Skip to main content

5 กันยายน 2550
ยามเช้า,

ตื่นขึ้นด้วยเสียงเลื่อยไม้, เสียงค้อนตอกตะปู,เสียงสังกะสีกระทบพื้นดังโครมคราม ไก่หลายตัวที่เคยขันปลุกทุกเช้า ถูกเชือดเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงคนที่มาช่วยลงแขกรื้อบ้านตั้งแต่เมื่อวานและเช้านี้ บ้านหลายหลังพังพาบเป็นกองไม้ รอวันขนย้ายไปที่แห่งใหม่

เด็กๆ วิ่งตึงตังในห้องกลางเพราะต้องมานอนรวมแออัดกันที่บ้านย่า ก็คือบ้านสามีของฉัน แม่บ้านและเด็กสาววุ่นวายอยู่ในครัว

เหตุการณ์ชุลมนเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อหลายวันก่อน ชาวบ้านมาขอคำปรึกษาเรื่องบ้าน ฉันจึงตัดสินใจกดหมายเลขโทรศัพท์ต่อสายพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับปลัดหนุ่มที่ดูแลพื้นที่

“ปลัดฯหรือคะ คือฉันมีเรื่องรบกวนจะเรียนถาม ชาวบ้านอยากทราบว่าบ้านเก่าที่อยู่นี้เขาจะรื้อย้ายไปที่ใหม่ด้วยได้ไหม”

“ผมคิดว่าอันไหนที่ชาวบ้านคิดว่ามันจำเป็นและสำคัญต้องเอาไปด้วย ก็ขนย้ายกันไป เราจะมีรถและอส.ไว้ให้บริการ แต่น่าจะเอาเฉพาะส่วนที่จำเป็นไปก่อนจะดีกว่านะครับ ถ้าย้ายบ้านไปทั้งหลังเกรงว่ารถจะขนหลายรอบ หรืออาจใช้เวลาหลายวัน”

“แต่ชาวบ้านเขาคิดว่าบ้านก็เป็นสมบัติที่เขาลงทุนสร้างมา ไม่ใช่เรื่องง่ายๆนะคะกว่าจะเปลี่ยนจากเพิงกระท่อมมาเป็นบ้านที่มั่นคงแข็งแรง เขาก็อยากจะรื้อย้ายไปด้วย ถ้าหากว่าทางการอนุญาต เพราะบ้านที่ทางจังหวัดสร้างไว้ บอกตามตรงมันเล็กมาก ไม่พออาศัยสำหรับครอบครัวที่มีลูกมากถึง 4-5 คน หรอกคะ ฉันอยากให้ข้อคิดเห็นปลัดฯ อีกอย่างก็คือ ฉันคิดว่าถ้าปลัดฯอนุญาตให้เขารื้อบ้านเก่าไปได้ ชาวบ้านก็จะได้ไม่ต้องไปลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อต่อเติมบ้าน เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรป่าไม้และยังผิดกฎหมายอีกด้วย สู้ให้เขาเอาไม้เก่าๆ ไปต่อเติมจะดีกว่านะคะ”

“ผมเข้าใจครับ เรื่องนี้ก็มีเหตุผลอยู่แต่ เกรงว่าจะไม่สามารถย้ายกันไปหมดได้ภายในวันเดียว เอาอย่างนี้แล้วกันนะครับ ถ้าชาวบ้านอยากจะย้ายไม้บ้านไปจริงผมก็จะอนุญาตให้หนึ่งวัน ในวันที่ย้ายคือ วันที่ 10 กันยายน แต่อันนี้ผมบอกได้เพียงคำพูดเท่านั้นนะครับ ไม่สามารถออกเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรได้ เพราะคุณก็รู้เรื่องไม้มันเกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐหลายส่วน หากให้ทำหนังสือขออนุมัติ ก็ต้องใช้เวลานานคงไม่ทันกาล”

แม้จะไม่เป็นทางการแต่ฉันก็ยังเชื่อใจปลัดฯ ถ่ายเทคำสั่งที่ได้ยินมาว่าสามารถขนย้ายไม้บ้านเก่าไปหมู่บ้านใหม่ได้ และบ้านทุกหลังที่ตัดสินใจย้ายก็พังพาบลงในพริบตา

ความจริงที่หมู่บ้านห้วยปูแกง ทางจังหวัดมีงบประมาณสร้างบ้านไว้รอผู้ที่ย้ายมาใหม่ หลังละ 5,000 บาท แต่งบประมาณเพียงเท่านี้ จึงสร้างได้เพียงบ้านเพิงไม้ไผ่หลังคามุงใบตองตึง มีห้องนอน,ห้องนั่งเล่นและห้องน้ำอย่างละหนึ่งห้อง

มองไปไม่ต่างจากเถียงนาบ้านคนเมืองสักเท่าไร เพียงแต่เถียงนาจะอยู่โล่งๆ กลางนาเพียงหลังเดียว แต่บ้านเพิงที่สร้างไว้รองรับชาวบ้านจากสองหมู่บ้าน กลับยืนเรียงแถวกันอย่างเป็นระเบียบกว่า 30 หลัง

ยามบ่าย,

ฝนโปรยสายอ้อยอิ่ง เมฆครึ้มอากาศทึมเทาเด็กๆต่างไปโรงเรียนกันหมดแล้ว เหลือเพียงเด็กเล็กและทารกที่ยังต้องการการเอาใจใส่ใกล้ชิดจากพ่อและแม่

คนหนุ่มบางคนหยิบคันเบ็ดเดินล่องไปตามลำธาร บ้างหันหน้าเข้าป่าแบกจอบไปขุดตุ่นแบกปืนไปยิงนกล่าสัตว์ในป่าที่คุ้นเคย

หมู่บ้านเงียบกริบนานๆ มีเสียงงัดแงะตะปูออกจากแผ่นไม้ แม่เฒ่ากระยันนั่งถอนใจปั่นด้ายซึมเซาข้างๆ กองไม้

นักท่องเที่ยวบางตากว่าเดือนที่แล้วมาก คนไทยอาจจะพอรู้ข่าวคราวการโยกย้ายจึงไม่ค่อยแน่ใจว่ายังเปิดให้เข้ามาเที่ยวหรือไม่ แต่กรุ๊ปทัววร์ฝรั่งที่มีไกรด์นำทางก็ยังเดินทางเข้ามาเที่ยวอยู่ประปราย

แม่ (ของสามี) ถามขึ้นกับฉันเบาๆ ว่ายายเป็ง (นายทุน) จะให้เงินเดือนย้อนหลังกับคนที่ย้ายหรือเปล่า เพราะสองเดือนก่อนอ้างว่าไม่มีนักท่องเที่ยวก็เลยติดค้างชาวบ้านไว้ แต่ทุกๆปีก็จ่ายคืนให้ ฉันตอบว่าไม่รู้หรอก อันนี้ชาวบ้านก็ต้องรวมตัวกันพูดกับยายเอง

เงิน 1,500 บาท ที่นายทุนให้เป็นค่าตอบแทนแก่หญิงสาวกระยันที่สวมห่วงทองเหลืองไว้ที่คอ นับตั้งแต่ย่างเท้าเข้ามาในประเทศไทย แม้ภาวะเศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ การเงินผันผวนเช่นไร แต่ก็ยังไม่มีการขึ้นเงินเดือนให้พวกเธอสักครั้ง

ถึงกระนั้นเงินจำนวนน้อยนิดนี้ ก็ยังสามารถจุนเจือครอบครัวในหุบเขาได้อย่างปกติสุขเรื่อยมา เพราะพวกเธอไม่รู้จักการเรียกร้องต่อรอง หากเป็นโรงงานใหญ่ในเมือง คงถูกประท้วงขึ้นค่าแรงไปนานแล้วหากสวัสดิการที่ได้ไม่พอกับค่าเหนื่อย

picture

ยามเย็น,

เด็กๆ กลับมาจากโรงเรียนคืนชีวิตชีวาให้กับหมู่บ้านอีกครั้ง บ้างจับกลุ่มกันเขียนตารางบนดินเล่นตาเขย่ง บ้างขึงหนังยางเล่นโดดเชือก ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเช่นทุกวัน ลูกของฉันก็พลอยยิ้มร่าหัวเราะเสียงดังที่มีพี่ๆมาหยอกล้อเล่นหลังจากอยู่เหงาๆกับแม่และย่าลำพังทั้งวัน

โรงเรียนและเพื่อนๆ คือสิ่งที่เด็กๆ ทั้งโลกควรจะได้รับ เมื่อถึงเวลาที่ย้ายจริงๆ เด็กที่นี่จะต้องย้ายจากโรงเรียนในระบบประถมศึกษา ไปเรียนต่อในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน และสูญเสียเพื่อนบางคน พบเจอกับเพื่อนใหม่ อยู่บ้านใหม่บ้าน แปลกทั้งสถานที่และผู้คน

แต่ดูเหมือนจะไม่มีเด็กคนไหนกังวลถึงสิ่งที่กำลังจะมาถึงพวกเขา ต่างจากผู้ใหญ่ที่จะสารพัดกังวลไว้ล่วงหน้า ด้วยคำถามที่ชาวบ้านฝากฉันไว้ถามต่อหน่วยงานภาครัฐมากมาย

“เขาจะให้ถนนไหม ,เขาจะให้โซล่าเซลล์หรือเปล่า แล้วเงินเดือนล่ะ ฯลฯ”

ฉันถอนใจกับตัวเองเบาๆ เก็บคำถามเหล่านี้ไว้ก่อนจะดีกว่ารอวันถึงตาจนจริงๆ วันนั้นวิกฤติอาจเป็นโอกาส สามารถเปลี่ยนชาวบ้านที่แตกแยกให้สามัคคีกันได้ เปลี่ยนชุมชนอ่อนแอให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เปลี่ยนจากผู้ยอมจำนน ให้เป็นผู้มีอำนาจต่อรอง

การเดินทางยังอีกยาวไกล และคำตอบยังรอคอยอยู่ข้างหน้า.

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว