Skip to main content

นรุตม์ เจริญศรี
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

การประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น (Mekong-Japan Summit) ครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2561 ณ กรุงโตเกียว มีผู้นำจากประเทศต่างๆ จากกัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม และญี่ปุ่นเข้าร่วมประชุม โดยประกอบไปด้วย ฮุนเซนจากกัมพูชา ทองลุน สีสุลิดจากลาว อองซานซูจีจากเมียนมา ประยุทธจากไทย และเหงียน ซวน ฟุก จากเวียดนาม (ประเทศญี่ปุ่นเรียกการประชุมนี้ว่า "ญี่ปุ่น-แม่โขง" แต่ประเทศในลุ่มน้ำโขงเรียกการประชุมนี้ว่า "แม่โขง-ญี่ปุ่น")

 

ในการประชุมนี้ เอกสารที่สำคัญที่ออกจากหลังการประชุมคือ Tokyo Strategy 2018 for Mekong-Japan Cooperation ซึ่งเน้นย้ำความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นภายใต้กรอบความร่วมมือ Mekong-Japan Cooperation ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2009 

 

ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 10 ได้มีการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 11 ที่สิงคโปร์ ซึ่งมีการทบทวน The Japan-Mekong Connectivity Initiative การพิจารณาปรับปรุง New Tokyo Stratey 2015 และการเข้ามามีส่วนร่วมของญี่ปุ่นในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (official development assistance: ODA) ของญี่ปุ่นแก่ประเทศในลุ่มน้ำโขง

 

ผลจากการประชุมที่สำคัญก็คือ กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่นจะเน้นการให้ความสำคัญกับ 3 เสาหลัก (pillars) ที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งได้แก่

  1. Vibrant and Effective Connectivity
  2. People-Centered Society
  3. Realization of a Green Mekong

ผู้นำจากประเทศต่างๆ ยังตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงพัฒนาโดยสนับสนุน Sustainable Developement Goals (SDGs) ที่จะพัฒนาโดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง (no one left behind) และเน้นย้ำการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์

 

ประเด็นที่สำคัญอีกประการก็คือการที่ญี่ปุ่นสนับสนุนให้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่นพัฒนาควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์ Free and Open Indo-Pacific ของญี่ปุ่น โดยคาดหวังให้ลุ่มน้ำโขงเชื่อมมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก และให้ได้รับประโยชน์จากการเปิดกว้าง มีเสรี ซึ่งจะทำไปสู่สันติภาพ เสถียรภาพ และความรุ่งเรืองไปพร้อมๆ กัน

 

นอกจากนี้เพื่อให้ลุ่มน้ำโขงเชื่อมอนุภูมิภาคไปยังภูมิภาคอื่นๆ ที่ใกล้เคียง รัฐบาลญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมือ ACMECS (Ayeyawade-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ที่เชื่อมลุ่มน้ำโขงกับเอเชียใต้ไว้ด้วยกัน และผนวกการสร้างความร่วมมือกับ JICA, NEDA, TICA, ADB, ERIA, ASEAN-Japan Center, GMS และ LMI 

 

ดังที่ได้กล่าวไปถึงสามเสาหลักของ Tokyo Strategy 2018 for Mekong-Japan Cooperation รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญกับ

 

1. Vibrant and Effective Connectivity เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นมองเห็นว่าลุ่มน้ำโขงมีภูมิศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับจีน อินเดีย และประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ จะช่วยให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงได้รับผลประโยชน์จากภูมิศาสตร์ในการเป็นเครือข่ายของการผลิจได้เป็นอย่างดี ผ่านการเชื่อมโยง Hard Connectivity, Soft Connectivity และ Industry Connectivity

 

1.1 Hard Connectivity จะเน้นการเชื่อมโยงของสาธารณูปโภคที่จับต้องได้ ทั้งการเชื่อมโยงทางบก ทางทะเล และทางอากาศ และการสนับสนุนการพัฒนา East-West Economic Corridor (EWEC) และ Southern Economic Corridors (SEC) ที่อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือของ GMS ผ่านการสนับสนุน Quality Infrastructure ที่เป็นความริเริ่มที่สำคัญของญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยสนับสนุนการเปิดกว้าง ความโปร่งใส การทำงานของเศรษฐกิจ โดยยังคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

 

1.2 Soft Connectivity จะเน้นการให้ความสำคัญกับกฎระเบียบการขนส่งข้ามแดน ประเด็นด้านความมั่นคง และการจัดการด้านศุลกากร รวมถึงการนำเอา ICT เข้ามาสนับสนุนกระบวนการเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความร่วมมือด้านโทรคมนาคม ความมั่นคงของโลกไซเบอร์ หรือการเผยแพร่กระจายถ่ายทอดต่างๆ 

 

1.3 Industry Connectivity จะเน้นการสนับสนุน Connected Industries และการผลักดันให้ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในลุ่มน้ำโขงเข้ามาเชื่อมโยงกับลุ่มน้ำโขง อีกทั้งยังมีการสนับสนุนการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น SMEs หรือ Start-Ups และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) ต่างๆ

 

2. People-Centered Society เป็นความพยายามที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงให้มีความสามารถมากขึ้น และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นอกจากนั้นยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนผู้คน ผ่านความร่วมมือทางกีฬา วัฒนธรรม การแปลกเปลี่ยนเยาวชน ผู้นำท้องถิ่น การท่องเที่ยว หรือสื่อต่างๆ โดยในปี ค.ศ.2019 จะเป็นปีที่ครบรอบ 10 ปีความสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ ก็ถูกคาดหวังว่าจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคได้

 

โดยกรอบความร่วมมือนั้นจะเน้นเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้นำของประเทศต่างๆ ในลุ่มแน้ำโขงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง รวมไปถึงการพัฒนา AI, digital และธุรกิจระหว่างประเทศ ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงจะยังพยายามส่งเสริมการพัฒนาในด้านนี้ต่อไปผ่าน Human Resource Development Cooperation Initiative หรือ Global Financial Partnership Center (GLOPAC) นอกจากนี้ยังมีการเน้นความร่วมมือด้าน ด้านสุขภาพ การศึกษา ความร่วมมือด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

 

3. Realization of a Green Mekong เป็นความพยายามของสองภูมิภาคในการจัดการเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ ขยะในทะเล การจัดการทรัพยากรน้ำ การลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ 

 

นอกเหนือไปจากกรอบความร่วมมือสามเสาหลักของญี่ปุ่นกับลุ่มน้ำโขงแล้ว ที่ประชุมยังพูดคุยกันเรื่องประเด็นในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่อาจจะส่งผลกระทบต่อลุ่มน้ำโขง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับเกาหลีเหนือ และปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ที่ต้องแก้ไขด้วยระเบียบและกฎเกณฑ์

 

จากการออกยุทธศาสตร์ใหม่ภายใต้ความสัมพันธ์ญี่ปุ่นกับประเทศในลุ่มน้ำโขงนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของลุ่มน้ำโขงที่มีต่อยุทธศาสตร์ญี่ปุ่นทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองอยู่สองประการ ในแง่เศรษฐกิจ รัฐบาลญี่ปุ่นยังเล็งเห็นความสำคัญของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจเพราะมีแรงงานราคาถูก แม้ว่าจะยังต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายที่บริษัทต่างๆ จะเข้ามาลงทุน หรือได้ลงทุนอยู่เดิมแล้ว อีกทั้งยังมีทรัพยากรธรรมชาติ และมีที่ตั้งที่สำคัญทางภูมิศาสตร์ที่จะสามารถเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้ เช่น เอเชียใต้ โดยญี่ปุ่นได้พยายามดึงเอากรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค ACMECS เข้ามาเชื่อมโยงกับกรอบ GMS และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้การเชื่อมโยงทางถนนและกฎระเบียบต่างๆ เริ่มปรับเข้าหากันอย่างมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ร่วมกันมากยิ่งขึ้น

 

การเสนอให้ประเทศต่างๆ รับโครงการความช่วยเหลือสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ (quality infrastructure) ไม่เป็นเพียงแต่การให้ประเทศต่างๆ ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดี แต่ผลที่ได้คือการเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพเพื่อระบบเครือข่ายการผลิตที่มีเสถียรภาพ และการเล่นบทบาทผู้นำของภูมิภาคในการจัดสรรสิ้นค้าสาธารณะระดับภูมิภาค (regional public goods) ที่ดี และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของญี่ปุ่นให้กับประเทศต่างๆ ซึ่งออกมาคานอำนาจกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคของจีนที่อาจจะมีภาพลักษณ์ของคุณภาพสินค้าที่น้อยกว่า

 

นอกเหนือไปจากนั้น การพยายามเน้นย้ำความเชื่อมโยงของลุ่มน้ำโขงภายใต้แผน Free and Open Indo-Pacific ยังเป็นการพยายามประกาศพื้นที่ของการสร้างความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศในแถบอนุภูมิภาคที่มีทั้งสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นพันธมิตรกัน ซึ่งแสดงนัยสำคัญทางการเมืองระหว่างประเทศที่ต้องการแสดงบทบาทเหนือ หรือมา "คาน" อำนาจกับประเทศจีน Chheang (2018) เสนอว่าแม้ว่า Kentaro Sonoura ซึ่งเป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับ Shinzo Abe ได้เคยประกาศไว้ว่า Free and Open Indo-Pacific ไม่ได้มีเป้าหมายจะมาคานอำนาจกับประเทศใดก็ตามแต่ แต่หากรัฐบาลญี่ปุ่นสามารถใช้ยุทธศาสตร์ Free and Open Indo-Pacific และ New Tokyp Strategy พร้อมกันได้แล้ว อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงก็จะได้ประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจและการเมือง และรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็จะได้ประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และการแสดงอำนาจที่คานจีนได้เช่นเดียวกัน

 

เอกสารอ้างอิง

1. https://www.mofa.go.jp/mofaj/files/000406731.pdf

2. Chheang, V. (2018). Mekong-Japan Cooperation in the Indo-Pacific Strategy. Accessed October 7, 2018. From https://www.khmertimeskh.com/50116006/mekong-japan-cooperation-in-the-indo-pacific-strategy/.

 

บล็อกของ นรุตม์ เจริญศรี

นรุตม์ เจริญศรี
ไม่ได้เข้ามาเขียนบล็อกมานาน จนลืมไปแล้วว่าเคยมีบล็อกเป็นของตัวเอง แต่เมื่อต้องหาที่เขียนอะไรสักอย่างก็กลับทำมาให้คิดได้ว่าน่าจะมาเขียนที่ตรงนี้ เพราะหลายๆ ครั้งอยากเขียนอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นวิชาการและไม่ยาวเกินไป เลยวนกลับมาหาบล็อกนี้ใหม่ดีกว่า
นรุตม์ เจริญศรี
หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการ
นรุตม์ เจริญศรี
ภายใต้เป้าหมายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (regional connectivity) ในอาเซียนภายใต้ “แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master plan on ASEAN connectivity 2025: MPAC) เป้าหมายและเครื่องมือรวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานนั้นตั้งอยู่บนวิธีคิดแบบเน้นตลาดเป็นหลัก (market-oriented app
นรุตม์ เจริญศรี
One of the main issues of 
นรุตม์ เจริญศรี
ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดทางวิชาการในการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2563 และอยากนำเอาประเด็นที่ได้นำเสนอไว้มาเขียนบอกเล่าให้ฟังต่อกัน
นรุตม์ เจริญศรี
การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโ
นรุตม์ เจริญศรี
(ไม่เปิดเผยเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ)
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
ประเทศสมาชิกของ CPTPP (ที่มา:
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่