Skip to main content

ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

ภาพประกอบจาก MaysaaNitto Org-home พร้อมข้อความที่ระบุว่า "สำหรับคนไม่มีรถและไปไหนมาด้วยขนส่งมวลชนราคาถูกอย่างรถเมล์หรือรถตู้ ผมเชื่อว่ากาีรมีรถคันแรกคือความใฝ่ฝันของพวกเขาครับ ผทเขื้อส้่คนที่ซื้่อรถคันแรกก็คืออดีตคนขึ้นรถเมล์หรือรถตู้แบบนี้ทั้งนั้น เขามีสิทธิใช้ถนนได้เท่ากับคนที่มีรถตอนนี้ เขาต้องการความสะดวกสบายและความเร็วในการเดินทางไปไหนมาไหนไม่ต่างจากท่านที่มีรถอยู่ในปัจจุบัน "                  Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

 
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
 
3 ประเด็นปัญหานี้มีส่วนจริงและเหตุผลรองรับด้วยน้ำหนักและลำดับความสำคัญแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งในระดับปัญหานโยบายของรัฐชาติ และในระดับปัญหาแนวทางการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกมีข้อจำกัด แต่ไม่มีประเด็นไหนที่ปัดทิ้งไปได้เลย หรือในทางกลับกันจริงและฟังขึ้นอยู่ประเด็นเดียว
 
ในที่สุดผู้มาก่อนจะถูกเรียกร้องให้ลดระดับการบริโภคพลังงานและปรับมาตรฐานการครองชีพลง ไม่มีทางเลี่ยง ถ้าจะให้ทั้งโลกรอดและเป็นธรรม
 
การกระตุ้นเศรษฐกิจคงชอบธรรมที่จะทำต่อ ซึ่งก็คงรวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์/คมนาคมด้วย แต่ในทิศทางที่คงต้องคิดกันว่าจะให้สอดรับกับขีดจำกัดและการเวียนใช้พลังงาน สอดรับหนุนเสริมกับแหล่งพลังธรรมชาติอื่น ๆ นอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการคมนาคมแบบใดที่เหมาะกับเขตเมืองภายใต้เงื่อนไขจำกัดดังกล่าว (จริง ๆไม่ใช่แค่เรื่องรถยนต์ แต่ตึกระฟ้า อาหารที่สัดส่วนเนื้อสูง เกษตรเคมีเข้มข้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่จะเจอขีดจำกัดด้วย)
 
สุดท้ายคือมันมีขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งในทางค้นพบตระหนักรู้และยอมรับ น่าจะเห็นตรงกันได้มากขึ้นทั่วไป แต่จะผสานความรู้นั้น กับการวางแนวเพดานของการพัฒนาต่อไปอย่างไร อันนี้เป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องเจอแน่ ๆ ที่ว่าโลกแตก เพราะโลกแห่งรัฐชาติและโลกประชาธิปไตย ยังไม่มีคำตอบให้
 
ในบางแง่ มันจำลองสถานการณ์และข้อเหตุผลที่ถกเถียงระหว่างประเทศที่พัฒนามาก่อน (อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น) กับประเทศตลาดเกิดใหม่ (จีน เอเชียตะวันออก) ว่าใครควรแบกรับภาระลดลัดตัดทอนการบริโภคพลังงานเพื่อลดการปล่อย CO2 ที่ก่อโลกร้อน? ว่าใครควรได้สิทธิ์พัฒนาต่อ ปล่อย CO2 ต่อเพื่อให้พลเมืองของตนได้พัฒนายกระดับมาตรฐานการครองชีพใกล้เคียงขึ้นกับโลกทุนนิยมตะวันตก เพื่อความเป็นธรรม/เท่าเทียม ที่เถียงกันในเวทีประชุมโลกร้อนระดับโลก กำลังมาเถียงกันในเมืองไทย แต่แตกไปเป็นประเด็นรถคันแรกครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"