Skip to main content

อินเตอร์เนต & การเมือง

พิณผกา งามสม

ปรากฏการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองบนเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในไทยอยู่ขณะนี้ เป็นพื้นที่การต่อสู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันสื่อกระแสหลักก็เปลี่ยนหรือขยายเป้าหมายจากการช่วงชิงพื้นที่ในตลาดสิ่งพิมพ์มาสู่ตลาดแห่งใหม่ในโลกไซเบอร์

นักวิชาการด้านสื่อสารสนเทศ สังคมวิทยา และรวมถึงนักรัฐศาสตร์ในโลกก็เริ่มขยายการศึกษาวิจัยมาสู่พื้นที่ใหม่ที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน โลกวิชาการระดับนานาชาติผลิตงานศึกษาวิจัยถึงบทบาทของอินเตอร์เน็ตกับการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีข้อเสนอว่า อินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดในโลกจริง เป็นต้นว่า การได้แสดงออกอย่างฉับพลันทันที การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยปราศจากข้อจำกัดเรื่องระยะทาง เป็นต้น

น่าสนใจว่า การปฏิบัติต่อพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่นี้ในสังคมไทยกลับได้รับการต้อนรับที่ค่อนข้างเฉยชาจากนักวิชาการเมืองไทยอยู่พอสมควร มิหนำซ้ำยังให้ราคากับการโพสต์ข้อความในอินเตอร์เน็ตต่ำกว่างานวิชาการที่ได้การตีพิมพ์ ดังเช่นกรณีที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เคยพบกับข้อกล่าวหานี้ในช่วงแรกๆ ที่เขาเริ่มเข้ามาสร้างวิวาทะในเว็บบอร์ดต่างๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงวันนี้ ที่การสื่อสารในโลกอินเตอร์เน็ตมีบทบาทยิ่งต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย ทั้งเพื่อต้านระบอบทักษิณ และทั้งในแง่การต้านการรัฐประหาร จะต้านเผด็จการศักดินา หรือเผด็จการทุนนิยมสามานย์ก็ตามแต่ สังคมไทยได้ใช้เครื่องมืออันใหม่นี้อย่างเมามันและมีประสิทธิภาพยิ่ง...นี่ไม่ใช่สิ่งใหม่ในโลก แต่มันเกิดขึ้นในหลายๆ ที่ ด้วยบริบทที่แตกต่างกันไป

 

กรณีศึกษามาเลเซีย รัฐบาลมั่นคง สื่อกระแสหลักอ่อนแอ สังคมออนไลน์เข้มแข็ง
ยังไม่มีใครพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างการกดทับในโลกจริง กับการระเบิดออกในโลกอินเตอร์เน็ต แต่หากพิจารณากรณีที่เกิดขึ้นในประเทศมาเลเซีย ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการรัฐสภา ผนวกกับเศรษฐกิจแบบพวกพ้องของรัฐบาลที่นำโดยแนวร่วมพรรคแห่งชาติมาเลเซีย หรือ อัมโน ซึ่งดำเนินมาต่อเนื่องยาวนานนับแต่การเกิดขึ้นของประเทศที่ชื่อมาเลเซีย การแสดงความเห็นอย่างวิพากษ์วิจารณ์และการรวมกลุ่มกันในที่สาธารณะนั้นอาจนับเป็นความผิดได้หลายกระทง โดยมีกฎหมายความมั่นคงภายใน หรือกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติเป็นเครื่องมือในการปราบปรามอย่างรุนแรง

ในข้อด้อยมีข้อดี เมื่อรัฐบาลที่มีเสถียรภาพสูงมากอย่างอัมโนวางแนวทางการพัฒนาชาติระยะยาว และสามารถดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่อง โครงการที่เป็นหนามยอกอกรัฐบาลอัมโนก็ได้ผลเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นคือโครงการ Multimedia Super Corridor ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาไอทีขนาดที่ฝันว่าจะเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยทีเดียว โดยแนวทางนี้ ในเวลาไม่ช้านาน ประชากรชาวมาเลเซียราว 28 ล้านคนจะสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ถึง 14 ล้านคน นั่นคือครึ่งหนึ่งของคนมาเลเซียทั้งหมด และหายนะของอัมโนก็มาถึง.....

นักกิจกรรมทางสังคมที่ต้องพบเจอเครื่องกีดขวางนานาประการจากกฎหมายอันเคร่งครัด และแนวปฏิบัติอันเฉียบขาดในการกวาดล้าง หรือทำให้ผู้เห็นต่างเงียบเสียงลงในโลกจริง พวกเขาหันมาสู่การเป็น ‘บล็อกเกอร์’ และใช้พื้นที่ของตัวเองอย่างทรงประสิทธิภาพ การเลือกตั้งมาเลเซียครั้งล่าสุด ที่พรรคฝ่ายค้านได้คะแนนเสียงเป็นประวัติการณ์นั้น มีนักกิจกรรมที่เป็นบล็อกเกอร์อยู่ 4 คน ในจำนวนนั้น มี เทียน ฉัว ( www.tianchua.net) ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารของพรรคเกออาดิลัน ซึ่งเป็นพรรคแกนนำของฝ่ายค้านอยู่ในขณะนี้

ในโลกจริง เทียน ฉัว ถูกจับเข้าคุกเนื่องจากการเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานและการเมืองหลายครั้ง แต่ในอินเตอร์เน็ต บล็อก (blog) ของเขาเป็นบล็อกยอดนิยม

เทียน ฉัว เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในระดับปัจเจก แต่สิ่งที่ผลักเทียน ฉัว เข้าสู่รัฐสภาของมาเลเซียมีมากกว่านั้น

โดยแนวนโยบายของ Muiltimedia Super Corridor เอง มีข้อจำกัดในการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มิฉะนั้นย่อมเป็นจุดอ่อนในทางการค้าพาณิชย์ แม้ว่าจะมีมีกฎหมายถึง 9 ฉบับที่คนใช้อินเตอร์เน็ตในมาเลเซียจำต้องระมัดระวังก็ตาม

เมื่อรัฐบาลมาเลเซียผลัดมือสู่นายกฯคนใหม่ผู้มีเสน่ห์ทางการเมืองด้อยกว่ามหาเธร์อย่างเทียบชั้นกันไม่ได้ การเคลื่อนไหวในมาเลเซียผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นดูเหมือนจะเติบโตผกผันกับความนิยมในรัฐบาลอัมโนเลยทีเดียว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บล็อกเกอร์และนักท่องอินเตอร์เน็ตของมาเลเซียรวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวประเด็นทางการเมืองทั้งในโลกไซเบอร์ครั้งใหญ่อย่างน้อย 3 ครั้ง ประเด็นแรกเป็นเรื่องคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวพันกับนักการเมืองระดับสูงในรัฐบาล ที่กิจกรรมในโลกไซเบอร์นานาชาติคุ้นเคย กรณีของอาทันตูยา (Altantuya) หญิงสาวชาวมองโกเลียซึ่งถูกฆาตกรรม กลายเป็นข่าวใหญ่ แต่สื่อกระแสหลักรายงานว่า เธอเป็นนางแบบธรรมดาๆ ทว่าในโลกไซเบอร์ บรรดาบล็อกเกอร์ให้ข้อมูลตรงกันว่า เธอเป็นนายหน้าค้าอาวุธ และการฆาตกรรมครั้งนี้เกี่ยวพันกับการคอร์รัปชั่นในรัฐบาลอย่างแยกไม่ออก

กรณีที่ 2 เมื่อบล็อกเกอร์ชื่อดัง 2 ราย เจฟ อุย (www.jeffooi.com) และ ซูซาน ลูน (sloone.wordpress.com) ถูกหนังสือพิมพ์นิวสเตรทไทม์ ฟ้องละเมิดเนื่องจากบล็อกเกอร์ทั้งสองอาจหาญไปวิพากษ์วิจารณ์การรายงานข่าวของนิวสเตรทไทม์ ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยบริษัทการลงทุนของอัมโน บล็อกเกอร์ชาวมาเลย์ได้รวมตัวกันสื่อสารประเด็นนี้ไปยังนักกิจกรรมในโลกไซเบอร์อื่นๆ และได้รับความร่วมมือในการรณรรงค์กรณีดังกล่าวอย่างกว้างขวาง

กรณีสุดท้ายที่เขย่าขวัญรัฐบาลมาเลเซียครั้งใหญ่ คือขบวนการ BERSIH ซึ่งเป็นการรวมตัวกันกว่า 40 องค์กรระหว่างพรรคฝ่ายค้าน และองค์กรแรงงาน รวมถึงองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในมาเลเซียเพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และเป็นธรรม หัวหาดในการสื่อสารอยู่ที่ http://bersih.org

พลังการสื่อสารผ่านเว็บไซต์ที่ดำเนินมายาวนานได้ระเบิดออกเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2550 เป็นการเดินขบวนของนักเคลื่อนไหวและประชาชนชาวมาเลเซียกว่า 40,000 คน โดยใช้เวลาถึง 2 วัน 2 คืน นี่เป็นเรื่องไม่ปกติสำหรับมาเลเซียที่กฎหมายความมั่นคงถูกใช้อย่างเข้มงวด และสิ่งที่เขย่ารัฐบาลมาเลเซียตามมาติดๆ ก็คือผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมานั่นเอง

ถามว่า แล้วสื่อมวลชนที่ควรจะอยู่ข้างประชาชนไปอยู่ไหนเสียเล่า คำตอบคือ อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของพรรครัฐบาล ภายใต้การนำของอัมโน สื่อกระแสหลักล้วนถือหุ้นโดยรัฐบาล และสื่อกระแสหลักที่ทรงอิทธิพลที่สุดก็หนีไม่พ้น นิวเสตรทไทม์ ซึ่งทำหน้าที่กระบอกเสียงของรัฐบาล กระทั่งเป็นสื่อในฝันของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้นำของไทยเลยทีเดียว

ไทย : การตั้งไข่ของนักเคลื่อนไหวโลกไซเบอร์ภายใต้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
เราอาจจะยังไม่เห็นว่า บล็อกเกอร์ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นกระบอกเสียงให้ความคิดของตัวเองรวมถึงการหวังผลในทางการเมืองเท่าใดนัก รวมไปถึงการใช้พื้นที่ในอินเตอร์เน็ตเป็นการประกาศความคิดหรือความเชื่อ หรือทฤษฎีใหม่ดังปรากฏมากขึ้นๆ ในโลกไซเบอร์ฝั่งตะวันตก สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ของไทยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากที่สุด น่าจะได้แก่การย้ายพื้นที่จากโลกของสิ่งพิมพ์มาสู่โลกออนไลน์ของสื่อกระแสหลักทั้งหลาย ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะเป็นสิ่งที่สื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลกทำกันอยู่แล้ว ทั้งเพื่อเปิดพื้นที่ทางการตลาด และเพื่อการสื่อสารที่มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวในโลกอินเตอร์เน็ตของไทยที่แปรมาเป็นพลังทางการเมืองย่อมไม่อาจดูเบา เมื่อเว็บบอร์ดสาธารณะอย่าง ‘พันทิบ’ ถึงกับต้องปิดโต๊ะราชดำเนินไปอย่างน้อย 2 ครั้งหลังการรัฐประหาร เพราะไม่อาจรับมือกับ ‘วอร์รูม’ ได้

ด้านสื่อกระแสหลักอย่าง ‘ผู้จัดการ’ ที่เคยเป็นสื่อใหญ่อันดับต้นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ฟุบลงไปเพราะพิษเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 หันมาเปิดแนวรบด้านอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการใช้สื่ออื่นๆ โหมประโคมข้อมูลด้านลบของรัฐบาลทักษิณ จนมีผู้ออกมาเดินถนนเพื่อขับไล่รัฐบาลดังกล่าวถึงกว่า 200,000 คน และยังคงเป็นหัวหอกในการต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับทักษิณ ชินวัตร รวมถึงการประกาศตัวเป็นฝ่ายกษัตริย์นิยมอย่างสุดขั้ว

แต่เมื่อพิจารณาดูตัวเลขของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยพบว่า มีเพียง 8 ล้านคน จากประชากร 67 ล้านคน แม้แต่ตัวเลขผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตก็ยังตามหลังมาเลเซียอยู่ เมื่อดูตัวเลขผู้เข้าชมจะพบว่า เว็บไซต์ที่ผู้เข้าชมมากที่สุดคือ www.sanook.com มีผู้คลิกต่อวันประมาณ 300,000 ไอพี และเมื่อหันมาดูที่เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ในขณะนี้  www.manager.co.th มียอดการคลิกเข้าชมอยู่ราวๆ 180,000 ไอพี ต่อวันซึ่งตกลงจากยอดประมาณ 300,000 ไอพี ในช่วงที่กระแสขับไล่ทักษิณขึ้นสูง เว็บไซต์เล็กๆ อย่าง ‘ประชาไท’ ที่มีคนอ่านอยู่ที่ราวๆ 12,000 ไอพี ได้ตัวเลขผู้เข้าอ่านจำนวนเท่านี้นับจากการเกิดรัฐประหาร และเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันกำลังเพิ่มขึ้น 4 เท่า แต่ก็ยังคงเป็นตัวเลขหลักพันเท่านั้น

ในขณะที่ผู้จัดการหันมาเปิดแนวรบด้านอุดมการณ์กับเว็บไซต์เล็กๆ 2 รายดังกล่าว และอาจทำให้คนทำงานในเว็บไซต์เล็กๆ นี้เผลอคิดไปว่าตัวเองโตขึ้น และสำคัญขึ้น ในอีกด้าน ยอดคลิกของผู้จัดการที่ลดลงเกือบครึ่ง ก็อาจจะบอกได้ว่า ผู้จัดการเองนั้นกำลังเล็กลงๆ นี่ยังไม่เท่ากับตัวเลขที่หลอกหลอนว่า ประชากรทั้งหมดในโลกอินเตอร์เน็ตของไทยมี 8 ล้านกว่าคน แต่เข้ามาอ่าน 3 เว็บไซต์นี้รวมกันแล้วไม่ถึง 200,000 ....นี่กลับมาสู่ทฤษฎีพื้นฐานที่ว่าด้วยอุปสรรคของอินเตอร์เน็ตที่ว่า

ประชากรในอินเตอร์เน็ตถูกคัดสรรแล้ว อย่างน้อยโดยฐานะทางเศรษฐกิจ  คำถามกลับไปยังการเคลื่อนไหวทางการเมืองในโลกอินเตอร์เน็ตของไทย ใครคือประชากรกลุ่มนี้ และมันพูดแทนประชากรในโลกจริงๆ ของไทยได้หรือเปล่า

และท้ายสุด การเกิดขึ้นของการรัฐประหาร กระแสการต้านรัฐประหาร และการต่อสู้กันในโลกไซเบอร์ที่ดำเนินอยู่ขณะนี้จะเป็นจังหวะก้าวที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง สำหรับผู้สนใจศึกษาการเคลื่อนไหวและการพัฒนาของอินเตอร์เน็ตที่มีผลต่อพลังทางการเมืองไทย ไม่ว่าคนที่อยู่ในปัจจุบันจะเขียนมันอย่างไร แต่การศึกษาและตีความที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ย่อมเป็นเป็นอิสระโดยตัวของมันเอง


อ้างอิง
Balgos, C.A. Cecile, Across the border: Southeast Asian Chroniles, Southeast Asian Press Alliance, Bangkok, 2005.

Gan, Steven, Gomez,James and Johanen, Uwe. Asian Cyberactivistm: Freedom of Expression and Media Censorship. 2004.

Jr. MacIver. J. William and Birdsall F.William F.,  Technological evolution and the right to communicate: the implication for Electronic Democracy, New Zealand, 2002

Lai, On-Kwok. Cultural (Re-)Presentation of Global Civil Society and Global Citizenship in the Cyber Age: Positioning Transnational Activism in a Globalizing World www.inst.at/trans/16Nr/15_1/lai16.htm

Lewis,Glen, Virtual Thailand: the Media and culture politics in Thailand, Malaysia and Singapore, Routledge Curzon, London, 2006

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองข่าวเรื่องนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกแบน ในประเทศไทย ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเอพี และเสตรทไทม์ ขณะที่ในเมืองไทย [1] ข่าวดังกล่าวไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก และเพิ่งมาปรากฏขึ้นในลักษณะของการตอบโต้จากทางการไทย ผ่าน.นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อิโคโนมิสต์  ระบุว่า....            "รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา…
หัวไม้ story
“ผมตั้งข้อสังเกตว่าเป็นฝีมือของพวกฉวยโอกาส หากพันธมิตรฯจะทำก็ต้องเป็นตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี เพราะสามารถสร้างความเสียหายมากกว่า ได้ผลมากกว่า และสะใจมากกว่า ไม่อย่างนั้นจะเก็บไว้อย่างดีทำไม” สุริยะใส กตะศิลา, 5 ธ.ค. 2551  ทีมข่าวการเมือง   ภาพในตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาลหลังการชุมนุมยุติที่มาของภาพ: คุณ Me.....O กระดานข่าวพันทิพ ห้องราชดำเนินhttp://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7288033/P7288033.html  
หัวไม้ story
"ถ้างวดนี้ มีการใช้ความรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง พี่น้องครับ พี่น้อง พ่อแม่พี่น้องทั่วประเทศไทย ต้องลุกฮือขึ้นมาแล้วให้เลือดนองแผ่นดิน"  ... "ผมจะบอกให้พวกสัตว์นรกรู้ ว่างวดนี้ถ้าประชาชนเขามา เขามาพร้อม ‘ของ' กันหมด" - สนธิ ลิ้มทองกุล 20 พ.ย. 2551 ทีมข่าวการเมืองประชาไท สนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับการอารักขาโดย ‘นักรบศรีวิชัย’ เมื่อ 26 ส.ค. 51 ที่มาของภาพ adaptorplug (CC)  
หัวไม้ story
  วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods SystemG20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้
หัวไม้ story
โอบามากับสงครามสีผิวที่กำลังจะเปิดฉาก? ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่งจบลงไปด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของบารัก โอบามา ผู้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นคนผิวสี คนแรกที่เดินเข้าสู่ทำเนียบขาวในฐานะประธานาธิบดี โอบามา เป็นลูกผสมระหว่างแม่ซึ่งเป็นคนผิวขาว กับพ่อเชื้อสายแอฟริกัน ซึ่งไม่ได้ย่างเท้าลงบนแผ่นดินอเมริกาในฐานะทาส แต่เป็นนักศึกษา แม้จะไม่ใช่คนผิวดำ หรือลูกหลานแอฟริกันขนานแท้ ที่เติบโตขึ้นจากครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นทาส แต่บารัก โอบามา ก็ถูกจำจดในฐานะเป็นตัวแทนของคนผิวสีที่ได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี แม้จะไม่ได้ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมกับคนแอฟริกัน-อเมริกัน…
หัวไม้ story
แม้ว่าคนจนในประเทศไทย จะเลือกตาย ด้วยหวังให้การตายส่งเสียงได้มากกว่ายามที่พวกมีชีวิตอยู่ ทว่า ไม่ช้าไม่นาน ความทรงจำของสังคมก็เลือนรางลงไป แต่คนจนอย่างนวมทอง ไพรวัลย์ เลือกวิธีตาย และเลือกใช้การตายของเขาส่งเสียงดังและอยู่ยาวนาน อย่างน้อยก็ใน 2 ปีต่อมา เขายังไม่ถูกลืมเลือน
หัวไม้ story
ประชาไทขอนำเสนอคลิปวิดิโอ 'หลังทักษิณ' มุมมอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจากคนใกล้ตัวที่บ้านเกิด อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และบทวิเคราะห์การเมืองไทยหลังทักษิณ โดย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ นักวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
หัวไม้ story
  ทีมข่าวภาคใต้มายาภาพของการต่อสู้ทางการเมืองไทยในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถูกกล่าวว่าอ้างว่าเป็นสงครมมระหว่างภูมิภาค คือ ภาคใต้ กับภาคเหนือและภาคอิสาน แต่หากมองลึกลงไปในกระบวนการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคพลังประชาชน อาจพบว่าแท้จริงแล้วการพื้นที่ทางการเมืองระดับนำก็ยังคงเป็นของคนใต้อยู่เช่นเดิม
หัวไม้ story
จับตาการเดินทัพของพันธมิตรฯ จากคำปราศรัยของแกนนำชื่อ ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ หลังประกาศทบทวนแนวทางสันติวิธี ระบุแกนนำทั้งหลายไม่กลัวตาย “แต่ถ้าพวกเราบางคนจะต้องตาย พี่น้องสัญญาอย่าง ต้องให้แผ่นดินนี้ ลุกขึ้นเป็นไฟให้ได้”
หัวไม้ story
  เมื่อพูดกันถึงเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็ไม่แคล้วตามมาด้วย การแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง นับเป็นสิ่งที่สังคมไทยถนัดในการแก้ปัญหาการเมืองโดยการเขียนอะไรบางอย่างขึ้นมาบังคับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กระทั่งแม้แต่นักกฎหมายมหาชนเองก็ยังแซวผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตัวเองได้ว่า ประเทศไทยนั้นมีความเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญที่สุดในโลกนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 กล่าวในรายการตอบโจทย์  ทางสถานีไทย เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ว่าที่สุดแล้ววิกฤตของการเมืองไทยวันนี้มันก็เริ่มมาจากการแก้รัฐธรรมนูญที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอนั่นเองย้อนเหตุการณ์ให้ฟังอีกครั้งว่า…
หัวไม้ story
  พิณผกา งามสม   ในระหว่างที่การต่อสู้ทางการเมืองไทยยังคงถกเถียงกันเรื่องโมเดลการเมืองใหม่ การเมืองใหม่กว่า รวมถึงระบบโควตาและระดับความชอบธรรมของ ‘เสียง' การเมืองเพื่อนบ้านของไทยก็กำลังเข้มข้นอยู่บนหนทางเดิมๆ ตามระบอบรัฐสภาเมื่อนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียประกาศว่าจะเขย่ารัฐบาลมาเลย์ให้ล่มเพื่อเปิดโอกาสในการจัดสรรที่นั่งในสภากันใหม่ โดยยึดเอาวันที่ 16 กันยายนเป็นวันดีเดย์ แรกทีเดียว หลายฝ่ายอาจคิดว่าเป็นเพียงการสร้างสีสันให้การรณรงค์ทางการเมืองของพรรคฝ่ายค้านอย่างที่เคยทำมาอย่าแข็งขัน เพราะต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า…
หัวไม้ story
  วิทยากร  บุญเรืองขณะที่ Frank Lampard ดาวเตะแข้งทองของทีม Chelsea พึ่งบรรลุข้อตกลงสัญญา 5 ปีที่มีมูลค่าสูงถึง 39.2 ล้านปอนด์ โดย Lampard จะได้รับค่า 151,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 3,775 ปอนด์ต่อชั่วโมง! แต่จากการสำรวจของ The Fair Pay Network และ Institute of Public Policy Research (IPPR) พบว่าพนักงานทำความสะอาด พ่อครัวแม่ครัว และแรงงานตัวเล็กๆ ทั้งหลาย ของสโมสรอย่าง Chelsea, Spurs, Arsenal, West Ham และ Fulham กลับได้รับค่าเหนื่อยจากสัญญาจ้างค่าแรงขั้นต่ำแค่ 5.52 ปอนด์ต่อชั่วโมงเท่านั้น