Skip to main content

 

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2562 สำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (การระหว่างประเทศ) และเป็นการร่วมฉลอง 100 ปีของการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของโลก

เพื่อฉลองวาระ 10/100 นี้ สำนักวิชาการระหว่างประเทศ จึงจัดการประชุมเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “The Interplay Between Two Worlds: ถักทอโลกวิชาการสานต่อการปฏิบัติงานด้านการระหว่างประเทศ” ในวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2562 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 อาคาร 50 ปีรัฐศาสตร์ฯ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

โดยเน้นประเด็นว่า ในช่วงที่ผ่านมา การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เชื่อมโยงกับภาคปฏิบัติอย่างไร เราเรียนรู้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาอย่างไร และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในไทยเป็นอย่าง และมีแนวโน้มอย่างไรในทศวรรษหน้า
----------
เราได้รับเกียรติจาก ท่านทูตพิษณุ จันทน์วิทัน อดีตเอกอัคคราชทูต กระทรวงการต่างประเทศ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2548 มาบรรยายประสบการณ์ในหัวช้อ "โลกนักปฏิบัติและโลกวิชาการ: จากประสบการณ์ทางการทูตสู่งานเขียนเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" ท่านทูตพิษณุ เคยเป็น กงสุลใหญ่แขวงสะหวันนะเขต กงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก เอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กับตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
----------
นอกจากนี้เรายังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ประจำสาขาวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาบรรยายในหัวข้อ "องค์ความรู้และแนวทางการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับกระแสการเปลี่ยนแปลง"
----------
รองศาสตราจารย์ ดร.วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาบรรยายในหัวข้อ "การเรียนการสอนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทศวรรษที่ผ่านมาและแนวโน้มสู่ทศวรรษหน้า"
----------
หลังจากนั้น เราจะมีการเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ "จุดสมดุลแห่ง IR: การเรียนการสอนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในประเทศไทย" โดยวิทยากร ร่วมกับ อาจารย์​ ดร.นฤมิต หิญชีระนันท์ (อดีตกงสุลใหญ่ประจำเมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน) และ อาจารย์ ดร.วรรณภา ลีระศิริ จากสำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤดี หงุ่ยตระกูล เป็นผู้ดำเนินรายการ
----------
ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และหากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถอีเมล์มาได้ที่ pornchanok.s@cmu.ac.th (คุณเอิร์ท)

 

บล็อกของ นรุตม์ เจริญศรี

นรุตม์ เจริญศรี
หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการ
นรุตม์ เจริญศรี
ภายใต้เป้าหมายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (regional connectivity) ในอาเซียนภายใต้ “แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master plan on ASEAN connectivity 2025: MPAC) เป้าหมายและเครื่องมือรวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานนั้นตั้งอยู่บนวิธีคิดแบบเน้นตลาดเป็นหลัก (market-oriented app
นรุตม์ เจริญศรี
One of the main issues of 
นรุตม์ เจริญศรี
ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดทางวิชาการในการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2563 และอยากนำเอาประเด็นที่ได้นำเสนอไว้มาเขียนบอกเล่าให้ฟังต่อกัน
นรุตม์ เจริญศรี
การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโ
นรุตม์ เจริญศรี
(ไม่เปิดเผยเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ)
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
ประเทศสมาชิกของ CPTPP (ที่มา:
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
นรุตม์ เจริญศรี
อัตลักษณ์ทางการแข่งขันของประเทศเอสโตเนีย ระหว่าง ค.ศ.1991-2011 โดย สมพงค์ พรมสะอาด