Skip to main content

 

สมมุติฐาน
๑) ถนนเป็นสมบัติสาธารณะ โดยหลักการทุกคนเป็นเจ้าของและมีสิทธิในการเข้าถึงและใช้มัน
 
๒) ในทางปฏิบัติ สิทธิในการเข้าถึงและใช้ถนนอันเป็นสมบัติสาธารณะนี้ถูกจำกัดโดยการมี/ไม่มีพาหนะ, ชนิดของพาหนะ, กำลังซื้อ, ความมั่นคงของอาชีพการงานและรายได้ประจำ (ผ่อนรถและค่าน้ำมัน/แก๊ส)
 
๓) เอาเข้าจริงการใช้รถส่วนตัวเป็นแบบวิธีการเดินทางในเขตตัวเมืองที่สิ้นเปลืองพลังงานต่อหัวมากที่สุด (แต่ละคนในครอบครัว หากทำงานต่างที่กัน ก็มักอยากมีรถส่วนตัวคนละคันเพื่อความสะดวกทางปฏิบัติ แทนที่แต่ละครอบครัวจะใช้รถคันเดียวร่วมกัน) เมื่อเทียบกับแบบอื่นเช่นรถไฟฟ้า รถเมล์ ฯลฯ
 
๔) ในระดับโลก การมีรถยนต์ส่วนบุคคลใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอารยะที่มาพร้อมกับการขุดค้นเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้เมื่อสองร้อยปีก่อน ขณะที่มันยกระดับมาตรฐานการครองชีพของผู้คนให้สูงขึ้นมากในโลกส่วนที่พัฒนาแล้ว/พัฒนาไปก่อน และดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังปรารถนาของคนในโลกส่วนที่พัฒนาที่หลัง/กำลังพัฒนา เราไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและพลังงานพอจะรองรับการใช้รถส่วนตัวแบบที่คนอเมริกันใช้สำหรับประชากรจีน/อินเดียได้ แน่น่อนว่าทุเรศ ไม่เป็นธรรม ไม่เสมอภาค แต่มันไม่มีอ่ะครับ
 
๕) ดังนั้น ตรรกะของส่วนรวมระดับโลกที่พึงทำคือ ด้านหนึ่งลดการบริโภคในโลกตะวันตก อีกด้านหนึ่งยกระดับการบริโภคในโลกตลาดเกิดใหม่ที่มาทีหลัง แล้วไปบรรจบกันที่จุดหนึ่งซึ่ง "พอทน" สำหรับสิ่งแวดล้อมของทั้งโลกจะรองรับไหว
 
มุมมอง
 
๑) มุมของคนที่มีรถแล้ว: อยากจำกัดการใช้รถลง เพื่อไม่เพิ่มภาระและความลำบากแก่ตนเองในการใช้ถนน คงส่วนแบ่งพื้นที่ถนนที่มีสำหรับตนเองเอาไว้ให้มากที่สุด
 
๒) มุมของคนที่เพิ่งมีรถคันแรก: ขอกูมีส่วนแบ่งมั่ง เพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาค รถส่วนตัวทำให้ได้มีส่วนใช้ถนนซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมแต่ตนไม่เคยได้ใช้เต็มที่มาก่อนมากขึ้น รับไม่ได้กับการกีดกันแบ่งแยกกันท่าของคนที่มีรถมาก่อนแล้ว นโยบายรถคันแรกทำให้คนกลุ่มนี้ซึ่งอาจจัดว่าอยู่ในระดับคนชั้นกลางระดับกลางหรือระดับล่างเอื้อมถึงการได้รถคันแรกง่ายเข้าหรือเร็วขึ้น
 
๓) มุมของคนที่ไม่อยู่ในฐานะจะซื้อรถได้: ด้วยฐานะชนชั้นการงานรายได้ที่ต่ำกว่าสองกลุ่มแรก พวกเขาไม่คาดฝันในระยะใกล้ถึงการมีรถส่วนตัว จึงเห็นรถส่วนตัวเยอะเต็มถนนของคนกลุ่ม ๑) และ ๒) ว่าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาขนส่งเดินทางในเมืองและไม่ใช่ทางออกที่ตนมีส่วนร่วมได้ สิ่งที่เขาต้องการคือพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมระบบขนส่งสาธารณะทางอื่นที่เอื้อเฟื้อต่อพวกเขามากขึ้น นั่นหมายความว่านโยบายรถคันแรกไม่ใช่คำตอบสำหรับพวกเขา และทำให้เกิดค่าเสียโอกาสในแง่งบประมาณรายได้ภาษีของรัฐที่อาจนำมาลงทุนระบบขนส่งสาธารณะแทน
 
๔) มุมมองระหว่างคนกทม.กับคนต่างจังหวัดต่อเรื่องนี้ย่อมแตกต่างกันด้วยสาเหตุสำคัญคือพื้นที่ถนนในกทม.จำกัดกว่าต่างจังหวัดเมื่อเทียบกับปริมาณรถยนต์ และการมีรถยนต์เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับคนต่างจังหวัดประกอบอาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญ
 
๕) มุมของโลก การเดินทางในเมืองด้วยรถส่วนตัวเป็นแบบวิธีเดินทางขนส่งในเขตเมืองที่เปลืองพลังงานที่สุด, มีขีดจำกัด (the fallacy of composition), และอำนวยประสิทธิภาพความสะดวกให้ได้จริงแต่เฉพาะคนส่วนน้อย/ไม่ใช่คนส่วนทั้งหมดเลือกใช้วิธีนี้เท่านั้น ในมุมกว้างออกไป ตราบที่ยังใช้รถเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ มันก็ส่งผลกระทบต่อปัญหาโลกร้อนผ่านการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเพิ่ม (ทั้งในขั้นตอนการผลิต การใช้งานและกระทั่งการขจัดขยะรถ) โดยที่แบบวิถีชีวิตรถอเมริกันทำซ้ำไม่ได้ในประเทศใหญ่อื่นอย่างจีน/อินเดีย เพราะโลกไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมพอจะรองรับ

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม