Skip to main content

Ko We Kyaw

 

ไร่ปลูกสบู่ดำริมทางบนถนนระหว่างเมืองเจ้าปะต่าวกับมิตทีลา ภาคมัณฑะเลย์ ภาพถ่ายในเดือนพฤษภาคม 2551 (ที่มา: Kowekyaw/Prachataiburma)

 

 

พฤษภาคม 2551

1.

ผมอยู่บนรถโดยสารเก่าๆ แล่นออกจากเมืองเจ้าปะต่าว (Kyaukpadaung) มุ่งสู่มิตทีลา (Meiktila) ภาคมัณฑะเลย์ ใจกลางเขตแล้งฝน (dry zone) ของสหภาพพม่า สองข้างทางซึ่งเป็นดินแดงๆ จึงเหมาะจะปลูกเฉพาะพืชทนแล้ง โดยเมืองเจ้าปะต่าวถือเป็นแหล่งปลูกตาล ส่วนเนินแห้งแล้งรอบทะเลสาบมิตทีลาก็เป็นแหล่งปลูกฝ้าย แต่สองข้างทางของถนนที่ผมกำลังเดินทางกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าด้วยโครงการปลูกพืชพลังงานชนิดใหม่ สบู่ดำ

ป้ายโครงการปลูกสบู่ดำและไร่สบู่ดำหรือที่ภาษาพม่าออกเสียงว่า แจ๊ตซู่ (Kyet-Suu) พบเห็นทั่วไปสองข้างทาง ปลูกทั้งที่ดินชาวบ้าน ทั้งที่ดินรัฐบาล ปลูกทั้งที่โล่ง และแม้แต่ปลูกบนอาคาร เช่นที่ว่างริมระเบียงในอพาร์ทเมนท์หรือยอดตึกในเมืองก็ไม่เว้น

 

2.

บทรายงานในนิตยสารสาละวินโพสต์ ฉบับ 1 เม.ย. – 15 พ.ค. 2551 ระบุว่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 พลเอกอาวุโสตานฉ่วย ผู้นำพม่า ได้ประกาศรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นสบู่ดำเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล โดยตั้งเป้าว่า ภายในสามปีจะต้องขยายพื้นที่ปลูกต้นไม้ชนิดนี้ให้ได้ 20 ล้านไร่ รัฐบาลแบ่งโควตาเพาะปลูกอย่างน้อย 1.25 ล้านไร่ ในเขตรัฐหรือภาคต่างๆ แม้ว่าแต่ละรัฐหรือภาคจะมีพื้นที่มากน้อยต่างกันก็ตาม ทำให้รัฐคะเรนนีซึ่งเป็นรัฐที่มีขนาดเล็กที่สุด จะต้องสูญเสียพื้นที่ให้กับพืชพลังงานชนิดนี้ถึงร้อยละ 17 และชาวบ้านทุกคนจะต้องปลูกต้นไม้เฉลี่ยคนละ 177 ต้นภายใน 3 ปี เพื่อให้ได้ตามจำนวนโควตาที่กำหนดไว้ ประชาชนแทบทุกสาขาอาชีพจะต้องเข้าร่วมโครงการนี้โดยไม่ถามความสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็นครู นักเรียน พยาบาล และหน่วยงานต่างๆ จะต้องใช้พื้นที่ว่างในหน่วยงานของตนปลูกพืชชนิดนี้

ดังนั้นจึงมีการปลูกต้นสบู่ดำรอบๆ บริเวณบ้าน ตามถนน ในสวน หรือแม้แต่ในไร่ที่ติดทางหลวง แม้แต่ในเมืองหลวง ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามอพาทเม้นท์ก็ต้องปลูกสบู่ดำ โดยถือว่าเป็นหน้าที่ต่อประเทศชาติ โดยประชาชนต้องซื้อเมล็ดมาปลูกเอง ไม่เว้นแม้แต่ปลูกตามระเบียงหน้าต่างของที่พัก

หลังจากโครงการผ่านไปสองปี กระทรวงเกษตรและชลประทานได้ออกแถลงการณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 ว่า ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกต้นสบู่ดำไปแล้ว 2.5 ล้านไร่ โดยจะปลูกเพิ่มอีกประมาณปีละ 6 ล้านไร่ในปี 2550 ถึง 2551

โดยในปี 2552 นี้ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในแผนงานจะต้องปลูกเพิ่มอีกเกือบ 8.5 ล้านไร่ เพื่อรวมพื้นที่ทั้งหมดให้ได้ 20 ล้านไร่ทั่วประเทศพม่า

อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังไม่มีแผนพัฒนาพลังงานชนิดนี้อย่างชัดเจน เช่นการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย รับประกันราคาผลผลิต ไปจนถึงการแปรรูปเป็นพลังงานไบโอดีเซล ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการรณรงค์ของโครงการคือการยึดที่นาของชาวบ้านมาเป็นของกองทัพและบังคับให้ชาวบ้านปลูกพืชชนิดนี้ทั้งที่ดินของตนเอง และของกองทัพ รวมถึงการเรียกเก็บเงินทดแทนสำหรับชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินปลูกพืชโดยรัฐบาล ได้ออกคำสั่งเป็นเอกสารไปยังหน่วยทหารทุกหน่วยให้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมชาวบ้านในพื้นที่ของตนเองปลูกต้นสบู่ดำให้ได้ตามโควตาที่กำหนด

นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารในพม่า อันเนื่องจากแหล่งปลูกข้าวสำคัญคือที่ราบบริเวณปากแม่น้ำอิระวดีได้รับผลกระทบจากพายุนาร์กีส ขณะที่พื้นที่ส่วนที่เหลือของประเทศ ส่วนหนึ่งก็นำมาปลูกพืชพลังงานที่ว่า โดยการที่ชาวนาต้องใช้ที่ดินในการปลูกต้นสบู่ดำแทนพืชเพื่อยังชีพ ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีจึงจะได้ผลผลิตรอบแรก

อีกทั้งประชาชนยังถูกบังคับให้ไปปลูกพืชชนิดนี้ในที่ดินของกองทัพ จนไม่มีเวลาทำงานเลี้ยงตนเองและครอบครัว ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากพากันอพยพออกไปหางานทำในประเทศเพื่อนบ้าน โดยจากรายงานล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 เรื่อง "Biofuel By Decree: Unmasking Burma's bio-energy fiasco" โดยกลุ่ม Ethnic Community Development Forum (ECDF) ระบุว่า ปัจจุบันมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้อย่างน้อย 800 คน อพยพมาทำงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน

และนับตั้งแต่ต้นปี 2549 ที่รัฐบาลเริ่มโครงการทำไร่สบู่ดำ มีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหารพม่าที่เชื่อมโยงกับโครงการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น รายงานของกลุ่มเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวไทยใหญ่ ระบุว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐฉานที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นการยึดที่ดินเกือบ 30 รายในช่วงเวลา 2 ปี โดยประชาชนเหล่านี้ต้องถูกยึดที่ดินทำกินโดยไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆ เช่นเดียวกับประชาชนในเขตชายแดนพม่า - จีนเปิดเผยว่า กองทัพพม่าประจำทางตอนเหนือของรัฐฉานได้ยึดที่ทำกินชาวบ้านไปแล้วกว่า 2,500 ไร่ในเมืองหมู่เจ้เมื่อต้นปี 2550

ชาวบ้านส่วนใหญ่จะถูกยึดที่ดินโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ หรือหากได้รับก็เป็นเงินจำนวนน้อยนิดเท่านั้นเมื่อเทียบกับที่ดินที่สูญเสีย ไป โดยอัตราค่าชดเชยที่ได้รับคือ 10,000 - 50,000 จั๊ต (300 บาท - 1,500 บาท) สำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก หรือ 1 - 5 แสนจั๊ต (3,000 บาท - 15,000 บาท) สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ไร่ชา หรือ ไร่ส้มทั้งไร่

 

3.

ล่าสุด บริษัทพัฒนาพลังงานชีวภาพญี่ปุ่น (Japan Bio Energy Development Corp) หรือ JBEDC ประกาศวันที่ 27 ก.พ. 52 เกี่ยวกับแผนการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นของพม่า เพื่อก่อตั้งบริษัทใหม่ใช้ชื่อว่า Japan-Myanmar Green Energy เป็นการร่วมระหว่างเอกชนดังกล่าว 60% กับเอกชนพม่า 40% ภายใต้วงเงินลงทุนรวม 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยบริษัทนี้ตั้งเป้าส่งออกเมล็ดละหุ่ง 5,000 ตันในปี 2552 นี้ก่อนจะตั้งโรงงานสกัดน้ำมันแห่งที่หนึ่งในปี 2553 และยังมีแผนการจะส่งออกเชื้อเพลิงชีวภาพที่สกัดจากเมล็ดสบู่ดำ ในปีหน้าอีกด้วย

รายงานของบริษัทพัฒนาพลังงานชีวภาพญี่ปุ่น ยังระบุด้วยว่า ปัจจุบันพม่าเป็นประเทศผลิตสบู่ดำรายใหญ่ที่สุดของโลก รัฐบาลพม่าได้ส่งเสริมให้เกษตรปลูกอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 พื้นที่ปลูกขยายออกไปเป็น 2 ล้านเฮกตาร์ หรือ 12.5 ล้านไร่ เมื่อสิ้นปี 2551 หรือเท่ากับว่าพม่าปลูกสบู่ดำคิดเป็นร้อยละ 90 ของเนื้อที่ปลูกสบู่ดำในประเทศต่างๆ ทั่วโลกร่วมกัน!

 

4.

นอกจากนี้ ข่าวลืออีกด้านเกี่ยวกับโครงการปลูกต้นสบู่ดำ หรือ แจ๊ตซู่ก็คือ เหตุผลที่รัฐบาลผลักดันให้ประชาชนปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไปทั่วอาจไม่ใช่เป้าหมายด้านพลังงาน แต่เป็นเพราะความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ที่ว่า ชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ในภาษาพม่ามีความหมายตรงกับความต้องการของผู้นำพม่า นั่นเอง

คำว่า แจ๊ตซู่หรือ Kyet Suu มีความหมายในภาษาพม่าว่า ไก่ขันเสียงดัง และเมื่อไหร่ที่ไก่จำนวนมากรวมตัวกันส่งเสียงดัง คนเราก็ไม่สามารถจะส่งเสียงร้องสู้กับไก่ได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทางการพม่าบังคับให้ประชาชนปลูกพืชสบู่ดำเพิ่มขึ้นทุกวันเพื่อกลบเสียงของประชาชน

อีกความเชื่อหนึ่ง คือ คำว่า Kyet Suu ยังมีตัวอักษรแรกของแต่ละคำ คือ K และ S สลับกับอักษรนำหน้าของนางออง ซาน ซูจี (Suu Kyi) คือ S และ K ซึ่งหากมีการปลูกต้นสบู่ดำมากเท่าไหร่ก็หมายความว่า เงาของต้นสบู่ดำจะปกคลุมเหนือผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่าผู้นี้

นอกจากนี้ คำว่า Kyet Suu ในภาษาพม่า ถ้าแปลตามหลักโหรศาสตร์แล้วคำว่า Kyet ขึ้นต้นด้วยตัว K มีความหมายว่า วันจันทร์ ส่วนคำว่า Suu ขึ้นต้นด้วยตัว S มีความหมายว่า วันอังคาร ดังนั้น Kyet Suu จึงมีความหมายว่า วันจันทร์ วันอังคาร เช่นเดียวกับชื่อของนางอองซาน ซูจี หรือ Suu Kyi ในภาษาพม่า โดยคำว่า Suu ขึ้นต้นด้วย S มีความหมายตามหลักโหรศาสตร์ว่า วันอังคาร และคำว่า Kyi ขึ้นต้นด้วย K มีความหมายว่าวันจันทร์ตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นชื่อของซูจี หรือ Suu Kyi อาจมีความหมายตามหลักโหราศาสตร์ว่า วันอังคาร วันจันทร์ การปลูกต้นสบู่ดำมากเท่าไหร่ก็จะทำให้วันจันทร์ต้องนำหน้าวันอังคารมากเท่านั้น ซึ่งจะทำให้อำนาจของนางซูจีพ่ายแพ้ต่อผู้นำพม่าวันยังค่ำ

ไม่ว่าการปลูกสบู่ดำจะเป็นไปด้วยเหตุผลใด ที่แน่นอนที่สุดทั้งประชาชนพม่า และอองซาน ซู จี ได้รับผลกระทบจากการปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการที่ยาวนานเกือบ 50 ปี นับตั้งแต่การรัฐประหารโดยนายพลเนวิน (Ne Win) ใน พ.ศ. 2505

 


(ที่มาของภาพ: www.pbase.com/dassk)

พฤษภาคม 2552

5.

และไม่ว่าการรณรงค์ปลูกสบู่ดำจะเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ของรัฐบาลทหารเพื่อข่มนางอองซาน ซูจีหรือไม่ แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือ ชะตากรรมของอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy – NLD) นั้น ในรอบ 19 ปีนี้ ถูกกักบริเวณอยู่ภายในบ้านพักริมทะเลสาบอินยา เมืองย่างกุ้ง กินเวลารวมถึง 13 ปี

โดยการกักบริเวณรอบแรกกินเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2533 – 2538 และการกักบริเวณรอบสองเกิดขึ้นนับตั้งแต่หลังกรณีที่สมาชิกสมาคมสหภาพเพื่อความสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Association – USDA) โจมตีขบวนรถของนางออง ซาน ซูจี และผู้สนับสนุนที่หมู่บ้านเดปายิน (Depayin) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ระหว่างที่นางและแกนนำพรรค NLD กำลังอยู่ระหว่างตระเวนพบปะผู้สนับสนุนพรรคในภูมิภาคสะกาย (Sagaing Division) ทางเหนือของพม่า โดยการโจมตีขบวนรถดังกล่าวทำให้สมาชิกพรรค NLD เสียชีวิตกว่า 70 คน

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นางออง ซาน ซูจี ถูกกักบริเวณอยู่แต่ในบ้านพักนับจากนั้น โดยรัฐบาลทหารพม่าต่ออายุการกักบริเวณไปเรื่อยๆ ตามมาตรา 10 ของกฎหมายคุ้มครองรัฐ อนุญาตให้รัฐบาลกักบริเวณบุคคลโดยปราศจากข้อหาหรือการพิจารณาคดีได้เพียงไม่เกิน 5 ปี และขยายเวลากักบริเวณได้ครั้งละ 1 ปีไปเรื่อยๆ

โดยการขยายเวลากักบริเวณนางซูจีล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปีก่อน และจะครบกำหนดการกักบริเวณในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ แต่ไม่ทันที่รัฐบาลพม่าจะมีคำสั่งปล่อยตัวหรือขยายเวลากักบริเวณต่อไปอีก 1 ปี หรือไม่ ก็เกิดเหตุนายจอห์น วิลเลียม ยิตทอว์ (John William Yettaw) ลอบเข้าบ้านพักของนางซูจี

โดยหนังสือพิมพ์เมียนมาร์ อะลีน (หนังสือพิมพ์แสงพม่า) หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลพม่ารายงานว่า นายยิตตอว์ได้ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบและเข้าไปในบ้านนางซู จี ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 พ.ค. จากนั้นก็ว่ายน้ำกลับมาในกลางดึกคืนวันที่ 5 พ.ค. ก่อนจะถูกตำรวจจับได้เมื่อเช้ามืดที่ 6 พ.ค.

ชาวอเมริกันผู้นี้ว่ายน้ำโดยใช้กระป๋องน้ำ 5 ลิตร ช่วยพยุงตัวขณะว่ายน้ำ เมื่อตำรวจตรวจค้นสิ่งของติดตัว พบเป้สะพายหลังสีดำ 1 ใบ หนังสือเดินทางสหรัฐ 1 เล่ม คีม 2 อัน กล้องถ่ายภาพ 1 ตัว ธนบัตร 100 ดอลลาร์สหรัฐ 2 ใบ รวมทั้งเงินจ๊าตอีกจำนวนหนึ่ง โดยทางการสอบปากคำถึงแรงจูงใจว่าเหตุใดชายผู้นี้จึงว่ายน้ำไปยังพื้นที่ต้องห้าม

ไม่เพียงแต่ยิตทอว์จะถูกดำเนินคดี แต่ออง ซาน ซูจี และผู้ช่วยประจำตัวอีก 2 คน คือนางขิ่น ขิ่น วิน, ลูกสาวของนางขิ่น ขิ่น วิน คือนางสาววิน มะ มะ ก็ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดกฎการควบคุมตัวด้วย

ซึ่งหากศาลตัดสินว่ามีความผิด ระวางโทษของคนทั้ง 4 คือจำคุกระหว่าง 3-5 ปี

มีการวิจารณ์ว่ารัฐบาลทหารพม่าจะใช้โอกาสดังกล่าวเป็นเหตุขยายเวลากักบริเวณนางออง ซาน ซูจี และผู้ช่วย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจถูกกักบริเวณในบ้าน หรือไปที่ เรือนจำอินเส่ง อันลือชื่อ!

 

6.

18 พฤษภาคม 2552 ที่เรือนจำอินเส่ง เขตอินเส่ง เมืองย่างกุ้ง วันพิจารณาคดีละเมิดคำสั่งกักบริเวณเริ่มต้นเป็นวันแรก

ภายนอกเรือนจำ กลุ่มเยาวชนของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี มาชุมนุมกันอยู่บริเวณหน้าเรือนจำอินเส่ง

อู วิน ติ่น (U Win Tin) กรรมการกลางของพรรคเอ็นแอลดีและอดีตนักโทษการเมืองวัย 80 ปี เดินทางมาพร้อมกับประชาชนหลายร้อยคนเพื่อมารอฟังการพิจารณาคดี แต่พวกเขาไม่สามารถฝ่าแนวรั้วลวดหนามไฟฟ้าเข้าไปได้

ผู้ชุมนุมหลายคนรวมทั้งพระสงฆ์ผูกผ้าคาดหัวและชูป้ายที่เขียนข้อความว่า ออง ซาน ซูจี ไม่มีความผิด” …

000

 

อ้างอิง

เรื่องนโยบายการปลูกต้นสบู่ดำในพม่า สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่

KAWN LEOW, จับกระแส: โครงการปลูกต้นสบู่ดำ พลังงานทางเลือกหรือความอดอยากหิว, ใน สาละวินโพสต์ ฉบับที่ 46 1 เม.ย. - 15 พ.ค. 51. เผยแพร่ออนไลน์ 20 พ.ค. 51

Chiho Matsuda, Nikkei Monozukuri, Japan-Myanmar JV Established to Produce Biofuel from Tropical Plant, Techon, Mar 3, 2009

 

เรื่องก่อนหน้านี้

'เหตุวิวาทในร้านน้ำชา' สู่ 'วันสิทธิมนุษยชนพม่า', Ko We Kyaw, 14/3/2009

ตลกพม่าประชันตลก.ไทยใครขำกว่า, Ko We Kyaw, 4/10/2008

 

หมายเหตุ

ติดตามข่าว บทความ และบทวิเคราะห์สถานการณ์ในสหภาพพม่าและชายแดนได้ที่ www.prachatai.com/burma

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาในเกมช่วงชิงพื้นที่สื่อ กลยุทธ์หนึ่งก็คือ ทำยังไงก็ได้ ให้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้เป็นข่าว ส่วนฝ่ายตนนั้น ต่อให้เป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายแต่ถ้าได้พื้นที่ข่าวก็ถือว่าได้เปรียบใน ระดับหนึ่ง เพราะอย่างน้อยก็พอทำให้ชื่อเสียงเรียงนามเป็นที่คุ้นหูอยู่ในความจดจำ ดีกว่าเป็นบุคคลโนเนมที่ไม่มีใครรู้จักเช่นเดียวกัน ช่วงนี้ ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีพูดอะไร ให้สัมภาษณ์ว่าอะไร สื่อมักจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สังเกตได้ว่าเวลาอ่านหรือฟังข่าวในเวลานี้ ผู้สื่อข่าวจะหยิบคำพูดของนายกรัฐมนตรีมาเปิดเผยแบบยาวๆพูดแบบตามตำรา ก็คือ แหล่งข่าวเป็นผู้นำในรัฐบาล พูดอะไรก็ย่อมเป็นข่าวอยู่แล้ว…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง"ไปตายให้หนอนแดกเถอะ..ไป๊"ผมกำลังหาคำพูดที่ถ่ายทอดความคิดของคนบางคนที่มีอำนาจในบ้านเมืองนี้ แม้อำนาจของเขาจะยึดโยงจากการเลือกตั้งด้วยการกากบาทของเรา กระนั้นก็เถอะ..เท่าที่รู้สึกได้ เขาอาจกำลังอยากบอกกับคุณด้วยถ้อยคำแบบนี้ อาจเป็นการบอกกล่าวที่ซ่อนถ้อยความหิวกระหายมาช้านานแล้ว ตั้งแต่อำนาจถูกกระชากไปจากมือ และที่เขาบอกแบบนี้ได้ อาจเป็นเพราะเขากำลังมองคุณเป็นเพียง ‘มดปลวก' อันอ่อนแอ ไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะถ้าคุณป่วยหรือไม่สบาย มันจะยิ่งสะท้อนความอ่อนแอไร้ประโยชน์เสียยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด มากไปกว่านั้น หากโชคร้าย…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ เสาร์ที่ผ่านมา มีงานประชุมชื่อ Barcamp Bangkok จัดขึ้นที่ร้าน Indus สุขุมวิท 26 งานนี้ งานนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นงานที่มีผู้จัดมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะผู้ร่วมงานหลายคนมากันแต่เช้าเพื่อช่วยจัดโต๊ะเก้าอี้ แปะป้าย บางคนทำสมุดทำมือมาแจก หลายคนเตรียมหัวข้อพร้อมสไลด์มาพูดในงาน ------------------------------------- http://www.flickr.com/photos/poakpong http://www.flickr.com/photos/plynoi ทันทีที่งานเริ่ม กระดาษแผ่นแล้วแผ่นแล้ว ถูกทยอยนำไปแปะบนกระจกของร้าน ว่ากันว่า หัวข้อที่พูดกันในงาน มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเว็บแอพพลิเคชันใหม่ๆ เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส…
Hit & Run
มุทิตา เชื้อชั่งด้วยทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ขนาบไปด้วยทะเลยาวเหยียด เหมาะเป็นเส้นทางขนส่งวัตถุดิบสารพัด ประจวบฯ จึงเป็นที่หมายตาของโครงการขนาดใหญ่ ไม่ว่าโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งไม่เห็นด้วยกับโครงการเหล่านี้ ก็นับเป็นความอาภัพของชีวิต เพราะภูมิศาสตร์แบบนี้เองที่ทำให้พวกเขาต้องต่อสู้คัดค้านกับรัฐหรือทุนขนาดใหญ่กันไม่หยุดหย่อน ไม่โครงการนั้น ก็โครงการนี้ และไม่รู้ว่าด้วยความอาภัพนี้หรือไม่ที่ทำให้ขบวนการประชาชนที่นี่ ‘แข็งแกร่ง' จะว่าที่สุดในประเทศก็คงไม่ผิดนัก ล่าสุด มีการต่อสู้คัดค้านโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยา ซึ่งเป็นโครงการขนาดมหึมา ที่จะไปลงในพื้นที่แม่รำพึง…
Hit & Run
ตติกานต์ เดชชพงศคงรู้กันหมดแล้วว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีถูกยึด และต่อจากนี้ ทีวีช่องนี้จะไม่มีรายการบันเทิง ‘ไร้แก่นสาร' อีก จะมีก็แต่รายการที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์สังคม มีคุณค่า ประเทืองปัญญากว่ารายการทีวีแบบเดิมๆๆๆๆ ฯลฯ แล้วทีวีช่องนั้นก็ถูกเรียกเสียใหม่ว่า ‘ทีวีสาธารณะ' ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งเติบโตมากับสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ‘รสนิยมสาธารณ์' ไม่ว่าจะเป็น ละครน้ำเน่า (ผ่านยุคของ พจมาน สว่างวงศ์, ดาวพระศุกร์ หรือ โสรยา ใน ‘จำเลยรัก' มามากกว่าหนึ่งยุค!) รวมถึงเกมโชว์ที่ ‘ได้รับแรงบันดาลใจ' มาจากต่างประเทศ และการ์ตูนญี่ปุ่นที่เอะอะก็ต่อสู้กัน (แม้แต่การ์ตูนแมวหุ่นยนต์ ‘โดราเอมอน'…
Hit & Run
  วิทยากร  บุญเรืองกลุ่ม แบ๊คซ้าย' มิถุนาฯ   23 ธันวาคม 2550...เป็นอีกวาระหนึ่งที่เราจะต้องออกไปช่วยเพื่อนรัก ‘นักการเมือง' (กลุ่มคนที่ถูกประณามมากที่สุดในสังคมไทยปัจจุบัน)สื่อต่างๆ ชอบที่จะกระแซะแซวว่า นักการเมืองมักจะมืออ่อนนอบน้อมกราบไหว้ประชาชนเสมอในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งมันก็ถูก แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน คนอีกบางจำพวกนั้น ‘ไม่มี' ช่วงเวลาพิเศษไหนเลยที่จะลงมาไหว้กราบกรานขอคะแนนจากประชาชน หนำซ้ำพวกเรากลับต้องกราบกรานไหว้เขาอยู่เป็นกิจวัตรใครล่ะน่าเกลียดกว่ากัน? สำหรับวาระสำคัญก่อนการเลือกตั้ง การรณรงค์ไม่ให้มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทำนองที่ว่า ‘…
Hit & Run
   พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจใครที่ไม่ได้มาเชียงใหม่หลายปี หากมาเยือนปีนี้ คงผิดหูผิดตาเลยทีเดียวไม่ใช่แค่งานพืชสวนโลก ไม่ใช่แค่ ‘ช่วง ช่วง' หรือ ‘หลิน ฮุ่ย' ไม่ใช่แค่ร้าน ‘ไอเบอรี่' ของโน้ต อุดม ที่ทำให้ ‘หน้าตา' เมืองเชียงใหม่เปลี่ยนไปหากแต่ยังมีเจ้าสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่ชื่อว่า ‘ทางลอด' ผุดขึ้นทุกมุมเมือง ซึ่งเบื้องหลังของมัน ยังมีเรื่องราวอันยาวนานของการพัฒนา ‘เมือง' อีกด้วย!หลายปีมานี้ ยวดยานใน จ.เชียงใหม่ ต้องประสบกับความทุลักทุเลในการข้ามสี่แยก เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างทางลอดแยก ผุดขึ้นบนถนนสายหลักของเมืองเชียงใหม่ เช่น การก่อสร้างทางลอด 7 แห่ง บนถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี…
Hit & Run
"ต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ" 
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์หลังจากได้อ่านข้อความในหนังสือที่ คมช. ส่งถึงคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ของ กกต. ที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบว่า หนังสือ ซึ่งออกโดย คมช. (สปค.ศปศ.คมช. ลับ-ด่วนมาก ที่ คมช ๐๐๐๓.๕/๔๘๐ ลง ๑๔ กันยายน ๒๕๕๐) นั้น เข้าข่ายความผิดฐาน เจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวไม่เป็นกลางในการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ หรือไม่ เพื่อขอให้ทบทวนบทบาทของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน เนื่องจากการออกหนังสือฉบับดังกล่าวของ คมช.เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ แล้ว ก็เกิดความรู้สึก ‘สบายใจ'…
Hit & Run
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นเรื่องปกติในสังคมการเมืองแบบไทยๆ เมื่อมีบางคนใน ‘ตองหนึ่ง' อดีตผู้บริหารไทยรักไทยเรียกร้องในสิทธิความเป็นมนุษย์ที่พึงมีต่อองค์กร ‘ไม่ใช่พ่อ' และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอให้เข้ามาดูแลสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยยุ่งเกี่ยวการเมืองทุกรูปแบบกรณี ซึ่งอาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการพูดและแสดงออก แทบฉับพลันทันทีนั้น เสียงแขวะฝอยเลาะตะเข็บก็ดังควากออกมาอย่างหยามหยันมากมายตามหน้าสื่อต่างๆเมื่อตามรอยตะเข็บที่เลาะไป ใช่จะไม่มีมูล…
Hit & Run
"ความพยายามสร้างกติกาอันบิดเบี้ยวตลอดปีกว่าที่ผ่านมา ส่งผลให้ ‘ผี' ยิ่งน่ากลัวสำหรับคนที่กลัว และยิ่งน่าพิสมัยสำหรับผู้ที่ไม่กลัว และผู้ที่ไม่กลัวส่วนใหญ่นั้นแม้จะอยู่ห่างไกล ไร้อำนาจ แต่ก็สามารถแสดงพลังเงียบของตนได้อย่างมีนัยสำคัญ"  ภาพจาก dschild.exteen มุทิตา  เชื้อชั่ง ผมเป็นคนกลัวผีมากจนแทบจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการกลัวผี และรู้สึกว่าสังคมไทยกำลังกลัว ‘ผี' อย่างหนัก ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ จากที่เคยมีคำอธิบายมากมายว่าทำไมจึงต้องกลัว ‘ผี' หรือไล่ ‘ผี' แต่นานวันเข้า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังเท้า ความกลัว ‘ผี'…
Hit & Run
ภาพจาก http://www.kathmandu-bkk.com/คิม ไชยสุขประเสริฐช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีปัญหายุ่งยากใจกันอยู่นิดหน่อยในออฟฟิศ เรื่องการทำเสื้อทีมว่าจะเอาแบบไหน-สีอะไร ที่ยังไงก็ไม่ลงตัวสักที เพราะสีแต่ละสีตอนนี้ถูกนำเอาไปทำสัญลักษณ์ของกลุ่มต่างๆ กันไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแม่สีอย่าง สีแดง สีเหลือง หรือสีขั้นสองอย่างสีเขียว สีส้ม หรือสีม่วง