สมมุติฐาน
๑) ถนนเป็นสมบัติสาธารณะ โดยหลักการทุกคนเป็นเจ้าของและมีสิทธิในการเข้าถึงและใช้มัน
๒) ในทางปฏิบัติ สิทธิในการเข้าถึงและใช้ถนนอันเป็นสมบัติสาธารณะนี้ถูกจำกัดโดยการมี/ไม่มีพาหนะ, ชนิดของพาหนะ, กำลังซื้อ, ความมั่นคงของอาชีพการงานและรายได้ประจำ (ผ่อนรถและค่าน้ำมัน/แก๊ส)
๓) เอาเข้าจริงการใช้รถส่วนตัวเป็นแบบวิธีการเดินทางในเขตตัวเมืองที่สิ้นเปลืองพลังงานต่อหัวมากที่สุด (แต่ละคนในครอบครัว หากทำงานต่างที่กัน ก็มักอยากมีรถส่วนตัวคนละคันเพื่อความสะดวกทางปฏิบัติ แทนที่แต่ละครอบครัวจะใช้รถคันเดียวร่วมกัน) เมื่อเทียบกับแบบอื่นเช่นรถไฟฟ้า รถเมล์ ฯลฯ
๔) ในระดับโลก การมีรถยนต์ส่วนบุคคลใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอารยะที่มาพร้อมกับการขุดค้นเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้เมื่อสองร้อยปีก่อน ขณะที่มันยกระดับมาตรฐานการครองชีพของผู้คนให้สูงขึ้นมากในโลกส่วนที่พัฒนาแล้ว/พัฒนาไปก่อน และดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังปรารถนาของคนในโลกส่วนที่พัฒนาที่หลัง/กำลังพัฒนา เราไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและพลังงานพอจะรองรับการใช้รถส่วนตัวแบบที่คนอเมริกันใช้สำหรับประชากรจีน/อินเดียได้ แน่น่อนว่าทุเรศ ไม่เป็นธรรม ไม่เสมอภาค แต่มันไม่มีอ่ะครับ
๕) ดังนั้น ตรรกะของส่วนรวมระดับโลกที่พึงทำคือ ด้านหนึ่งลดการบริโภคในโลกตะวันตก อีกด้านหนึ่งยกระดับการบริโภคในโลกตลาดเกิดใหม่ที่มาทีหลัง แล้วไปบรรจบกันที่จุดหนึ่งซึ่ง "พอทน" สำหรับสิ่งแวดล้อมของทั้งโลกจะรองรับไหว
มุมมอง
๑) มุมของคนที่มีรถแล้ว: อยากจำกัดการใช้รถลง เพื่อไม่เพิ่มภาระและความลำบากแก่ตนเองในการใช้ถนน คงส่วนแบ่งพื้นที่ถนนที่มีสำหรับตนเองเอาไว้ให้มากที่สุด
๒) มุมของคนที่เพิ่งมีรถคันแรก: ขอกูมีส่วนแบ่งมั่ง เพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาค รถส่วนตัวทำให้ได้มีส่วนใช้ถนนซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมแต่ตนไม่เคยได้ใช้เต็มที่มาก่อนมากขึ้น รับไม่ได้กับการกีดกันแบ่งแยกกันท่าของคนที่มีรถมาก่อนแล้ว นโยบายรถคันแรกทำให้คนกลุ่มนี้ซึ่งอาจจัดว่าอยู่ในระดับคนชั้นกลางระดับกลางหรือระดับล่างเอื้อมถึงการได้รถคันแรกง่ายเข้าหรือเร็วขึ้น
๓) มุมของคนที่ไม่อยู่ในฐานะจะซื้อรถได้: ด้วยฐานะชนชั้นการงานรายได้ที่ต่ำกว่าสองกลุ่มแรก พวกเขาไม่คาดฝันในระยะใกล้ถึงการมีรถส่วนตัว จึงเห็นรถส่วนตัวเยอะเต็มถนนของคนกลุ่ม ๑) และ ๒) ว่าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาขนส่งเดินทางในเมืองและไม่ใช่ทางออกที่ตนมีส่วนร่วมได้ สิ่งที่เขาต้องการคือพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมระบบขนส่งสาธารณะทางอื่นที่เอื้อเฟื้อต่อพวกเขามากขึ้น นั่นหมายความว่านโยบายรถคันแรกไม่ใช่คำตอบสำหรับพวกเขา และทำให้เกิดค่าเสียโอกาสในแง่งบประมาณรายได้ภาษีของรัฐที่อาจนำมาลงทุนระบบขนส่งสาธารณะแทน
๔) มุมมองระหว่างคนกทม.กับคนต่างจังหวัดต่อเรื่องนี้ย่อมแตกต่างกันด้วยสาเหตุสำคัญคือพื้นที่ถนนในกทม.จำกัดกว่าต่างจังหวัดเมื่อเทียบกับปริมาณรถยนต์ และการมีรถยนต์เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับคนต่างจังหวัดประกอบอาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญ
๕) มุมของโลก การเดินทางในเมืองด้วยรถส่วนตัวเป็นแบบวิธีเดินทางขนส่งในเขตเมืองที่เปลืองพลังงานที่สุด, มีขีดจำกัด (the fallacy of composition), และอำนวยประสิทธิภาพความสะดวกให้ได้จริงแต่เฉพาะคนส่วนน้อย/ไม่ใช่คนส่วนทั้งหมดเลือกใช้วิธีนี้เท่านั้น ในมุมกว้างออกไป ตราบที่ยังใช้รถเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ มันก็ส่งผลกระทบต่อปัญหาโลกร้อนผ่านการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเพิ่ม (ทั้งในขั้นตอนการผลิต การใช้งานและกระทั่งการขจัดขยะรถ) โดยที่แบบวิถีชีวิตรถอเมริกันทำซ้ำไม่ได้ในประเทศใหญ่อื่นอย่างจีน/อินเดีย เพราะโลกไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมพอจะรองรับ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"