Skip to main content
 

บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา ด้วยการคาดหวังว่าตนจะได้เสรีภาพและหลุดจากการเป็นทาส แต่ก็ต้องสิ้นหวัง

                บทเพลงแห่งทาสหรือเพลงบูลส์สะท้อนความขมขื่นในสถานะภาพของคนผิวดำภายใต้สังคมอเมริกันผ่านเสียงร้องที่แหบกระด้างขึ้นจมูก แบบคนอมทุกข์ผสานกับท่วงทำนองที่มีลักษณะเศร้าสร้อย เนื่องจากเนื้อหาทั้งหมดจะสะท้อนอารมณ์หม่นหมอง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เรียกว่าบูลส์  "blue" หรือ" "The blue" ซึ่งก่อตัวขึ้นภายใต้วัฒนธรรมแอฟริกัน - อเมริกัน เกิดเป็นแอ่งอารยธรรม แอฟโฟ-อเมริกัน (Afro-American) ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของคนแอฟริกันในอเมริกาผสานกับภูมิปัญญาอเมริกันส่งผลให้วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเมริกาก่อรูปขึ้น ทั้งดนตรี ชีวิต ชุมชน ครอบครัว คติชนวิทยา ภาษา กีฬา รวมถึงขบวนการสิทธิพลเมือง ซึ่งคนผิวดำใช้ภูมิปัญญาทั้งหมดนี้ค้นหาความหมายของเสรีภาพ

                ในด้านของดนตรีนั้น คนผิวดำในอเมริกาในขณะนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับ ดนตรีของคนผิวดำเปรียบเสมือนการลบหลู่ทางอารยธรรม เพราะดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาถูกตีค่าว่าเต็มไปด้วยเสียงที่สกปรก ยุ่งเหยิงและไร้ระเบียบ ด้านเชื้อชาติชนชาติของคนผิวดำในขณะนั้นได้ถูกครอบงำด้วยองค์ความรู้ด้านสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาที่แพร่สะพัดในศตวรรษที่19 ว่าวิวัฒนาการของคนนิโกรยังอยู่ในขั้นต่ำ ไม่เจริญและไม่มีวัฒนธรรม เท่ากับคนตะวันตกเป็นข้ออ้างที่คนขาวไม่ต้องการสูญเสียทาสผิวดำซึ่งมีสถานะเป็นทรัพย์สินของคนผิวขาว แม้ต่อมาชาวแอฟริกันอเมริกาจะผ่านการต่อสู้ที่ยาวนาน ตั่งแต่ปี ค.ส.1861-1865 ในสงครามกลางเมือง และได้รับการเลิกทาสตามประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญ สหรัฐอเมริกาฉบับที่13 ในปี 1865 คนผิวดำยังต้องต่อสู้ให้หลุดพ้นจากลัทธิการเหยียดเชื้อชาติก่อตัวขึ้นหลังสงครามกลางเมือง

จึงเป็นเรื่องยากที่ดนตรีบูลส์จะได้รับการยอมรับในสังคมอเมริกา  แต่แล้วในปี 1920 -1950 เพลง  St.Louis blue ของ W.C Handy ได้มีผู้นำมาร้องและบรรเลงซึ่งได้รับความนิยมในวงกว้าง และในปี 1950 นี่เองที่คลื่นแห่งการต่อสู้ที่นำโดย มาร์ติน ลูเทอร์ คิงได้ขยายการต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพเป็นวงกว้างมากขึ้นและประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยการนำของนักศึกษาผิวดำ มีการตั้งพรรค  "เสรีภาพเดี๋ยวนี้"  (Freedom  Now)

 

W.C Handy  "บิดาห่งบูลส์" เป็นที่รู้จักในสังคมอเมริกา โดยแฮนดี้และคณะยังได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหาเหน็บแนมคนผิวขาว ชื่อเพลง "Mr. crump"

แปลคร่าวๆว่า                                       "คุณครัมพ์ม่าอณุญาติให้ใครทำเล่น

เราไม่เห็นสนว่าคุณครัมพ์จะอนุญาตอะไร

เราเล่นมันๆของเราอย่างนี้ใครจะทำไม

เชิญคุณครัมพ์ออกไปตามสบาย

                การวางขายงานเพลงของคนผิวดำนั้นมีอุปสรรคมาก เพราะ เจ้าของร้านค้าที่เป็นคนผิวขาวนั้นไม่อาจรับงานขายได้ แฮนดี้แจึงวางขายเองผลงานของเขามียอดขายที่ดีมาก ปรากฏว่า The Memphis ของเขา เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วแฮนดี้เองยังเคยถูกชาวผิวขาวโห่ไล่ลงจากเวทีเพียงเพราะเป็นคนผิวดำซึ่งไม่เกี่ยวกับรสนิยมทางดนตรีแต่อย่างใดเพราะเมื่อวงถัดไปขึ้นโชว์โดยเล่นเพลงพื้นเมืองของตนผิวดำแต่กลับได้รับเสียงปรบมือ

เพลงบูลส์ยังได้เป็นรากฐานของดนตรีแจ๊สในการสร้างท่วงทำนอนตามอารมณ์ของคนผิวดำ ส่วนในด้านของการจัดวลีท่วงทำนองของคนผิวดำให้เข้ากับระบบเสียงประสานของตะวันตกของแจ๊สอาศัยดนตรีแนว Ragtiam ซึ่งเป็นดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาเช่นกัน โดยมีเพลง Treemonisha  ซึ่งได้รับรางวัลพูลิเซอร์ เนื้อหาของเพลงสะท้อนเรื่องราวของชาวผิวดำที่ไร้การศึกษาซึ่ง Treemonisha กลายเป็นสัญลักษณ์ ความเป็นไทของคนผิวดำอย่างแท้จริง ดั่งคำร้องท่อนหนึ่งว่า

"หุบปากเสียเจ้าพูดมากพอแล้ว

เจ้าหลอก Treemonisha ไม่ได้หรอก เธอเป็นคนหัวก้าวหน้า

เป็นคนเดียวที่ได้รับการศึกษาในหมู่พวกเรา

และในระแวกรอบๆแถวนี้พ้นจากคำสาปของความงมงาย

และพวกเจ้าจะต้องกลับเนื้อกลับตัวเสีย

เธอเป็นคนสอนให้ข้ารู้จักอ่านเขียน

เธอสอนให้ข้ารู้จักคิด

และข้าก็ขอบใจเธอยิ่งนัก

พวกเจ้าเลิกกระทำการโง่เขลาเสียเถิด

เปลี่ยนวิถีชีวิตและหาทางที่ดีกว่านี้เถิด

                เนื้อเพลงสะท้อนการต่อสู้ที่มีมายาวนานและเป็นแนวดนตรีหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อดนตรีแจ๊ส ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุโรป ในปัจจุบันมีนักดนตรีบูลส์ที่สำคัญเกิดขึ้นหลายคน เช่น Eric Clapton, B.B. KING และ Jimi Hendrix เป็นต้น

                ในเรื่องของดนตรีในปัจจุบันชาวผิวดำถือว่าได้รับการยอมรับอย่างสูง แต่ในสังคมวัฒนธรรมอเมริกาซึ่งก่อสร้างมาบนอุดมการณ์ ปฏิวัติประชาธิปไตยให้ความสำคัญแก่ปัจเจกชนโดยสมบูรณ์ เน้นการรักษาทรัพย์สินส่วนตัวมากกว่าให้ทุกคนเสมอภาค และสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้น กลับเป็นการปฏิวัติที่อาจดูเหมือนนำมาซึ่งความเสมอภาคของคนผิวดำแต่โดยแท้จริงแล้วกลับนำมาซึ่งการขยายตัวของระบบทุนนิยมที่ต้องการแรงงานเสรีมากกว่าระบบทาสซึ่งหลังสงครามกลางเมืองคนผิวดำยังคงต้องเผชิญกับลัทธิการเหยีดสีผิวในระยะต่อมา ในทางการเมืองคนผิวดำได้รับความเป็นไทแล้วแต่ในทางเศษฐกิจตราบใดที่ยังขาดเสรีภาพ แรงงานกรรมกร ยังต้องพาผู้อื่นทางเศรษฐกิจ นั้นคงยังไม่สามารถเข้ากันได้กับอุดมคติแบบอเมริกันตามคำ

                "ข้าพเจ้ามีความฝันว่าวันหนึ่งประเทศนี้จะบรรลุซึ่ง เป้าหมายที่แท้จริง"  ตามคำพูดที่ว่า

"เราเชื่อว่าสัจธรรมเหล่านี้เป็นความจริงในตัวเองคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน "

นี่เป็นตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิงส์ "ในข้าพเจ้ามีความฝัน" และในสุนทรพจน์อันโด่งดังนี้ ดร. คิงส์ ได้พูดถึง ต้นกำเนิดของเพลงบูลส์ในบริเวณเนินเขามิสซิสซิปปี้ว่า

"ให้เสียงระฆังแห่งเสรีภาพจงกังวานจากทุกเนินเขาของบมิสซิสซิปปี้ และจากทุกหุบเขาให้เสรีภาพกังวาน"

ถ้าการก้าวเดินของบทเพลงบูลส์คือประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนผิวดำเพียงฉากแรก คนผิวดำยังคงต้องก้าวไปให้ถึงฉากสุดท้ายคือความเท่าเทียมที่แท้จริง

 

 

               

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
  ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กลุ่มประกายไฟ            "รัฐสวัสดิการ เป็นระบบที่อยู่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยมทั้งทางปฏิบัติและตรรกะ แต่ระบบทุนนิยมจะดำรงอยู่ไม่ได้หากปราศจากรัฐสวัสดิการ"วอลเตอร์ คอร์ปี ทำไมต้องสังคมนิยมประชาธิปไตย? สำหรับฝ่ายซ้ายทั่วไปอาจตั้งข้อสงสัยกับหัวข้อ ว่าสังคมนิยมมันต้องเป็นประชาธิปไตยในตัวอยู่แล้วมิใช่หรือ  แล้วทำไมต้องมีประชาธิปไตยต่อท้าย มันมีด้วยหรือ สังคมนิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย....เพื่อความเข้าใจตรงกัน...การใช้คำว่าสังคมนิยมประชาธิปไตย(Socialism Democracy)…
ประกายไฟ
“นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้ามนักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน” โรซา ลัคเซมเบิร์ก บทนำ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในสังคมที่ทุกฝ่ายอยากเบือนหน้าหนี ภาคประชาชนถึงคราวตีบตัน เมื่อหันไปดูรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็พบว่าเป็นรัฐบาลทุนนิยมสามานย์ที่สร้างบาดแผลลึกแก่สังคมไทย ตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมรัฐสมัย6ตุลาคม2519 ยังไม่นับรวมการเป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณซึ่งอื้อฉาวในกรณี ฆ่าตัดตอนยาเสพติด…