Skip to main content

 

ทีมข่าวพิเศษ Prachatai Burma

คณะพี่น้องตลกหนวดแห่งมัณฑะเลย์ (The Moustache Brothers)
ทำมือไขว้กันสองข้าง เป็นเครื่องหมาย ‘ไม่รับ’ รัฐธรรมนูญรัฐบาลทหารพม่า (ที่มา: The Irrawaddy)

ก่อนนาร์กิสจะซัดเข้าถล่มประเทศกระทั่งอยู่ในภาวะวิกฤต แน่นอนว่า ความสนใจที่โลกจะจับตามองประเทศมองนั้นคือวันที่ 10 นี้ ประเทศพม่าจะมีการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ ที่รัฐมนตรีฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพม่ากล้าพูดว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการลงประชามตินั้นเป็นประชาธิปไตยกว่าของไทย แม้ว่าแหล่งข่าวภายในรัฐฉานจะให้ข้อมูลที่ต่างไปว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญของพม่านั้น มีเพียงของรัฐบาลที่ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีฝ่ายค้าน ขณะที่ชนกลุ่มน้อยที่มาร่วมก็เป็นเพียงกลุ่มหยุดยิงที่สวามิภักดิ์รัฐบาล และไม่มีหน้าที่อะไรมากไปกว่ามานั่งฟัง เพราะรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธข้อเสนอชนกลุ่มน้อยทั้งหมด


ภายหลังวาตภัยนาร์กิสที่คร่าชีวิตชาวพม่าไปเรือนหมื่นพร้อมผู้ประสบภัยอีกจำนวนนับแสนคน สายตาของนานาชาติเปลี่ยนไปสู่การยื่นข้อเสนอเข้าช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของชาวพม่า โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์นั่คือ สิทธิในการเข้าถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคนั้นได้ถูกไฮไลท์ขึ้นมาอย่างหนักหน่วงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพของศพที่ไร้การเหลียวแลจัดการจากทางรัฐบาลถูกนำเสนอต่อสายตาชาวโลก รายงานอย่างต่อเนื่องถึงท่าทีที่ปฏิเสธความช่วยเหลือจากนานาชาติรวมถึงผลักดันเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลอินโดนีเซียซึ่งเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ด้วยเหตุผลว่าเจ้าหน้าที่กลุ่มนั้น พกเอาช่างภาพเข้าไปด้วย

รัฐบาลพม่าปฏิเสธความช่วยเหลือในด้านบุคลากร และเสนอรับเพียงเครื่องอุปโภคบริโภคเท่านั้น เจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมจากชาติต่างๆ รวมถึงจากองค์การสหประชาชาติยังคงติดค้างอยู่ในประเทศไทยจำนวนมากเพื่อรอการอนุญาตให้เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ในขณะเดียวกันก็ปรากฏข่าวว่า ทหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่ได้รับบริจาค และเริ่มนำสิ่งของเหล่านั้นออกขายในราคาแพง

Debbie Stothard, Coordinator ขององค์กร Altsean-Burma (Alternative ASEAN Network on Burma) แสดงความวิตกต่อสถานการณ์รัฐบาลพม่าช่วยเหลือชาวบ้านชนิดแทบจะไร้การจัดการว่า ถ้าไม่ยอมให้มีการช่วยเหลือจากนานาชาติผู้เสียชีวิตอาจมากถึงหลักล้าน รัฐบาลทหารพม่ามีเวลา 24 ชั่วโมงในการเตือนแต่ไม่ทำอะไร ถ้าเตือนล่วงหน้าจะไม่มีผู้เสียชีวิตมากขนาดนี้ และนี่ถือเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายมาก เพราะนานาชาติไม่สามารถติดต่อผู้คนข้างใน หรือจับตาการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลพม่าใดๆ ได้เลย

เหนือสิ่งอื่นใด การลำดับความสำคัญของรัฐบาลทหารพม่ายังคงไม่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม นั่นคือพยายามผลักพม่าไปสู่การเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักประกัน

รัฐธรรมนูญ - วาระแห่งชาติ: เดินหน้าต่อไปแม้ประสบภัยนาร์กิส

เมื่อพิจารณาจากมาตรฐานที่รัฐบาลพม่ากระทำมาโดยตลอด การให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงของรัฐบาบลทหารมากกว่ากว่าสวัสดิภาพของพลเมืองไม่ใช่เรื่องเหลือความคาดหมายของประชาคมโลก แม้ว่านายบันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติจะออกมาวิพากษ์การจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาลพม่าที่กลับหัวกลับหางกับประชาคมโลกขณะนี้ว่า รัฐบาลพม่าควรหันไปใส่ใจให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบพิบัติภัยมากกว่าจะให้ความสำคัญกับการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องของเลขาธิการยูเอ็นอยู่ที่ความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพของชาวพม่าในห้วงเวลาที่เป็นโศกนาฏกรรรมของชาติ

อย่างไรก็ตาม วันที่ 10 พ.ค. นี้ การลงประชามติยังคงเดินหน้าต่อไป ตามกำหนดการเดิม ยกเว้น 7 เมืองในเขตอิระวดี และ 40 เมืองในเขตย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเขตประสบภับพิบัติ การลงประชามติจะถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 24 พ.ค. นั่นคือประชาชนในเขตพิบัติภัยจะมีเวลาในการเตรียมตัวลงประชามติเพิ่มขึ้น 2 สัปดาห์!!!

ชาวพม่าต้องเตรียมอะไรก่อนไปลงประชามติ


ภาพถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาที่ผ่านมา โดยป้ายนี้เขียนว่าการลงมติ ‘เห็นชอบ’ เป็นหน้าที่ของพลเมืองแห่งวันนี้
ขอให้พวกเราลงมติ ‘เห็นชอบ’ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ ป้ายนี้ติดตั้งที่ศาลากลางเมืองย่างกุ้ง (ที่มา: Ko We Kyaw/Prachatai Burma)

ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกตีพิมพ์จำนวน 200,000 ชุด เพื่อ ‘ขาย’ในราคา 1,000 จ๊าด (ประมาณ 33 บาท) ให้กับผู้ที่สนใจจะอ่านทำการบ้านก่อนไปลงประชามติ

ผลการสำรวจความเห็นก่อนการลงประชามติ โดยองค์กรความร่วมมือผู้สื่อข่าวพม่า 10 องค์กร ซึ่งทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิลงประชามติ 2,000 คนทั่วประเทศ พบว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างไม่เข้าใจว่าในรัฐธรรมนูญนั้นมีเนื้อหาว่าอย่างไร  ทั้งนี้ แม้จะปราศจากความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญที่ตนเองกำลังจะไปลงประชามติ แต่ 83 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างก็คิดจะไปลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ โดยในจำนวนนี้วางแผนที่จะโหวต ‘No’ 66.4 เปอร์เซ็นต์

ผลของโพลล์ที่ทำโดยผู้สื่อข่าวกับผลการลงประชามติจริงๆ จะไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม แต่ไม่ยากเกินคาดว่า ผลของโพลล์นั้นอาจจะไม่ได้สะท้อนสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงๆ เมื่อพิจารณาจากการลงประชามติล่วงหน้าในหลายๆ เมือง


โฆษณาทางโทรทัศน์ช่อง MRTV ของพม่า เชิญชวนประชาชนไปลงมติ ‘รับ’ รัฐธรรมนูญ
เป็นการโฆษณาชวนเชื่อแบบชัดๆ เคลียร์ๆ ไม่มีอ้อมค้อม (ที่มา: Ko We Kyaw/Prachatai Burma)

เมื่อเบนสายตาออกมาจากผลโพลล์ เราก็จะพบว่ารัฐบาลทหารพม่าจัดรณรงค์ให้ประชาชนออกเสียง ‘รับ’ รัฐธรรมนูญทุกวิถีทาง เช่น มีนายพลใน SPDC (state for peace and development council-สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) หรือ เลขาธิการ USDA (สมาคมสหภาพเพื่อความสามัคคีและการพัฒนา- union solidarity for development association) ในระดับท้องถิ่นระดมประชาชนมาฟังการปราศรัยให้ ‘รับ’ โดยสำทับว่าถ้า ‘ไม่รับ’ ในอนาคตจะมีปัญหา

ทั้งนี้ รัฐบาลมีฐานคะแนนเสียงอยู่ในมือจำนวนหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มคนถือสัญชาติจีนที่อยู่ในพม่าจะได้บัตรประชาชนชั่วคราว เพื่อลงมติ ‘รับ’ มีการสอนนักโทษในคุกตำรวจให้โหวต ‘รับ’ แล้วปล่อยตัวเป็นอิสระหลังลงมติ ผู้สูงอายุที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้จะลงมติ ‘รับ’

กรณีเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบธุรกิจ ต้องลงมติรับไม่เช่นนั้นจะถูกยึดใบอนุญาตดำเนินกิจการ

ขณะเดียวกัน คนบางกลุ่มมีสิทธิลงมติล่วงหน้าได้หลายครั้ง เช่น กลุ่มทหารตำรวจที่ได้ลงมติไปแล้วเมื่อ 24 เม.ย. กลุ่มนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัวให้ไปลงมติ ‘รับ’ เมื่อ 29 เม.ย. ก่อนปล่อยตัว ข้าราชการพม่าที่ได้รับการแนะนำให้ลงมติ ‘รับ’ กลุ่มพ่อค้า คนงาน ที่ต้องเดินทางไกลเพื่อมาทำงานในเมือง ก็ถูกรัฐบาลสั่งว่าถ้าการลงคะแนนล่วงหน้าไม่ ‘รับ’ จะไม่สามารถออกบ้านได้

นอกจากนี้ยังมีวิธีการหลอกล่อที่เหนือชั้นกว่า ‘รับก่อนแก้ทีหลัง’ ของบ้านเรามาก เช่น เจ้าหน้าที่รัฐบาลบอกให้ประชาชนมาดูวิธีการกากบาทออกเสียง โดยให้ติ๊กเครื่องหมายถูกลงบนบัตร แล้วบอกประชาชนว่าไม่ต้องมาลงเสียงในวันจริง แล้วก็เอาบัตรที่การับรองนั้นไปนับเป็นคะแนนเสียงจริงเสียเลย

‘ความลับ’ ในการลงประชามติล่วงหน้าที่เกิดขึ้นไปแล้วนั้น ไม่มีอยู่ในหลักการพื้นฐานในการใช้เสรีภาพทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐต้องลงมติต่อหน้าผู้บังคับบัญชา และประชาชนก็ต้องลงประชามติต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐ

บัตรประชาชนอยู่ในฐานะของแลกเปลี่ยนที่ทรงคุณค่ายิ่ง เนื่องจากในภาวการณ์ปกติ ยากยิ่งนักที่กลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับบัตรประชาชน แต่เพื่อการลงประชามติครั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้เร่งทำบัตรประชาชนให้กลุ่มชาติพันธุ์ใน ‘เขตหยุดยิง’ ซึ่งทำการตกลงสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลทหารพม่าแล้ว แม้ว่าบัตรประชาชนนี้จะเป็นแบบ ‘ชั่วคราว’ เพื่อการลงประชามติก็ตาม ทั้งนี้ ความหมายอย่างสำคัญของการมีบัตรประชาชนก็คือเสรีภาพที่เพิ่มขึ้นอีกนิดในการเดินทางออกนอกพื้นที่ของตัวเอง อย่างน้อยที่สุด เมื่อมีบัตรประชาชน พวกเขาจะสามารถซื้อตั๋วรถไฟได้

ทำไมต้องเดี๋ยวนี้
ความสมเหตุสมผลของการมุ่งหน้าเรื่องการลงประชามตินี้อยู่ที่ไหน เหตุใดมันจึงสำคัญกว่าชีวิตผู้คนเรือนหมื่นเรือนแสนที่ประสบทุกขภัยอยู่ขณะนี้ รัฐบาลทหารพม่าอาจจะตอบกลับมาว่า ก็นี่ไม่ใช่หรือที่พวกคุณต้องการและเรียกร้องเรามาอย่างยาวนาน

การลงประชามติถือเป็น 1 ใน 7 ขั้นตอน Road Map ประชาธิปไตยพม่า โดยร่างรัฐธรรมนูญกันมาตั้งแต่ปี 1993 และสิ้นสุดในปี 2007


ขณะที่ย่างกุ้งกำลังวุ่นกับพายุไซโคลนนาร์กิสที่ขึ้นฝั่งตั้งแต่หัวค่ำของวันที่ 2 พ.ค. แต่การรณรงค์โหวตรับรัฐธรรมนูญก็เดินหน้าต่อไป
โดยประชาชนจำนวนมากที่เมืองลัตปันพยา ใกล้กับเมืองพุกาม ทางตอนในของประเทศพม่า ถูกเกณฑ์ให้มาฟังการปราศรัยสนับสนุนรัฐธรรมนูญ
เมื่อ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มา: Ko We Kyaw/Prachatai Burma)

สุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตไทย 5 ประเทศ  อธิบายว่า แม้ว่ากระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยจะต้องเริ่มจาก เสรีภาพของประชาชนหรือเสรีภาพทางการเมือง แต่รัฐบาลทหารพม่ากระโจนเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยเพิกเฉยต่อรายละเอียดเหล่านี้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร เพราะสิ่งที่ประชาคมโลกเรียกร้องจากรัฐบาลพม่าก็คือประชาธิปไตย และสิ่งหนึ่งที่รับรองความเป็นประเทศประชาธิปไตยก็คือการมีรัฐธรรมนูญ และพม่าก็กำลังทำสิ่งนั้นอยู่ และเพื่อจะเข้าใจว่าพม่ากำลังทำอะไรเราก็ต้องโฟกัสไปที่กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยมากกว่าที่จะไปพิจารณารายละเอียดของการลงประชามติ

ท่านทูตสุรพงษ์อธิบายบนพื้นฐานที่ว่า “ทุกคนล้วนล้มเหลวต่อกระบวนการประชาธิปไตยในพม่า ไม่ว่าจะเป็นประชาคมโลก อาเซียน หรือยูเอ็น ฉะนั้นแล้ว การลงประชามติครั้งนี้ก็จะช่วยรักษาหน้าให้กับทั้งหมดที่ว่ามาได้ โดยที่ประชาคมโลกทั้งหมดก็คงพร้อมที่จะรับผลของมันในฐานะที่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วที่พอจะทำได้” นี่คือคำอธิบายเมื่อวันที่ 5 พ.ค. ก่อนที่ประชาคมโลกทั้งหมดจะได้เห็นภาพคนพม่าจำนวนมาก จมอยู่ภายใต้ความขาดไร้ซึ่งปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

โดยอาศัยคำอธิบายดังกล่าวเป็นฐานในการทำความเข้าใจต่อไป Road Map ประชาธิปไตยของพม่าดำเนินมายาวนานเกินกว่าที่รัฐบาลพม่าจะหยุดพักเพราะพายุไซโคลนที่พัดชั่วข้ามคืน แต่เงื่อนไขในการยอมรับรัฐธรรมนูญของพม่า ในฐานะที่เป็นหลักประกันการเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยก็พม่าก็ทบทวีขึ้น ตามการการเพิกเฉยต่อความเป็นมนุษย์ของประชาชนพม่าอยู่นั่นเอง.....บางที นี่อาจจะไม่ใช่โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลพม่า แต่เป็นโจทย์ที่ตีกลับมายังประชาคมโลกที่เรียกร้องพม่าอย่างลูบหน้าประจมูกมาตลอดว่า จะอธิบายตัวเองอย่างไรเพื่อจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ของพม่า ฉบับที่เป็นเครื่องยืนยันว่าพม่ากำลังเดินหน้าไปบน Road Map ประชาธิปไตยที่ทั่วโลกเรียกร้อง และก็เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงประชามติท่ามกลางซากศพ ผู้สูญเสีย และความเสียหายของประชาชนชาวพม่าที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้านในเวลาไม่ช้าไม่นาน




อ้างอิง

- Government sells food to disaster victims http://english.dvb.no/news.php?id=1215
- Referendum postponed in some areas http://english.dvb.no/news.php?id=1200
- UN chief criticises junta’s referendum decision http://english.dvb.no/news.php?id=1225
- UN Suspends Aid Shipment to Burma http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=11894
- ความเสียหายหลัง ‘นาร์กิส’ ภาพจากพม่าชุดล่าสุด http://www.prachatai.com/05web/th/home/12117
- ใครบอกว่าประชาธิปไตยพม่ากับไทยเทียบกันไม่ได้ http://www.prachatai.com/05web/th/home/11506
- บทวิเคราะห์ : ‘พม่า’ เรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของอาเซียน http://www.prachatai.com/05web/th/home/1883

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองข่าวเรื่องนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกแบน ในประเทศไทย ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเอพี และเสตรทไทม์ ขณะที่ในเมืองไทย [1] ข่าวดังกล่าวไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก และเพิ่งมาปรากฏขึ้นในลักษณะของการตอบโต้จากทางการไทย ผ่าน.นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อิโคโนมิสต์  ระบุว่า....            "รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา…
หัวไม้ story
“ผมตั้งข้อสังเกตว่าเป็นฝีมือของพวกฉวยโอกาส หากพันธมิตรฯจะทำก็ต้องเป็นตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี เพราะสามารถสร้างความเสียหายมากกว่า ได้ผลมากกว่า และสะใจมากกว่า ไม่อย่างนั้นจะเก็บไว้อย่างดีทำไม” สุริยะใส กตะศิลา, 5 ธ.ค. 2551  ทีมข่าวการเมือง   ภาพในตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาลหลังการชุมนุมยุติที่มาของภาพ: คุณ Me.....O กระดานข่าวพันทิพ ห้องราชดำเนินhttp://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7288033/P7288033.html  
หัวไม้ story
"ถ้างวดนี้ มีการใช้ความรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง พี่น้องครับ พี่น้อง พ่อแม่พี่น้องทั่วประเทศไทย ต้องลุกฮือขึ้นมาแล้วให้เลือดนองแผ่นดิน"  ... "ผมจะบอกให้พวกสัตว์นรกรู้ ว่างวดนี้ถ้าประชาชนเขามา เขามาพร้อม ‘ของ' กันหมด" - สนธิ ลิ้มทองกุล 20 พ.ย. 2551 ทีมข่าวการเมืองประชาไท สนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับการอารักขาโดย ‘นักรบศรีวิชัย’ เมื่อ 26 ส.ค. 51 ที่มาของภาพ adaptorplug (CC)  
หัวไม้ story
  วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods SystemG20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้
หัวไม้ story
โอบามากับสงครามสีผิวที่กำลังจะเปิดฉาก? ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่งจบลงไปด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของบารัก โอบามา ผู้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นคนผิวสี คนแรกที่เดินเข้าสู่ทำเนียบขาวในฐานะประธานาธิบดี โอบามา เป็นลูกผสมระหว่างแม่ซึ่งเป็นคนผิวขาว กับพ่อเชื้อสายแอฟริกัน ซึ่งไม่ได้ย่างเท้าลงบนแผ่นดินอเมริกาในฐานะทาส แต่เป็นนักศึกษา แม้จะไม่ใช่คนผิวดำ หรือลูกหลานแอฟริกันขนานแท้ ที่เติบโตขึ้นจากครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นทาส แต่บารัก โอบามา ก็ถูกจำจดในฐานะเป็นตัวแทนของคนผิวสีที่ได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี แม้จะไม่ได้ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมกับคนแอฟริกัน-อเมริกัน…
หัวไม้ story
แม้ว่าคนจนในประเทศไทย จะเลือกตาย ด้วยหวังให้การตายส่งเสียงได้มากกว่ายามที่พวกมีชีวิตอยู่ ทว่า ไม่ช้าไม่นาน ความทรงจำของสังคมก็เลือนรางลงไป แต่คนจนอย่างนวมทอง ไพรวัลย์ เลือกวิธีตาย และเลือกใช้การตายของเขาส่งเสียงดังและอยู่ยาวนาน อย่างน้อยก็ใน 2 ปีต่อมา เขายังไม่ถูกลืมเลือน
หัวไม้ story
ประชาไทขอนำเสนอคลิปวิดิโอ 'หลังทักษิณ' มุมมอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจากคนใกล้ตัวที่บ้านเกิด อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และบทวิเคราะห์การเมืองไทยหลังทักษิณ โดย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ นักวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
หัวไม้ story
  ทีมข่าวภาคใต้มายาภาพของการต่อสู้ทางการเมืองไทยในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถูกกล่าวว่าอ้างว่าเป็นสงครมมระหว่างภูมิภาค คือ ภาคใต้ กับภาคเหนือและภาคอิสาน แต่หากมองลึกลงไปในกระบวนการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคพลังประชาชน อาจพบว่าแท้จริงแล้วการพื้นที่ทางการเมืองระดับนำก็ยังคงเป็นของคนใต้อยู่เช่นเดิม
หัวไม้ story
จับตาการเดินทัพของพันธมิตรฯ จากคำปราศรัยของแกนนำชื่อ ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ หลังประกาศทบทวนแนวทางสันติวิธี ระบุแกนนำทั้งหลายไม่กลัวตาย “แต่ถ้าพวกเราบางคนจะต้องตาย พี่น้องสัญญาอย่าง ต้องให้แผ่นดินนี้ ลุกขึ้นเป็นไฟให้ได้”
หัวไม้ story
  เมื่อพูดกันถึงเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็ไม่แคล้วตามมาด้วย การแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง นับเป็นสิ่งที่สังคมไทยถนัดในการแก้ปัญหาการเมืองโดยการเขียนอะไรบางอย่างขึ้นมาบังคับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กระทั่งแม้แต่นักกฎหมายมหาชนเองก็ยังแซวผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตัวเองได้ว่า ประเทศไทยนั้นมีความเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญที่สุดในโลกนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 กล่าวในรายการตอบโจทย์  ทางสถานีไทย เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ว่าที่สุดแล้ววิกฤตของการเมืองไทยวันนี้มันก็เริ่มมาจากการแก้รัฐธรรมนูญที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอนั่นเองย้อนเหตุการณ์ให้ฟังอีกครั้งว่า…
หัวไม้ story
  พิณผกา งามสม   ในระหว่างที่การต่อสู้ทางการเมืองไทยยังคงถกเถียงกันเรื่องโมเดลการเมืองใหม่ การเมืองใหม่กว่า รวมถึงระบบโควตาและระดับความชอบธรรมของ ‘เสียง' การเมืองเพื่อนบ้านของไทยก็กำลังเข้มข้นอยู่บนหนทางเดิมๆ ตามระบอบรัฐสภาเมื่อนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียประกาศว่าจะเขย่ารัฐบาลมาเลย์ให้ล่มเพื่อเปิดโอกาสในการจัดสรรที่นั่งในสภากันใหม่ โดยยึดเอาวันที่ 16 กันยายนเป็นวันดีเดย์ แรกทีเดียว หลายฝ่ายอาจคิดว่าเป็นเพียงการสร้างสีสันให้การรณรงค์ทางการเมืองของพรรคฝ่ายค้านอย่างที่เคยทำมาอย่าแข็งขัน เพราะต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า…
หัวไม้ story
  วิทยากร  บุญเรืองขณะที่ Frank Lampard ดาวเตะแข้งทองของทีม Chelsea พึ่งบรรลุข้อตกลงสัญญา 5 ปีที่มีมูลค่าสูงถึง 39.2 ล้านปอนด์ โดย Lampard จะได้รับค่า 151,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 3,775 ปอนด์ต่อชั่วโมง! แต่จากการสำรวจของ The Fair Pay Network และ Institute of Public Policy Research (IPPR) พบว่าพนักงานทำความสะอาด พ่อครัวแม่ครัว และแรงงานตัวเล็กๆ ทั้งหลาย ของสโมสรอย่าง Chelsea, Spurs, Arsenal, West Ham และ Fulham กลับได้รับค่าเหนื่อยจากสัญญาจ้างค่าแรงขั้นต่ำแค่ 5.52 ปอนด์ต่อชั่วโมงเท่านั้น