ภาวะตลาดหุ้นและค่าเงินบาทของไทยดิ่งตัวลงอย่างฮวบฮาบเมื่อสัปดาห์ที่ ผ่านมาด้วยข่าวลือที่สื่อไทยไม่รายงานโดยตรงเลยแม้แต่สำนักเดียวว่าเป็นข่าว ลือเรื่องใด และแม้ตลาดหุ้นจะมีอาการกระเตื้องขึ้นอีกครั้งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ แต่ภาวะความไม่มั่นใจของนักลงทุนนี้ถูกวิเคราะห์จากสื่อทั้งสองแห่งว่าเป็น ผลโดยตรงจากความผันผวนและไร้หลักยึดของการเมืองไทยที่เป็นอาการป่วยสั่งสม
แอนดรูว์ มาร์แชล จากรอยเตอร์ วิเคราะห์ผ่านบทวิเคราะห์เรื่อง ทำไมพระพลานามัยของพระมหากษัตริย์จึงส่งผลสะเทือนต่อตลาดหุ้น (อ้างอิงจาก http://www.reuters.com/article/latestCrisis/idUSSP406158 อัพเดทเวลา 6.39 น. วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม) ระบุว่า ถึงแม้ว่าความกลัวเกี่ยวกับสุขภาพของกษัตริย์จะผ่านพ้นไป นักลงทุนก็ยังเป็นห่วงอย่างมากว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า ทั้งนี้เพราะ การเมืองไทยได้มาถึงทางแยกและทางตัน โดยประเด็นที่สาธารณชนไม่สามารถพูดกันได้อย่างเปิดเผยก็คือการสืบสันตติวงศ์ แม้จะมีความวิตกกันในเรื่องนี้ ขณะเดียวกันการเมืองไทยก็ตกอยู่ในภาวะแตกแยกด้วยการเมืองที่แบ่งเป็นสองขั้ว อย่างชัดเจน คือกลุ่ม "เสื้อแดง" ที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพวกเขาโกรธแค้นที่รัฐบาลที่พวกเขาเลือกมาถูกโค่นล้มโดยทหาร หรือตุลาการ และโดย "เสื้อเหลือง" -- ซึ่งเป็นรอยัลลิสต์ ทหาร และคนในเมืองที่สนับสนุนนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
\\/--break--\>
“ไม่ เคยมีการสนทนากันในสาธารณะเกี่ยวกับภยันตรายต่างๆเพราะประเทศไทยมีกฏหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เคร่งครัดซึ่งห้ามไม่ให้มีการพูดถึงบทบาทของ กษัตริย์และปัญหาที่ อาจเกิดขึ้น การวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตของสถานการณ์การเมืองแทบจะไม่มี และนักลงทุนต่างชาติก็มีข้อมูลไม่มากเกี่ยวกับความเสี่ยงที่พวกเขากำลัง เผชิญ
“แต่ นักวิเคราะห์กล่าวเป็นการส่วนตัวว่าอาจจะมีช่วงที่วุ่นวาย อยู่นานหรือแม้แต่ความไม่สงบ และนั่นคือสาเหตุที่ตลาดอ่อนไหวต่อข่าวลือเกี่ยวกับการประชวร”
มัน เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับสาธารณะที่จะพูดสิ่งที่ตนเองวิตกกังวลถึงสิ่งที่จะ เกิดขึ้นเมื่อรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระชนมายุ 81 พรรษาสิ้นสุดลง แต่ปฏิกิริยาของตลาดหุ้นไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งเสียงได้ดังกว่าถ้อยคำ
“มันแน่ชัดว่าถึงแม้ว่าความกลัวเกี่ยวกับสุขภาพของกษัตริย์จะผ่านพ้นไป นักลงทุนก็ยังเป็นห่วงอย่างมากว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า
“ไม่ เคยมีการสนทนากันในสาธารณะเกี่ยวกับภยันตรายต่างๆเพราะประเทศไทยมีกฏหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เคร่งครัดซึ่งห้ามไม่ให้มีการพูดถึงบทบาทของ กษัตริย์และปัญหาที่ อาจเกิดขึ้น การวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตของสถานการณ์การเมืองแทบจะไม่มี และนักลงทุนต่างชาติก็มีข้อมูลไม่มากเกี่ยวกับความเสี่ยงที่พวกเขากำลัง เผชิญ”
อาการพระประชวรส่งผลต่อการลงทุนในไทยเพราะนั่นหมายถึงความแกว่งอย่างรุนแรงต่อการเมืองไทยด้วย
บท วิเคราะห์จากรอยเตอร์ยังระบุด้วยว่า บทบาทของสถาบันกษัตริย์องค์ปัจจุบันได้รับความเคารพรักโดยทั่วไปจากคนไทยโดย ถือว่าทรงเป็นศูนย์รวมของความสามัคคีในประเทศที่กำลังมีความแตกแยก และแม้โดยรัฐธรรมนูญแล้วจะต้องทรงอยู่เหนือการเมืองแต่ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ทรงครองราชย์ได้ทรงมีบทบาทในทางการเมืองหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังในช่วง 3 ปีหลังการรัฐประหารเป็นต้นมา มีการเคลื่อนไหวที่ทำให้สาธารณชนเข้าใจไปว่าทรงสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทางการเมือง
แอ นดรูว์ มาร์แชลระบุวิเคราะห์ความวิตกกังวลต่อนักลงทุนนั้นมีมาก เพราะทรงเป็นเสมือนศูนย์กลสงท่ามกลางปมปัญหาทางการเมืองไทยที่เดินมาสู่จุด ที่เป็นเงื่อนตาย
“สิ่ง ที่ทำให้ประเด็นการสืบสันตติวงศ์เป็นเรื่องอันตรายมากตอนนี้ก็เพราะประเทศ ไทย ถูกผูกไว้กับความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมมาหลายปีระหว่างผู้ที่สนับสนุน และผู้ที่ต่อต้านอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรผู้ซึ่งถูกโค่นล้มโดยรัฐประหารสามปีก่อนและปัจจุบันลี้ภัยอยู่ต่าง ประเทศ
“พ. ต.ท.ทักษิณได้เข้ามามีอำนาจเมื่อปี 2544 และสัญญาที่จะดำเนินนโยบายเพื่อคนยากจน และได้ชนะการเลือกตั้งสมัยที่สองโดยเสียงข้างมากที่มากกว่าเดิมในปี 2548 การสนับสนุนจากคนยากจนในชนบทที่มากมายต่อพ.ต.ท.ทักษิณหมายความว่าเขาได้รับ เสียงมากพอที่จะบริหารประเทศโดยไม่จำเป็นต้องทำการต่อรองให้ผลประโยชน์กับ ข้าราชการและทหารหลังฉากเหมือนที่ทำอยู่โดยทั่วไป
“อำนาจ ที่เพิ่มมากขึ้นของพ.ต.ท.ทักษิณและฐานเสียงที่ไม่มีใครสามารถเจาะได้ รวมถึงข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่น ได้เป็นเสียงเตือนภัยกับชนชั้นสูงที่เดิมเป็นผู้มีอำนาจในประเทศ และทหารก็ได้ก่อรัฐประหารขึ้น
“ประเทศ ไทยตอนนี้แตกแยกเป็นสองกลุ่มที่เป็นปรปักษ์ต่อกันอย่างรุนแรงนั่นคือ กลุ่ม "เสื้อแดง" ที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพวกเขาโกรธแค้นที่รัฐบาลที่พวกเขาเลือกมาถูกโค่นล้มโดยทหาร หรือตุลาการ และกลุ่ม "เสื้อเหลือง" -- ซึ่งเป็นรอยัลลิสต์ ทหาร และคนในเมืองที่สนับสนุนนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
“ความ ขัดแย้งได้ก่อให้เกิดความไม่สงบหลายครั้งซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความ น่าลงทุนของของ ประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วผู้ประท้วงต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณปิดสนามบินสองแห่ง และในเดือนเมษายนที่ผ่านมาผู้ประท้วง "เสื้อแดง" บุกเข้าไปในที่ประชุมอาเซียนที่พัทยาซึ่งทำให้ต้องมีการยกเลิก การประชุมไป
“ประเทศซึ่งเคยจัดว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพของภูมิภาคกำลังถูกมองว่าเป็นประเทศที่ไร้สมรรถภาพ ในปี 2545 ดัชนี World Governance ของธนาคารโลกจัดให้ความมีเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทยอยู่ที่ 59.1 จาก 100 และเมื่อปี 2551 การจัดอันดับดิ่งลงอยู่ที่ 12.9”
เสถียรภาพระยะยาวที่นักลงทุนต้องการเห็นจะอยู่ห่างออกไปไกลอีก
บทวิเคราะห์จากรอยเตอร์ย้ำถึงสถานะของสถาบันกษัตริย์ในท่ามกลางความขัดแย้งว่า ในช่วงเวลา 3 ปีหลังรัฐประหารเป็นต้นมา ความขัดแย้งในดึงเอาสถาบันกษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผ่านการตีความการเคลื่อนไหวในทางการเมืองของสถาบันและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
“โดย ทฤษฎีแล้วสถาบันกษัตริย์ในประเทศไทยอยู่เหนือความแตกแยกทางการเมือง กษัตริย์ภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ที่ไม่มีอำนาจทางการเมืองเป็นทางการ และก็ได้รับความเคารพรักโดยทั่วไปจากคนไทยที่ถือว่า เป็นศูนย์รวมของความสามัคคีในประเทศที่กำลังมีความแตกแยก
“แต่ กระนั้น ในช่วงระยะเวลา 6 ทศวรรษที่ครองราชย์ พระบารมีทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ได้แผ่ขยายและทรงเข้าเกี่ยวข้องอย่าง เปิดเผย 3 ครั้งในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งระหว่างทหารและบุคคลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา วังถูกมองโดยคนไทยหลายคนว่าอยู่ฝ่ายที่ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ
“ประธาน องคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ สนิทสนมกับผู้ที่วางแผนรัฐประหาร และถูกมองว่าเป็นพันธมิตรกับ "เสื้อเหลือง" ขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เสด็จเข้าร่วมงานศพของผู้ ประท้วงสตรี "เสื้อเหลือง"
“ดัง นั้น ทางวังได้ถูกดึงเข้ามาในความขัด แย้ง และต่อมาความขัดแย้งบางส่วนก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับความเหมาะสมของบทบาทของ สถาบันกษัตริย์ ผู้สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้การเลือกตั้งเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะทำให้รัฐบาลที่พวกเขาเลือกมาสามารถบริหารได้โดยไม่มีชนชั้นสูงเข้ามา ก้าวก่าย
“ผู้ ที่สนับสนุนสถาบันฯ โต้แย้งว่าประชากรในชนบทไม่มีการศึกษาเพียงพอที่จะทำให้ประชาธิปไตยทำงานได้ ดังนั้นทหาร ข้าราชการ และชนชั้นสูงจึงต้องมีอำนาจควบคุมนโยบายโดยทั่วไป
“เป็น เพราะกษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพรักอย่างกว้างขวาง คนไทยมีความสบายใจต่อพระบารมีของพระองค์ และทุกฝ่ายในความขัดแย้งนี้ย้ำถึงความจงรักภักดีต่อบัลลังก์ แต่พระโอรสของกษัตริย์ภูมิพล **เซ็นเซอร์ **
“ผลลัพธ์ ก็คือการเคลื่อน ย้ายอย่างมหึมาของดุลอำนาจ "เสื้อแดง" น่าจะแสดงความกล้ามากขึ้นที่จะปฏิเสธอิทธิพลทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการปราบปรามโดยชนชั้นสูงที่กลัวว่าสถาบัน กษัตริย์จะสูญเสียอิทธิพล
“ความ ขัดแย้งที่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงไปแล้วจะขยายตัวขึ้นอีก และเสถียรภาพระยะยาวที่นักลงทุนต้องการเห็นจะอยู่ห่างออกไปไกลอีก”
ริชาร์ด ฟรอสต์ จากบลูมเบิร์ก วิเคราะห์เรื่องดังกล่าว ผ่านบทวิเคราะห์ “หุ้นตก ค่าเงินบาทร่วงรับการคาดการณ์เรื่องพระพลานามัยของกษัตริย์” ระบุ ว่าพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์มานานกว่า ๖ ทศวรรษ ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ ที่ผ่านการทำรัฐประหารที่สำเร็จและที่พยายามทำมาถึง ๑๕ ครั้ง ประกาศใช้รัฐธรรมนูญถึง ๑๖ ฉบับ และเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีมาถึง ๒๗ ครั้ง
ริ ชาร์ด ฟรอสต์อ้างการสัมภาษณ์นายโจนาธาน ชิสส์ ประธานภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกของบริษัทแอชเบอร์ตันซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่เจอร์ ซี่ ดูแลเงินลงทุนมูลค่าประมาณ ๖๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า “กษัตริย์ ทรงมีบทบาทสำคัญต่อสังคมไทยที่ทำให้อยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่น หากขาดพระองค์เสียแล้ว ย่อมสร้างความระส่ำระสายเพิ่มขึ้นท่ามกลางความสับสน”
ฟรอสต์ ระบุต่อไปว่า “พระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ภูมิพลซึ่งพระนามของพระองค์แปลว่า พลังของแผ่นดิน ถูกติดตั้งตามบ้าน และตามที่สาธารณะทั่วทั้งประเทศ ทรงเปรียบดังสมมุติเทพ และทรงทำการเปลี่ยนแปลงสถาบันกษัตริย์ที่ครั้งหนึ่งแค่เคยดำรงอยู่แค่ในนาม ให้กลับมามีบทบาทในทางการเมือง ท่ามกลางรัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลัง รัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่า”
แม้ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อไทยจะไม่ได้กล่าวอย่างชัดแจ้งว่าถึงข่าวลือที่ ‘รู้กัน’ว่า หมายถึงอะไร แต่สิ่งนี้สำหรับสื่อนอกพรมแดนรัฐไทยอาจกล่าวได้สะดวกใจกว่าดังที่บท วิเคราะห์ของรอยเตอร์ระบุไว้แต่ต้นว่า “มันเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับสาธารณะที่จะพูดสิ่งที่ตนเองวิตกกังวลถึงสิ่ง ที่จะเกิดขึ้นเมื่อรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระชนมายุ 81 พรรษาสิ้นสุดลง แต่ปฏิกิริยาของตลาดหุ้นไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งเสียงได้ดังกว่าถ้อยคำ”
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มพากย์ไทย โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ และ http://liberalthai.wordpress.com
Reuters: บทวิเคราะห์: ทำไมสุขภาพของกษัตริย์ไทยสามารถทำให้ตลาดตื่นตระหนก ANALYSIS-Why the Thai king's health can panic markets โดย Andrew Marshall นักข่าวทางด้านความเสี่ยงทางการเมืองของเอเซีย ที่มา Reuters แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ 18 ตุลาคม 2552 มันเป็นเรื่องที่ต้องห้ามสำหรับคนไทยที่จะพูดถึงความกลัวของพวกเขาเกี่ยวกับว่า อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อรัชกาลของกษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชซึ่งมีพระชนมายุ 81 พรรษา ได้สิ้นสุดลง แต่ปฏิกิริยาของตลาดหุ้นไทยเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมามันพูดออกมาได้ดังกว่าคำ พูด ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยได้ตกลงอย่างฮวบฮาบเมื่อวันพุธ และพฤหัส และค่าเงินบาทก็ได้อ่อนค่าลงเพราะความวิตกกังวลเรื่องสุขภาพของกษัตริย์ แม้จะมีการดีดตัวกลับวันศุกร์ แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าแม้แต่ข่าวลือเพียงนิดเดียวสามารถทำให้มีการเทขายหุ้น อย่างกระหน่ำ มันแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลของคนไทยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรัชกาล และการที่ตลาดจะถูกกระทบอย่างหนัก "อย่าเชื่อข่าวลือในตลาด ขอให้เชื่อแต่คำประกาศของสำนักพระราชวังเท่านั้น" โฆษกของสำนักพระราชวังกล่าว มันแน่ชัดว่าถึงแม้ว่าความกลัวเกี่ยวกับสุขภาพของกษัตริย์จะผ่านพ้นไป นักลงทุนก็ยังเป็นห่วงอย่างมากว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า ไม่ เคยมีการสนทนากันในสาธารณะเกี่ยวกับภยันตรายต่างๆเพราะประเทศไทยมีกฏหมาย หมิ่นฯที่เคร่งครัดซึ่งห้ามไม่ให้มีการพูดถึงบทบาทของกษัตริย์และปัญหาที่ อาจเกิดขึ้น การวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตของสถานการณ์การเมืองแทบจะไม่มี และนักลงทุนต่างชาติก็มีข้อมูลไม่มากเกี่ยวกับความเสี่ยงที่พวกเขากำลัง เผชิญ แต่นักวิเคราะห์กล่าวเป็นการส่วนตัวว่าอาจจะมีช่วงที่วุ่นวาย อยู่นานหรือแม้แต่ความไม่สงบ และนั่นคือสาเหตุที่ตลาดอ่อนไหวต่อข่าวลือเกี่ยวกับการประชวร ความแตกแยกและทางตัน สิ่ง ที่ทำให้ประเด็นการสืบทอดราชบัลลังก์มันอันตรายมากตอนนี้ก็เพราะประเทศไทย ถูกผูกไว้กับความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมมาหลายปีระหว่างผู้ที่สนับสนุน และผู้ที่ต่อต้านอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรผู้ซึ่งถูกโค่นล้มโดยรัฐประหารสามปีก่อนและปัจจุบันลี้ภัยอยู่ต่าง ประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณได้เข้ามามีอำนาจเมื่อปี 2544 และสัญญาที่จะดำเนินนโยบายเพื่อคนยากจน และได้ชนะการเลือกตั้งสมัยที่สองโดยเสียงข้างมากที่มากกว่าเดิมในปี 2548 การสนับสนุนจากคนยากจนในชนบทที่มากมายต่อพ.ต.ท.ทักษิณหมายความว่าเขาได้รับ เสียงมากพอที่จะบริหารประเทศโดยไม่จำเป็นต้องทำการต่อรองให้ผลประโยชน์กับ ข้าราชการและทหารหลังฉากเหมือนที่ทำอยู่โดยทั่วไป อำนาจที่เพิ่มมากขึ้นของพ.ต.ท.ทักษิณและฐานเสียงที่ไม่มีใครสามารถเจาะได้ รวมถึงข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่น ได้เป็นเสียงเตือนภัยกับชนชั้นสูงที่เดิมเป็นผู้มีอำนาจในประเทศ และทหารก็ได้ก่อรัฐประหารขึ้น ประเทศไทยตอนนี้แตกแยกเป็นสองกลุ่มที่ เป็นปรปักษ์ต่อกันอย่างรุนแรง กลุ่ม "เสื้อแดง" ที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพวกเขาโกรธแค้นที่รัฐบาลที่พวกเขาเลือกมาถูกโค่นล้มโดยทหาร หรือตุลาการ และโดย "เสื้อเหลือง" -- ซึ่งเป็นรอยัลลิสต์ ทหาร และคนในเมืองที่สนับสนุนนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความขัดแย้งได้ก่อ ให้เกิดความไม่สงบหลายครั้งซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความน่าลงทุนของของ ประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วผู้ประท้วงต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณได้ปิดกั้นสนามบินสองแห่ง และในเดือนเมษายนที่ผ่านมาผู้ประท้วง "เสื้อแดง" ได้บุกเข้าไปในที่ประชุมสูงสุดของเอเซียที่พัทยาซึ่งทำให้ต้องมีการยกเลิก การประชุมไป ประเทศซึ่งเคยจัดว่าเป็นที่ๆมีเสถียรภาพของภูมิภาคกำลัง ถูกมองว่าเป็นประเทศที่ไร้สมรรถภาพ ในปี 2545 ดัชนี World Governance ของธนาคารโลกจัดให้ความมีเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทยอยู่ที่ 59.1 จาก 100 และเมื่อปี 2551 การจัดอันดับดิ่งลงอยู่ที่ 12.9 บทบาทของสถาบันกษัตริย์ ในทางทฤษฎีแล้ว สถาบันกษัตริย์ในประเทศไทยอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง กษัตริย์ภูมิพลทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่มีพระราชอำนาจทางการเมืองเป็นทางการ และก็ทรงเป็นที่เคารพรักโดยทั่วไปจากคนไทยโดยถือพระองค์เป็นเสมือนศูนย์รวมของความสามัคคีในประเทศที่กำลังมีความแตกแยก แต่กระนั้น ในช่วงระยะเวลา 6 ทศวรรษที่ครองราชย์ พระบารมีทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ทรงแผ่ขยายและทรงเข้าเกี่ยวข้องอย่างเปิดเผย 3 ครั้งในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งระหว่างทหารและบุคคลที่มาจากการเลือกตั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา วังถูกมองโดยคนไทยหลายคนว่าเข้าข้างฝ่ายที่ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ สนิทสนมกับผู้ที่วางแผนรัฐประหาร และถูกมองว่าเป็นพันธมิตรกับ "เสื้อเหลือง" ขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เสด็จเข้าร่วมงานศพของผู้ ประท้วงสตรี "เสื้อเหลือง" ดังนั้นทางวังได้ถูกดึงเข้ามาในความขัด แย้ง และต่อมาความขัดแย้งบางส่วนก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับความเหมาะสมของบทบาทของ สถาบันกษัตริย์ ผู้สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้การเลือกตั้งเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะทำให้รัฐบาลที่พวกเขาเลือกมาสามารถบริหารได้โดยไม่มีชนชั้นสูงเข้ามา ก้าวก่าย ผู้ที่สนับสนุนสถาบันฯ โต้แย้งว่าประชากรในชนบทไม่มีการศึกษาเพียงพอที่จะทำให้ประชาธิปไตยทำงานได้ ดังนั้นทหาร ข้าราชการ และชนชั้นสูงจึงต้องมีอำนาจควบคุมนโยบายโดยทั่วไป เป็น เพราะกษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพรักอย่างกว้างขวาง คนไทยมีความสบายใจต่ออิทธิพลที่ท่านมี และทุกฝ่ายในความขัดแย้งนี้ย้ำถึงความจงรักภักดีต่อบัลลังก์ แต่พระโอรสของกษัตริย์ภูมิพล **เซ็นเซอร์ ** ผลลัพธ์ก็คือการเคลื่อน ย้ายอย่างมหึมาของดุลอำนาจ -- "เสื้อแดง" น่าจะแสดงความกล้ามากขึ้นที่จะปฏิเสธอิทธิพลทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการปราบปรามโดยชนชั้นสูงที่กลัวว่าสถาบัน กษัตริย์จะสูญเสียอิทธิพล ความขัดแย้งที่ได้ทำให้เกิดความเสีย หายอย่างรุนแรงไปแล้วจะขยายตัวขึ้นอีก และเสถียรภาพระยะยาวที่นักลงทุนต้องการเห็นจะอยู่ห่างออกไปไกลอีก ที่มา: http://thaienews.blogspot.com/2009/10/reuters-analysis-why-thai-kings-health.html หมายเหตุ: ประชาไทแก้ไขข้อความบางตอน |
บลูมเบิร์ก: หุ้นตก บาทร่วง การคาดการณ์พระสุขภาพของกษัตริย์ Thai Stocks, Baht Slump on King’s Health Speculation (Update3) October 14, 2009,By Richard Frost ที่มา – Bloomberg แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑ ดัชนีตลาดหุ้นไทย ดิ่งหนักที่สุดในรอบสองเดือนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทร่วงหนักที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ด้วยข่าวพระสุขภาพของกษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชพระชนมายุ ๘๑ พรรษาที่กำลังทรุดลง นายเดวิด ลีออง นักค้าหลักทรัพย์อาวุโสประจำสิงคโปร์จากเฟิร์ทสเตทอินเวสเม้นกล่าวว่า “มีข่าวลือว่ากษัตริย์ไทยทรงพระประชวรหนัก” นางภัทรียา เบญจพลชัย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอร้องนักลงทุน “อย่าได้ตื่นตูม” และกล่าวต่อว่า การซื้อขายที่มูลค่าลดลง ไม่ได้ขี้นอยู่กับ “สาเหตุที่ผิดปกติ” เจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังที่ไม่ประสงค์จะออกนาม ปฎิเสธที่จะแสดงความเห็นในเรื่องนี้ กษัตริย์ทรงครองราชย์มานานกว่า ๖ ทศวรรษ ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ ที่ผ่านการทำรัฐประหารที่สำเร็จและที่พยายามทำมาถึง ๑๕ ครั้ง ผ่านการประกาศใช้รัฐธรรมนูญถีง ๑๖ ฉบับ และเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีมาถึง ๒๗ ครั้ง รัฐบาลได้ประกาศออกมาแล้วว่า กษัตริย์องค์ต่อไปคือเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ซึ่งทรงรับราชการเป็นนายทหาร นายโจนาธาน ชิสส์ ประธานภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกของบริษัทแอชเบอร์ตันซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่เจอร์ซี่ ดูแลเงินลงทุนมูลค่าประมาณ ๖๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า “กษัตริย์ทรงมีบทบาทสำคัญต่อสังคมไทยที่ทำให้อยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่น หากขาดพระองค์เสียแล้ว ย่อมสร้างความระส่ำระสายเพิ่มขึ้นในความสับสน” ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วงลงมากที่สุดถึงร้อยละ ๒ นับตั้งแต่วันที่ ๑๗ สิงหาคม และปิดที่ ๗๓๑.๔๗ จุด เคยร่วงลงมากถึงร้อยละ ๔.๓ เมื่อนักลงทุนต่างประเทศต่างเทขายมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ ค่าเงินบาทดิ่งลงร้อยละ ๐.๕ อยู่ในอัตรา ๓๓.๔๕ บาทต่อดอลล่าห์ เป็นเงินตราสกุลเดียวในประเทศแถบเอเซียที่ลดค่าลง จากจำนวนค่าเงินใน ๑๐ สกุลเงินตราที่ใช้มากที่สุดในแถบเอเซีย ไม่รวมถึงเงินเยน พระอาการ “คงที่” กษัตริย์ภูมิพล ที่ทรงครองราชย์มายาวนานที่สุดในโลก จากการแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังว่า พระองค์ทรงประทับรักษาพระวรกายที่โรงพยาบาลศิริราชนับตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ด้วยพระอาการมีพระปรอท ทรงอ่อนเพลีย และเสวยพระกระยาหารได้น้อยลง สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เมื่อวานนี้ว่า “พระอาการโดยทั่วไปคงที่ เสวยพระกระยาหารได้ และทรงบรรทมได้ดี” นางภัทรียาให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวสั้นๆที่ตลาดหุ้นในกรุงเทพวันนี้ว่า “ตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ ๖๐ ในปีนี้” และกล่าวต่อว่า “ตลาดหุ้นมีการปรับตัวเอง ก่อนที่นักลงทุนจะเริ่มได้รับผลกำไร เราไม่เห็นสาเหตุผิดปกติใดๆที่ทำให้หุ้นตก” ดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวขึ้นถึงร้อยละ ๖๓ ในปีนี้ เมื่อเทียบกับดัชนี MSCI Asia Pacific ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๖ ซึ่งไม่นับรวมญี่ปุ่น พระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ภูมิพลที่ได้ติดตั้งตามบ้าน และตามที่สาธารณะทั่วทั้งประเทศ พระนามของพระองค์หมายถึง “ทรงเป็นพลังของแผ่นดิน พระบารมีแผ่ไพศาลหาที่เปรียบไม่ได้” กษัตริย์ทรงเปรียบดังสมมุติเทพ ซึ่งทรงทำการเปลี่ยนแปลงสถาบันกษัตริย์ที่ครั้งหนึ่งแค่เคยดำรงอยู่แค่ในนาม ให้กลับมามีบทบาทในทางการเมือง ท่ามกลางรัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลัง รัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่า พระบิดาของแผ่นดิน ณ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งพระองค์ทรงประทับรักษาพระวรกาย ได้มีพสกนิกรเข้าแถวเพื่อลงชื่อถวายพระพรให้ทรงหายประชวรตลอดหลายอาทิตย์ ตำรวจถวายความอารักขา และคอยอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปร่วมลงนามในโรงพยาบาล นายประดิษฐ์ เอมปัน ชาวนาจากจังหวัดนครสวรรค์ทางภาคเหนือของไทยวัย ๔๓ ปี ซึ่งได้เดินทางมายังโรงพยาบาลศิริราชถึงสี่ครั้งนับตั้งแต่วันแรกที่กษัตริย์ทรงเข้ารับรักษาพระวรกายในวันที่ ๑๙ กันยายน กล่าวว่า “พระองค์ทรงเป็นที่รัก เปรียบเหมือนพ่อของแผ่นดิน” “ถ้าขาดพระองค์แล้ว ประเทศเราจะต้องแตกสลาย” นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ที่กองทัพได้เข้าปล้นอำนาจจากอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ประเทศไทยเผชิญหน้ากับสังคมที่แบ่งแยกด้วยรหัสของสี ระหว่างคนเมืองหลวงที่มีฐานะดีกว่า กับฝ่ายซึ่งมีฐานเสียงในชนบททางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่แล้ว ผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองคลั่งเจ้าบุกเข้ายึดสนามบินกรุงเทพเป็นเวลาแปดวัน เพื่อทำการขับไล่พรรคของทักษิณ และยุติการประท้วงเมื่อศาลมีคำสั่งให้ยุบพรรคในข้อหาซื้อเสียงจากการเลือกตั้งปี ๒๕๕๐ ผู้ประท้วงกล่าวหาทักษิณและผู้สนับสนุนว่าฉ้อโกง และต้องการจะยกเลิกสถาบันกษัตริย์ การชุมนุมเรียกร้องทักษิณ เมื่อต้นปีนี้ มวลชนเสื้อแดงมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนฝ่ายสนับสนุนทักษิณได้ออกมาชุมนุมหน้าบ้านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เสื้อแดงอ้างว่า รัฐธรรมนูญที่กองทัพร่างขึ้นหลังการทำรัฐประหารให้อำนาจต่อศาล ข้าราชการ และองคมนตรีมากเกินไป และทำลายบุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน ภายใต้ระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศไทย กษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และบริหารแผ่นดินโดยผ่านนายกรัฐมนตรีและทางรัฐสภา กฎหมายทุกฉบับจะต้องลงพระปรมาภิไธยโดยกษัตริย์ก่อนที่จะนำไประกาศใช้ ผู้กระทำการหมิ่นราชวงศ์อาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง ๑๕ ปี ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีน้ำหนักในการลงทุนมากที่สุดของตลาดในประเทศ ร่วงลงร้อยละ ๒.๒ อยู่ในราคา ๒๖๗ บาท บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) สายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เสียหายร้อยละ ๔.๓ ในราคาที่ ๒๒.๓๐ บาท ตกลงมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้สินเชื่อซึ่งมีสินทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ ร่วงลงถึงร้อยละ ๓.๑ ในราคาที่ ๘๗ บาท มากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ควบคุมโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งปฎิบัติการลงทุนในนามราชวงศ์ |
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Thai Stocks, Baht Slump on King’s Health Speculation (Update3) http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&sid=aWSLmdQccvyo
ANALYSIS-Why the Thai king's health can panic markets
http://www.reuters.com/article/latestCrisis/idUSSP406158