Skip to main content

หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการกลั่นแกล้ง ผลของมัน และการที่ผู้ใหญ่ทั้งในโรงเรียนหรือครอบครัวอาจจะไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา หรือเพิกเฉยต่อความรู้สึกของเด็กๆ

นิยายเรื่อง Lonely Castle in the Mirror โดย Mizuki Tsujimura สะท้อนภาพการกลั่นแกล้งในสังคมโรงเรียนญี่ปุ่นของเด็กอีกครั้ง แต่ครั้งนี้นำเสนอโดยการผนวกเอาจินตนาการการเดินผ่านทะลุกระจก (ราวกับแม่มณีทะลุไปอีกด้านของทวิภพ) ไปสู่อีกโลกที่มีปราสาท ซึ่งมีราชินีหมาป่ากำหนดกติกาบางอย่างเอาไว้เพื่อให้เด็กทั้ง 7 คนทำตาม! 

เด็กทั้ง 7 คนนี้มาจากไหน? ทำไมทั้ง 7 คนนี้ถึงทะลุกระจกข้ามเข้ามาในปราสาทนี้ ปราสาทนี้อยู่ที่ไหน? ราชินีหมาป่าคือใคร? เป้าหมายของการเข้ามาในปราสาทนี้คืออะไร?

เนื้อหาดำเนินไปอย่างเรียบง่าย ไม่หวือหวา หรืออาจจะเรียกได้ว่าไม่มีอะไรตื่นเต้นเลย จนกระทั่งอ่านมาประมาณ 3 ใน 4 ของเล่มถึงเริ่มจะรู้สึกว่ามีความสนุกขึ้นมา แต่ในระหว่างทางที่เนิบเรียบ ผู้เขียนบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของตัวละคร ปมที่ตัวละครคิดเอาไว้อย่างเรียบๆ ให้ผู้อ่านได้ผูกตัวเอง หรือดึงตัวเองเข้าไปกับประสบการณ์ของนางเองเอาเอง 

ตัวละครที่น่าสนใจ และน่าจะมีผลต่อนางเอกอย่างมากคือแม่นางเอก ผู้เข้าใจลูกในสถานการณ์ความยากลำบากนี้ เอาเข้าจริงแล้ว ปฏิกิริยาของแม่ที่มีต่อนางเองในเรื่อง แทบจะเป็นเหมือนอุดมคติของสังคมว่า หากมีลูกหรือบุคคลใกล้ชิดที่เผชิญกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียน แม่ในเรื่องนี้คงเป็นแบบอย่างที่ใครหลายๆ คนคงอยากให้เป็นแบบนี้

เนื้อเรื่องโดยภาพรวมอาจจะน่าเบื่อ เพราะดังที่ได้กล่าวไปว่ากว่าจะมีความรู้สึกว่าหนังสือนี้ "สนุก" ก็ปาเข้าไปแล้ว 3/4 ของเล่ม แต่ตอนจบก็ทำให้น้ำตาซึมไปมาก เพราะมีจุดที่ไม่คาดคิดคาดฝันอยู่เอาเสียเลย

ก็เป็นนิยายญี่ปุ่นที่น่าสนใจอีกเล่มที่สะท้อนสังคมเอาไว้ด้วยเรื่องเล่าที่แฝงจินตนาการให้อ่านเพลินๆ ก่อนนอนได้เป็นอย่างดี

บล็อกของ นรุตม์ เจริญศรี

นรุตม์ เจริญศรี
ไม่ได้เข้ามาเขียนบล็อกมานาน จนลืมไปแล้วว่าเคยมีบล็อกเป็นของตัวเอง แต่เมื่อต้องหาที่เขียนอะไรสักอย่างก็กลับทำมาให้คิดได้ว่าน่าจะมาเขียนที่ตรงนี้ เพราะหลายๆ ครั้งอยากเขียนอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นวิชาการและไม่ยาวเกินไป เลยวนกลับมาหาบล็อกนี้ใหม่ดีกว่า
นรุตม์ เจริญศรี
หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการ
นรุตม์ เจริญศรี
ภายใต้เป้าหมายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (regional connectivity) ในอาเซียนภายใต้ “แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master plan on ASEAN connectivity 2025: MPAC) เป้าหมายและเครื่องมือรวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานนั้นตั้งอยู่บนวิธีคิดแบบเน้นตลาดเป็นหลัก (market-oriented app
นรุตม์ เจริญศรี
One of the main issues of 
นรุตม์ เจริญศรี
ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดทางวิชาการในการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2563 และอยากนำเอาประเด็นที่ได้นำเสนอไว้มาเขียนบอกเล่าให้ฟังต่อกัน
นรุตม์ เจริญศรี
การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโ
นรุตม์ เจริญศรี
(ไม่เปิดเผยเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ)
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
ประเทศสมาชิกของ CPTPP (ที่มา:
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่