แม่สาย - ท่าขี้เหล็ก: ความงามในความย้อนแย้ง

เรื่อง : สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์
ภาพจาก : http://urbansea09.multiply.com/photos/album/1/Por_Border_Towns

 

ท่าขี้เหลือ รูปที่ 1

ท่าขี้เหลือ รูปที่ 2

\

หากนึกย้อนไปถึงวันวาน เวลาที่เราพูดถึงสินค้าที่มีคุณค่าจากพม่า เราคงนึกถึงอัญมณีสีแดงสวยคุณภาพดีอย่าง "ทับทิมพม่า" หนึ่งในหลายๆ แหล่งที่เราจะหาซื้ออัญมณีชนิดนี้ได้ก็จากแม่สายซึ่งอยู่ติดกับฝั่งเมืองท่าขี้เหล็ก เมืองชายแดนของรัฐฉานในพม่ากับไทย แม้ว่าอัญมณีชนิดนี้จะได้มาจากการที่ประชาชนชาวพม่าต้องทนตรากตรำทำงานในเหมืองขุดพลอย ภายใต้การกดขี่ของรัฐบาลทหารพม่าก็ ตาม แต่ทุกวันนี้ หากเราพูดถึงสินค้าจากพม่า สิ่งแรกที่คนมักจะนึกถึงคือ สินค้าพวกดีวีดีภาพยนตร์ หรือซีดีเพลงที่ไม่มีลิขสิทธิ์ และสินค้าที่ลอกเลียนแบรนด์เนมต่าง ๆ ทั้งหลาย ที่มีราคาถูกกว่าแบรนด์เนมของแท้มาก ทั้งเสื้อเชิ้ต, กระเป๋าสตรี, รองเท้า, โทรศัพท์มือถือ, เครื่องเล่น MP3 ฯลฯ สินค้าเหล่านี้เราก็รู้ดีกันว่าผลิตและนำเข้ามาประเทศจีน

ทว่าหลายคนที่เคยมาเยือนท่าขี้เหล็กในอดีตอาจคิดถึงเมืองที่เคยดูเงียบสงบกว่านี้ และอยากให้ท่าขี้เหล็กในปัจจุบันกลับไปเป็นเช่นเดิม ภาพของท่าขี้เหล็กในช่วงราว 20-30 ปีที่แล้วยังคงสว่างไสวอยู่ในความทรงจำ ในอดีตครั้งยังเป็นเด็ก ฉันต้องเดินทางไปที่นั่น 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์เพราะแม่มีอาชีพค้าขายพลอย แม่องฉันต้องติดต่อซื้อขายอัญมณี ข้ามไปมาสองฝั่ง มานานกว่า 30 ปี และเจ้าหุ่นไม้ของพม่าที่แขวนอยู่หน้าร้านก็มักจะทำให้ฉันกลัวอยู่ทุกครั้งไป ฉันจำได้ว่ามีสินค้าสิ่งทอมากมายทั้งกระเป๋า, เสื้อผ้า, ภาพติดผนังเย็บมือที่เป็นรูปช้าง, ม้า, นกยูง, และพวกสินค้าของป่า ทั้งยังมีอาหารไทใหญ่ขาย นอกจากนั้นก็จะเป็นสินค้าจากประเทศจีน พวกช็อกโกแล็ต, ผลไม้แห้ง, สาหร่ายทะเล ขายอยู่ในตลาดฝั่งท่าขี้เหล็ก

 

ท่าขี้เหลือ รูปที่ 3

ท่าขี้เหลือ รูปที่ 4

ภาพของท่าขี้เหล็กที่ฉันได้เห็นจากการไปเยือนครั้งหลังสุด ทั้งถนนและอาคารภายนอกยังคงดูไม่ต่างจากในอดีตมากนัก เพียงแต่ภายในร้านมีสภาพเปลี่ยนไป สินค้าทั้งหมดถูกเอาวางบนชั้น ของที่ขายมีทั้งดีวีดีปลอดลิขสิทธิ์ รองเท้า เสื้อผ้า กระเป๋า มือถือ และสินค้ายี่ห้อดังอื่น ๆ สินค้าทั้งหลายเหล่านี้ผลิตในจีน และแทบจะเรียกได้ว่าเป็นผิดกฏหมายในไทย แม้ว่าจะมีป้ายสีน้ำเงินใหญ่ ๆ เขียนด้วยตัวหนังสือสีขาวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ห้ามไม่ให้นำของผิดกฏหมายจากพม่าเข้ามายังฝั่งไทย แต่นักท่องเที่ยวทั้งหลายต่างก็ยังคงจับจ่ายสินค้าอย่างสนุกสนาน และนำสินค้าเหล่านั้นข้ามผ่านพรมแดนกลับมาได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ ทางฝั่งพม่าเองก็ห้ามนำสินค้าหลายประเภทจากไทยเข้าพม่าเช่นกัน เช่น ผงชูรส, น้ำอัดลม, เหล้าเบียร์ ฯลฯ แต่ก็มีคนนำของเหล่านี้ข้ามพรมแดนไปใช้เป็นการส่วนตัว รวมถึงไม่ต้องมีการจ่ายภาษีด้วย

แม่สาย - ท่าขี้เหล็ก เมืองสองเมืองที่มีพรมแดนติดกันนี้จึงมีทั้งความเหมือนและความต่าง มีวัฒนธรรมและภาษาที่คละเคล้าปะปนกันไป สิ่งสำคัญคือการค้าที่อาศัยสินค้าจากหลายแหล่ง แต่หลัก ๆ แล้วก็มาจากจีน คนที่ทำงานที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทยนั้น เป็นข้าราชการที่ดำเนินการตรวจสอบเอกสารเต็มรูปแบบ ขณะที่ทางฝั่งพม่ามีทหารจำนวนมากในสำนักงานฯ โต๊ะเอกสารที่วางเปล่า ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สำนักงานทั่วไป และมีไม่กี่คนที่คอยเก็บค่าธรรมเนียมและประทับตราผ่านแดน ภาพนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลทหารพม่าใช้ทหารควบคุมพื้นที่การค้านี้ไว้อย่างเบ็ดเสร็จ และการค้าขายนี่เองที่มีส่วนทำให้ทั้งแม่สายและท่าขี้เหล็กถูกทำให้กลายเป็นเมืองชายแดนที่น่าสนใจ นอกจากนี้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของแม่สายไม่ได้มาจากการควบคุมอย่างหลวม ๆ ของภาครัฐแต่กอปรกับ การพ่ายแพ้อย่างราบคาบจากการสู้รบของกองกำลังไทยใหญ่ ว้า กับรัฐบาลพม่าด้วย เมืองท่าขี้เหล็กจึงถูกทหารพม่าเข้ามาแทรกแซง ควบคุมทางการค้าได้ทั้งหมด อีกทั้งการเติบโตพัฒนาเมืองของแม่สาย ก็เกิดจากการผสมผสานระหว่างการควบคุมของรัฐที่เข้มข้นเพราะความเป็นเมืองชายแดน ประเด็นความมั่นคงของชาติ และยาเสพติดเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ยังโตขึ้นได้ด้วยการค้าชายแดน โดยเฉพาะสินค้าเครื่องมือเครื่องใช้ปลอดภาษี ละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งหลายด้วย

 

ท่าขี้เหลือ รูปที่ 5

ปัจจุบันนี้ การเดินทางไปอำเภอแม่สายก็ง่ายดายและสะดวกรวดเร็วกว่าแต่ก่อนมาก การพัฒนาสภาพถนนก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเส้นทางการค้าระหว่างไทย, พม่า และจีน แต่การค้าระหว่างพม่ากับจีนก็ยังคงมีอะไรกุกกักอยู่บ้างเพราะรัฐบาลทหารพม่านั้นเดาทางยาก อย่างไรก็ตาม การค้าข้ามพรมแดนระหว่างแม่สายกับท่าขี้เหล็กในทุกวันนี้ทำเงินได้มหาศาล และแม่สายก็กลายเป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวจะใช้ข้ามไปจับจ่ายซื้อของ พูดตรง ๆ คือมีน้อยคนนักที่จะเน้นข้ามไปท่องเที่ยวชมเมืองหรือชมวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีจำนวนไม่มากนักที่ข้ามไปท่าขี้เหล็กเพื่อจะไปเยี่ยมชมเมืองเชียงตุง ในรัฐฉาน

นับแต่ประเทศจีนมีนโยบายเปิดการค้าเสรี ที่ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน สนับสนุนการพัฒนาการค้าภาคเอกชน และเข้าร่วมองค์กรการค้าโลก (WTO) การขยายตลาดของจีนกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้สหรัฐฯ เริ่มกังวลในเรื่องลิขสิทธิ์ ทางด้านไทยเองแม้จะมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสหรัฐฯ มายาวนาน แต่ข้อตกลงการค้าเสรีก็ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการเจรจาถูกต่อต้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมในไทยที่เกรงว่าจะเกิดผลกระทบกับสิทธิของเกษตรกรและกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่กังวลว่าเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาจะกระทบการเข้าถึงยา

ท่าขี้เหลือ รูปที่ 6
แม่ค้าขายอาหารไทยใหญ่บนถนนท่าขี้เหล็ก

มาจนถึงจุดนี้ ในแง่หนึ่งแล้วการค้าระหว่างพรมแดนแม่สายและท่าขี้เหล็กเจริญขึ้นมาได้ด้วยแนวคิดของชนชั้นและความเป็นสมัยใหม่ด้วย มีผู้ที่เคยศึกษาเรื่องแรงงานอพยพในกรุงเทพฯ โดยการศึกษาผ่านประสบการณ์ของคนงานหญิงและวิถีการบริโภค (อาจรวมทั้งหญิงและชาย) มันทำให้เราทราบว่าทำไมผู้คนถึงต้องใช้สินค้าแบรนด์เนมเพื่อปรับตัวกับสังคมสมัยใหม่ เพื่อดำเนินชีวิตแบบเดียวกับชาวเมืองทั่วไป ในขณะเดียวกันก็มีรายได้น้อยกว่าชนชั้นกลางระดับบนทั่วไป แต่การอุปโภคบริโภคสินค้าบางอย่าง มันทำให้บุคคลเหล่านี้แสดงตัวตัวที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

โดยสรุปแล้ว ความเป็นเมืองที่มักมาพร้อมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเติบโตทางการค้า และระบบพวกนี้ก็พัฒนาตาม 'ความต้องการของมนุษย์' บวกกับการให้คุณค่าของสังคมสมัยใหม่ และอีกส่วนหนึ่งก็ย่อมมาจากการจัดการหรือควบคุมอย่างใดอย่างหนึ่งจากรัฐหรือระหว่างรัฐด้วย ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐควบคุมบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด หรือปิดตากับการกระทำบางอย่างก็ตามแต่ โดยแม้ว่ารัฐบาลไทยพยายามรณรงค์เรื่องการต่อต้านสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ และพยายามฟื้นฟูการเจรจาเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ แต่รัฐบาลไทยยังคงกอบโกยผลประโยชน์กับผู้บริโภค, นักท่องเที่ยว, พ่อค้าแม่ค้า, และผู้ดำเนินธุรกิจอื่นๆ ต่อไป

ท่าขี้เหลือ รูปที่ 7
รถทัวร์ที่มาส่งผู้โดยสารยังแม่สาย - ท่าขี้เหล็ก

อีกทั้งในขณะที่พวกเราได้ชมภาพยนตร์ฮอลลีวูดและฟังเพลงที่หลากหลายตามกระแสวัฒนธรรมตะวันตกอย่างไม่ตกเทรนด์ จากแผ่นเพลงหรือแผ่นหนังถูกที่ผลิต ในจีน สิ่งที่ผิดกฏหมายในไทย ยังคงข้ามไปซื้อได้ในพม่า และนำกลับมาในไทยได้กันต่อไป แม้ฟากหนึ่งสหรัฐฯ จะกำลังคว่ำบาตรทางการค้ากับพม่าโดยอ้างว่าพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในอีกมุมหนึ่ง เศรษฐกิจของพม่าก็ได้รับการอุ้มชูจากไทย, สิงคโปร และจีน นอกจากนี้แล้วจีนก็ยังถูกวิจารณ์เรื่องโครงการพัฒนาที่จะไปขูดรีดทรัพยากรจากพม่า แต่เราก็ยังคงมีความสุข ปิติยินดีไปกับการได้บริโภคของถูกจากจีน จับจ่ายซื้อของในราคาที่คนรายได้น้อยสามารถจะหาซื้อมาได้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ให้ความสำคัญกับค่าของสินค้านำเข้า ของแบรนด์เนมทั้งหลาย พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการเล็กๆ ก็มีรายได้ จากธุรกิจการค้าแบบเป็นสายโซ่ที่ยาวเหยียดและซับซ้อนนี้ ฉันเข้าใจว่าการดำเนินชีวิตของเรามันช่างย้อนแย้งเสียจริง มันน่าศึกษาค้นคว้า มันกลายเป็นคำถามที่น่าสนใจ ...แต่ฉันก็ไม่แน่ใจว่าพวกเราจะตอบมันได้ดีขนาดไหน

ความเห็น

Submitted by หมะเมียะ on

รักพี่ปอ มากมายด์ (^ 3 ^)

Submitted by 666 on

ชอบความว่า "ย้อนแย้ง" จังเลยครับ รู้สึกว่าคนใช้คำนี้นี่มัน "เท่" จริงๆ เลยครับ

ย้อนแย้ง ย้อนแย้ง ย้อนแย้ง ขอเสนอแนะว่าเวลาพูดให้ทำจมูกบานๆ เหมือนน้องทรายด้วยนะครับ ย้อนแย้ง ย้อนแย้ง ย้อนแย้ง 555555555

2 คำถามเรื่องหลักการในข่าว “แดง” จับ “แดง”

กรณี “แดงจับแดง” ที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไม่ควรถูกมองว่าเป็นแค่เรื่องเข้าใจผิด หรือเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวและจบกัน แต่นี่คือเป็นปัญหาท่าที และหลักการของแกนนำซึ่งไปช้ากว่ามวลชนอย่างสม่ำเสมอ

M79 และผองเพื่อน: สิ่งเบี่ยงเบนข่าวสารราคาย่อมเยา

วิธีกลบข่าวแบบบ้านๆ ไทยๆ ไม่ต้องลงทุนมากก็กลบมันด้วยน้อง M79 ลูกกระสุนสนนราคาละไม่กี่ร้อย แต่ก็ได้พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งกลบข่าวคนเป็นหมื่นเป็นแสนที่ออกมาไล่รัฐบาลในขณะนี้

โอกาสเดียว 'ยึด' และ 'ยึดหมด' : ข่าวคดียึดทรัพย์ในสายตานักข่าวเทศ

สื่อต่างประเทศให้ความสนใจกับข่าวการเมืองในไทยกันหนาแน่นตลอดสัปดาห์นี้ ยิ่งใกล้วันศุกร์ วันที่สื่อทั้งหลายเรียกมันว่า judgement day มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งลงข่าวและบทวิเคราะห์กันคึกคักมากขึ้นเท่านั้น ประเด็นของการรายงานของสื่อนอกเน้นหนักไปที่สองเรื่องใหญ่คือ แนวทางของคำพิพากษาที่จะออกมา กับผลสะเทือนทางการเมืองจากการตัดสินหนนี้ ทั้งต่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสองขั้วคือเหลืองกับแดง และผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย

(ที่มาของภาพ: มังกรดำ) ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ถือเป็นการกลับเมืองไทยครั้งแรกนับตั้งแต่เขาออกจากประเทศไปประชุมที่องค์การสหประชาชาติและเกิดการรัฐประหารโค่นอำนาจเขาเมื่อ 19 กันยายน 2549 ต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เขาเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้งโดยไม่กลับมาฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีที่ดินรัชดา ล่าสุดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทอีกคดี นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สื่อทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจต่อเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย