Skip to main content
 

บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา ด้วยการคาดหวังว่าตนจะได้เสรีภาพและหลุดจากการเป็นทาส แต่ก็ต้องสิ้นหวัง

                บทเพลงแห่งทาสหรือเพลงบูลส์สะท้อนความขมขื่นในสถานะภาพของคนผิวดำภายใต้สังคมอเมริกันผ่านเสียงร้องที่แหบกระด้างขึ้นจมูก แบบคนอมทุกข์ผสานกับท่วงทำนองที่มีลักษณะเศร้าสร้อย เนื่องจากเนื้อหาทั้งหมดจะสะท้อนอารมณ์หม่นหมอง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เรียกว่าบูลส์  "blue" หรือ" "The blue" ซึ่งก่อตัวขึ้นภายใต้วัฒนธรรมแอฟริกัน - อเมริกัน เกิดเป็นแอ่งอารยธรรม แอฟโฟ-อเมริกัน (Afro-American) ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของคนแอฟริกันในอเมริกาผสานกับภูมิปัญญาอเมริกันส่งผลให้วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเมริกาก่อรูปขึ้น ทั้งดนตรี ชีวิต ชุมชน ครอบครัว คติชนวิทยา ภาษา กีฬา รวมถึงขบวนการสิทธิพลเมือง ซึ่งคนผิวดำใช้ภูมิปัญญาทั้งหมดนี้ค้นหาความหมายของเสรีภาพ

                ในด้านของดนตรีนั้น คนผิวดำในอเมริกาในขณะนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับ ดนตรีของคนผิวดำเปรียบเสมือนการลบหลู่ทางอารยธรรม เพราะดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาถูกตีค่าว่าเต็มไปด้วยเสียงที่สกปรก ยุ่งเหยิงและไร้ระเบียบ ด้านเชื้อชาติชนชาติของคนผิวดำในขณะนั้นได้ถูกครอบงำด้วยองค์ความรู้ด้านสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาที่แพร่สะพัดในศตวรรษที่19 ว่าวิวัฒนาการของคนนิโกรยังอยู่ในขั้นต่ำ ไม่เจริญและไม่มีวัฒนธรรม เท่ากับคนตะวันตกเป็นข้ออ้างที่คนขาวไม่ต้องการสูญเสียทาสผิวดำซึ่งมีสถานะเป็นทรัพย์สินของคนผิวขาว แม้ต่อมาชาวแอฟริกันอเมริกาจะผ่านการต่อสู้ที่ยาวนาน ตั่งแต่ปี ค.ส.1861-1865 ในสงครามกลางเมือง และได้รับการเลิกทาสตามประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญ สหรัฐอเมริกาฉบับที่13 ในปี 1865 คนผิวดำยังต้องต่อสู้ให้หลุดพ้นจากลัทธิการเหยียดเชื้อชาติก่อตัวขึ้นหลังสงครามกลางเมือง

จึงเป็นเรื่องยากที่ดนตรีบูลส์จะได้รับการยอมรับในสังคมอเมริกา  แต่แล้วในปี 1920 -1950 เพลง  St.Louis blue ของ W.C Handy ได้มีผู้นำมาร้องและบรรเลงซึ่งได้รับความนิยมในวงกว้าง และในปี 1950 นี่เองที่คลื่นแห่งการต่อสู้ที่นำโดย มาร์ติน ลูเทอร์ คิงได้ขยายการต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพเป็นวงกว้างมากขึ้นและประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยการนำของนักศึกษาผิวดำ มีการตั้งพรรค  "เสรีภาพเดี๋ยวนี้"  (Freedom  Now)

 

W.C Handy  "บิดาห่งบูลส์" เป็นที่รู้จักในสังคมอเมริกา โดยแฮนดี้และคณะยังได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหาเหน็บแนมคนผิวขาว ชื่อเพลง "Mr. crump"

แปลคร่าวๆว่า                                       "คุณครัมพ์ม่าอณุญาติให้ใครทำเล่น

เราไม่เห็นสนว่าคุณครัมพ์จะอนุญาตอะไร

เราเล่นมันๆของเราอย่างนี้ใครจะทำไม

เชิญคุณครัมพ์ออกไปตามสบาย

                การวางขายงานเพลงของคนผิวดำนั้นมีอุปสรรคมาก เพราะ เจ้าของร้านค้าที่เป็นคนผิวขาวนั้นไม่อาจรับงานขายได้ แฮนดี้แจึงวางขายเองผลงานของเขามียอดขายที่ดีมาก ปรากฏว่า The Memphis ของเขา เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วแฮนดี้เองยังเคยถูกชาวผิวขาวโห่ไล่ลงจากเวทีเพียงเพราะเป็นคนผิวดำซึ่งไม่เกี่ยวกับรสนิยมทางดนตรีแต่อย่างใดเพราะเมื่อวงถัดไปขึ้นโชว์โดยเล่นเพลงพื้นเมืองของตนผิวดำแต่กลับได้รับเสียงปรบมือ

เพลงบูลส์ยังได้เป็นรากฐานของดนตรีแจ๊สในการสร้างท่วงทำนอนตามอารมณ์ของคนผิวดำ ส่วนในด้านของการจัดวลีท่วงทำนองของคนผิวดำให้เข้ากับระบบเสียงประสานของตะวันตกของแจ๊สอาศัยดนตรีแนว Ragtiam ซึ่งเป็นดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาเช่นกัน โดยมีเพลง Treemonisha  ซึ่งได้รับรางวัลพูลิเซอร์ เนื้อหาของเพลงสะท้อนเรื่องราวของชาวผิวดำที่ไร้การศึกษาซึ่ง Treemonisha กลายเป็นสัญลักษณ์ ความเป็นไทของคนผิวดำอย่างแท้จริง ดั่งคำร้องท่อนหนึ่งว่า

"หุบปากเสียเจ้าพูดมากพอแล้ว

เจ้าหลอก Treemonisha ไม่ได้หรอก เธอเป็นคนหัวก้าวหน้า

เป็นคนเดียวที่ได้รับการศึกษาในหมู่พวกเรา

และในระแวกรอบๆแถวนี้พ้นจากคำสาปของความงมงาย

และพวกเจ้าจะต้องกลับเนื้อกลับตัวเสีย

เธอเป็นคนสอนให้ข้ารู้จักอ่านเขียน

เธอสอนให้ข้ารู้จักคิด

และข้าก็ขอบใจเธอยิ่งนัก

พวกเจ้าเลิกกระทำการโง่เขลาเสียเถิด

เปลี่ยนวิถีชีวิตและหาทางที่ดีกว่านี้เถิด

                เนื้อเพลงสะท้อนการต่อสู้ที่มีมายาวนานและเป็นแนวดนตรีหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อดนตรีแจ๊ส ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุโรป ในปัจจุบันมีนักดนตรีบูลส์ที่สำคัญเกิดขึ้นหลายคน เช่น Eric Clapton, B.B. KING และ Jimi Hendrix เป็นต้น

                ในเรื่องของดนตรีในปัจจุบันชาวผิวดำถือว่าได้รับการยอมรับอย่างสูง แต่ในสังคมวัฒนธรรมอเมริกาซึ่งก่อสร้างมาบนอุดมการณ์ ปฏิวัติประชาธิปไตยให้ความสำคัญแก่ปัจเจกชนโดยสมบูรณ์ เน้นการรักษาทรัพย์สินส่วนตัวมากกว่าให้ทุกคนเสมอภาค และสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้น กลับเป็นการปฏิวัติที่อาจดูเหมือนนำมาซึ่งความเสมอภาคของคนผิวดำแต่โดยแท้จริงแล้วกลับนำมาซึ่งการขยายตัวของระบบทุนนิยมที่ต้องการแรงงานเสรีมากกว่าระบบทาสซึ่งหลังสงครามกลางเมืองคนผิวดำยังคงต้องเผชิญกับลัทธิการเหยีดสีผิวในระยะต่อมา ในทางการเมืองคนผิวดำได้รับความเป็นไทแล้วแต่ในทางเศษฐกิจตราบใดที่ยังขาดเสรีภาพ แรงงานกรรมกร ยังต้องพาผู้อื่นทางเศรษฐกิจ นั้นคงยังไม่สามารถเข้ากันได้กับอุดมคติแบบอเมริกันตามคำ

                "ข้าพเจ้ามีความฝันว่าวันหนึ่งประเทศนี้จะบรรลุซึ่ง เป้าหมายที่แท้จริง"  ตามคำพูดที่ว่า

"เราเชื่อว่าสัจธรรมเหล่านี้เป็นความจริงในตัวเองคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน "

นี่เป็นตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิงส์ "ในข้าพเจ้ามีความฝัน" และในสุนทรพจน์อันโด่งดังนี้ ดร. คิงส์ ได้พูดถึง ต้นกำเนิดของเพลงบูลส์ในบริเวณเนินเขามิสซิสซิปปี้ว่า

"ให้เสียงระฆังแห่งเสรีภาพจงกังวานจากทุกเนินเขาของบมิสซิสซิปปี้ และจากทุกหุบเขาให้เสรีภาพกังวาน"

ถ้าการก้าวเดินของบทเพลงบูลส์คือประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนผิวดำเพียงฉากแรก คนผิวดำยังคงต้องก้าวไปให้ถึงฉากสุดท้ายคือความเท่าเทียมที่แท้จริง

 

 

               

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
รายการประกายTalk โดย DJ Bus กับ ป้าอุ๊ ภรรยาอากง SMS (23-05-2012) แขกรับเชิญ ป้าอุ๊ ภรรยา ของ อากง SMS หรือ นายอำพล ทีสามีเป็นผู้ต้องขังคดี ม.112 และเสียชีวิตในคุกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) 16-05-2012 แขกรับเชิญ สมบัติ บุญงามอนงค์ (ชื่อเล่น: หนูหริ่ง, หรือนามแฝงที่ใช้ในอินเตอร์เน็ท: บ.ก.ลายจุด) แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง พิธีกรร่วมรายการ: DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น การปั่นกระแส"แพงทั้งแผ่นดิน"กับการกดชีวิตอากงให้ถูก
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "วันกรรมกรสากล" 02-05-2012 แขกรับเชิญ คุณ พัชนี คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ "วิวัฒนาการรัฐทุนนิยมไทย" วิทยากร เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณัฐพล ใจจริง. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย วีรนันท์ ฮวดศรี กลุ่มประกายไฟ
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ “New Social Media กับการเคลื่อนไหวทางเมืองไทย” วิทยากร อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย ปาลิดา ประการะโพธิ์ กลุ่มประกายไฟ ( วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55)   
ประกายไฟ
วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55 มาร์กซิสม์ 101 A ว่าด้วยทฤษฎีมาร์กซิสม์ เบื้องต้น บรรยาย เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน มาร์กซิสต์   วิทยากร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการ ณัชชา ตินตานนท์ กลุ่มประกายไฟ  
ประกายไฟ
  บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา…
ประกายไฟ
  "แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง" ทิพรดา ตากดำรงศ์กุลท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า…
ประกายไฟ
แถลงการณ์"การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุนลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"ณ  อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลาวันอาทิตย์ที่  28 กันยายน 2551 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ "การเมืองใหม่" โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน "การเมืองแบบเก่า" ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่นกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น "เจ้าภาพ" เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา…
ประกายไฟ
  แถลงการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้1 กันยายน 2551จากเหตุการณ์การชุมนุมยืดเยื้อและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายชนชั้นนายทุน มิใช่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของชนชั้นล่างอย่างแท้จริง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาที่ลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อสังคม ดังต่อไปนี้1. เราคัดค้านการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ…