Skip to main content
 

  

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ดรีมทีม ฮีโร่ฟันน้ำนม' (Dream Team) ปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์แสนน่ารักออกมายั่วยวนคนรักเด็กแล้ว ในสัปดาห์แรกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายซึ่งประจวบเหมาะเป็นช่วงปิดเทอม จึงเห็นมีเด็กตัวเล็กๆ มาดูกันคับโรงไปหมด

เช่นเคย ทุกครั้งก่อนภาพยนตร์จะได้ฉาย คนดูหนังจะต้องลุกขึ้นยืนเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น และอาจจะด้วยความไร้เดียงสา เด็กคนหนึ่งพูดออกมาเสียงงอแงค่อนข้างดังว่า "มาดูหนัง ทำไมต้องยืนด้วย"

อาจไม่แปลกที่เด็กน้อยไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมที่โลกของผู้ใหญ่ปฏิบัติกันมายาวนาน แต่นั่นยังไม่ซับซ้อนน่าสงสัย เท่ากับการที่เรื่องทำนองนี้อาจสุ่มเสี่ยงต่อการถูกตีความได้ว่า เป็นการดูหมิ่นเบื้องสูง และการ ‘ดูหมิ่น' นี้ต่างจากกรณีดูหมิ่นทั่วๆ ไป ที่เปิดช่องให้ผู้อื่นเรียกร้องสิทธิ์และศักดิ์ศรีแทนกันได้ โดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นผู้เสียหาย

สังคมไทยยอมให้มีการเป็นเดือดเป็นร้อนแทนกันได้ อาจเพราะเชื่อว่า เป็นการแสดงความรักและปรารถนาดีต่อสถาบันอันเป็นที่รัก กฎหมายจึงเปิดให้การคุ้มครองป้องกันการถูกดูหมิ่นมีหลายระดับ มีทั้งมาตราธรรมดา กับมาตราที่ไม่ธรรมดา

ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย เมื่อคนสองคนเข้าไปดูภาพยนตร์แล้วไม่ลุกขึ้นยืนก่อนหนังฉาย จนทำให้มีคนอีกคนหนึ่งโกรธแล้วทะเลาะวิวาทกันขึ้น ตอนนี้กำลังเป็นคดีความที่คนผู้นั้นฟ้องร้องว่า คนทั้งสองได้ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง

ในด้านหนึ่ง กฎหมายอาจใช้คุ้มครองสังคม แต่ลืมไม่ได้ว่า ผู้ที่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมาย ก็เปรียบดั่งคนที่มีดาบอยู่ในมือ เราจึงได้ยินบ่อยๆ ว่า คนที่ยิ่งมีอำนาจ ยิ่งต้องใช้มีระดับการไตร่ตรองที่สูงตามระดับอำนาจที่ถือครอง เพราะแม้จะมีดาบอยู่ในมือ แต่การใช้ดาบฟาดฟันโดยหวังให้ผลลัพธ์ผลิดอกออกมาเป็นความรักและศรัทธา ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะไปทางเดียวกัน

เราคงยากจะตีความไปว่า ยิ่งจำนวนคดีหมิ่นเบื้องสูงมากขึ้น ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความรัก แต่ข้อเท็จจริงชี้ว่าตำรวจทำคดีที่เป็นความผิดตาม ป..อาญา มาตรา 112 มากขึ้นเรื่อยๆ

กรณีล่าสุด ตำรวจเข้าแจ้งข้อหาหมิ่นเบื้องสูงต่อนาย โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาคเอเชียของบีบีซี และคณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) สืบเนื่องจากการจัดสัมมนาหัวข้อ Coup, Capital and Crown เป็นวงเสวนาเกี่ยวกับหนังสือ 2 เล่ม คือ Thai Capital after the 1997 Crises ซึ่ง ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ร่วมเขียนกับ คริส เบเกอร์ และ Journal of Contemporary Asia Special: The Thailand Coup ซึ่งเควิน ฮิววิสัน และไมเคิล คอนเนอร์เป็นบรรณาธิการร่วมกัน โดยกล่าวหาว่า นายโจนาธานซึ่งเป็นพิธีกรกล่าวเปิดงานสัมมนา ใช้ถ้อยคำเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง (อ่านข่าวนี้เพิ่มเติม)

เมื่อเร็วๆ นี้เอง (3 เม.. 50) เจ้าหน้าที่กระทรวงไอซีทีก็ได้ขอเชิญประชุมผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท และเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน เพราะทั้งสองเว็บไซต์นี้มีเว็บบอร์ดที่ดูจะเป็นพื้นที่ที่มีการวิเคราะห์วิพากษ์ถกเถียงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ค่อนข้างมาก บ้างก็เป็นไปในทางวิชาการ บ้างก็เป็นไปในทางหมิ่นเหม่ ที่ไม่ว่าเนื้อหาจะเป็นอย่างไร แต่ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ไอซีทีนั่งไม่ติดและตกเป็นจำเลยของสังคมว่า ทำไมปล่อยให้เรื่องแบบนี้โลดแล่นได้ในโลกไซเบอร์

กระทรวงเล็กๆ ที่ไม่ค่อยจะได้รับความสนใจเท่าไร อย่างกระทรวงไอซีที จึงถึงกับต้องมีหน่วยหน่วยหนึ่งที่คอย "กำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" ของประชาชน มีหน้าที่เปิดอินเตอร์เน็ตตามไปยังที่ที่มีการร้องเรียนเข้ามามากๆ ว่าเนื้อหาหมิ่นเหม่ อย่างที่เรารู้กันว่าโลกไซเบอร์นั้นไพศาลไม่มีที่สิ้นสุด มันกลายเป็นภาระชิ้นโตที่กระทรวงขนาดจิ๋วต้องรับผิดชอบ

แต่ไม่ว่ากระทรวงไอซีทีจะขยับตัวอย่างไรก็ถูกก่นด่าไปทุกทาง ทางหนึ่งก็บอกว่าทำไมปล่อยให้เนื้อหาเหล่านั้นเรี่ยราดออกมาได้ อีกทางก็บอกว่าทำไมคิดจะมากีดกันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทางวิชาการ

เรื่องทำนองนี้เถียงอย่างไรก็ไม่จบง่ายๆ เพราะประเด็นมันอยู่ที่ เรา - สังคม คิดและเชื่ออย่างไร ต่อการวางแนวปฏิบัติ ที่เชื่อว่าจะเป็นการเคารพและปรารถนาดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์?

แนวคิดในการปกป้องสถาบันอันเป็นที่รักนั้น ที่ต้องขอเรียกว่า เป็นแบบ ‘ไทยๆ' ยังมีอีกตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ และเป็นตัวอย่างที่น่าเวทนา คือเมื่อคณะกรรมการเซ็นเซอร์ เซ็นเซอร์ภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ โดยจะตัดออก 4 ฉากที่เขาเชื่อว่าไม่สมควร และเมื่อมีการอุทธรณ์ให้ทบทวนการพิจารณา ผลกลับออกมาว่า ยืนยันตัด 4 ฉากเดิม และตัดเพิ่ม 2 ฉาก รวมเป็น 6 ฉาก!

ธรรมเนียมการทำงานเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ของไทย คือ ถ้าภาพยนตร์เรื่องไหน มีสถาบัน มีวิชาชีพไหนมาเกี่ยวข้อง ก็จะมีตัวแทนจากสถาบัน วิชาชีพ นั้น เข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณา

สำหรับภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ ที่โดนหั่น 4 ฉากแรก ประกอบด้วย ฉากพระเล่นเครื่องร่อน และฉากพระเล่นกีตาร์ ซึ่งตัวแทนองค์กรสงฆ์ออกมาป้องว่า แม้ไม่ผิดศีลธรรม แต่ผิดพระวินัย และฉากหมอดื่มเหล้าในโรงพยาบาล ฉากหมอจูบกับแฟนสาวแล้วอวัยวะเพศแข็งตัวในโรงพยาบาล ซึ่งตัวแทนองค์กรแพทย์บอกว่า มันทำให้เสื่อมเสียภาพลักษณ์ต่อวิชาชีพแพทย์

คณะกรรมการเซ็นเซอร์ลงความเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ไร้ซึ่งความเป็นศิลปะ ทำให้เสื่อมเสีย ซึ่งอีกสองฉากที่โดนหั่นเพิ่ม คือ ฉากที่เห็นพระรูปปั้นของสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี และฉากที่เห็นพระรูปปั้นสมเด็จพระบรมราชชนก เพราะทั้งสองฉากนี้ทำให้คนที่เห็นอาจรู้ได้ว่า ‘ที่นี่เมืองไทย'

คณะกรรมการเซ็นเซอร์จึงตัดออกไป 6 ฉาก แต่ในทางปฏิบัตินั้นโดนตัดไป 7 ฉาก เพราะตำรวจตัดผิด ไปตัดรูปปั้นอื่น ที่ไม่ใช่พระรูปปั้น

นั่นคือผลสรุปที่มาจากความปรารถนาจะปกป้องหวงแหนสถาบันอันเป็นที่เคารพรัก

อีกกรณีที่โด่งดังไปข้ามโลก และยืนยันถึงเอกลักษณ์ทำนอง ‘ที่นี่เมืองไทย' คือ กรณีที่เกิดกับเว็บไซต์ยูทูบ (youtube.com)

เมื่อเมษายนปีที่แล้ว รัฐไทยตัดสินใจขั้นเด็ดขาด ในการบล็อคเว็บไซต์ยูทูบในประเทศไทย หลังจากมีคลิปหนึ่งถูกเผยแพร่ ไอซีทีเจรจากับทางเว็บไซต์ยูทูบให้ถอดคลิปดังกล่าวออก แต่ไม่เป็นผลในคราวแรก เพราะยูทูบถือว่า คลิปนั้นซึ่งมีเนื้อหาเป็นการล้อเลียนผู้นำประเทศไม่ได้ผิดนโยบายของยูทูบ กระทรวงไอซีทีจึงตัดสินเอง ด้วยการปิดช่องทางให้คนที่อยู่ในประเทศไทยดูคลิปในยูทูบไม่ได้เป็นเวลานาน 4 เดือน (เมษายน 2550 - สิงหาคม 2550)

มาวันนี้ คนไทยเข้าเว็บไซต์ยูทูบได้แล้ว หลังจากกระทรวงไอซีทีตกลงกับยูทูบสำเร็จเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550 โดยยูทูบตกลงใช้มาตรการ ‘เซ็นเซอร์ตัวเอง' คือ จัดการบล็อคคลิปที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายไทยหรือ ‘ทำร้ายจิตใจคนไทย' ทำให้คนที่อยู่ในประเทศไทยดูไม่ได้ ปรากฏข้อความที่ว่า This video is not available in your country - "วิดีโอนี้ไม่ได้รับอนุญาตในประเทศของคุณ"

แต่อย่างที่รู้กัน วิธีคิดในการปิดกั้น ไม่เคยเป็นคำตอบที่ดีในการปกป้องสถาบันอันเป็นที่เคารพรัก คณะกรรมการเซ็นเซอร์ตัด 6 (ซึ่งจริงๆ คือ 7) ฉาก เรื่องนี้ถูกพูดถึงไปทั่วว่ากองเซ็นเซอร์ทำอะไรลงไป เราได้รู้วิธีคิดของกองเซ็นเซอร์ไปพร้อมๆ กับรู้รายละเอียดส่วนที่เขาหั่นหนังออก ทั้งยังมีช่องทางอื่นๆ ที่กองเซ็นเซอร์ตามไล่จับไม่ทัน (ไม่เชื่อลองวิ่งตามทีละก้าว 1... 2... 3... 4... 5... 6...)

มิพ้นคนส่วนใหญ่ยังต้องสมเพชกับวงการแพทย์และพระสงฆ์ ที่มีตัวแทนมาปฏิบัติการในนามขององค์กรวิชาชีพที่วิธีคิดคับแคบ .. คงได้แต่ภาวนาหวังว่า สังคมไทยคงไม่เหมารวมคนทั้งสองวิชาชีพนี้ว่ามีวิสัยทัศน์แบบเดียวกับตัวแทนองค์กรทั้งสอง

ส่วนกรณียูทูบนั้น สะท้อนว่าเราจะใช้วิธีที่เคยชินแบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน ในเมื่อโลกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มันสะท้อนชัดว่า การแบนไม่ได้ช่วยอะไร อย่างน้อยก็มีวิธีง่ายๆ มากมายในการเขาถึงสิ่งที่รัฐพยายามปิดกั้น ไม่เพียงเท่านั้น มันจะมีความหมายอะไรที่คลอบกะลามาให้คนเฉพาะในอาณาเขตด้ามขวานทอง ให้เข้าไม่ถึงสิ่งที่คนทั่วโลกเข้าถึง

มาถึงตรงนี้ ทำให้หวนนึกไปถึงคำพูดของเจ้าหน้าที่กระทรวงไอซีที ที่เชิญประชาไทและฟ้าเดียวกันไปร่วมประชุม เขาตั้งประเด็นนำไว้ว่า ต้องการชวนคิดว่า "เราจะมีแนวทางร่วมกันจงรักภักดีอย่างไร"

อาจยังไม่มีคำตอบชัดเจนนักที่จะรับมือกับโลกยุคใหม่ แต่พอจะบอกได้ชัดว่าวิธีแบบไหนไม่เข้าท่า อาทิ  วิธีการปิดกั้นการแสดงออก ปิดกั้นไปถึงความคิดและวิญญาณ เป็นทางที่ไม่มีวันบรรลุผล และยังน่าจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี

และว่ากันตามตรง บางที.. วิธีการออกมาปกป้อง แสดงความเคารพอย่างไม่ยั้งคิด ดูจะเหมาะที่จะใช้กับศัตรู มากกว่าใช้กับคนที่เคารพรักเสียอีก.

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…