ค. ผ่านไปอย่างเรียบร้อย โดยไม่มีเหตุยกคนมาล้อมคนเสื้อแดง อย่างที่สุนันท์ ศรีจันทรา นักวิเคราะห์ตลาดหลักทรัพย์ กล่าวเชิญชวนผ่านช่องเนชั่นฯ แต่อย่างใด
หัวไม้ story
  ทีมข่าวการเมือง   องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากลหรือ TI ที่มีสำนักงานที่เบอร์ลินเผยแพร่รายงานดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น (CPI) ประจำปี 2552 นิวซีแลนด์-เดนมาร์ก-สิงคโปร์-สวีเดน โปร่งใสสุด ไทยได้อันดับ 84 ขณะที่ผลสำรวจย้อนหลังพบว่าไทยเคยได้คะแนนดีที่สุดในปี 2548 ขณะที่ในรอบ 5 ปีมานี้คะแนนต่ำสุดช่วงรัฐบาลรัฐประหารในปี 2550
หัวไม้ story
ภาวะตลาดหุ้นและค่าเงินบาทของไทยดิ่งตัวลงอย่างฮวบฮาบเมื่อสัปดาห์ที่ ผ่านมาด้วยข่าวลือที่สื่อไทยไม่รายงานโดยตรงเลยแม้แต่สำนักเดียวว่าเป็นข่าว ลือเรื่องใด และแม้ตลาดหุ้นจะมีอาการกระเตื้องขึ้นอีกครั้งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ แต่ภาวะความไม่มั่นใจของนักลงทุนนี้ถูกวิเคราะห์จากสื่อทั้งสองแห่งว่าเป็น ผลโดยตรงจากความผันผวนและไร้หลักยึดของการเมืองไทยที่เป็นอาการป่วยสั่งสม แอนดรูว์ มาร์แชล จากรอยเตอร์ วิเคราะห์ผ่านบทวิเคราะห์เรื่อง ทำไมพระพลานามัยของพระมหากษัตริย์จึงส่งผลสะเทือนต่อตลาดหุ้น (อ้างอิงจาก http://www.reuters.com/article/latestCrisis/idUSSP406158 อัพเดทเวลา 6.39 น. วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม)…
หัวไม้ story
กรณีนี้ไม่ใช่กรณีเดียวที่เกิดขึ้น สำหรับเรื่องที่เรียกกันว่า ‘หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ หากแต่เป็นกรณีแรกๆ ที่ตัดสินใจต่อสู้คดี โดยไม่รับสารภาพ และเดินหน้าสู่การอภัยโทษดังที่เคยเป็น ต่อไปนี้เป็นลำดับเวลาตลอดระยะปีกว่า เนื้อหาการต่อสู้คดีบางส่วน รวมถึงวิธีคิดของเธอจากการสนทนาสั้นๆ แบบเก็บเล็กผสมน้อย
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง     คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 1) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 2) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 3) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 4) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)