Skip to main content

กรอบคิดเรื่อง "รัฐนำการพัฒนา" หรือ Developmental State เป็นการอธิบายบทบาทของรัฐบาลที่เข้ามามีส่วนในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ การผลิต และการเข้าแทรกแซงตลาด รวมไปถึงการกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศ ในกรณีของญี่ปุ่น บทบาทของกระทรวง Ministry of International Trade and Industry (MITI) มีบทบาทอย่างมากในการควบคุมทิศทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เครือข่ายความสัมพันธ์ส่วนตัวของนักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ นักธุรกิจ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ดังเช่นโรงเรียนอิจิโกะ (Ichiko) ที่เป็นโรงเรียนระดับสูง (higher school) แห่งแรกของญี่ปุ่น จริงๆก็คือแนวๆโรงเรียนม.ปลาย 

สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนอิจิโกะก็เป็นเหมือนแหล่งผลิตนักเรียนผู้ชายเพื่อป้อนเข้าสู่มหาวิทยาลัยโตเกียว (Tokyo University) เพื่อที่ไปรับราชการของญี่ปุ่นต่อไป โรงเรียนมีระบบการสอนและการจัดการเตรียมความพร้อมสร้างเครือข่ายให้นักเรียนหลายๆอย่าง เช่น นักเรียนทั้งหมดเป็นนักเรียนชาย แต่งเครื่องแบบ อยู่หอด้วยกัน

ในหอมีห้องพักอาศัยจำนวน 90 ห้อง โดยแต่ละห้องก็จะมีนักศึกษาอาศัยอยู่ด้วยกันประมาณ 10-12 คน โดยการแบ่งนักเรียนตามห้องจะแบ่งตามความชอบความสนใจของนักเรียน เช่น ความสนใจเรื่องการยิงธนู การปีนเขา หรือความสนใจเรื่องมาร์กซิสต์ เป็นต้น

ตัวแทนของแต่ละห้องก็จะเข้าไปเป็นตัวแทนในสภาของโรงเรียนที่มีหน้าที่ตัดสินใจประเด็นบางเรื่องของโรงเรียน

นักเรียนที่นี่จะถูกสอนให้คิดเสมอว่า พวกเขามีหน้าที่พิเศษที่จะต้องออกไปนำพาประเทศชาติ เพราะคนข้างนอกที่เป็นชาวบ้านชาวประชาทั่วไปนั่นขี้เกียจ (lazy) และขาดความรู้ (ignorant) เกินกว่าจะทำหน้าที่นำพาประเทศชาติได้

นักเรียนในโรงเรียนจะมีพิธีกรรมต่างๆที่ทำให้นักเรียนเกิดอัตลักษณ์ร่วมกันภายในโรงเรียน และความรู้สึกอัตลักษณ์ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแบบ สัญลักษณ์เกียรติยศต่างๆ ประตู หรือแม้แต่ธงของโรงเรียนที่ชื่อว่า "ธงปกป้องประเทศ" (flag to protect the nation)

โรงเรียนไม่มีเพลงประจำโรงเรียน หากแต่ใช้เพลงที่ชื่อว่า Cherry Blossoms Received in the Jade Sake Cup ที่มีเนื้อร้องว่า

"Common people lead the lazy life, but we despise such attitude. The people are drowning in a sea of international struggles, but we have to save them and steer the ship. Drawn the sword at the top of the ship, the devils now hide, seas are calm."

นักเรียนที่จบจากโรงเรียนนี้ไปก็จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียว แล้วสร้างเครือข่ายของพวกเขาทั้งในระบบราชการ และธุรกิจ จนกลายมาเป็นลักษณะสำคัญของสังคมญี่ปุ่นที่สืบทอดมาถึงแม้กระทั่งปัจจุบันนี้

-----------

ที่มาของเนื้อหา: Richard A. Colignon & Chikako Usui. (2003). Amakudari: The Hidden Fabric of Japan's Economy. New York: Cornell University Press, pp.32-33. 

ที่มาของภาพ: http://www.oldtokyo.com/the-1st-higher-school-tokyo-c-1910/

บล็อกของ นรุตม์ เจริญศรี

นรุตม์ เจริญศรี
ไม่ได้เข้ามาเขียนบล็อกมานาน จนลืมไปแล้วว่าเคยมีบล็อกเป็นของตัวเอง แต่เมื่อต้องหาที่เขียนอะไรสักอย่างก็กลับทำมาให้คิดได้ว่าน่าจะมาเขียนที่ตรงนี้ เพราะหลายๆ ครั้งอยากเขียนอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นวิชาการและไม่ยาวเกินไป เลยวนกลับมาหาบล็อกนี้ใหม่ดีกว่า
นรุตม์ เจริญศรี
หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการ
นรุตม์ เจริญศรี
ภายใต้เป้าหมายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (regional connectivity) ในอาเซียนภายใต้ “แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master plan on ASEAN connectivity 2025: MPAC) เป้าหมายและเครื่องมือรวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานนั้นตั้งอยู่บนวิธีคิดแบบเน้นตลาดเป็นหลัก (market-oriented app
นรุตม์ เจริญศรี
One of the main issues of 
นรุตม์ เจริญศรี
ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดทางวิชาการในการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2563 และอยากนำเอาประเด็นที่ได้นำเสนอไว้มาเขียนบอกเล่าให้ฟังต่อกัน
นรุตม์ เจริญศรี
การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโ
นรุตม์ เจริญศรี
(ไม่เปิดเผยเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ)
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
ประเทศสมาชิกของ CPTPP (ที่มา:
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่